โรคไมเกรนรบกวนการใช้ชีวิต ปวดหัวแบบไหนถึงเรียกว่าไมเกรน ? สาเหตุ อาการ การรักษา
ไมเกรน รักษาได้ ด้วยวิธีที่ปลอดภัย ได้ผลเกินคาด ปวดหัวข้างเดียว ปวดตุ้บ ๆ ปวดไมเกรนข้างซ้าย หรือ ปวดไมเกรนข้างขวา ปวดมากจนทำอะไรไม่ได้ มองเห็นแสงระยิบระยับ ภาพบิดเบี้ยว คลื่นไส้ อาเจียนร่วม ใช่แล้วเป็นสัญญาณเตือนของ ปวดหัวไมเกรน หรือ เรียกว่า ไมเกรน
เลือกอ่านหัวข้อที่สนใจ
- โรคไมเกรน (Migraine)
- ปวดหัวไมเกรนเกิดจากสาเหตุใด
- อาการสัญญาณเตือนโรคไมเกรน
- ปวดหัวไมเกรนต่างจากปวดหัวทั่วไปอย่างไร
- 4 ระยะของโรคไมเกรน
- ปัจจัยที่อาจกระตุ้นให้โรคไมเกรนกำเริบ
- ปวดหัวไมเกรน เมื่อไหร่ควรพบแพทย์
- การวินิจฉัยโรคไมเกรน
- แนวทางการรักษาไมเกรน
- วิธีป้องกันโรคไมเกรน
- รักษาไมเกรนที่ไหนดี
- คำถามที่พบบ่อย
- ข้อสรุป
โรคไมเกรน (Migraine)
โรคไมเกรน (Migraine) หรือ ไมเกรน เกิดจากอาการปวดศีรษะเรื้อรังชนิดหนึ่งที่เกิดจากการบีบตัวและคลายตัวของหลอดเลือดแดงหรือเรียกว่าไมเกรนเกิดจากหลอดเลือดในสมองมากกว่าปกติ สิ่งนี้เองทำให้เกิดอาการปวดหัวศีรษะขึ้นอย่างรุนแรง
โดยโรคไมเกรนส่วนใหญ่มักพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และมักเป็นผู้ที่มีความเครียดทางอารมณ์และจิตใจสูง ซึ่งนอกจากจะรบกวนชีวิตประจำวันแล้วยังส่งผลต่อปัญหาสุขภาพในระยะยาวอีกด้วย
ปวดหัวไมเกรนเกิดจากสาเหตุใด
ไมเกรนสาเหตุเป็นผลจากความผิดปกติชั่วคราวในการทำงานของสมองที่มีผลกระทบต่อเส้นประสาท สารเคมีและหลอดเลือดในสมอง แต่สาเหตุที่แท้จริงของไมเกรนนั้นไม่เป็นที่แน่ชัด อาจเกิดได้จากหลายปัจจัยดังนี้
1. โรคไมเกรนจากกรรมพันธุ์
โรคไมเกรนสามารถถ่ายทอดจากกรรมพันธุ์ พ่อแม่ไปยังลูกได้ จากการวิจัยยีนที่ชื่อว่า “TRESK” พบในครอบครัวของผู้ป่วย เมื่อยีนนี้กลายพันธุ์จะไปกระตุ้นความเจ็บปวดของสมองทำให้ปวดหัวอย่างหนัก
อาการปวดศีรษะไมเกรนเป็นได้ทั้งเพศชายเพศหญิง แต่ในเพศหญิงจะเป็นมากกว่าถึง 1 ใน 4 โดยอาการปวดศีรษะไมเกรนมักเกิดจากความเครียด แสงไฟนีออน อาหารบางชนิดเช่น เนย ชีส ไวน์แดง กาแฟ การเปลี่ยนแปลงทางอากาศ
2. การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน
ในเพศหญิงจะพบอาการปวดศีรษะไมเกรนมากกว่าเพศชายถึง 3 เท่า โดยในวัยเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ ระบบฮอร์โมนของร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงแตกต่างกันไป ในผู้หญิงจะมีการผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจน Estrogen จากรังไข่ การเปลี่ยนแปลงของระดับฮฮร์โมนนี้เองจะมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาจนกระทั่งเข้าสู่ช่วงวัยหมดประจำเดือน ระดับฮอร์โมนนี้ก็จะมีระดับคงที่
- ตัวกระตุ้นที่เกี่ยวกับอารมณ์ ได้แก่ ความเคียด ความวิตกกังวล อาการตกใจ ภาวะซึมเศร้า ความตื่นเต้น
- ตัวกระตุ้นทางกายภาพ ได้แก่ ความอ่อนเพลีย นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ ทำงานเป็นกะ ไม่เป็นเวลาปกติ มีความตึงที่คอหรือไหล่ ภาวะเลือดมีน้ำตาลน้อย
- ตัวกระตุ้นเกี่ยวกับอาหาร ได้แก่ รับประทานอาหารไม่ตรงเวลา ภาวะขาดน้ำ ดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ
- ตัวกระตุ้นเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ได้แก่ แสงสว่างจ้า แสงจากจอโทรทัศน์ หรือ คอมพิวเตอร์ การสูบบุหรี่ หรือได้รับควันบุหรี่ เสียงดัง อาการที่เปลี่ยนแปลง เช่น ความชื้น หรือ อุณหภูมิที่เย็นจัด
อาการสัญญาณเตือนโรคไมเกรน
อาการ หรือ สัญญาณเตือนโรคไมเกรน มีดังนี้
- ผู้ป่วยจะมีอาการปวดศีรษะข้างเดียว หรือ ครึ่งซีก อาจเป็นบริเวณขมับหรือท้ายทอย บางครั้งก็อาจเป็นได้ทั้งสองข้างพร้อมกัน หรือสลับข้างกันได้
- ลักษณะการปวดศีรษะจะปวดแบบตุ้บ ๆ เป็นจังหวะ นาน ๆ ครั้งหรือเกิน 20 นาที แต่บางครั้งถ้ารุนแรง อาจปวดนานเป็นวัน หรือสัปดาห์ก็ได้ ผู้ป่วยบางรายอาจมีการปวดตื้อ ๆ สลับกับปวดตุ๊บ ๆ ในสมอง
- ส่วนมากลักษณะอาการปวดมักมีความรุนแรงปานกลาง ถึงรุนแรงมาก หรือ ปวดไมเกรนเรื้อรัง
- อาการปวดศีรษะมักรุนแรง บางรายอาจมีอาการไมเกรนเริ่มต้น คือ คลื่นไส้ อาเจียน ร่วมด้วย โดยอาจเป็นขณะปวดศีรษะก่อนหรือหลังก็ได้ บางรายรุนแรงไม่สามารถรับประทานอะไรได้เลย ปวดมาก ๆ จนทำอะไรไม่ได้เลย รบกวนชีวิตประจำวัน
- ไมเกรนอาการนำจะเป็นอาการทางสายตา โดยจะมีอาการนำมาก่อนราว ๆ 10-20 นาที เช่น ไมเกรนขึ้นตา รวมถึงอาการเห็นแสงระยิบระยับ เห็นแสงวูบวาบ ภาพเบลอ ปวดบริเวณเบ้าตา หรือเรียกว่า ปวดไมเกรนเบ้าตา
ปวดหัวไมเกรนต่างจากปวดหัวทั่วไปอย่างไร
ปวดหัวไมเกรน กับ ปวดหัวทั่วไป แม้ว่าอาการปวดจะเกิดขึ้นบริเวณศีรษะเหมือนกัน แต่ต่างกันตรงที่ลักษณะอาการปวด ซึ่งรูปแบบอาการค่อนข้างแตกต่างกัน
ปวดหัวทั่วไป
ปวดหัวทั่วไป หมายถึง เป็นอาการที่พบได้ทุกเพศทุกวัย ส่วนใหญ่ไม่มีอันตรายแก่ร่างกาย โดยจะมีอาการปวดหัวจากกล้ามเนื้อตึงตัวรอบศีรษะ การรักษาเพียงแค่ทานยาพาราเซตตามอลทั่วไปอาการปวดหัวจะทุเลาหายไปได้เอง
ปวดหัวไมเกรน
ปวดหัวไมเกรน หมายถึง การปวดศีรษะที่รบกวนชีวิตประจำวัน โดยมีลักษณะการปวดแบบตุ๊บ ๆ เป็นจังหวะ มักเกิดขึ้นข้างใดข้างหนึ่งของศีรษะ หรือ ก็สามารถเป็นได้ทั้งสองข้าง โดยอาการเบื้องต้นจะเห็นแสงวูบวาบ คลื่นไส้ อาเจียน ได้กลิ่นควันบุหรี่ ปวดข้างซ้าย หรือ ข้างขวา สลับกัน
4 ระยะของโรคไมเกรน
ระยะของไมเกรน แบ่งออกได้เป็น 4 ระยะ ได้แก่
1. ระยะอาการเตือน (Prodome Stage)
ก่อนเกิดการปวดไมเกรน ผู้ป่วยจะมีอาการเตือนล่วงหน้า ซึ่งอาการเหล่านี้ได้แก่ รู้สึกวิตกกังวล อารมณ์ดีหรือเศร้าผิดปกติ อารมณ์แปรปรวน หิว กระหายน้ำ ปวดปัสสาวะบ่อย เป็นต้น
2. ระยะอาการนำ (Aura)
ระยะอาการนำ AURA นี้จะเริ่มต้นจากความผิดปกติในการมองเห็น โดยอาจเห็นแสงระยิบระยับ แสงวูบวาบ ส่งผลให้สูญเสียการมองเห็นชั่วขณะ โดยอาจมีความผิดปกติของประสาทสัมผัส เช่นอาการไวต่อกลิ่น กลิ่นบุหรี่ หรือ การได้ยินเสียงดังเกินไป หรือในอุณหภูมิที่เย็นจัด
3. ระยะอาการปวดหัว (Headache)
ต่อมาก็จะถึงระยะการปวดหัว โดยจะมีอาการปวดตุบ ๆ อย่างรุนแรงเกิดขึ้นข้างใดข้างหนึ่งของศีรษะ โดยจะมีอาการร่วมด้วยเช่น อาการวิงเวียน อาเจียน รวมถึงอาการไวของประสาทสัมผัสและแสง เป็นต้น
4. ระยะหลังอาการปวดหัว (Postdrome Stage)
เมื่อถึงระยะหลังอาการปวดหัวแล้ว อาการจะแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละคน ส่วนใหญ่เกิดอาการเหนื่อยล้า อาการผิดปกติ สับสน มึนงง ในช่วงวันแรก แต่บางรายก็พบว่ามีอาการสดใสขึ้น
หากอาการไมเกรนรุนแรงมากขึ้น ให้จดจำหรือบันทึกอาการของไมเกรนที่เกิดขึ้น และวิธีที่ใช้รักษา แล้วปรึกษาแพทย์เพื่อหาทางรักษาต่อไป โดยหากพบว่ามีอาการหรือสัญญาณของไมเกรนดังต่อไปนี้ ควรรีบไปพบแพทย์ ได้แก่
- ปวดไมเกรนทุกวัน ปวดศีรษะอย่างรุนแรง และ เกิดขึ้นแบบเฉียบพลัน
- ปวดศีรษะพร้อมกับมีอาการปวดเมื่อยคอ สับสนมึนงง มีอาการชัก มองเห็นภาพซ้อน
- มีความรู้สึกชา หรือ พูดติดขัด
- มีอาการปวดศีรษะรุนแรงมาก หลังจากได้รับบาดเจ็บบริเวณศีรษะ
- มีอาการปวดศีรษะเรื้อรัง ที่เป็นมากขึ้นเวลาไอ เวลาออกแรงมาก หรือเปลี่ยนอิริยาบถเร็วเกินไป
- มีอาการปวดศีรษะที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน สำหรับผู้ป่วยไมเกรนอายุมากกว่า 50 ปี
ปัจจัยที่อาจกระตุ้นให้โรคไมเกรนกำเริบ
สิ่งกระตุ้นให้เกิดโรคไมเกรน ส่วนใหญ่สิ่งกระตุ้นที่เห็นได้ชัดเลยคือ ความเครียด การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ การดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ หรือ การทานอาหารบางประเภทที่เป็นตัวกระตุ้นหลักเลยคือ เนย ชีส ช็อคโกแลต อาหารหมักดอง
รวมไปถึงพฤติกรรมของผู้ป่วยเอง เช่น การรับประทานอาหารไม่เป็นเวลา การได้กลิ่นบุหรี่ กลิ่นเหม็นเน่า การอยู่ในที่อากาศร้อนจัด ๆ กลางแสงแดด หรือ แม้แต่ในที่อุณหภูมิเย็นจัด รวมถึงสถานที่มีเสียงดัง เสียงอึกทึก
ปวดหัวไมเกรน เมื่อไหร่ควรพบแพทย์
ปวดหัวไมเกรน เมื่อไหร่ควรพบแพทย์ ต้องบอกว่าแม้จะมีอาการไม่รุนแรง แต่หากอาการดังกล่าวเกิดขึ้นบ่อย เช่น ปวดไมเกรนจนนอนไม่หลับ ปวดหัวไมเกรนจนเริ่มกระทบชีวิตประจำวัน อาการไมเกรนรุนแรง ปวดไมเกรนบ่อย ปวดทุกวัน หรือ มีระยะเวลายาวนานขึ้นจนถึงขั้ินปวดหัวไมเกรนเรื้อรัง ควรรีบพบแพทย์เพื่อหาแนวทางการรักษาต่อไป
การวินิจฉัยโรคไมเกรน
โรคไมเกรนสามารถวินิจฉัยได้ โดยการตรวจไมเกรนประกอบไปด้วยการซักประวัติอาการปวดศีรษะกับลักษณะของไมเกรน และตรวจร่างกายโดยละเอียดเกี่ยวกับระบบประสาทที่ไม่พบความผิดปกติที่เป็นสาเหตุของอาการปวดศีรษะได้
สำหรับการตรวจเพิ่มเติม โดยเริ่มจากการตรวจเลือดหรือเอกซเรย์สมอง อาจพิจารณาเป็นรายบุคคล โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่สงสัยปวดศีรษะจากสาเหตุอื่น หรือ รักษาด้วยยาแล้วไม่ดีขึ้น
เนื่องจากไมเกรนเป็นโรคที่มักมีอาการปวดศีรษะมาก และเกิดขึ้นซ้ำ ๆ ผู้ป่วยที่สงสัยว่าต้วเองเป็นโรคไมเกรน ควรมาพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยว่าไม่มีสาเหตุของอาการปวดศีรษะจากโรคอื่น ๆ
หากได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นไมเกรนแล้ว เป้าหมายในการดูแลรักษาต่อไปคือ ให้ผู้ป่วยมีอาการปวดศีรษะลดลงอย่างต่อเนื่องและกระทบต่อชีวิตประจำวันให้น้อยที่สุด
แนวทางการรักษาไมเกรน
แนวทางการรักษาไมเกรน เป็นแนวทางในการดูแลและแนะนำให้ผู้ป่วยไมเกรน หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดอาการปวดไมเกรน เช่น อาหารบางชนิด เช่น ชีส ไวน์แดง ช็อคโกแล็ต ผงชูรส ชา กาแฟ หรือ การกระตุ้นทางประสาทสัมผัส อาทิ แสงจ้า เสียงดัง กลิ่นบุหรี่
ควรปรึกษาแพทย์เมื่อรู้สึกปวดศีรษะบ่อยขึ้น หลีกเลี่ยงการใช้ยาแก้ปวดโดยไม่จำเป้น ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตให้เหมาะสม ไม่เพิ่มปริมาณคาเฟอีน แอลกอฮอล์ พักผ่อนให้เพียงพอ การรักษาไมเกรนที่แนะนำ มีดังนี้
1. การรักษาไมเกรนเบื้องต้น
การรักษาไมเกรนเบื้องต้น ทำได้โดยทำกิจกรรมที่ช่วยให้ผ่อนคลายความเครียด หรือ ผ่อนคลายสมอง หลีกเลี่ยงปัจจัยที่สามารถกระตุ้นให้เกิดการปวดศีรษะไมเกรน นอนพักในที่มือและเงียบสงบ ปรับพฤติกรรมการนอน ออกกำลังกายเบา ๆ การประคบเย็น การนวด การกดจุด การทำกายภาพ ก็จะช่วยรักษาอาการไมเกรนเบื้องต้นได้
สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ 8 วิธีแก้ปวดหัวไมเกรนเบื้องต้น บรรเทาไมเกรนเร่งด่วนด้วยวิธีธรรมชาติ
2. การรักษาไมเกรนทางการแพทย์
แพทย์จะวินิจฉัยอาการปวดไมเกรนก่อนเบื้องต้น เพราะแต่ละคนมีอาการปวดไมเกรนไม่เหมือนกัน โดยการรักษาไมเกรนทางการแพทย์ หลัก ๆ ทั่วไปจะรักษาด้วยยา ประกอบด้วย 2 กลุ่มหลักคือ ยาระงับปวด และยาเพื่อป้องกันการปวด รวมถึงนวัตกรรมการฉีดโบท็อกไมเกรน เพื่อรักษาไมเกรนแบบเร่งด่วน
วิธีป้องกันโรคไมเกรน
โรคไมเกรนการป้องกันที่ดีที่สุดคือ การรู้และเข้าใจว่าอะไรเป็นตัวกระตุ้นที่ทำให้เกิดไมเกรน และ พยายามหลีกเลี่ยงสิ่งนั้น การจดบันทึกในแต่ละวันเมื่อเกิดอาการจะสามารถช่วยให้จำแนกตัวกระตุ้นที่อาจเป็นสาเหตุได้และช่วยให้สามารถควบคุมการใช้ยารักษาได้อย่างตรงจุด การบันทึกสิ่งเหล่านี้ได้แก่
- วันและเวลาที่เกิดอาการขึ้น
- สัญญาณหรืออาการเตือนต่าง ๆ ก่อนเป็นไมเกรน
- อาการที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นอาการที่มีอาการเตือน Aura หรือ ไม่มีอาการเตือนร่วม
- ยารักษาโรคที่กำลังใช้อยู่
- อาการหยุดในวันและเวลาใด
หากการใช้ยารักษาโรคไม่เหมาะสมกับผู้ป่วยในบางราย หรือ ไม่สามารถช่วยป้องกันไมเกรนได้ ผู้ป่วยอาจพิจารณาทางเลือกอื่ นๆ เช่น การฉีด การฝังเข็ม ซึ่งเป็นวิธีที่นิยมนำมาใช้ในการรักษาไมเกรนกันมากขึ้น
การป้องกันไมเกรนที่สัมพันธ์กับประจำเดือน (Menstrual-related Migraines)
ปัญหาที่สาว ๆ ส่วนหนึ่งต้องเจออยู่บ่อย ๆ ในช่วงเวลานั้นของเดือน ทั้งปวดท้อง หงุดหงิด แถมปวดหัวอีก ทำให้ต้องหยุดงานการ เสียสุขภาพจิต และที่แย่กว่านั้นคือ เดี๋ยวพอเดือนหน้าก็เป็นอาการนี้อีก ฉะนั้นเรามาทำความรู้จักโรคไมเกรนนี้กัน
- ความสัมพันธ์กับวงรอบประจำเดือน จะมีลักษณะเฉพาะและเมื่อปวดค่อนข้างรุนแรง ทานยาอะไรก็ไม่อยู่จนกว่าวงรอบประจำเดือนนั้นจะหมดไป
- ความสัมพันธ์มีสองแบบและใช้แบ่งชนิดไมเกรนที่สัมพันธ์กับวงรอบประจำเดือน
- เกิดเฉพาะก่อนมีประจำเดือนสองวัน หลังมีประจำเดือนอีกไม่เกินสามวัน โดยที่ช่วงเวลาอื่น ๆ ไม่ปวดเลยต่อเนื่องกันอย่างน้อยสองในสามรอบประจำเดือนเรียกว่า Pure Menstrual Migraine
- อีกอย่างคือปวดแบบแรกแต่ว่าในช่วงที่ไม่มีรอบประจำเดือนก็จะมีอาการปวดไมเกรนเพิ่มขึ้นมา เรียกว่า Menstrually Related Migraine
- การป้องกัน คือการให้ยาเพื่อป้องกันสักประมาณ 3-4 รอบประจำเดือน เราจะให้ยาป้องกันในช่วงที่มีประจำเดือนเท่านั้น ที่นิยมมากคือหน้า 7 หลัง 7 โดยใช้ยากลุ่ม NSAIDs จากการศึกษาที่ใช้มากคือ Naproxen ขนาด 500 มิลลิกรัมวันละสองครั้ง โดยใช้ยาต่อเนื่องกัน 3-4 รอบ อาการมักจะดีขึ้น
และยาอีกกลุ่มคือยากลุ่ม Triptans ที่ใช้ในการแก้ไขอาการปวดเฉียบพลันสามารถเอามาใช้ป้องกัน โดยใช้หน้าสองหลังห้า 3-4 รอบเช่นกัน แต่ต้องระวังการติดยา การใช้ยามาเกินไป อาการปวดหัวหลังถอนยา และระวังในกลุ่มผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด
รักษาไมเกรนที่ไหนดี
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่มีอาการปวดไมเกรน และต้องการรักษาไมเกรนให้อาการดีขึ้น สามารถทำได้โดยการรักษาไมเกรนตามโรงพยาบาลชั้นนำ โดยรักษากับแพทย์เฉพาะทางด้านสมอง
ถ้าจะให้ได้ผลในระยะยาว เราขอแนะนำรักษาไมเกรนกับแพทย์เฉพาะทางด้านสมองที่ BTX Migraine Center เป็นทางเลือกใหม่ในการรักษาไมเกรน
โดยแพทย์เฉพาะทางระบบสมองช่วยลดความรุนแรงและการใช้ยารับประทานได้มากกว่า 90% ได้รับการรับรองจากสหรัฐอเมริกาและไทยตั้งแต่ปี 2010
รักษาไมเกรนกับแพทย์เฉพาะทางที่ BTX Migraine Center
อีกทางเลือกสำหรับการรักษาภาวะปวดศีรษะไมเกรน เพราะอาการโรคปวดไมเกรนเรื้อรัง สร้างความทุกข์ทรมาน และสิ่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ทางเลือกใหม่คือการรักษาไมเกรนด้วย “BTX Type A” โดยแพทย์เฉพาะทางระบบสมองช่วยลดความรุนแรงและการใช้ยารับประทานได้มากกว่า 90% ได้รับการรับรองจากสหรัฐอเมริกาและไทยตั้งแต่ปี 2010
การรักษาไมเกรนด้วยการฉีด “BTX Type A” เหมาะกับใคร
- ผู้ที่ทรมานจากการปวดหัวไมเกรน และออฟฟิศซินโดรม
- ผู้ที่ต้องรับประทานยาแก้ปวดเป็นระยะเวลานาน
- ผู้ที่ฉีดยาแก่ปวดเป็นประจำเพื่อระงับไมเกรน
- ผู้ที่ต้องหยุดเรียนหรือลางานเพราะปวดหัวไมเกรน
- ผู้ที่มีผลข้างเคียงจากการกินยาแก้ปวดติดต่อกันมาเป็นเวลานาน
- ผู้ที่ทำการรักษาไมเกรนด้วยวิธีอื่นแล้วไม่ได้ผล
ผลจากการรักษาด้วยวิธี “BTX Type A”
- ได้ผลในระยะยาว : ลดอาการปวดศีรษะไมเกรนได้นาน 4-6 เดือน
- ปวดหัวน้อยลง : ลดความถี่และความรุนแรงของการปวดศีรษะมากกว่า 70%
- ผลข้างเคียงน้อยกว่าการกินยา : ลดผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์จากการรับประทานยามากกว่า 90%
- ลดปริมาณการกินยาแก้ปวด : ลดการใช้ยาแก้ปวดมากกว่า 90%
“BTX Type A” ใช้กันมานานในวงการแพทย์มากกว่า 30 ปี ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในแง่ของการรักษาคนไข้ด้วยความงาม ลดริ้วรอย และปรับรูปหน้าทำให้ใบหน้าดูอ่อนเยาว์ ในคนไข้จำนวนมากที่ทำการรักษาในโดสของความงามเพื่อรักษาริ้วรอยบริเวณหน้าผาก ตีนกา กลับพบว่าทำให้อาการปวดหัวไมเกรนเรื้อรังดีขึ้นด้วย
คำถามที่พบบ่อย
ปวดหัวไมเกรนกินพารา, พอนสแตนได้ไหม?
การปวดหัวไมเกรนในผู้ป่วยที่อาการไม่รุนแรง สามารถกินยาพาราเซตตามอลได้ แต่ไม่แนะนำให้กินพอนสแตน หรือ ถ้าหากปวดรุนแรงหรือเรื้อรัง อาจจำเป็นต้องกินยาในกลุ่มต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ NSAIDs กลุ่มยาเออร์โกตามิน ยากลุ่มทริปแทน เป็นต้น
ปวดหัวไมเกรนกี่วันหาย?
ระยะเวลาการปวดหัวไมเกรนอาจจะนานหลายชั่วโมง ส่วนใหญ่จะนานไม่เกิน 1 วัน บางรายอาจจะมีอาการเตือนนำมาก่อน เช่นสายตาพร่ามัว มองเห็นแสงระยิบระยับ
โรคไมเกรนเป็นกรรมพันธุ์หรือไม่?
ปัจจุบัน สาเหตุของไมเกรนยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด ซึ่งอาจเกิดจากความผิดปกติที่ระดับสารเคมีในสมอง การสื่อกระแสในสมอง หรือ การทำงานที่ผิดปกติของหลอดเลือดสมอง จากหลักฐานข้อมูลทางระบาดวิทยาเชื่อว่า ไมเกรนสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ แต่จะเกิดอาการหรือไม่ขึ้นอยู่กับปัจจัยทั้งภายในและภายนอกร่างกายที่มากระทบตัวผู้ป่วย
โรคไมเกรนไม่รักษาได้ไหม อันตรายหรือเปล่า?
โดยปกติโรคไมเกรนสามารถหายได้โดยหลีกเลี่ยงจากปัจจัยกระตุ่นดังที่ได้กล่าวแล้วเบื้องต้น แต่บางครั้งก็อาจพบได้ในผู้ป่วยไมเกรนเรื้อรัง การพบแพทย์เฉพาะทางด้านสมองก่อนล่วงหน้าที่จะปล่อยให้เรื้อรัง เป็นสิ่งที่ปลอดภัยและดีที่สุด เพราะหากไม่รักษาโรคไมเกรนแล้ว อาจทำให้ชีวิตคุณเปลี่ยนได้
ปวดหัวไมเกรนมีโอกาสหายไหม?
ปวดหัวไมเกรนมีโอกาสหาย หากได้รับการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ หรือ อย่างถูกวิธี โดยการรักษากับแพทย์เฉพาะทางด้านสมอง ที่สำคัญตัวผู้ป่วยต้องให้ความร่วมมือในการดูแลตนเองอย่างสม่ำเสมอด้วย
ข้อสรุป
จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น เป็นเรื่องของการปวดหัวไมเกรน ซึ่งกล่าวถึง สาเหตุ อาการ การวินิจฉัย ปัจจัยกระตุ้น การป้องกัน การรักษา เพื่อเป็นแนวทางในการดูแลและแนะนำผู้ป่วยไมเกรนให้หลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้น แต่ทางที่ดีและปลอดภัยต่อตัวผู้ป่วยคือ การปรึกษาขอคำแนะนำจากแพทย์เฉพาะทางด้านสมอง ไม่ว่าจะเป็นการทานยา การฉีด การฝังเข็ม โดยแพทย์จะรักษาอย่างถูกวิธีและปลอดภัยที่สุดต่อตัวผู้ป่วย
ที่สำคัญอย่าลืมหลีกเลี่ยงปัจจัยที่ก่อให้เกิดของตัวเองด้วย เช่นหลีกเลี่ยงการดื่มกาแฟ แอลกอฮอล์ พักผ่อนให้เพียงพอ อย่าเครียดจนเกินไป ก็จะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมอาการไมเกรนได้ดียิ่งขึ้น เพราะโรคไมเกรนสามารถรักษาได้อย่างถูกวิธีและปลอดภัยที่สุด ถ้าหากใครมีปัญหาปวดไมเกรนเรื้อรัง สามารถปรึกษาได้ผ่านทางไลน์ @ayaclinic
เอกสารอ้างอิง
Migraine – Prevention. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/migraine/prevention/)
Migraine prevention in adults. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK328460/)
Migraine Prevention: How to Prevent & Avoid Migraine Headaches. WebMD. (https://www.webmd.com/migraines-headaches/guide/understanding-migraine-prevention)