ไมเกรนเวียนหัว สังเกตอาการ รักษาได้ถูกจุด

ไมเกรนแบบเวียนหัว

หลายคนคงเคยมีอาการเหล่านี้ อยู่ดีๆ ก็เวียนหัว บ้านหมุน คลื่นไส้ เหมือนโลกไม่เป็นใจ แถมยังปวดหัวตุบๆ มาเสริมทัพให้ชีวิตวุ่นวายขึ้นไปอีก ถ้าเคยเจออาการแบบนี้ อาจไม่ได้เป็นแค่เวียนหัวธรรมดาเท่านั้น แต่อาจเป็น “ไมเกรนเวียนหัว” ที่ใครหลายคนไม่รู้ว่ามันมีอยู่จริง

ไมเกรนไม่ได้มาแค่อาการปวดหัวเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่มันสามารถพาอาการเวียนหัวบ้านหมุนมาด้วย ทำให้ใช้ชีวิตลำบากไปอีกขั้น และที่สำคัญ อาการแบบนี้ไม่ได้เกิดขึ้นแค่ตอนปวดหัวเท่านั้น บางคนไมเกรนยังไม่มาเต็มๆ แต่ปวดหัวเวียนหัวนำร่องไปก่อนแล้ว และบทความนี้จะพาทุกคนไปรู้จักกับไมเกรนเวียนหัวให้ชัดๆ ว่าอาการจริงๆ เป็นยังไง ไมเกรนกับเวียนหัวเกี่ยวข้องกันยังไง และที่สำคัญ จะรับมือกับมันยังไงให้เวิร์กที่สุด

สารบัญบทความ

ไมเกรนคืออะไร ?

ไมเกรนไม่ใช่แค่อาการปวดหัวทั่วไป แต่เป็นโรคทางสมองที่รุนแรงกว่านั้น อาการของมันมาแบบเป็นระบบ ทั้งปวดหัวหนักหน่วง เวียนหัว คลื่นไส้ หรือแม้แต่ตาพร่าไปชั่วขณะ คนที่เป็นจะรู้เลยว่ามันไม่ใช่แค่ปวดๆ เดี๋ยวก็หาย แต่มันสามารถอยู่กับเรานานเป็นชั่วโมง หรือบางทีลากยาวไปเป็นวันๆ ได้เลย ไมเกรนเป็นหนึ่งในอาการปวดหัวที่เจอบ่อยที่สุด แต่หลายคนยังแยกไม่ออกว่ามันต่างจากอาการปวดหัวแบบอื่นยังไง เดี๋ยวมาดูกันว่าลักษณะของไมเกรนเป็นยังไง และอะไรเป็นตัวจุดชนวนให้มันปะทุขึ้นมา

อาการไมเกรน

ลักษณะเด่นของอาการไมเกรน

  • ปวดแบบตุบๆ หรือปวดข้างเดียว

ไมเกรนมักจะปวดแบบเป็นจังหวะตุบๆ เหมือนหัวใจเต้นในสมอง ส่วนใหญ่ปวดข้างเดียว แต่บางคนอาจปวดทั้งสองข้างได้เหมือนกัน

  • ปวดนานเป็นชั่วโมง หรือบางทีเป็นวัน

อาการปวดจากไมเกรนไม่ได้มาแค่แป๊บเดียว แต่มักจะลากยาวตั้งแต่ 4 ชั่วโมงไปจนถึง 72 ชั่วโมง ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง

  • ไวต่อแสง เสียง และกลิ่น

คนเป็นไมเกรนมักจะแพ้แสง เสียงดังๆ หรือกลิ่นแรงๆ แบบที่ปกติอาจไม่รู้สึกอะไร แต่พอไมเกรนมา ทุกอย่างก็คือศัตรู

  • อาการร่วมอื่นๆ ที่ตามมา

นอกจากปวดหัวแล้ว ยังมีอาการอย่างคลื่นไส้ อาเจียน เวียนหัวไมเกรน หรือแม้แต่ตาพร่า บางคนอาจเห็นแสงวูบวาบ หรือภาพเบลอก่อนที่อาการปวดจะมาเต็มๆ

สาเหตุของไมเกรน

โดยส่วนมากแล้วไมเกรนมักจะกำเริบขึ้นมาโดยมีมีตัวกระตุ้นบางอย่าง ซึ่งแต่ละคนอาจมีสาเหตุที่ต่างกันไป แต่ที่พบบ่อยจะมีดังนี้

  • ความเครียด : ชีวิตที่เต็มไปด้วยงานด่วน เดดไลน์กระชั้น หรือเรื่องให้คิดเยอะๆ สามารถกระตุ้นไมเกรนได้แบบง่ายๆ
  • การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน : โดยเฉพาะในผู้หญิง ช่วงที่ฮอร์โมนแกว่ง เช่น ก่อนหรือหลังมีประจำเดือน อาจทำให้ไมเกรนกำเริบได้
  • การนอนหลับที่ไม่เป็นเวลา : นอนน้อยไปก็ไมเกรน นอนมากไปก็ไมเกรนอีก สรุปคือต้องบาลานซ์ให้ดี
  • อาหารและเครื่องดื่มบางชนิด : กาแฟ แอลกอฮอล์ ชีสบางประเภท หรืออาหารที่มีผงชูรสเยอะๆ สามารถเป็นตัวจุดชนวนให้ไมเกรนมาเยือนได้
  • การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ : ฝนตก อากาศร้อนเกินไป หรืออุณหภูมิเปลี่ยนแปลงเร็วๆ ก็เป็นตัวกระตุ้นให้บางคนมีอาการเวียนหัวจากไมเกรนได้

เวียนหัวจากไมเกรน อาการที่มักถูกมองข้าม

พูดถึง “ไมเกรน” หลายคนจะนึกถึงอาการปวดหัวตุบๆ แต่รู้ไหมว่าไมเกรนไม่ได้มาแค่เรื่องปวดหัวเท่านั้น สำหรับบางคน อาการหลักที่โดนเล่นงานหนักๆ กลับเป็นอาการเวียนหัวจากไมเกรน บ้านหมุน คลื่นไส้ จนทำให้ใช้ชีวิตลำบาก ซึ่งอาการนี้เรียกว่า Vestibular Migraine หรือ ไมเกรนเวียนหัว ที่คนส่วนใหญ่มักไม่รู้ว่ามันมีอยู่จริง

ถ้าเคยรู้สึกเวียนหัวแบบแปลกๆ โดยที่ไม่ใช่เพราะความดันต่ำ หรือโรคหูชั้นใน อาจถึงเวลาต้องเช็กแล้วว่าเราอาจกำลังเจอกับไมเกรนเวียนหัวอยู่ก็ได้ เดี๋ยวมาดูกันว่ามันคืออะไร และมันต่างจากอาการเวียนหัวธรรมดายังไง

Vestibular Migraine คืออะไร?

Vestibular Migraine หรือ ไมเกรนเวียนหัว เป็นรูปแบบหนึ่งของไมเกรนที่เน้นไปที่อาการเวียนหัวมากกว่าการปวดหัว อาจมีหรือไม่มีอาการปวดหัวร่วมด้วยก็ได้ ซึ่งทำให้หลายคนเข้าใจผิดว่าไม่ได้ปวดหัว ไม่น่าใช่ไมเกรน แต่จริงๆ แล้วมันคือไมเกรนที่ส่งผลต่อระบบทรงตัวของร่างกาย โดยอาการแสดงของไมเกรนเวียนหัว เช่น

  • เวียนหัว บ้านหมุน รู้สึกเหมือนโลกโคลงเคลง
  • มีอาการคลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย
  • รู้สึกโหวงๆ เหมือนจะเป็นลม เวลาลุกยืนหรือขยับตัวเร็วๆ
  • ไวต่อแสง เสียง และกลิ่นเหมือนไมเกรนทั่วไป
  • มีอาการตาพร่า หรือรู้สึกว่าการมองเห็นผิดปกติ

อาการเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้เป็นนาที เป็นชั่วโมง หรือบางทีลากยาวไปทั้งวันเลยก็มี และที่สำคัญ คืออาจเกิดขึ้นแม้ในวันที่ไม่ได้ปวดหัวเลยด้วยซ้ำ

ไมเกรนเวียนหัว

อาการแตกต่างจากเวียนหัวทั่วไปอย่างไร?

หลายคนสับสนระหว่างเวียนหัวไมเกรน กับอาการเวียนหัวจากสาเหตุอื่น เช่น น้ำในหูไม่เท่ากัน หรือความดันโลหิตต่ำ ซึ่งวิธีแยกความแตกต่างสามารถทำได้ดังนี้

เวียนหัวจาก Vestibular Migraine

  • มักมาพร้อมอาการไมเกรนอื่นๆ เช่น ไวต่อแสง เสียง หรือมีกลิ่นมากระตุ้น
  • เวียนหัวโดยไม่มีเหตุการณ์เฉพาะ เช่น ไม่ได้ลุกเร็วเกินไป หรือไม่ได้อยู่ในที่อับ
  • อาจเกิดขึ้นแม้ในวันที่ไม่ได้ปวดหัว
  • เป็นๆ หายๆ ได้ และอาการอาจเปลี่ยนแปลงไปตามรอบของไมเกรน

เวียนหัวจากน้ำในหูไม่เท่ากัน (โรค Ménière’s Disease)

  • มักมีเสียงอื้อ หรือรู้สึกแน่นในหูร่วมด้วย
  • เวียนหัวเป็นเวลานาน และมักมีปัญหาการได้ยินร่วมด้วย
  • เกิดขึ้นแบบเฉียบพลัน และอาการมักคงอยู่หลายชั่วโมง

เวียนหัวจากความดันโลหิตต่ำ

  • เกิดตอนเปลี่ยนท่าทางเร็วๆ เช่น ลุกขึ้นจากที่นั่งแล้วหน้ามืด
  • อาจมีอาการใจสั่น หรือเหนื่อยง่ายร่วมด้วย
  • มักเกิดในช่วงที่ร่างกายขาดน้ำ หรือทานอาหารไม่เพียงพอ

ใครที่เจออาการเวียนหัวแบบแปลกๆ ซ้ำๆ และมีแนวโน้มเหมือนไมเกรน ลองเช็กดูดีๆ ว่าเป็น Vestibular Migraine หรือเปล่า ถ้าใช่ จะได้หาทางรักษาไมเกรนเวียนหัวให้ถูกต้อง เพราะปล่อยไว้อาจทำให้ร่างกายล้าและส่งผลต่อชีวิตประจำวันหนักกว่าเดิม

ปัจจัยเสี่ยงและกลุ่มที่ควรระวัง

ไมเกรนเวียนหัวมักเกิดขึ้นโดยมีปัจจัยที่กระตุ้นให้มันกำเริบได้ง่ายขึ้น และบางกลุ่มคนก็มีแนวโน้มมากกว่าคนอื่น ถ้ารู้ตัวว่าเข้าข่าย รีบดูแลตัวเองก่อนอาการจะหนักขึ้นจะดีกว่า

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ไมเกรนเวียนหัวกำเริบ  

  • ความเครียด เรื่องกวนใจเยอะๆ ความกดดันจากงานหรือชีวิตส่วนตัว ทำให้สมองล้าและอาการเวียนหัวจากไมเกรนมาเยือนได้ง่าย
  • การนอนที่ไม่เป็นเวลา นอนไม่พอ นอนดึก หรือนอนมากเกินไปก็เป็นตัวกระตุ้นไมเกรนได้เหมือนกัน
  • อาหารและเครื่องดื่มบางชนิด เช่น กาแฟ ชีสบ่ม แอลกอฮอล์ อาหารที่ใส่ผงชูรส หรืออาหารแปรรูป อาจกระตุ้นไมเกรนให้โผล่มาแบบไม่ได้นัดหมาย
  • การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ เช่น ฝนตก อากาศร้อนจัด หรืออุณหภูมิเปลี่ยนแปลงเร็วๆ ร่างกายอาจปรับตัวไม่ทัน แล้วทำให้อาการเวียนหัวจากไมเกรนกำเริบได้
  • การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน โดยเฉพาะในผู้หญิง ไมเกรนอาจมากับรอบเดือน การตั้งครรภ์ หรือช่วงที่ฮอร์โมนแกว่งๆ
  • แสงจากหน้าจอและสิ่งเร้าต่างๆ ใช้จอนานๆ โดยไม่พัก หรือเจอแสงจ้าๆ เสียงดังๆ กลิ่นแรงๆ อาจเป็นตัวกระตุ้นที่ทำให้ไมเกรนเวียนหัวเล่นงานเราได้ง่ายขึ้น

กลุ่มที่ควรระวังเป็นพิเศษ

  • คนที่ต้องทำงานหน้าจอเป็นเวลานาน เช่น พนักงานออฟฟิศ ฟรีแลนซ์ หรือใครที่ติดจอหนักๆ มีโอกาสเสี่ยงสูง เพราะแสงสีฟ้าและความเครียดจากงานเป็นตัวจุดชนวนไมเกรนได้ดีมาก คนกลุ่มนี้จึงมักเป็นไมเกรนเวียนหัวบ่อยกว่าคนอื่นๆ
  • ผู้หญิง โดยเฉพาะวัยที่ฮอร์โมนแกว่ง ไมเกรนผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และช่วงที่ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง เช่น ก่อนหรือหลังมีประจำเดือน หรือช่วงวัยทอง ไมเกรนก็จะกำเริบง่ายขึ้น
  • คนที่ต้องเดินทางบ่อยๆ การเปลี่ยนที่นอนบ่อยๆ เดินทางไกล เจออากาศที่เปลี่ยนแปลง หรือเจ็ตแล็ก สามารถกระตุ้นให้อาการเวียนหัวจากไมเกรนโผล่มาได้
  • คนที่ออกกำลังกายหนักเกินไป หรือขาดน้ำระหว่างออกกำลังกาย อาจเป็นตัวเร่งให้ไมเกรนกำเริบได้เช่นกัน
  • คนที่มีประวัติครอบครัวเป็นไมเกรน ถ้าพ่อแม่หรือพี่น้องเป็นไมเกรน โอกาสที่เราจะเป็นก็มากขึ้น เพราะไมเกรนมีปัจจัยทางพันธุกรรมเข้ามาเกี่ยวข้อง

วิธีวินิจฉัยที่แม่นยำต้องทำอย่างไร

ไมเกรนเวียนหัวไม่ใช่อาการที่เราจะเดาเองได้ว่ามันใช่หรือไม่ใช่ เพราะมันมีหลายโรคที่อาการคล้ายกันมาก เช่น โรคหูชั้นในผิดปกติ หรือแม้แต่โรคหลอดเลือดสมอง ดังนั้น ถ้าอยากรู้ชัวร์ๆ ว่าสิ่งที่เป็นอยู่คือ Vestibular Migraine หรืออาการจากโรคอื่น การพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยอย่างละเอียดคือทางที่ดีที่สุด

หลายคนอาจคิดว่าไมเกรนเป็นเรื่องเล็กๆ แค่กินยาแล้วนอนพักเดี๋ยวก็หาย แต่ถ้ามีอาการไมเกรนเวียนหัวบ่อย จนรู้สึกว่าเป็นไมเกรนเวียนหัวเรื้อรัง แนะนำให้รีบพบแพทย์โดยเร็วที่สุดเพื่อให้ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ไม่ต้องเสี่ยงลองผิดลองถูกเอง โดยแพทย์จะทำการวินิจฉัยดังนี้

  • ตรวจระบบประสาท

แพทย์อาจเริ่มจากการตรวจระบบประสาท เพื่อตรวจสอบว่าการทรงตัว การมองเห็น การได้ยิน และปฏิกิริยาตอบสนองของร่างกายเป็นปกติหรือไม่ วิธีนี้ช่วยให้แยกได้ว่าอาการเวียนหัวมาจากปัญหาในสมอง หรือจากระบบประสาทส่วนอื่น

  • ซักประวัติโดยละเอียด

การซักประวัติเป็นอีกขั้นตอนที่สำคัญ แพทย์จะถามว่าอาการเวียนหัวของเรามีลักษณะยังไง เช่น เป็นแบบบ้านหมุน หรือรู้สึกโคลงเคลง อาการเกิดขึ้นบ่อยแค่ไหน มีปัจจัยกระตุ้นหรือไม่ มีใครในครอบครัวเป็นไมเกรนหรือเปล่า แต่ถ้ากลัวลืม ให้จดบันทึกอาการล่วงหน้าก่อนไปพบแพทย์ จะช่วยให้วินิจฉัยได้ง่ายขึ้น

  • ตรวจ MRI / CT Scan (หากจำเป็น)  

ในบางกรณีที่แพทย์สงสัยว่าอาการเวียนหัวอาจเกิดจากโรคทางสมอง เช่น เนื้องอก หรือโรคหลอดเลือดสมอง แพทย์อาจแนะนำให้ตรวจ MRI หรือ CT Scan เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีความผิดปกติอื่นๆ ซ่อนอยู่

  • แยกโรคอื่นที่อาการคล้ายกัน

ไมเกรนเวียนหัวมีอาการใกล้เคียงกับโรคอื่นๆ เช่น โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน (Ménière’s Disease) หรือโรคหลอดเลือดสมอง ดังนั้น แพทย์จะช่วยแยกความแตกต่างระหว่างโรคเหล่านี้เพื่อให้ได้รับการรักษาที่ถูกต้องที่สุด

แนวทางการรักษาไมเกรนที่มีอาการเวียนหัว

ไมเกรนเวียนหัวเป็นอาการที่มากกว่าการปวดหัวธรรมดา เพราะมันเล่นงานระบบทรงตัวของเราเต็มๆ ทำให้ชีวิตยุ่งยากขึ้นไปอีก แต่ข่าวดีคือมันมีวิธีรับมือได้ การรักษารักษาไมเกรนเวียนหัวไม่ได้มีแค่กินยาไมเกรนอย่างเดียวเท่านั้น แต่ต้องใช้หลายวิธีควบคู่กันเพื่อให้ได้ผลดีที่สุด มาดูกันว่าแต่ละแนวทางเป็นยังไงบ้าง

การใช้ยา

การใช้ยาเป็นทางเลือกแรกๆ ที่ช่วยควบคุมอาการเวียนหัวจากไมเกรนได้ ซึ่งยาที่แพทย์มักใช้มีทั้งแบบกินเมื่อมีอาการและกินเพื่อป้องกัน ซึ่งมีด้วยกันดังนี้

  • ยาแก้ปวดไมเกรนทั่วไป เช่น พาราเซตามอล ไอบูโพรเฟน ใช้ในช่วงที่อาการไม่หนักมาก
  • ยากลุ่ม Triptans ใช้ในกรณีที่ไมเกรนกำเริบรุนแรง
  • ยาแก้วิงเวียน (Antivertigo drugs) เช่น Betahistine หรือ Dimenhydrinate ช่วยลดอาการบ้านหมุน
  • ยาป้องกันไมเกรน เช่น ยากลุ่ม Beta-blockers, ยากันชัก หรือยาต้านซึมเศร้า ที่ช่วยลดความถี่ของอาการไมเกรน

การปรับพฤติกรรมร่วม

ไมเกรนเวียนหัวมักมีตัวกระตุ้นที่ทำให้มันกำเริบ ถ้าจัดการสิ่งเหล่านี้ได้ โอกาสไมเกรนมาเยือนจะลดลงเยอะ

  • นอนให้พอและตื่นให้ตรงเวลา ลดโอกาสไมเกรนเล่นงานได้
  • เลี่ยงอาหารกระตุ้นไมเกรน เช่น แอลกอฮอล์ คาเฟอีน อาหารแปรรูป ผงชูรส ระวังให้ดี
  • ลดความเครียด ฝึกหายใจลึกๆ หรือทำสมาธิช่วยได้
  • ลดการจ้องหน้าจอเป็นเวลานาน ใช้กฎ 20-20-20 (พักสายตาทุก 20 นาที มองไปไกล 20 ฟุต เป็นเวลา 20 วินาที)
  • ออกกำลังกายเบาๆ เช่น โยคะ พิลาทิส หรือเดินเล่นช่วยปรับสมดุลร่างกายและลดอาการไมเกรนเวียนหัวเรื้อรังได้ดี

การรักษาทางเลือกอื่น 

นอกจากการกินยาและการปรับพฤติกรรมแล้ว ยังมีวิธีรักษาไมเกรนเวียนหัวที่ได้รับความนิยมมากขึ้นอีกมากมาย ซึ่งเป็นการรักษาทางเลือกที่ได้ผลจริง มาดูกันว่ามีวิธีไหนบ้าง

  • ฉีดโบท็อกซ์ (Botox for Migraine) : โบท็อกซ์ไม่ได้มีดีแค่ลดริ้วรอย แต่ยังสามารถช่วยลดความถี่และความรุนแรงของไมเกรนได้ด้วย โดยแพทย์จะฉีดตามจุดต่างๆ บนศีรษะและคอ ซึ่งจะช่วยคลายกล้ามเนื้อที่ตึง และลดอาการปวดจากไมเกรนได้
  • กายภาพบำบัด : ถ้าอาการเวียนหัวมาจากปัญหาเกี่ยวกับระบบทรงตัว การทำกายภาพบำบัดโดยนักกายภาพจะช่วยปรับสมดุลและลดอาการเวียนหัวได้
  • ฝังเข็ม : บางคนพบว่าการฝังเข็มช่วยบรรเทาอาการไมเกรนและทำให้ร่างกายผ่อนคลายมากขึ้น  
  • วิตามินและอาหารเสริม : เช่น แมกนีเซียม, วิตามิน B2, โคเอนไซม์ Q10 มีการวิจัยว่าสามารถช่วยลดความถี่ของไมเกรนได้

ฉีดโบท็อกซ์รักษาไมเกรน

เมื่อไหร่ควรรีบพบแพทย์?

ไมเกรนเวียนหัว ดูเหมือนเป็นอาการปกติที่พอทนได้ แต่บางครั้งมันอาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงกว่าที่คิด ถ้าเจออาการเหล่านี้อย่ารอช้า ควรรีบไปพบแพทย์ด่วน

  • อาการไมเกรนที่รุนแรงขึ้นหรือเปลี่ยนไปจากเดิม เคยเป็นไมเกรนมาก่อน แต่รอบนี้ปวดหนักกว่าปกติ หรือมีอาการใหม่ๆ ที่ไม่เคยเจอ
  • เวียนหัวหนักจนเดินไม่ได้ รู้สึกเหมือนโลกหมุนแบบควบคุมไม่ได้ ล้มง่าย หรือเซบ่อยๆ อาจเป็นสัญญาณของปัญหาเกี่ยวกับสมอง
  • ปวดหัวรุนแรงแบบฉับพลัน อาจเป็นสัญญาณของโรคหลอดเลือดสมอง หรือภาวะเลือดออกในสมอง
  • แขนขาอ่อนแรง พูดไม่ชัด มองเห็นผิดปกติ ถ้ามีอาการแบบนี้ร่วมกับไมเกรน อย่านิ่งนอนใจ เพราะอาจเป็นสัญญาณของโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)
  • อาการเวียนหัวจากไมเกรนที่เกิดถี่ขึ้นเรื่อยๆ จนรบกวนการใช้ชีวิตปกติ ควรไปตรวจเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง
  • มีไข้ คอแข็ง หรือซึมลงผิดปกติ อาการเหล่านี้อาจเกี่ยวข้องกับการติดเชื้อในสมอง เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ซึ่งต้องได้รับการรักษาโดยด่วน
  • ถ้าต้องกินยาแก้ปวดไมเกรนมากกว่า 10-15 วันต่อเดือน อาจเกิดภาวะปวดหัวจากการใช้ยาเกินขนาด (Medication Overuse Headache) ซึ่งทำให้เป็นไมเกรนเวียนหัวเรื้อรังได้

ข้อสรุป 

ไมเกรนเวียนหัวไม่ใช่แค่เรื่องเล็กๆ ที่จะปล่อยผ่านไปได้ เพราะมันส่งผลต่อชีวิตประจำวันมากกว่าที่คิด การเข้าใจอาการของตัวเอง รู้จักปัจจัยกระตุ้น และหาวิธีรักษาที่เหมาะสม เป็นกุญแจสำคัญในการควบคุมไมเกรนให้อยู่หมัด อย่าปล่อยให้ไมเกรนมากำหนดชีวิต ถ้าสังเกตเห็นอาการผิดปกติ หรือรู้สึกว่าอาการเวียนหัวจากไมเกรนเริ่มรบกวนการใช้ชีวิต ก็ถึงเวลาที่ต้องหาทางจัดการอย่างจริงจังแล้ว

หากคุณกำลังมองหาศูนย์เฉพาะทางสำหรับรักษาไมเกรนเวียนหัว BTX Migraine Center คือทางเลือกที่ตอบโจทย์ ด้วยเทคโนโลยีการตรวจที่ทันสมัย และทีมแพทย์ที่เชี่ยวชาญด้านไมเกรนโดยเฉพาะ ทำให้สามารถวินิจฉัยและรักษาได้อย่างตรงจุด ไม่ว่าคุณจะต้องการคำปรึกษาเกี่ยวกับอาการเวียนหัวจากไมเกรน หรือกำลังมองหาทางเลือกการรักษาที่เหมาะกับตัวเอง สามารถแอดไลน์ @ayaclinic หรือโทร 090–970-0447 เพื่อนัดหมายและขอคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้เลย

แอดไลน์