ปวดหัวไซนัส (Sinus Headaches) เกิดจากอะไร? อาการ สาเหตุ วิธีรักษา

 ปวดหัวไซนัส (Sinus Headaches)

อยู่ดีๆ ก็มีอาการปวดหน่วงๆ บริเวณหน้าผาก หัวตา โหนกแก้ม ตลอดจนบริเวณเบ้าตาหรือกระบอกตา หลายๆ คนอาจจะสงสัยว่าคืออาการอะไร? คำตอบคือ อาการเหล่านี้เป็นอาการไซนัสอักเสบปวดหัว แต่บางครั้งอาการปวดหัวไซนัสก็อาจจะคล้ายคลึงกับอาการไมเกรนจนบางครั้งก็แยกไม่ออก 

วันนี้เราจึงจะพาทุกคนไปรู้จักว่าปวดหัวไซนัส อาการเป็นอย่างไร มีสาเหตุมาจากอะไร ต่างจากไมเกรนหรือไม่ ตลอดจนปวดหัวไซนัส รักษาได้ด้วยวิธีไหน ถ้าพร้อมแล้วตามไปอ่านกันเลยค่ะ


สารบัญบทความ


ปวดหัวไซนัส (Sinus Headache)

ปวดหัวไซนัส (Sinus Headache)

ไซนัส (Sinus) คือ โพรงอากาศที่อยู่รอบๆ ใบหน้าและจมูก บริเวณด้านในจะมีเยื่อบุ ทำหน้าที่ปรับอากาศการหายใจ ถ่ายเทความร้อนและความชื้น เพื่อปรับอุณหภูมิในร่างกายให้เหมาะสมซึ่งไซนัสจะมีทั้งหมด 4 คู่ คือ

  • บริเวณโหนกแก้ม 2 ข้าง (Maxillary Sinus)
  • ระหว่างลูกตา บริเวณหัวตา 2 ข้าง (Ethmoid Sinus)
  • บริเวณหน้าผากใกล้กับหัวคิ้ว 2 ข้าง (Frontal Sinus)
  • อยู่ในกะโหลกศีรษะ ใกล้ฐานสมอง (Sphenoid Sinus)

ซึ่งเมื่อพบว่ามีอาการผิดปกติบริเวณไซนัสหรือจมูก จึงเป็นคำตอบของคำถามที่หลายๆ คนสงสัยว่าไซนัส ทำให้ปวดหัวไหม? เนื่องจากการติดเชื้อของไซนัส หรือความผิดปกติต่างๆ จะส่งผลให้เกิดอาการปวดหัวไซนัสตามมานั่นเอง อย่างไรก็อาการไซนัสอักกเสบนี้เกิดได้ในทุกเพศทุกวัย และจะเกิดขึ้นบ่อยในช่วงฤดูหรือช่วงที่หลายคนมีอาการเป็นไข้หวัด 


อาการสัญญาณเตือนปวดหัวไซนัส

ปวดหัวไซนัสพบได้บ่อยในคนทุกเพศทุกวัย โดยส่วนใหญ่มักมีลักษณะอาการสัญญาณเตือนคล้ายคลึงกัน ดังนี้

  • ปวดหัวช่วงเช้าหรือบ่าย 
  • ก้มแล้วมีอาการปวดหัว
  • ปวดหู หูอื้อ  
  • เจ็บคอ  
  • น้ำมูกมีสีผิดปกติ เช่น เป็นหนองสีเขียวข้น หรือสีเหลืองข้น 
  • คัดแน่นจมูก 
  • หายใจมีกลิ่นเหม็นคาว หรือมีกลิ่นเหม็นผิดปกติในจมูก
  • มีไข้
  • ร่างกายอ่อนเพลีย

อาการสัญญาณเตือนปวดหัวไซนัส

อาการข้างเคียงที่มักเกิดร่วมกับอาการปวดหัว

นอกจากอาการที่พบบ่อยๆ ในข้างต้น ยังพบอาการข้างเคียงที่เกิดร่วมกับอาการปวดหัวไซนัส ดังนี้

  • มีอาการปวดมึนหนักๆ หรือปวดกระบอกตา 
  • มีอาการปวดร้าวมาที่ฟัน 
  • ปวดหน่วงๆ บริเวณหน้าผาก หัวตา โหนกแก้ม ปวดดั้งจมูกปวดหัว  
  • ประสิทธิภาพในการรับกลิ่นลดลง โดยบางคนมักมีอาการนานกว่า 7-10 วัน

ปวดหัวไซนัสเกิดจากสาเหตุใด

หนึ่งในลักษณะอาการที่ส่งผลให้เกิดอาการปวดหัวไซนัส คือ ไซนัสอักเสบหรือภาวะโพรงอากาศที่อยู่ในกะโหลกศีรษะ ใบหน้ารอบๆ และจมูก โดยที่บริเวณทางเชื่อมต่อรอบๆ จมูกที่เชื่อมต่อโพรงไซนัสเกิดอาการอุดตัน ส่งผลให้สารคัดหลั่ง โดยเฉพาะน้ำมูกไม่สามารถระบายออกไปได้ ส่งผลให้เชื้อโรคก่อตัวและกลายเป็นอาการไซนัสอักเสบปวดหัวมาก

อย่างไรก็ดี อาการไซนัสอักเสบปวดหัวมากมี 2 ประเภท คือ ระยะเฉียบพลันและระยะเรื้อรัง ซึ่งไม่ว่าจะเป็นอาการไซนัสอักเสบประเภทใด ก็ล้วนมีปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดอาการทั้งสิ้น

ปวดหัวไซนัสเกิดจากสาเหตุใด

ปัจจัยกระตุ้นอาการปวดหัวไซนัส

ปัจจัยกระตุ้นอาการปวดหัวไซนัสสามารถพบได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้

  • ผู้ที่ป่วยไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัดทั่วๆ ไป ภูมิแพ้ โดยเฉพาะภูมิแพ้อากาศ เนื่องจากผู้ที่มีอาการเหล่านี้จะทำให้เยื่อบริเวณในโพรงจมูกเกิดอาการอุดตัน ส่งผลให้โพรงไซนัสอุดตัน และกลายเป็นอาการปวดหัวจากไซนัสในที่สุด
  • ผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำ หรือผู้ที่อยู่ในพื้นที่ที่มลภาวะทางอากาศเป็นพิษ จนส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจ ทำให้ภูมิต้านทานในร่างกายลดลง
  • ผู้ที่เคยมีความผิดปกติเกี่ยวกับช่องจมูก เช่น ช่องจมูกแคบกว่าปกติ ผนักกั้นจมูกคด ส่งผลให้เกิดอาการติดเชื้อ การอักเสบ และปวดหัวคิ้วไซนัสง่ายขึ้น
  • ผู้ที่ว่ายน้ำในหรือสำลักน้ำในสระที่ใส่คลอรีน เนื่องจากจะส่งผลให้เยื่อบุภายในโพรงไซนัสเกิดอาการอักเสบและระคายเคือง

ปวดหัวไซนัส อันตรายไหม

ดังที่กล่าวมาในข้างต้น อาการปวดหัวไซนัสแบ่งได้ 2 ประเภท คือ ไซนัสอักเสบเฉียบพลันและไซนัสอักเสบเรื้อรัง ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้ นอกจากจะต้องเผชิญกับอาการปวดหัวคิ้ว ปวดหน่วงๆ บริเวณหน้าผากและใบหน้าแล้ว ยังอาจจะส่งผลให้เกิดอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ลุกลามไปยังบริเวณเนื้อสมอง จนนำไปสู่การเสียชีวิตได้ในที่สุด

นอกจากนี้ปวดหัวไซนัสยังลุกลามไปสู่ลูกตา จนเกิดภาวะอักเสบแทรกซ้อน และอาจทำให้ตาบอดได้ด้วยเช่นกัน ทางที่ดีจึงควรเข้ารับคำปรึกษาและเข้ารักษากับแพทย์ทันที


ปวดหัวไซนัสกับไมเกรนต่างกันอย่างไร

เนื่องจากลักษณะอาการปวดหัวไซนัสและปวดหัวไมเกรนมีลักษณะใกล้เคียงและคล้ายคลึงกัน จนบางครั้งทำให้เกิดการวินิจฉัยและเข้าใจผิดบ่อยๆ จนทำให้รักษาอย่างผิดวิธี ทางที่ดีจึงควรแยกแยะอาการทั้ง 2 ประเภท ซึ่งแตกต่างกันดังนี้

อาการไมเกรน

  • อาการไมเกรน

อาการไมเกรน จะมีลักษณะคือ ปวดหัวข้างเดียว สองข้าง บางครั้งลามไปจนปวดหัวท้ายทอย บริเวณหน้าผาก ใบหน้า และกระบอกตา นอกจากนี้อาจจะมีอาการปวดหัวคลื่นไส้ อย่างไรก็ดี ลักษณะอาการร่วมที่เกิดขึ้นเฉพาะไมเกรนซึ่งต่างจากปวดหัวไซนัสคือ เวียนหัว คลื่นไส้ อาเจียน ไวต่อสิ่งเร้าไม่ว่าจะเป็นแสง สี เสียง ตลอดจนมีอาการไมเกรนออร่า ตาพร่ามัว มองเห็นแสงวูบวาบหรือมองเห็นเป็นซิกแซก

แม้ว่าฟังดูจะร้ายแรงและน่ากลัว แต่ก็สามารถรักษาได้หลายรูปแบบ เช่น ใช้วิธีแก้ปวดหัวไมเกรนเบื้องต้นด้วยตนเองง่ายๆ ใช้วิธีกินยาไมเกรนตามแพทย์สั่ง ตลอดจนใช้วธีที่เห็นผลเร็วและผลข้างเคียงน้อยอย่างการฉีดโบท็อกไมเกรนก็จะช่วยได้เช่นกัน

  • อาการปวดหัวไซนัส

อาการปวดหัวไซนัสมักจะเกิดขึ้นทั้งสองข้าง และจะปวดหน่องๆ บริเวณหน้าผาก จมูก และใบหน้ามากกว่า คัดแน่นจมุก ก้มแล้วปวดหัว มีน้ำมูกที่เปลี่ยนสี  การรับกลิ่นที่ลดลง บางครั้งมีอาการปวดร้าวไปยังฟัน นอกจากนี้อีกหนึ่งข้อสังเกตง่ายๆ คือ อาการไซนัสปวดหัวจะคงอยู่หลายวัน แต่ไมเกรนมักจะปวดเพียง 1-2 วันเท่านั้น 


ปวดหัวไซนัส..เมื่อไหร่ควรพบแพทย์

ปวดหัวไซนัส..เมื่อไหร่ควรพบแพทย์

ดังที่กล่าวมาในข้างต้น หากมีอาการซึ่งคล้ายคลึงกับไมเกรน หลายๆ คนจึงจะวินิจฉัยและทำการรักษาอย่างผิดวิธี อีกทั้งในบางครั้งหลายๆ คนก็ละเลย ดังนั้น เมื่อพบว่าตนเองมีอาการปวดหัวไซนัสดังต่อไปนี้ ควรเริ่มเข้าพบแพทย์ เพื่อทำการวินิจฉัยและหาแนวทางการรักษาอย่างถูกวิธี

  • อาการไซนัสอักเสบปวดหัวมากกว่า 15 วันในหนึ่งเดือน 
  • ปวดจนต้องกินยาแก้ปวดบ่อยๆ 
  • ปวดหัวเรื้อรังอย่างรุนแรง และกินยาแก้ปวดแต่อาการไม่ดีขึ้น
  • ปวดหัวจนส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของตนเอง

การวินิจฉัยอาการปวดหัวไซนัส

อย่างที่ทราบกันดีว่าลักษณะอาการของปวดหัวไซนัสกับปวดหัวไมเกรนค่อนข้างคล้ายคลึงกัน ดังนั้นจึงจำเป็นจะต้องใช้วิธีการวินิจฉัยอย่างละเอียด เพื่อทำการรัษาให้ถูกวิธี ดังนี้

การตรวจด้วยการส่องกล้อง (Nasal Endoscopy)

1. การตรวจด้วยการส่องกล้อง (Nasal Endoscopy)

วิธีนี้จะใช้สำหรับวินิจฉัยและตรวจอาการภายในช่องจมูก โดยจะส่องกล้องขนาดเล็กเข้าไปด้านใน โดยที่ทีมแพทย์จะเห็นภาพขณะนั้น ด้วยคุณภาพความละเอียดสูง ทำให้สามารถวินิจฉัยและเห็นถึงความผิดปกติของเยื่อโพรงจมูก ปวดหัวไซนัส และอื่นๆ ได้อย่างชัดเจน

2. การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan)

สำหรับการทำ CT Scan ในการวินิจฉัยจะใช้ตรวจหาความผิดปกติของร่างกายโดยการฉายรังสีเอกซ์ จากนั้นเครื่องคอมพิวเตอร์จะทำหน้าที่ประมวผลก่อนจะฉายผลในรูปแบบจของภาพ 3 มิติ ทำให้เห็นภาพและความผิดปกติภายในร่างกายได้อย่างชัดเจน ทั้งนี้ วิธีดังกล่าวจะได้รับความนิยมสูง เนื่องจากภาพที่ได้ออกมาจะเห็นรายละเอียดชัดเจน ภาพคมชัด

3. การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสมอง (MRI)

การทำ MRI จะใช้สำหรับการวินิจฉัยและตรวจหาความผิดปกติ เช่น สมอง กระดูกสันหลัง อวัยวะส่วนต่างๆ ผ่านการใช้เครื่องสนามแม่เหล็กและคลื่นความถี่วิทยุ จากนั้นจะแสดงผลลัพธ์ออกมาในรูปบบของภาพที่มีความะเอียดสูง และสามารถหาความผิดปกติได้นั่นเอง


วิธีแก้ปวดหัวไซนัส

หลังจากวินิจฉัยอาการและความผิดปกติที่เกิดขึ้นแล้ว แพทย์จะแนะนำวิธีแก้ปวดหัวไซนัสในรูปแบบต่างๆ ตามความเหมาะสมของอาการ ดังนี้

1. การใช้ยาปฏิชีวนะ

การใช้ยาปฏิชีวนะ

ปวดหัวไซนัส วิธีแก้ที่แพทย์จะใช้รักษาคือ การใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษาและกำจัดเชื้อในโพรงจมูกและไซนัสมีหลายรูปแบบและหลายกรณี เนื่องจากแพทย์จะนิยมใช้วิธีให้ยาปฏิชีวนะในกรณีที่ติดเชื้อแบคทีเรียเท่านั้น แต่หากมีอาการไซนัสอักเสบปวดหัวมากจากเชื้อรา แพทย์จะทำการผ่าตัดเพื่อนำเชื้อราออกก่อนและจะให้ยาปฏิชีวนะ เช่น Erythromycin, Trimetoprim+ Sulfamethoxazole ตามไป

อย่างไรก็ตาม การใช้ยารักษาโรคไซนัส จำเป็นต้องปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรผู้เชี่ยวชาญก่อนการใช้ยาเสมอ ไม่ควรซื้อยาทานเอง เนื่องจากอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงและการดื้อยาได้

2. การใช้ยาแก้แพ้

การใช้ยาแก้แพ้

การใช้ยาแก้แพ้ ส่วนใหญ่แพทย์จะจ่ายยาและแนะนำให้สำหรับผู้ที่เคยมีประวัติภูมิแพ้มาก่อนเท่านั้น เนื่องจากการกินยากลุ่มนี้จะมีผลข้างเคียงตามมา ดังนั้น ผู้ที่มีอาการปวดหัวไซนัสจึงไม่ควรซื้อยากลุ่มนี้มากินเอง แต่ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหรือเภสัชกรก่อนเสมอ

3. การใช้น้ำเกลือล้างจมูก

การใช้น้ำเกลือล้างจมูก

อย่างที่ทราบกันดีว่าผู้ที่มีอาการปวดหัวไซนัส มักจะคัดแน่นจมูก มีน้ำมูก ดังนั้น การใช้น้ำเกลือล้างจะช่วยให้สั่งน้ำมูกออกมาได้ง่าย ลดการเกิดเชื้อโรค ซึ่งวิธีง่ายๆ ในการล้างจมูกด้วยตนเองคือ ล้างมือให้สะอาด ผสมเกลือกับน้ำอุ่นในปริมาณที่พอดี หรือจะใช้น้ำเกลือสำเร็จรูปก็ได้ จากนั้นให้ทำตามขั้นตอนดังนี้

  1. ยืนก้มหน้าบริเวณอ่าง
  2. ใช้ลูกยางแดงสูบน้ำเกลือขึ้นมา
  3. สอดปลายลูกยางแดงเข้ารูจมูกทีละข้าง 
  4. บีบลูกยางให้น้ำเกลือไหลผ่าน

4. การผ่าตัดไซนัส

การผ่าตัดไซนัส

วิธีการรักษาในรูปบบนี้จะใช้รักษากับผู้ที่มีอาการปวดหัวไซนัสรุนแรง รักษาด้วยวิธีอื่นไม่หาย หรือมีอาการแทรกซ้อน โดยปัจจุบันทางแพทย์จะนิยมใช้วิธีการผ่าตัดผ่านการส่องกล้อง เนื่องจากสามารถดูดน้ำมูกภายในออกมาได้โดยตรง ในขณะเดียวกันก็สามารถลดอาการอักเสบ แผลน้อย รักษาได้ตรงจุด


ภาวะแทรกซ้อนจากการปวดหัวไซนัส

ภาวะแทรกซ้อนจากอาการปวดหัวไซนัสมีหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับลักษณะอาการ ความรุนแรง กและสุขภาพเบื้องต้นแต่ละบุคคล ดังนี้

  • ภาวะแทรกซ้อนต่อเยื่อบุ แบ่งได้ 2 กรณี คือ กรณีเยื่อบุลำคอจะส่งผลให้กล่องเสียงมีอาการอักเสบเรื้อรัง หลอดลมอักเสบ ตลอดจนมีอาการหอบหืด และในกรณีเยื่อบุทางเดินหายใจจะส่งผลให้เกิดอาการหูชั้นกลางอักเสบได้
  • ภาวะแทรกซ้อนต่อดวงตา เนื่องจากปวดหัวไซนัสจะส่งผลให้รอบๆ ดวงตาอักเสบ ปวดตา ตาแดง ตามัว ประสิทธิภาพในการมองเห็นลดลง 
  • ภาวะแทรกซ้อนต่อกระดูก จะส่งผลให้เกิดอาการปวดหัวคิ้วไซนัส หน้าผาก และลามไปสู่การอักเสบของสมองได้
  • ภาวะแทรกซ้อนต่อสมอง ในเบื้องต้นอาจจะแยกลักษณะอาการได้ยาก เนื่องจากจะมีอาการปวดหัว มีไข้คล้ายกับไข้หวัด ก่อนจจะมีไข้สูงขึ้น นำไปสู่อาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นฝีในสมอง ถึงขึ้นเสียชีวิตจากอาการปวดหัวจากไซนัสได้

นอกจากนี้การใช้ยารักษาบางชนิดอาจจะส่งผข้างเคียงตามมาร่วมด้วย เช่น ง่วงนอน ปากแห้ง มีน้ำมูกและเสมหะเหนียวข้น ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล


แนวทางการป้องกันอาการปวดหัวไซนัส

แนวทางการป้องกันอาการปวดหัวไซนัส

อย่างไรก็ดี อาการปวดหัวไซนัสนั้นมีภาวะแทรกซ้อนหลายรูปแบบ ทางที่ดีไม่ควรปฏิบัติตนตามปัจจัยกระตุ้น แต่ควรดูแลตนเองและหาแนวทางป้องกัน ซึ่งวันนี้เราก็ได้รวบรวมแนวทางป้องกันไซนัสอักเสบปวดหัวมากง่ายๆ มาฝาก ดังนี้

  • หลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีฝุ่น ควัน ละอองในอากาศ หรือมลภาวะทางอากาศ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อย 7-9 ชั่วโมง เพื่อให้ร่างกายได้ฟื้นฟู
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง โดยเฉพาะเมื่อมีอาการปวดหัว การเล่นโยคะแก้ปวดหัวก็จะช่วยได้
  • กินอาหารที่มีประโยชน์ และกินอาหารให้ครบ 5 หมู่
  • งดสูบบุหรี่หรือดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
  • อยู่ในสถานที่ที่อากาศถ่ายเท่ หรือใช้เครื่องกรอกอากาศร่วมด้วย เพื่อลดฝุ่นหรือมลพิษ

ข้อสรุป

ปวดหัวไซนัสเป็นอาการที่พบได้ในคนทุกเพศทุกวัย ซึ่งลักษณะอาการจะคล้ายคลึงกับอาการไมเกรนดังนั้นจึงจะต้องวินิจฉัยอย่างละเอียด เพื่อให้สามารถรักษาได้อย่างถูกวิธีและถูกต้อง ก่อนจะเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

ทั้งนี้หากใครที่วินิจฉันแล้วพบว่าตนเองไม่ได้เป็นปวดหัวไซนัส แต่เป็นไมเกรน ก็สามารถเข้าตรวจไมเกรน ขอคำปรึกษา ตลอดจนนัดวันรักษาไมเกรนกับทางทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญของ BTX Migraine Center ศูนย์รักษาไมเกรนเฉพาะทางผ่านการแอดไลน์ @ayaclinic หรือโทร 090–970-0447 ได้ทันที

แอดไลน์


เอกสารอ้างอิง

Mayo Clinic. (n.d.). Sinus headaches. Retrieve from https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/sinus-headaches/symptoms-causes/syc-20377580