นวดกดจุด 10 ท่าคลายเส้น ลดปวดคอ บ่า ไหล่ ทำได้ด้วยตัวเอง
อาการออฟฟิศซินโดรมเชื่อมโยงและสัมพันธ์กับไมเกรนอย่างไม่น่าเชื่อ เนื่องจากเป็นส่วนหนึ่งที่กระตุ้นอาการปวดหัวไมเกรนได้ง่ายๆ ทั้งนี้ หนึ่งในวิธีแก้ปวดหัวและช่วยรักษาที่ดีคือ นวดกดจุด
แต่นวดกดจุด คืออะไร? มีวิธีกดจุดแบบไหน? หรือต้องทำอย่างไรเพื่อรักษาโรคเหล่านี้ บทความนี้ได้รวบรวมข้อมูลและคำตอบที่มีประโยชน์มาให้แล้วค่ะ
สารบัญบทความ
- รู้จักการนวดกดจุด (Reflexology)
- ความเชื่อของการรักษาแบบนวดกดจุด
- ประโยชน์ของการนวดกดจุด
- นวดกดจุดแก้ไมเกรน
- นวดกดจุดแก้ออฟฟิศซินโดรม
- 5 ท่านวดกดจุดแก้ปวดหัวไมเกรน
- 5 ท่านวดกดจุดรักษาออฟฟิศซินโดรม
- ข้อควระวังในการนวดกดจุด
- แนวทางอื่นสำหรับการรักษาไมเกรน
- แนวทางอื่นในการรักษาออฟฟิศซินโดรม
- ข้อสรุป
รู้จักการนวดกดจุด (Reflexology)
การนวดกดจุด (Reflexology) คือ การใช้แรงกดของกล้ามเนื้อมือและนิ้วตามจุดสะท้อน หรือจุดเฉพาะที่เชื่อมโยงกับอวัยวะหรือบริเวณที่ปวด โดยการนวดกดจุดจะต้องใช้แรงที่เหมาะสมและทำอย่างถูกวิธี เพื่อให้การกดจุดนั้นเกิดประสิทธิภาพสูงสุดและสามารถแก้อาการต่างๆ ได้อย่างดีเยี่ยม
อย่างไรก็ดี การกดจุดแก้อาการต่างๆ สามารถแก้ได้ทั้งอาการออฟฟิศซินโดรม ปวดเมื่อยตามร่างกายและอาการไมเกรน ปวดตุบๆ เช่น ปวดหัวข้างเดียว ปวดรอบบริเวณ ปวดหัวคิ้ว เป็นต้น เนื่องจากการกดจุดคลายเส้น คลายกล้ามเนื้อตามส่วนต่างๆ ได้ดี
ความเชื่อของการรักษาแบบนวดกดจุด
การนวดกดจุด เป็นศาสตร์การรักษาของจีนที่มีมาตั้งแต่โบราณ จนกระทั่งปัจจุบันก็ยังมีการนำมาประยุกต์รักษาและได้รับความนิยมสูง
ทั้งนี้ ตามความเชื่อของแพทย์แผนจีนหรือการรักษาในรูปแบบของการกดจุดคลายกล้ามเนื้อ เชื่อว่าคนเรามีพลังชีวิตหรือ ชี่ (Qi) และจะมีเส้นเมอริเดียนหรือเส้นลมปราณทั่วร่างกาย ซึ่งจุดใดจุดหนึ่งตามเส้นดังกล่าวอุดตันหรือปวดเมื่อยจะทำให้พลังชีวิตเปลี่ยนแปลง ไม่สมดุล
ดังนั้น การนวดกดจุดหรือการกดจุดสะท้อนตามจุดต่างๆ ของเส้น จึงเชื่อว่าจะช่วยแก้ปัญหาเกี่ยวกับอวัยวะภายในร่างกาย อาการ เส้นคอตึงปวดหัว และช่วยคลายกล้ามเนื้อได้นั่นเอง
ประโยชน์ของการนวดกดจุด
นอกจากแพทย์แผนไทยและแพทย์ของทางฝั่งตะวันตกแล้ว การรักษาตามแพทย์แผนจีนอย่างการกดจุดนวดเส้น ที่ได้รับความนิยมนั้นมีประโยชน์หลายอย่าง ดังนี้
1. กระตุ้นการไหลเวียนเลือด
การนวดกดจุดช่วยทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตในร่างกายทำงานได้ดี ไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย ตลอดจนยังเป็นการกระตุ้นเส้นประสาทต่างๆ ให้ทำงานได้ดียิ่งขึ้น เนื่องจาก เดิมทีเกิดอาการปวดตึงอาจจะเป็นเพราะระบบไหลเวียนผิดปกตินั่นเอง
2. ขจัดความเหนื่อยล้า
การกดจุดคลายเส้นจะช่วยปรับปรุงระบบสุขภาพในร่างกายให้ทำงานปกติ เช่น การผ่อนคลาย การคืนความสมดุล การทำงานของอวัยวะด้านในให้กลับมาทำงานปกติ ซึ่งจะช่วยร่างกายกลับมากะปรี้กะเปร่า สดชื่น และช่วยขจัดความเหนื่อยล้าได้เป็นอย่างดี
3. ลดอาการปวดต่างๆ
การกดจุดเพื่อสุขภาพ บรรเทาอาการปวดหัวไซนัส ปวดกล้ามเนื้อตึงตัว ปวดโรคข้ออักเสบ ปวดหัวเรื้อรัง ตลอดจนการปวดตามบริเวณต่างๆ ในร่างกาย เนื่องจากจะช่วยคลายกล้ามเนื้อ ช่วยทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตทำงานได้ดี และกระตุ้นการหลั่งสารหรือฮอร์โมนต่างๆ ให้ร่างกายทำงานได้ดี ลดอาการเจ็บปวดได้
4. คลายความเครียด
เนื่องจากการนวดกดจุดตามบริเวณต่างๆ โดยเฉพาะบริเวณนิ้วโป้งจะช่วยให้เกิดความคลายเครียด ลดความรู้สึกวิตกกังวลในจิตใจ เนื่องจากจะช่วยปรับสมดุลภายในร่างกายทั้งทางกายภาพและจิตใจของบุคคลนั้นๆ
5. บรรเทาและป้องกันอาการโรค
เนื่องจากการกดจุดเลือดไหลเวียนช่วยชี้จุดอ่อนหรือจุดที่อวัยวะในร่างกายที่ไม่สมดุลได้ โดยอาจจะบอกถึงจุดหรืออวัยวะที่ร่างกายนั้นเกิดอาการเจ็บป่วย ซึ่งจะนำไปสู่การวินิจฉัยและโรคอื่นๆ ได้ นอกจากนี้ การกดจุดนิ้วมือตามจุดต่างๆ บนเส้นพลัง จะช่วยลดอาการคลื่นไส้จากการอาเจียนหรือการตั้งครรภ์ ตลอดจนการ ปวดหัวคลื่นไส้จากการผ่าตัด ฉีดยาสลบได้ด้วย
นวดกดจุดแก้ไมเกรน
ดังที่กล่าวมาในข้างต้น การนวดกดจุดเกี่ยวข้องกับอาการปวดหัวไมเกรนอย่างแท้จริง โดยจากการศึกษาและงานวิจัยจากคณะแพทย์ มหาวิทยาลัยแพทย์อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ได้ทำการศึกษาและวิจัย พบว่าการบำบัดอาการไมเกรนด้วยการกดจุดรักษาโรค ผู้ที่เข้ารับการรักษาสามารถลดอาการกำเริบและความรุนแรงได้อย่างดีเยี่ยม สามารถนอนหลับและพักผ่อนได้อย่างปกติ ทั้งนี้ เป็นเพราะการกดจุดช่วยคลายกล้ามเนื้อ เปิดลมปราณภายในร่างกายนั่นเอง
นวดกดจุดแก้ออฟฟิศซินโดรม
นอกจากจะช่วยบรรเทาอาการไมเกรนแล้ว การนวดกดจุดยังช่วยแก้อาการออฟฟิศซินโดรมอีกด้วย เนื่องจากการกดจุดนวดจะทำให้รู้ถึงบริเวณที่ปวดหรือไม่สบายตัว จากนั้นจึงจะทำการนวดเพื่อรักษา โดยการกดจุดนวดเส้น
จะช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัว จากการใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำๆ เพิ่มการไหลเวียนโลหิตของระบบในร่างกาย การลดการยึดติดของเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังหรือเนื้อเยื่อบริเวณข้อต่อ อย่างไรก็ดี กดจุดรักษาโรคจะช่วยให้ร่างกายและจิดตใจผ่อนคลาย ลดความเครียดได้อีกด้วย
5 ท่านวดกดจุดแก้ปวดหัวไมเกรน
อ่านมาถึงตรงนี้หลายๆ คนอาจจะเริ่มอยากเรียนรู้ท่านวดกดจุดแก้ปวดหัวไมเกรน บทความนี้เราก็ไม่ลืมที่จะนำ 5 ท่านวดกดจุดมาฝากทุกคน ดังนี้
1. จุดอิ้นถาง
จุดอิ้นถางอยู่บริเวณกึ่งกลางระหว่างหัวคิ้วทั้งสองข้าง โดยวิธีกดจุดคือ
- ใช้ปลายนิ้วกลางมือกดจุด นวดตามเข็มนาฬิกา 1 นาที
- จากนั้นเปลี่ยนเป็นทวนเข็มนาฬิกาอีก 1 นาที
- ใช้นิ้วหัวแม่มือทั้งสองข้างลากจากหว่างคิ้วไปยังหางคิ้วพร้อมๆ กัน 10 ครั้ง และลากจากระหว่างคิ้วไปจรดไรผมอีก 10 ครั้ง
การนวดกดจุดบริเวณนี้จะช่วยลดอาการ ปวดกระบอกตา ปวดบริเวณหน้าผาก คิ้ว ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนเลือดได้ดี ลดอาการปวดหัวไซนัส และช่วยทำให้ร่างกายผ่อนคลาย
2. จุดจงจู่
จุดจงจู่จะอยู่บริเวณหลังมือ โดยจุดจะอยู่ต่ำกว่ากระดูกข้อต่อระหว่างนิ้วนางและกระดูกฝ่ามือ 1 นิ้ว ห่างจากนิ้วก้อยประมาณ ½ ของนิ้วมือ มีวิธีนวดง่ายๆ คือ นวดเข้าหาข้อศอกในระดับความแรงที่พอดี โดยจะนวดซ้ำประมาณ 3-5 นาที
การกดจุดบริเวณนี้จะช่วยบรรเทาอาการปวดหัว ลดอาการปวดเมื่อย เจ็บคอ ข้อศอก หรือนิ้วมือ โดยจะนวดซ้ำประมาณ 3-5 นาที
3. จุดไท่หยาง
จุดไท่หย่างจะอยู่บริเวณรอยบุ๋มตรงขมับ กึ่งกลางระหว่างคิ้วกับหางตา วิธีการนวดกดจุดคือ กดขยี้บริเวณขมับก่อนจะกดลงที่จุดไท่หยางค้างไว้ ทำซ้ำ 3-5 นาที
การกดจุดบริเวณนี้จะช่วยลดบรรเทาอาการเวียนหัว ลดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ ลดอาการปวดคอ บ่า ไหล่ ตลอดจนอาการตาพร่ามัว
4. จุดเกอจูเยน
จุดเกอจูเยนจะอยู่บริเวณใบหน้า ห่างจากหูประมาณ 2 นิ้ว หากใครหาไม่เจออาจจะลองอ้าปากแล้วจะพบจุดเล็กๆ บริเวณด้านหน้าของหู วิธีการนวดกดจุดนี้ คือ ใช้นิ้วมือนวดขึ้นด้านบน ซ้ำ 3-5 นาที ง่ายๆ แค่นี้ก็จะช่วยให้ระบบฮอร์โมนในร่างกายกลับมาทำงานปกติ คลายตัว และลดอาการปวดเมื่อย
5. จุดซือจู๋คง
จุดซือจู๋คงอยู่บริเวณร่องบุ๋มตรงหางคิ้วทั้งสองข้าง วิธีการนวดกดจุดนี้ จะต่างจากจุดเกอจูเยนคือ ใช้นิ้วมือนวดลงล่างแทน ซ้ำประมาณ 3-5 นาที เพียงแค่นี้ก็จะช่วยลดอาการเวียนหัว ลมชัก ตาอักเสบ ตากระตุก หรืออาการปวดหัวได้
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีนวดแก้ปวดไมเกรนได้ที่บทความ 7 วิธีนวดกดจุด หยุดไมเกรน แก้ปวดหัว ปวดตา ฉบับง่าย ทำได้ด้วยตัวเอง
5 ท่านวดกดจุดรักษาออฟฟิศซินโดรม
นอกจาก 5 ท่านวดกดจุดแก้ไมเกรนแล้ว ยังมี 5 ท่านวดกดจุดรักษาออฟฟิศซินโดรม ให้หลายๆ คนได้ลองทำตามเช่นกัน ดังนี้
1. จุดเฉิงชี่
จุดเฉิงชี่จะอยู่บริเวณใต้เปลือกตาล่าง โดยวิธีการกดจุดสามารถทำได้ง่ายๆ คือ
- หลับตาทั้งสองข้าง หันหน้าตรง
- ใช้นิ้วชี้คลึงเปลือกตาทั้งสองอย่างเบาๆ ประมาณ 10 นาที
เพียงเท่านี้ก็จะช่วยบรรเทาอาการตาล้า ปวดตา หรือการปวดเมื่อย จากการนั่งทำงานหรือการจ้องจอคอมพิวเตอร์เป็นระยะเวลานาน
2. จุดอวี๋จี้
จุดอวี๋จี้จะอยู่ตรงโคนนิ้วหัวแม่มือ วิธีการกดจุดอวี๋จี้จะทำได้ คือ
- เหยียดแขนตรงๆ จนเห็นกระดูกข้อต่อใต้โคนนิ้วหัวแม่มือ
- ใช้นิ้วหัวแม่มือหรือนิ้วโป้งของมืออีกข้างมาคลึงเบาๆ เป็นระยะเวลาประมาณ 10 นาที วันละ 1-2 ครั้ง
การกดจุดนี้จะช่วยบรรเทาอาการปวดข้อมือจากการใช้งานหนัก ผู้ที่ซักผ้า บิดผ้า จับเมาส์ หรือถือของเป็นเวลานาน
3. จุดต้าจู้
จุดต้าจู้จะอยู่บริเวณด้านข้างของกระดูกสันหลังส่วนบนที่นูนออกมาเวลาก้มหัวลง วิธีการกดจุดบริเวณนี้คือ
- แตะบริเวณท้ายทอยหรือจุดที่กระดูกส่วนบนนูนออกมา
- กะระยะห่างทั้ง 2 ข้างออกไป 5 นิ้ว
- เริ่มนวดคลึงวันละ 10 นาที 2-3 ครั้งต่อวัน
วิธีนี้จะช่วยบรรเทาอาการปวดหัวท้ายทอย ปวดบริเวณด้านหลัง หรือปวดทั่วแผ่นหลัง
4. จุดโฮ่วซี
จุดโฮ่วซีจะอยู่บริเวณด้านข้างของฝ่ามือ แต่จะอยู่ตรงโคนข้อต่อนิ้วก้อย แต่หากใครหาไม่เจออาจจะกำมือให้เห็นรอยย่น ตรงส่วนปลายรอยย่นนั้นคือ จุดโฮ่วซีนั่นเอง วิธีการกดจุดบริเวณนี้ก็ทำได้ง่ายๆ คือ
- งอแขน 45 องศา กำมือเบาๆ หลวมๆ
- ใช้ปลายจิกคลึงเบาๆ 3-4 นาที
วิธีการกดจุดบริเวณนี้จะเป็นวิธีแก้ปวดหัว ช่วยลดอาการอาการตึงของกล้ามเนื้อ การปวดคอเรื้อรัง และปวดท้ายทาย
5. จุดเยาเยี่ยน
จุดเยาเยี่ยนจะอยู่บริเวณหลังด้านล่าง ถัดจากระดูกสันหลังไปด้านข้างประมาณ 3-4 นิ้ว เมื่อนอนคว่ำหน้าจะเป็นรอยบุ๋ม วิธีกดจุดแนะนำให้ทำดังนี้
- เท้าเอวโดยคว่ำมือลง มือจับบริเวณจุดดังกล่าว
- ใช้นิ้วกลางคลึงในระดับที่แรงพอสมควรประมาณ 15-30 ครั้ง
เพียงเท่านี้ก็จะช่วยบรรเทาอาการปวดหลัง กล้ามเนื้อด้านหลัง และปัญหาเกี่ยวกับการปัสสาวะ
ข้อควระวังในการนวดกดจุด
อย่างไรก็ดี การนวดกดจุดก็มีข้อควรระวังที่ไม่ควรมองข้ามและควรระมัดระวังเป็นพิเศษ เช่น
- กระดูกหัก
- มีก้อนเนื้อ
- มีบาดแผลบริเวณผิวหนัง
- มีเส้นเลือดขอด
ใครไม่เหมาะกับการนวดกดจุด
นอกจากนี้กลุ่มคนดังต่อไปนี้ควรเว้นจากกดจุดคลายกล้ามเนื้อ เพื่อความปลอดภัยของตนเอง ได้แก่
- ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือมีอาการมึนเมาอยู่
- ผู้กินอาหารมากเกินไป หรือกำลังอิ่มเกินพอดี
- ผู้ที่เคยมีภาวะกระดูกพรุน ปวดข้อ หรือ ปวดกระดูก
- ผู้เคยมีปัญหาเกี่ยวกับระบบผิวหนัง
- ผู้ที่มีอาการป่วยทางจิตใจ
- ผู้ที่เคยป่วยหรือกำลังป่วยเนื้องอก หัวใจ สมอง ปอด ตับ โรคเกี่ยวกับเลือด ตลอดจนน้ำเหลือง
- ผู้ที่มีประจำเดือน สตรีมีครรภ์ หรือเพิ่งคลอดบุตร
แนวทางอื่นสำหรับการรักษาไมเกรน
อย่างไรก็ดี หากใครที่ลองทำตามท่านวดกดจุดรักษาไมเกรนทั้ง 5 ท่าแล้วแต่อาการยังไม่ดีขึ้น หรืออาการยังคงรุนแรงต่อเนื่อง อาจจะต้องใช้วิธีรักษาอาการด้วยวิธีอื่นๆ ดังนี้
1. ทานยาแก้ปวดไมเกรน
ไม่ว่าจะเป็นยาแก้ปวดทั่วๆ ไป อย่างยาพาราเซตามอล ยาแอสไพริน ตลอดจนยาไมเกรนประเภทต่างๆ เช่น ยากลุ่ม Ibuprofen ยากลุ่มต้านอักเสบ ยากลุ่ม Ergotamine รักษาอาการปวด และยากลุ่ม Triptan บรรเทาและรักษาอาการ ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการรักษาสำหรับกรณีเร่งด่วน
2. ฉีดยาแก้ไมเกรน
การฉีดยาไมเกรน (Aimovig) คือ การฉีดยาระงับอาการปวดอันเนื่องมาจากไมเกรน ไม่ว่าจะเป็นการปวดหัวจากความเครียดหรือปวดหัวตามจุดต่างๆ โดยตัวยา Aimovig ปลอดภัย ผ่านการรับรองจากองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA) และสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยาของไทย จึงกลายเป็นหนึ่งตัวเลือกการรักษาที่น่าสนใจ
3. ฝังเข็มไมเกรน
การฝังเข็มไมเกรนก็เป็นหนึ่งในทางเลือกการรักษาจากแพทย์แผนจีนคล้ายกับการนวดกดจุด เพียงจะใช้เข็มที่ทำจากสเตนเลสขนาดเล็กและบาง ปักเข็มลงบริเวณแนวเส้นหรือจุดสำคัญที่มีพลัง ประมาณ 20-30 นาทีจะปรับสมดุลอวัยวะในร่างกายให้กลับคืนสู่ปกติ ระบบไหลเวียนโลหิตทำงานได้ดี ลดอาการปวดหัว
4. ฉีดโบท็อกรักษาไมเกรน
การฉีดโบท็อกไมเกรน จะใช้สำหรับรักษาอาการปวดหัวไมเกรน โดยนำโบท็อกชนิดเอ มาฉีดเพื่อทำให้กล้ามเนื้อมีความผ่อนคลาย ลดระดับความรุนแรง และอาการปวด โดยแพทย์จะฉีดบริเวณจุดต่างๆ ภายในระยะเวลาไม่กี่วันอาการก็จะดีขึ้นและผลลัพธ์จะคงอยู่ยาวนานกว่า 4-6 เดือน เพื่อลดอาการไมเกรนนั่นเอง
แนวทางอื่นในการรักษาออฟฟิศซินโดรม
เช่นเดียวกับการรักษาไมเกรนที่มีนอกจากจะใช้วิธีนวดกดจุดแล้ว ยังมีวิธีการรักษาออฟฟิศซินโดรมในรูปอื่นๆ ด้วยเช่นกัน ดังนี้
1. ใช้ยาบรรเทาอาการปวด
การกินยาบรรเทาอาการปวดจะช่วยลดอาการปวดได้อย่างเร่งด่วน โดยอาจจะทานยาแก้ปวดทั่วๆ ไป ทานยาคลายกล้ามเนื้อ หรือยาบรรเทาอาการอักเสบต่างๆ เพียงเท่านี้ก็จะช่วยบรรเทาอาการได้ง่ายๆ แต่อย่างไรก็ดีจะต้องอ่านฉลาก หรือปรึกษาเภสัชกรและแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนทุกครั้ง
2. ออกกำลังกายเป็นประจำ
การออกกำลังกายเป็นประจำด้วยท่าบริหารออฟฟิศซินโดรม เช่น การยืดหลัง การก้มตัว หรือการบริหารสีข้างก็จะช่วยยืดกล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้อยืดหยุ่น คลายตัว และแข็งแรงขึ้น แต่ในกรณีนี้จะต้องหมั่นออกกำลังกายและบริหารท่าทางเสมอๆ จึงจะมีประสิทธิภาพและเห็นผลในระยะยาว
3. กายภาพบำบัด
การทำกายภาพบำบัดโดยการปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหรือนักกายภาพบำบัดจะช่วยให้รับรู้ถึงสาเหตุและอาการอย่างตรงจุด จากนั้นจะมีการวางแผนการรักษา โดยเลือกการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสมกับลักษระอาการและตัวบุคคลก็จะทำให้รักษาได้อย่างถูกวิธีมีประสิทธิภาพ และตรงจุด
4. ฉีดโบท็อกรักษาออฟฟิศซินโดรม
นอกจากการฉีดโบท็อกไมเกรนแล้ว ยังสามารถฉีดโบท็อกออฟฟิศซินโดรม เพื่อรัักษาอาการปวดเกร็งกล้ามเนื้อตามจุดต่างๆ โดยทางแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะทำการฉีดเฉพาะจุดนั้นๆ หลังจากฉีดไม่นานอาการก็จะดีขึ้นอย่างรวดเร็วกว่าการนวดกดจุด ในขณะเดียวกันก็จะมีผลข้างเคียงน้อย และผลลัพธ์คงอยู่ในระยะยาวถึง 4-6 เดือน
ข้อสรุป
การนวดกดจุด คือ หนึ่งในวิธีการรักษาไมเกรนและการรักษาออฟฟิศซินโดรมอย่างหนึ่ง โดยเน้นใช้วิธีธรรมชาติตามแพทย์แผนจีน เพื่อให้เส้นพลังลมปราณทั่วร่างกายกลับมาทำงานปกติ สมดุล กล้ามเนื้อผ่อนคลาย
ทั้งนี้ หากใครใช้วิธีกดจุดแล้วยังไม่เห็นผลหรืออาการยังไม่ดีขึ้น อาจจะลองรักษาทางการแพทย์ โดยเริ่มจากการตรวจไมเกรนและระดับความรุนแรงของอาการปวดเมื่อย เข้ารับคำปรึกษา ตลอดจนจองวันรักษากับ BTX Migraine Center ศูนย์รักษาไมเกรนเฉพาะทาง ด้วยการแอดไลน์ @ayaclinic หรือโทร 090–970-0447 ได้ทันที
เอกสารอ้างอิง
Julie Davis. (2021). Reflexology. Retrieve from https://www.webmd.com/balance/what-is-reflexology