รู้จักอาการไมเกรนขึ้นตา ปวดกระบอกตา ตาพร่า สาเหตุเกิดจากอะไร วิธีรักษาอย่างไร
ไมเกรนหรืออาการปวดหัวเรื้อรังที่หลาย ๆ คนเผชิญอยู่นั้น มีหลายรูปแบบทั้งอาการปวดหัวข้างเดียว อาการปวดหัวคลื่นไส้ หรืออาการปวดหัวท้ายทอย แต่ทราบหรือไม่ว่านอกจากที่กล่าวมาในข้างต้นยังมีอีกหนึ่งอาการเรียกว่า “ไมเกรนขึ้นตา” ซึ่งนับว่าเป็นอีกหนึ่งสาเหตุสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของใครหลาย ๆ คน
ดังนั้นเราจึงควรทำความรู้จักถึงไมเกรนขึ้นตา อาการ สาเหตุ รวมถึงวิธีการรักษาไมเกรนขึ้นตา เพื่อให้รู้เท่าทัน สามารถป้องกันการเกิดโรคดังกล่าว หรือแม้ว่าใครที่กำลังมีอาการปวดไมเกรนปวดตา หรือ ไมเกรนขึ้นตาอยู่ เพื่อให้สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและหาวิธีรักษาได้อย่างทันท่วงที
เลือกอ่านหัวข้อที่สนใจ
- รู้จักไมเกรน (Migraine)
- ไมเกรนขึ้นตา (Ocular Migraine)
- ไมเกรนขึ้นตาเกิดจากสาเหตุใด
- อาการไมเกรนขึ้นตาเป็นอย่างไร
- ผลข้างเคียงของไมเกรนขึ้นตา
- ไมเกรนขึ้นตา เมื่อไหร่ควรพบแพทย์
- การวินิจฉัยไมเกรนขึ้นตา
- แนวทางการรักษาไมเกรนขึ้นตา
- วิธีป้องกันไมเกรนขึ้นตา
- รักษาไมเกรนขึ้นตาที่ไหนดี
- ข้อสรุป
รู้จักไมเกรน (Migraine)
โรคไมเกรน (Migraine) คือ การหดและขยายตัวของหลอดเลือกอย่างผิดปกติ ทั้งนี้มีสาเหตุมาจากการทำงานผิดปกติของก้านสมอง ที่มีภาวะที่สารเคมีในสมองไม่สมดุล โดยผู้ป่วยมักมีอาการปวดหัวข้างซ้าย ปวดหัวข้างขวา ปวดหัวท้ายทอย ปวดกระบอกตา หรือมีอาการปวดไมเกรนลงตาร่วมด้วย
โดยปัจจุบันพบได้ในคนหลายช่วงวัยมากขึ้น เนื่องจากมีปัจจัยกระตุ้นหลายประการ เช่น อาหารกระตุ้นไมเกรน การพักผ่อนไม่เพียงพอ ดื่มน้ำน้อย สภาพแวดล้อม ความเครียด เป็นต้น
ประเภทของไมเกรน
- ไมเกรนที่ไม่มีอาการเตือน (Migraine Without Aura)
- ไมเกรนที่มีอาการเตือน (Migraine With Aura) หรือไมเกรนออร่า กลุ่มนี้จะมีอาการเตือนล่วงหน้า เช่น อาการปวดหัวไมเกรนพร้อมกับปวดตา แขนขาชา เป็นต้น
ไมเกรนขึ้นตา (Ocular Migraine)
ไมเกรนขึ้นตา (Ocular Migraine) นับว่าเป็นอีกหนึ่งอาการของไมเกรนออร่า โดยจะส่งผลให้ทัศนวิสัยการมองเห็นผิดไปจากปกติ หรือทำให้มีการสูญเสียการมองเห็นชั่วคราว พบได้ใน 15-20% ของคนที่เป็นปวดศีรษะไมเกรน ทั้งนี้ โดยทั่วไปลักษณะอาการของไมเกรนขึ้นตาจะหายไปจะภายใน 30 นาที
ไมเกรนขึ้นตาเกิดจากสาเหตุใด
ไมเกรนขึ้นตานั้นมีสาเหตุมาจากหลายประการ แต่ส่วนใหญ่มักเกิดจากสาเหตุเหล่านี้
- ความเครียดจากสภาพแวดล้อม การเรียน การทำงาน
- ร่างขาดการพักผ่อนและมีอาการอ่อนแรง เหนื่อยล้า
- การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียง
- อาการซึมเศร้า รวมถึงความวิตกกังวลจากปัจจัยภายนอกอื่น ๆ
- อาหารกระตุ้นไมเกรน เช่น เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ไวน์แดง ช็อกโกแลต เนื้อสัตว์รมควัน สารให้ความหวานเทียม
- ปัจจัยกระตุ้นอื่น ๆ เช่น ควันบุหรี่ แสงจ้า น้ำหอม เป็นต้น
ปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้เองที่ส่งผลให้การไหลเวียนของเลือดลดลงหรือเกิดการหดเกร็งของหลอดเลือดขึ้น และกลายเป็นไมเกรนขึ้นตาทันที นอกจากนี้แล้วยังพบว่ามีสาเหตุมาจากพันธุกรรมร่วมด้วยเช่นกัน
อาการไมเกรนขึ้นตาเป็นอย่างไร
อาการไมเกรนขึ้นตานั้นพบได้แตกต่างกันออกไปตามแต่ละบุคคล เนื่องจากความแข็งแรงของร่างกาย สุขภาพ หรือโรคประจำตัวในแต่ละบุคคลนั้นแตกต่างกัน แต่ส่วนใหญ่แล้วไมเกรนขึ้นตาจะมีอาการดังต่อไปนี้
- เห็นแสงจ้าเป็นดวง ๆ คล้ายกับลักษณะของแฟลชถ่ายรูป
- เห็นภาพวงแหวนที่มีลักษณะหยักหรือซิกแซก โดยมีจุดบอดอยู่ตรงกลางวงแหวน
- เห็นจุดบอดเล็ก ๆ เคลื่อนที่ไปทั่วบริเวณลานสายตา
- เห็นภาพมืดไปชั่วขณะเหมือนลืมตาในที่ปิดไฟ
- เห็นภาพบิดเบี้ยว ต่างจากปกติ
- เห็นเส้นเป็นคลื่น มีความคดงอและโค้ง
ไมเกรนขึ้นตาอาจเกิดร่วมกับอาการอื่น
นอกจากนี้ไมเกรนขึ้นตา อาการข้างเคียงอื่น ๆ เกิดร่วมด้วย เช่น
- ไวต่อสิ่งเร้า ทั้งแสง สี กลิ่น และอุณหภูมิ
- เกิดอาการสูญเสียรสสัมผัส จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่สามารถรับรถได้
- ร่างกายอ่อนล้า หมดแรง
- มีอาการไข้อ่อน ๆ
- คลื่นไส้ อาเจียน และผะอืดผะดม
- ปวดท้องหรือท้องเสีย
- สายตาพร่ามัว หรือไมเกรนตาพร่า
- ข้างที่มีอาการปวดตานั้นมีน้ำตาไหลตลอดเวลา
ผลข้างเคียงของไมเกรนขึ้นตา
ดังที่กล่าวมาในข้างต้น อาการของไมเกรนขึ้นตานั้นมีหลากหลายรูปแบบ ในขณะเดียวกันก็มีอาการข้างเคียงอื่น ๆ ร่วมด้วย ซึ่งผลข้างเคียงของไมเกรนขึ้นตานั้นค่อนข้างส่งผลอันตรายและสร้างความลำบากในการดำรงชีวิตประจำวันได้
ยกตัวอย่างเช่น การขับรถบนถนน หากเกิดอาการไมเกรนที่ตาขึ้น อาจส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงได้ เนื่องจากสายตาพร่ามัว ในขณะเดียวกันเมื่อขับรถในบริเวณแดดจ้าก็อาจจะไวต่อสิ่งเร้าอย่างเช่นแสงหรือเสียงเครื่องยนต์ และส่งผลต่อการขับขี่ โดยทำให้สมรรถภาพในการขับรถลดลง หรืออาจจะส่งผลในการเรียน การอ่านหนังสือ การเดินทาง และการทำงาน
กล่าวคือ เมื่อตาพร่ามัว ร่างกายอ่อนล้า มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง แน่นอนว่าย่อมส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานหรือการเรียนลดลง
ไมเกรนขึ้นตา เมื่อไหร่ควรพบแพทย์
เมื่อกล่าวมาถึงตรงนี้ หลาย ๆ คนอาจจะเกิดความกังวลและเกิดความสงสัยว่าแล้วเมื่อมีอาการไมเกรนขึ้นตาเกิดขึ้น แล้วควรไปพบแพทย์หรือไม่ ควรไปตรวจไมเกรนเมื่อใดถึงจะเหมาะสม เราจึงอยากจะขอแนะนำว่าให้ท่านไปพบแพทย์หากท่านมีอาการดังนี้
- ปวดหัวติดต่อกันเป็นระยะเวลานานหลายเดือน
- ปวดหัวรุนแรงหรือปวดหัวบ่อยครั้งจนกระทั่งรบกวนชีวิตประจำวันปกติ
- เกิดอาการชักจากการปวดหัว
- เกิดอาการคลื่นไส้และอาเจียนร่วมกับการปวดหัว
- ใช้ยาแก้ปวดมากกว่า 2 ครั้งต่อสัปดาห์เพื่อบรรเทาอาการปวด
- ปวดหัวรุนแรงจนทำให้เกิดอาการเจ็บตึงบริเวณท้ายทอย
- สูญเสียความสามารถในการเตรียมพร้อม สับสนจากการปวดหัว
- มีปัญหาทางประสาทสัมผัส
- ไม่เคยมีประวัติเป็นไมเกรน แต่ปวดหัวบ่อยครั้ง
- การปวดหัวรุนแรงคล้ายกับหัวจะระเบิด
การวินิจฉัยไมเกรนขึ้นตา
สำหรับวิธีการวินิจฉัยไมเกรนขึ้นตานั้นจะดูจากประวัติการรักษาว่าเคยมีอาการปวดหัวไมเกรนมาก่อนหรือไม่ พร้อมทั้งพิจารณาจากลักษณะอาการของคนในครอบครัว เนื่องจากพันธุกรรมเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดไมเกรน นอกจากนี้ยังอาจจะต้องพิจารณาจากอาการต่าง ๆ ที่กล่าวมาในข้างต้นประกอบด้วยเช่นกัน
แนวทางการรักษาไมเกรนขึ้นตา
แนวทางการรักษาไมเกรนขึ้นตา รักษาได้หลากหลายรูปแบบ เริ่มตั้งแต่วิธีรักษาไมเกรนเบื้องต้น เช่น การปรับพฤติกรรมตนเอง พักผ่อนให้เพียงพอ ลดความตึงเครียดและพักผ่อน ใช้สมุนไพรรักษาไมเกรน เป็นต้น ทั้งนี้ เรามีวิธีการรักษาไมเกรนขึ้นตามาฝาก โดยแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
การรักษาไมเกรนเบื้องต้น
1. หลีกเลี่ยงพฤติกรรมกระตุ้นไมเกรน
วิธีนี้สามารถทำได้ง่าย ๆ เช่น ปรับพฤติกรรมของตนเองให้เหมาะสม ไม่รับประทานอาหารกระตุ้นไมเกรน ปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม ลดการเสพข่าวหรือสื่อที่ส่งผลให้เกิดความเครียดหรือความกังวล เป็นต้น
2. ประคบเย็นบรรเทาอาการไมเกรน
การประคบเย็นจัดเป็นวิธีแก้ปวดไมเกรนเบื้องต้นที่เห็นผลได้อย่างเร่งด่วน เนื่องจากวิธีนี้จะช่วยทำให้รู้สึกผ่อนคลายและทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตหมุนเวียนได้เป็นอย่างดี
3. นวดกดจุดรักษาไมเกรน
วิธีนวดแก้ปวดไมเกรนนี้จะช่วยลดอาการตึง อาการเหนื่อยล้า ทำให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลาย เส้นเลือดจะคลายจากความตึง
การรักษาไมเกรนทางการแพทย์
1. ยาแก้ปวดไมเกรน
เมื่อมีอาการปวดหัวรุนแรง สามารถทานยาไมเกรนเพื่อช่วยลดอาการปวดได้อย่างเร่งด่วนได้
2. ฝังเข็มแก้ไมเกรน
การฝังเข็มแก้ไมเกรนจะช่วยลดอาการปวดหัวจากไมเกรนได้ โดยจะมีส่วนช่วยให้เลือดลมไหลเวียนได้ดีมากยิ่งขึ้น
3. ฉีดยาไมเกรน
การฉีดยาไมเกรน Aimovig นับว่าเป็นวิธีการรักษาไมเกรนที่รวดเร็ว โดยจะช่วยลดความถี่และความรุนแรงของอาการปวดได้มากถึง 50-75%
4. โบท็อกไมเกรน
โบท็อกไมเกรน เป็นวิธีการรักษาไมเกรนที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เนื่องจากใช้เวลาไม่นาน ปลอดภัย มีประสิทธิภาพสูง และเห็นผลชัดเจนภายในระยะเวลาอันสั้น โดยผลลัพธ์อยู่ได้ประมาณ 3-4 เดือน แต่ก็สามารถกลับมาฉีดซ้ำได้ตามที่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญแนะนำ
เพียงแค่ฉีดโบท็อกไมเกรนหรือฉีดสาร Botulinum toxin ชนิด A ก็จะทำให้กล้ามเนื้อเกิดความผ่อนคลาย ในขณะเดียวกันสารในโบท็อกจะช่วยยับยั้งอาการปวดและลดระดับความรุนแรงได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
วิธีป้องกันไมเกรนขึ้นตา
สำหรับท่านใดที่คิดว่าตนเองนั้นมีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการหรือมีความกังวลเกี่ยวกับไมเกรนขึ้นตาก็สามารถเรียนรู้ ศึกษา และป้องกันตนเองได้ง่าย ๆ ผ่านวิธีที่เรานำมาฝาก ดังนี้
- หลีกเลี่ยงการเพ่งหรือดูหน้าจอมากเกินไป
- จัดการกับความเครียดของตนเอง
- ติดตามอาการเพื่อค้นหาไมเกรน
- ดูแลน้ำหนักให้สมส่วน
- ควรเลิกบุหรี่
- รับประทานอาหารปกติ
- ดื่มน้ำให้เพียงพอ
- จัดตารางการนอนให้เพียงพอ
- หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนและแอลกอฮอล์
- จัดการกับความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าด้วยวิธีการต่าง ๆ
รักษาไมเกรนขึ้นตาที่ไหนดี
เมื่อมีอาการไมเกรนขึ้นตาอย่างรุนแรง หรือไม่สามารถรักษาได้จากวิธีแก้ปวดหัวไมเกรนเบื้องต้น แนะนำให้ปรึกษา ตรวจไมเกรน และเข้ารับการรักษาและกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
โดยอาจจะเลือกจากความสะดวกในการเดินทาง อาการที่เกิดขึ้น ระดับความรุนแรง ค่ารักษาที่สมเหตุสมผล เทคโนโลยีและความทันสมัยของการวิธีการรักษา หรือระยะเวลาที่เหมาะสมของตนเอง ตลอดจนควมปลอดภัยในการรักษาไมเกรนขึ้นตา
รักษาไมเกรนกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่ BTX Migraine Center
ทั้งนี้หากใครไม่สะดวกเดินทางไปยังโรงพยาบาลหรือไม่รู้ว่าจะรักษาไมเกรนที่ไหนดี ก็สามารถปรึกษาและรักษาไมเกรนกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่ BTX Migraine Center ได้
เนื่องจาก BTX Migraine Center นั้นเป็นศูนย์รักษาไมเกรนเฉพาะทาง ที่มีความปลอดภัย รักษาด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยและได้รับการรองรับจากสหรัฐอเมริกา รวมถึงให้การรักษาครอบคลุมทุกระดับและสามารถรองรับผู้ป่วยทุกรูปแบบอีกด้วย
ข้อสรุป
สุดท้ายนี้อาการปวดหัวไมเกรนปวดตา ปวดกระบอกตาไมเกรน หรือไมเกรนขึ้นตานั้นเป็นเรื่องใกล้ตัวกว่าที่คิด ควรดูแลอย่างสม่ำเสมอ
หากใครที่กำลังเผชิญอยู่กับปัญหาปวดหัวเรื้อรังหรือมีอาการคล้ายกับไมเกรนขึ้นตาและสนใจที่ปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญมากประสบการณ์ ได้ที่ BTX Migraine Center ศูนย์รักษาไมเกรนเฉพาะทาง โดยปรึกษาหรือนัดเข้ารับการรักษาได้ทางไลน์ @ayaclinic หรือโทร 090–970-0447
เอกสารอ้างอิง
Deena Kuruvilla. (2021). Causes of Ocular Migraine. Retrieved from
https://www.healthline.com/health/causes-of-ocular-migraines
Eric Metcalf. (2020). Ocular Migraines. Retrieved from
https://www.webmd.com/migraines-headaches/ocular-migraine-basics