รู้จักออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) อาการปวด คอ บ่า ไหล่เรื้อรัง มีวิธีการรักษาอย่างไร
โรคออฟฟิศซินโดรมคือหนึ่งในโรคยอดนิยมของคนรุ่นใหม่ ที่ไม่ใช่แค่วัยทำงานเท่านั้นที่กำลังเผชิญกับโรคนี้ แต่วัยรุ่นหรือวัยเรียนก็อาจจะเจอปัญหานี้เช่นเดียว
แต่โรคออฟฟิศซินโดรม หรือ Office Syndrome เกิดจากอะไร? ออฟฟิศซินโดรมรักษาหายไหม? ออฟฟิศซินโดรมรักษาอย่างไร? ถ้าพร้อมแล้วตามไปอ่านกันเลย
สารบัญบทความ
- โรคออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome)
- โรคออฟฟิศซินโดรมเกิดจากสาเหตุใด
- พฤติกรรมเสี่ยงโรคออฟฟิศซินโดรม
- ระดับอาการโรคออฟฟิศซินโดรม
- 6 อาการสัญญาณเตือนออฟฟิศซินโดรม
- ออฟฟิศซินโดรม..เมื่อไหร่ควรพบแพทย์
- การวินิจฉัยโรคออฟฟิศซินโดรม
- ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดจากออฟฟิศซินโดรม
- วิธีรักษาโรคออฟฟิศซินโดรม
- แนวทางป้องกันออฟฟิศซินโดรม
- รักษาออฟฟิศซินโดรมที่ไหนดี
- ข้อสรุป
โรคออฟฟิศซินโดรม
โรคออฟฟิศซินโดรม หรือ Office Syndrome คือ โรคที่มีอาการปวดบริเวณกล้ามเนื้อ เยื่อพังผืด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปวดไหล่ สะบัก บ่า คอ ซึ่งจะส่งผลตามมาคือ มีอาการหน้ามืด ตาพร่า เวียนหัว วูบ เหงื่อออก เป็นต้น
นอกจากนี้ยังรวมถึงอาการปวดจากการอักเสบของเนื้อเยื่อ เอ็นบริเวณข้อมือ ข้อนิ้ว และอาการปวดชาจากปลายประสาทถูกกดทับ เช่น พังผืดทับเส้นประสาทข้อมือ พังผืดทับเส้นประสาทบริเวณข้อศอก เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะนวดบริเวณที่ปวดเมื่อยและมีอาการดีขึ้น แต่พอเวลาผ่านไปก็จะกลับมาปวดที่จุดเดิมซ้ำอีก อีกทั้งหากอาการเหล่านี้รุนแรงจะส่งผลเสียตามมา เช่น ปวดหัว คลื่นไส้ กล้ามเนื้ออ่อนแรง หูอื้อ มึนงง ปวดหัวเรื้อรัง กลายเป็นโรคปวดหัวไมเกรนได้
โรคออฟฟิศซินโดรมเกิดจากสาเหตุใด
โรคออฟฟิศซินโดรม สาเหตุเกิดจากการใช้กล้ามเนื้อมัดเดิม ๆ ในการทำงานซ้ำ ๆ จนเกิดอาการปวด ซึ่งก็มีปัจจัยที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเหล่านี้ ดังนี้
ปัจจัยจากสภาพแวดล้อมหรืออุปกรณ์ไม่เหมาะสม
อย่างที่ทราบกันดีกว่าผู้มีปัญหาเกี่ยวกับออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) ส่วนใหญ่นั้นเป็นชาวออฟฟิศ ผู้ที่ต้องนั่งทำงานนาน ๆ ดังนั้นปัจจัยสภาพแวดล้อมหรืออุปกรณ์ไม่เหมาะสมเหล่านี้จึงเป็นหนึ่งในสาเหตุได้
- โต๊ะและเก้าอี้ทำงานสูงหรือต่ำกว่าปกติ
- หน้าจอคอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กหรือตั้งต่ำเกินไป
- แสงสว่างภายในห้องไม่เพียงพอ
- แป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์วางผิดตำแหน่ง
ปัจจัยจากสภาพร่างกายอื่นๆ
นอกจากปัจจัยภายนอกอย่างสภาพแวดล้อมและอุปกรณ์ต่าง ๆ แล้ว ปัจจัยจากสภาพร่างกายก็มีส่วนในการกระตุ้นให้เกิดอาการออฟฟิศซินโดรม ดังนี้
- ความเครียดหรือความวิตกกังวลจากที่ทำงาน
- ร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอ
- ร่างกายขาดสารอาหาร
- มีการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างรวดเร็ว
7 พฤติกรรมเสี่ยงโรคออฟฟิศซินโดรม
นอกจากโรคออฟฟิศซินโดรมจะสร้างความเจ็บปวดทางร่างกายแล้ว ยังสร้างความหงุดหงิดหรือความรำคาญใจอีกด้วย ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดอาการออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) จึงควรเลี่ยง 7 พฤติกรรมเสี่ยง ดังนี้
1. ตั้งจอคอมพิวเตอร์สูงหรือต่ำกว่าระดับสายตา
การตั้งจอคอมพิวเตอร์สูงหรือต่ำกว่าระดับสายตา นอกจากจะทำให้ต้องใช้สายตามากกว่าปกติแล้ว ยังต้องก้มหรือเงยหน้าเพื่อใช้คอมพิวเตอร์ ซึ่งลักษณะเหล่านี้เองที่จะส่งผลให้เกิดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ พังผืด หรือเอ็นต่าง ๆ ได้
2. โต๊ะทำงานและเก้าอี้มีระดับไม่พอดีกับร่างกาย
นอกจากจะต้องปรับระดับคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสมกับระดับสายตาแล้ว การปรับโต๊ะทำงานหรือเก้าอี้ก็เป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยลดอาการออฟฟิศซินโดรม โดยทางที่ดีควรปรับให้เหมาะสมกับสรีระร่างกายตนเองมากที่สุด
3. แป้นพิมพ์หรือเมาส์อยู่ห่างจากตนเอง
การที่แป้นพิมพ์หรือเมาส์อยู่ห่าง อาจจะส่งผลให้ต้องโน้มตัว เอี้ยวตัว ใช้งานอย่างยากลำบาก หรือปวดคอออฟฟิศซินโดรม ดังนั้นจึงควรจัดตำแหน่งสิ่งเหล่านี้ให้เหมาะสมสะดวกต่อการใช้งาน และความถนัดของตนเอง
4. ความเครียดสะสม อดอาหาร พักผ่อนไม่เพียงพอ
หนึ่งในพฤติกรรมเสี่ยงสำคัญที่หลาย ๆ คนมักมองข้าม แต่จริง ๆ แล้วนั้นความเครียดสะสม การอดอาหาร การนอนน้อยนั้นส่งผลเสียต่อสุขอย่างเห็นได้ชัด กระตุ้นความเสี่ยงให้เกิดอาการออฟฟิศซินโดรมปวดไหล่ ออฟฟิศซินโดรมอาการหนัก ในขณะเดียวกันก็เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคไมเกรนอีกด้วย
5. นั่งท่าอื่น ๆ เช่น ไขว้ห้าง ยกขาชันข้างเดียว
การนั่งลักษณะแบบนี้เป็นเวลานานจะส่งผลให้ร่างกายล้า ปวดเมื่อย หรืออาจจะเกิดการอักเสบได้ จึงควรนั่งท่าที่เหมาะสมสำหรับการนั่งทำงานคือ การนั่งให้หลังตรงที่สุด เพื่อให้สรีระต่าง ๆ นั้นอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องและเหมาะสม
6. นั่งหลังค่อมและห่อไหล่
เมื่อทำงานไปสักระยะหนึ่ง จะพบว่าพฤติกรรมการนั่งของเราจะเปลี่ยนไป โดยมีการห่อไหล่และนั่งหลังค่อม แม้ว่าในตอนนั้นจะรู้สึกสะดวกสบาย แต่หากทำบ่อย ๆ จนติดเป็นนิสัยรับรองว่าเสี่ยงเป็นออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) แน่นอน
7. นั่งทำงานนานเกินไป
ในวันที่งานเยอะหรืองานยุ่งหลาย ๆ คนอาจจะเลือกนั่งทำงานติดต่อกัน 5-6 ชั่วโมงเพื่อให้งานเสร็จ แต่ทางที่ดีนั้นควรลุกเพื่อไปยืดเส้น คลายกล้ามเนื้อ เดินพักสัก 5 นาทีก็จะช่วยลดอาการเกร็ง ตึ งและการอักเสบของกล้ามเนื้อ
ระดับอาการโรคออฟฟิศซินโดรม
เราอาจจะเคยทราบกันมาในเบื้องต้นว่าอาการของโรคออฟฟิศซินโดรมนั้นเกิดจากอะไร มีอาการอย่างไร คล้ายคลึงกันหรือไม่ แต่ความจริงแล้วนั้นหากพิจารณาอาการอย่างถี่ถ้วนจะพบว่าอาการออฟฟิศซินโดรมนั้นมีความแตกต่างกัน โดยแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ
อาการเจ็บปวดเริ่มต้น
อาการเจ็บปวดเริ่มต้นจะไม่รุนแรงมากนัก ส่วนใหญ่จะมีอาการปวดหัว ปวดหัวข้างซ้าย หรือปวดหัวข้างขวา ปวดเมื่อยร่างกายหรือปวดเมื่อยตามจุดต่าง ๆ แต่หากได้รับการนวดหรือการผ่อนคล้ายกล้ามเนื้อบริเวณนั้น ๆ อาการก็จะดีขึ้น
อาการเจ็บปวดเรื้อรัง
ระดับอาการเจ็บปวดเรื้อรังนี้เป็นเสมือนสัญญาณเตือนก่อนถึงระดับรุนแรง โดยผู้ป่วยมักจะปวดเมื่อยซ้ำ ๆ บริเวณเดิม ๆ เป็นระยะเวลาติดต่อกัน ปวดหัวเรื้อรัง ตลอดจนปวดหัวคลัสเตอร์ ดังนั้นหากพบว่าตนเองมีอาการดังนี้ควรรีบพบแพทย์เพื่อรับคำปรึกษาและรักษาก่อน
อาการเจ็บปวดที่รุนแรงขึ้นแม้ไม่ใช่เวลาทำงาน
แม้ว่าจะไม่ได้ใช้ร่างกายหนัก ไม่ได้นั่งทำงานนาน ๆ แต่ก็ยังมีอาการเจ็บ ปวดเมื่อยตามจุดต่าง ๆ ของร่างกาย และหากนวด ยืดเส้น ผ่อนคลายกล้ามเนื้อแล้วแต่อาการก็ยังไม่หาย ควรรีบพบแพทย์โดยเร็วที่สุด
6 อาการสัญญาณเตือนออฟฟิศซินโดรม
เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เป็นโรคออฟฟิศซินโดรม และเพื่อเป็นการสังเกตตัวเอง วันนี้เรารวบรวม 6 อาการสัญญาณเตือนออฟฟิศซินโดรมมาฝาก ดังนี้
1. ปวดศีรษะบ่อย ปวดหัวเรื้อรัง
อาการเหล่านี้จะพบได้บ่อย มีสาเหตุมาจากความเครียดจากการทำงาน หรือเรียกได้ว่าเป็นการปวดหัวจากความเครียด ตลอดจนมีสาเหตุมาจากการใช้สายตาหนัก โดยบางครั้งอาจจะมีอาการปวดหัวไมเกรนร่วมด้วย
2. ปวดตึงบริเวณกล้ามเนื้อ คอ บ่า ไหล่
เมื่อเริ่มมีอาการปวดตึงบริเวณใดบริเวณหนึ่งเป็นจุด ๆ ปวดไหล่สะบักบ่า หรือปวดรวม ๆ ทั่วบริเวณกล้ามเนื้อ คอ ไหล่ สะบัก บ่งบอกถึงการนั่งท่าเดิมซ้ำ ๆ เป็นเวลานานนั่นเอง
3. มีอาการปวดหลังเรื้อรัง
อาการปวดหลังเรื้อรังพบได้บ่อยในผู้ที่ต้องใส่ส้นสูงยืนทำงานและผู้ที่นั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานหลายชั่วโมง โดยส่วนใหญ่จะนั่งไม่ถูกท่า หลังค่อม ห่อไหล่ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อต้นคอ มีอาการเกร็งตลอดเวลา
4. ปวดข้อมือ นิ้วล็อก มือชา เท้าชา
อาการเสี่ยงแบบนี้มักเกิดจากการที่นั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน และจับเมาส์หรือใช้เมาส์ด้วยท่าเดิม ส่งผลให้กล้ามดนื้อกดทับเส้นประสาทและเส้นเอ็น จนบางครั้งเกิดอาการอักเสบ และส่งผลให้มีอาการปวดข้อมือ นิ้วล็อก มือชา และเท้าชา
5. ปวดตา สายตาพร่ามัว ตาเบลอ
อาการเสี่ยงนี้พบได้บ่อย เนื่องจากส่วนใหญ่คนในยุคปัจจุบันมักใช้เวลาในการจ้องคอมพิวเตอร์นาน ๆ จ้องโทรศัพท์ก่อนนอน ตลอดจนใช้สายตาในกิจกรรมอื่น ๆ อย่างหนัก ผลที่ตามมาคือเริ่มมีอาการปวดตา ตาพร่ามัว ตาเบลอ เวียนหัว
6. ปวดตึงขา เหน็บชา เท้าชา
หากใครที่นั่งเป็นเวลานาน อาจจะเกิดอาการตึงขา เหน็บชา หรือชาบริเวณขาได้ ทั้งนี้เป็นเพราะว่าเส้นเลือดดำถูกกดทับ ทำให้ระบบไหลเวียนเลือดทำงานผิดปกติ หากปล่อยไว้นาน ๆ อาจจะทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือเดินไม่ได้
ออฟฟิศซินโดรม..เมื่อไหร่ควรพบแพทย์
ดังที่กล่าวมาในข้างต้น อาการออฟฟิศซินโดรมนั้นมี 3 ระดับ หากใครที่ยังสามารถรักษาหรือป้องกันได้ก็นับว่าเป็นเรื่องที่ดี แต่หากใครที่มีอาการระดับ 3 หรืออาการดังต่อไปนี้ ควรรีบพบแพทย์ทันที
- ผู้สูงอายุที่อาจจะมีปัญหาเรื่องกระดูก
- ผู้ที่มีประวัติรักษาอุบัติเหตุรุนแรงมาก่อน เนื่องจากอาจจะส่งผลต่อระบบการทำงานของกล้ามเนื้อ เส้นประสาท การกดทับต่าง ๆ
- ผู้ที่มีภาวะกระดูกพรุน
- ผู้ที่ดูแลตนเองเพื่อบรรเทาอาการ แต่อาการแย่ลง
- ผู้ที่มีกระดูกสันหลังคด บิดเบี้ยว ผิดปกติ
- ผู้ที่มีโรคประจำตัว มีประวัติการติดเชื้อ ผู้ที่กินยาชุด
- ผู้ที่มีปัญหากล้ามเนื้ออ่อนแรง
- ผู้ที่มีอาการปวดหัวเรื้อรังและปวดหลังเรื้อรัง
- ผู้ที่มีปัญหาในการอุจจาระหรือปัสสาวะ เช่น อุจจาระเล็ด ปัสสาวะราด ปัสสาวะไม่ออก
- ผู้ที่มีอาการชาบริเวณมือ แบน ขา เท้า บริเวณก้นเป็นประจำ
ทั้งนี้จึงควรสังเกตตนเองอย่างสม่ำเสมอ หากเมื่อใดที่พบว่าตนเองมีอาการเสี่ยงหรือมีอาการดังที่กล่าวมา ควรเข้าปรึกษาแพทย์ เพื่อรักษาทันที
การวินิจฉัยโรคออฟฟิศซินโดรม
เมื่อพบว่าตนเองเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะเป็นโรคออฟฟิศซินโดรมได้ ก็อาจจะเข้ารับการรักษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยหลัก ๆ แพทย์จะเริ่มวินิจฉัยโรคออฟฟิศซินโดรมจากการซักประวัติ ตรวจสอบประวัติการรักษา ตรวจสุขภาพทั่วไป
จากนั้นแพทย์จะทำการวิเคราะห์หาสาเหตุโดยละเอียด รวมถึงวางแผนการรักษาด้วยรูปแบบต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับผู้ป่วย ทั้งนี้อาจจะมีการวินิจฉัยเพิ่มเติม ขึ้นอยู่กับอาการและความรุนแรง ดังนี้
การเอกซเรย์
ในกรณีนี้อาจจะเรื่มตั้งแต่การเอกซเรย์ธรรมดา เพื่อตรวจหาไซนัสหรือโรคทั่ว ๆ ไป หรือในบางครั้งอาจจะเอกซเรย์เพื่อดูลักษณะกระดูก ตลอดการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง (CT SCAN) เพื่อตรวจหาโรคเกี่ยวกับสมอง ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดอาการปวดหัวเรื้อรัง หนึ่งในอาการของโรคออฟฟิศซินโดรม
การทำ MRI
การทำ MRI หรือการตรวจร่างกายด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งผลตรวจที่ได้ออกมานั้นจะมีภาพที่คมชัด รายละเอียดสูง ส่วนใหญ่จะใช้สำหรับตรวจหาความผิดปกติของรางกาย สุขภาพทั่วไป โรคเฉพาะบางอย่าง กระดูก ตลอดจนอาการปวดหัว ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโรคออฟฟิศซินโดรม
การทำ Electrodiagnosis
การตรวจไฟฟ้าวินิจฉัยความผิดปกติของโรคเกี่ยวกับระบบประสาทส่วนปลายและกล้ามเนื้อ โดยวิธีนี้จะช่วยแสดงผลอย่างแม่นยำ รับรู้ถึงสาเหตุอย่างของอาการอย่างชัดเจน และสามารถรักษาออฟฟิศซินโดรมได้
ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดจากออฟฟิศซินโดรม
การนั่งทำงานเป็นเวลานาน ๆ หรือการใช้ร่างกายด้วยกล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำ ๆ นอกจากจะทำให้เป็นออฟฟิศซินโดรมแล้ว ยังอาจจะก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมา ดังนี้
- กล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง (Myofascial Pain Syndrome)
ภาวะแทรกซ้อนประเภทนี้เกิดจากการที่กล้ามเนื้อมัดเดิม ๆ ทำงานหนักจนเกิดอาการเกร็ง กล้ามเนื้อขาดเลือกและออกซิเจนไปเลี้ยง โดยส่วนใหญ่อาการที่พบทั่ว ๆ ไป คือ ปวดเมื่อตามร่างกาย แต่ในบางกรณีคือ กดแล้วเกิดจะรู้สึกเจ็บจนร้าว บางครั้งจะไม่สามารถขยับเขยื้อนร่างกายได้ตามปกติ
- เอ็นรัดข้อมืออักเสบกดทับเส้นประสาท (Carpal Tunnel Syndrome)
แน่นอนว่าภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้จะเกิดจากการใช้นิ้วมือหรือข้อมือหนัก ส่วนใหญ่เกิดขึ้นกับผู้หญิงในวัยทำงานหรือสาว ๆ ออฟฟิศ อาการมักจะเกิดขึ้นในตอนกลางคืน โดย จะชาบริเวณนิ้วมือ โดยเฉพาะนิ้วชี้ นิ้วนาง และอาการจะรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ
- ความผิดปกติของความตึงตัวของเส้นประสาท (nerve tension)
อาการนี้เกิดจากการที่เส้นประสาทถูกกดทับหรือยึดติดอยู่ในเนื้อเยื่อทำให้ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ตามปกติ ส่วนใหญ่มักมีลักษณะอาการ เช่น ปวดหลัง ปวดสะโพก ปวดไหล่หรือบ่า รวมถึงอาการปลายประสาทอักเสบ
- กล้ามเนื้อบริเวณแขนท่อนล่างด้านนอกอักเสบ (Tennis Elbow)
เป็นอาการที่มักเกิดกับนักเทนนิส นักกีฬาที่ต้องใช้งานข้อมือ ข้อแขนหนัก ๆ โดยเมื่อเกิดอาการอักเสบบริเวณแขนท่อนล่างด้านนอก มักมีอาการปวดข้อมือ Office Syndrome จะก่อให้เกิดอาการปวดและบวมบริเวณข้อศอก แขนท่อนล่าง ไปจนถึงบริเวณข้อมือ
- นิ้วล็อก (Trigger Finger)
ภาวะแทรกซ้อนจาก เกิดจากปลอกเอ็นนิ้วมืออักเสบ ซึ่งจะทำให้ไม่สามารถยืดหดนิ้วมือได้ตามปกติ ส่วนใหญ่มักอักเสบบริเวณนิ้วโป้ง นิ้วกลาง และนิ้วนาง หรือในบางกรณีที่เป็นหนักคือจะอักเสบทุกนิ้วมือ ทั้งสองข้าง
- เอ็นกล้ามเนื้ออักเสบ (Tendinitis)
เอ็นกล้ามเนื้ออักเสบ ส่วนใหญ่เกิดจากากรเส้นเอ็นถูกใช้งานหนักเกินไป ทำให้เกิดอาการปวด เจ็บบริเวณเส้นเอ็น จนกลายเป็นการอักเสบ โดยส่วนใหญ่แล้วจะพบบริเวณเอ็นข้อศอก เอ็นหัวเข่า ตลอดจนเอ็นร้อยหวาย
- ปวดหลังจากท่าทางผิดปกติ (Postural Back Pain)
ปวดหลังจากท่าทางผิดปกติ คือ อาการปวดหลังที่เกิดจากการนั่งทำงานด้วยท่าทางที่ผิด ส่งผลให้เกิดอาการปวกกล้ามเนื้อบริเวณหวังตามมา
- หลังยึดติดในท่าแอ่น (Back Dysfunction)
อาการนี้จะเกิดจากความผิดปกติของข้อต่อบริเวณหลังด้านล่าง เช่น เนื้อเยื่อบริเวณนี้ยึดตึง เนื้อเยื่อยึดติดกับรากประสาท โดยจะทำให้ไม่สามารถขยับหลังไปในทิศทางต่าง ๆ ได้สุด
วิธีรักษาโรคออฟฟิศซินโดรม
ใครที่กำลังเผชิญกับโรคออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) เราก็ได้รวบรวมวิธีการรักษาออฟฟิศซินโดรมสามารถทำได้ง่ายๆ หลายวิธี ดังนี้
1. การใช้ยาบรรเทาอาการปวด
เมื่อเผชิญกับอาการโรคออฟฟิศซินโดรมที่รุนแรงยิ่งขึ้น สามารถใช้ยารักษาออฟฟิศซินโดรม รักษาอาการปวด หรือยาบรรเทาอาการอักเสบได้ แต่หากใครที่มีอาการปวดหัวเรื้อรังร่วมด้วยก็สามารถใช้ยากลุ่ม Ibuprofen, Ergotamine หรือกลุ่ม Triptan ได้เช่นกัน ทั้งนี้จะต้องปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนเท่านั้น เนื่องจากยาบางตัวไม่สามารถใช้ร่วมกันได้ เพราะจะทำให้เกิดผลข้างเคียงรุนแรง
2.การยืดเหยียดกล้ามเนื้ออย่างถูกวิธี
เมื่อนั่งทำงานเป็นระยะเวลานาน ๆ ควรแบ่งพักและยืดเส้นออฟฟิศซินโดรมจะได้บรรเทาลงเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อและป้องกันการฉีกขาดของของเส้นใยและกล้ามเนื้อ โดยอาจจะยืดกล้ามเนื้อส่วนบน จากนั้นยือกล้ามเนื้อส่วนล่างก็จะบรรเทาอาการปวดเมื่อยได้
3. การทำกายภาพบำบัด
เมื่อมีอาการออฟิศซินโดรม กายภาพบำบัดเป็นหนึ่งในวิธีรักษาที่ตรงจุด เพียงแค่เข้าไปปรึกษากับหมอรักษาออฟฟิศซินโดรมหรือนักกายภาพบำบัด ก็จะได้รับคำปรึกษาและแนวทางการรักษาที่แตกต่างกันอกไปขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของอาการและความเหมาะสมของแต่ละบุคคล เช่น การทำท่าบริหาร การใช้เครื่องดึงคอ เป็นต้น
4.การนวดแผนไทย
หนึ่งในวิธีแก้ออฟฟิศซินโดรมคือ การนวดแผนไทย เพราะว่านอกจากการนวดแผนไทยจะช่วยลดอาการปวดเมื่อยทั่ว ๆ ไปได้แล้ว ยังสามารถช่วยลดความตึงของกล้ามเนื้อ เอ็น และข้อยึดต่าง ๆ ได้ นับว่าเป็นการบําบัดออฟฟิศซินโดรมที่ได้ผลดี
5.ศาสตร์การฝังเข็ม
หลาย ๆ คนอาจจะเคยได้ยินถึงการฝังเข็มหรือฝังเข็มไมเกรน เนื่องจากศาสตร์นี้มีมาอย่างยาวนาน และใช้รักษาโรคต่าง ๆ ได้ รวมถึงโรคออฟฟิศซินโดรม โดยกลไกคือ จะยับยั้งสารสื่อประสาทส่วนกลาง ลดอาการปวด ตลอดจนปรับสมดุลอวัยวะในร่างกายให้ปกติ
6. ฉีดโบท็อกรักษาออฟฟิศซินโดรม
หากใครที่มีอาการออฟฟิศซินโดรม โดยอาจจะปวดหัวเรื้อรัง ปวดหัวบ่อย ปวดหัวข้างเดียว เพียงแค่ฉีดโบท็อกไมเกรนในปริมาณที่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญกำหนดหรือโบท็อกออฟฟิศซินโดรมตามจุดต่าง ๆ เพียงเท่านี้ก็จะบรรเทาอาการปวดได้ในระยะยาว
แนวทางป้องกันออฟฟิศซินโดรม
อย่างไรก็ตาม หากใครที่เป็นหนุ่มสาวชาวออฟฟิศหรือต้องนั่งทำงานงาน ๆ ก็สามารถปฏิบัติตนตามแนวทางป้องกันโรคออฟฟิศซินโดรมได้ ดังนี้
1. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
การออกกำลังกาย ออฟฟิศซินโดรมจะดีขึ้นตามลำดับ เนื่องจากมีส่วนช่วยในการยืดและผ่อนคลายกล้ามเนื้อได้เป็นอย่างดี ในขณะเดียวกันก็เป็นการเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อด้วย โดยอาจจะเริ่มจากการวิ่งเหยาะ เดินเร็ว การทำกิจกรรมเข้าจังหวะเบา ๆ ตลอดจนการเล่นโยคะแก้ปวดหัวก็ช่วยได้
2. ปรับสภาพแวดล้อมการทำงานให้เหมาะสม
หนึ่งในปัจจัยหลักที่ส่งผลให้เกิดโรคออฟฟิศซินโดรม คือ สภาพแวดล้อม ดังนั้นจึงควรปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นปรับโต๊ะทำงานให้อยู่ในระดับที่พอดี ปรับแสงสว่างให้เพียงพอ ปรับตำแหน่งวางเมาส์หรือคีย์บอร์ดในตำแหน่งที่ถนัดหรือเหมาะสม เป็นต้น
3. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการนั่งทำงาน
หากใครที่ไม่สามารถเลี่ยงการนั่งทำงานนาน ๆ อาจจะต้องปรับพฤติกรรมของตนเอง โดยจะต้องนั่งหลังตรง ไม่นั่งหลังค่อม ห่อไหล หน้าก้มตำ หรือนั่งชันขาข้างเดียว เนื่องจากจะส่งผลให้เกิดการกดทับเส้นประสาทต่าง ๆ ตลอดจนระบบไหลเวียนเลือดทำงานผิดปกติได้ ทั้งนี้เมื่อรู้สึกว่าตนเองนั่งทำงานนาน ให้ลุกเดิน ยืดเส้นยืดสาย หรือพักบ้าง
รักษาออฟฟิศซินโดรมที่ไหนดี
เมื่อมีปัญหากวนใจในการทำงานอย่างออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) หลาย ๆ คนอาจจะกำลังมองหาว่าออฟฟิศซินโดรมรักษาที่ไหนดี ทั้งนี้อาจจะเลือกรักษาจากตำแหน่งที่ตั้ง เทคโนโลยี โปรแกรมรักษา ค่าใช้จ่าย การเดินทาง ตลอดจนปัจจัยอื่น ๆ ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล
แต่หากใครที่ต้องการรักษาออฟฟิศซินโดรมด้วยการฉีดโบท็อกออฟฟิศซินโดรม ต้องการปรึกษา หาสาเหตุ ตลอดจนตรวจไมเกรนกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ก็สามารถเข้ารักษาได้ที่ BTX Migraine Center ศูนย์รักษาไมเกรนเฉพาะตั้งอยู่ใกล้ระบบขนส่งสาธารณะ เดินทางง่าย ปลอดภัย คุ้มค่ากับการรักษา
ข้อสรุป
โรคออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) อาจจะสร้างความเจ็บปวดและความรำคาญใจให้กับใครหลาย ๆ คน แต่โรคนี้ก็สามารถรักษาได้โดยเริ่มที่การปับพฤติกรรมของตนเอง
หรือถ้าใครกำลังอยากรักษาด้วยวิธีทางการแพทย์ที่ปลอดภัย ทันสมัย และอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านก็สามารถแอดไลน์ @ayaclinic หรือโทร 090–970-044 เพื่อปรึกษา นัดตรวจไมเกรน อาการปวดหัว ประเมินระดับอาการออฟฟิศซินโดรม ตลอดจนนัดเข้ารับการรักษาได้เลย
เอกสารอ้างอิง
Thisworksadmin. (2016). Identifying And Treating Pain From Nerve Tension. Retrieve from https://my-osteopath.co.uk/identifying-and-treating-pain-from-nerve-tension/