รู้ทันอาการตื่นนอนแล้วปวดหัว ปวดหัวตอนเช้า สาเหตุ การวินิจฉัย วิธีรักษา

 รู้ทันอาการตื่นนอนแล้วปวดหัว

การตื่นนอนตั้งแต่เช้าอาจทำให้ใครหลาย  ๆ  คนรู้สึกอ่อนเพลีย ไม่สดชื่น หรือพักผ่อนไม่เต็มที่ ซึ่งหากตื่นนอนแล้วปวดหัวด้วยอีก อาจจะทำให้เกิดความรู้สึกแย่และอารมณ์เสียไปตลอดทั้งวัน 

ดังนั้น วันนี้เราจึงจะพาทุกคนไปรู้จักกับอาการตื่นนอนแล้วปวดหัว เกิดจากอะไร ใครบ้างที่จะมีอาการ ปวดหัวเกี่ยวข้องกับไมเกรนหรือไม่ ตลอดจนวิธีแก้ตื่นนอนแล้วปวดหัว ถ้าพร้อมแล้วตามไปอ่านกันต่อเลย


สารบัญบทความ


ตื่นนอนแล้วปวดหัว

อาการปวดหัวมักพับได้บ่อยในคนทุกเพศ ทุกวัย เนื่องจากมีปัจจัยและสิ่งเร้าต่าง ๆ  ส่งผลให้เกิดอาการดังกลาว แต่หากใครที่รู้สึกตื่นนอนแล้วปวดหัวบ่อย ๆ  อาจจะต้องพิจารณาและสาเหตุที่แน่ชัด

ตื่นมาแล้วปวดหัวจะมีอาการคือ รู้สึกปวดหัวข้างเดียว ปวดรอบ  ๆ  หัว ปวดบางจุด ปวดหัวคลื่นไส้บ่อยครั้งหลังจากตื่นนอน ซึ่งนอกจากจะทำให้สุขภาพร่างกายย่ำแย่แล้ว สุขภาพจิตยังย่ำแย่ตามไปอีกด้วย อย่างไรก็ดี การตื่นนอนแล้วปวดหัวเกิดจากหลาย ๆ  สาเหตุได้เช่นกัน


อาการตื่นนอนแล้วปวดหัวเกิดจากอะไร

อาการปวดหัวเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่นเดียวกับอาการตื่นนอนแล้วปวดหัวที่สร้างความน่ารำคาญใจและเป็นเหมือนสัญญาณบ่งบอกถึงความผิดปกติในการนอนหลับ ซึ่งตื่นแล้วปวดหัวเกิดได้จากหลาย ๆ  สาเหตุ ดังนี้

อาการตื่นนอนแล้วปวดหัว

1. พฤติกรรมการนอนที่ผิดปกติ

การนอนหลับพักผ่อนถือเป็นปัจจัยสำคัญในชีวิต เนื่องจากจะทำให้ร่างกายฟื้นฟูและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในเวลาตื่น แต่หากมีพฤติกรรมการนอนที่ผิดปกติไป ก็อาจจะส่งผลให้ตื่นนอนแล้วปวดหัว เวียนหัวได้ ซึ่งแบ่งพฤติกรรมออกได้ดังนี้

  • การนอนกรน

การนอนกรนเกิดจากระบบทางเดินหายใจส่วนบนถูกปิดกั้น จนทำให้ในบางรายอาจเผชิญกับ ซึ่งอาการเหล่านี้จะทำให้ร่างกายหลับไม่สนิท สมองไม่ได้พักอย่างแท้จริง และทำให้ระบบไหลเวียนโลหิต สมอง ร่างกายไม่ได้รับออกซิเจนเพียงพอ หลายๆ คนจึงตื่นนอนแล้วปวดหัวมาก

อย่างไรก็ตามอาการนอนกรนที่รุนแรง จนส่งผลกระทบต่อร่างกายควรเข้ารับการรักษาอย่างรวดเร็วและถูกวิธี เพื่อความปลอดภัยของตนเอง

  • การนอนกัดฟัน

การนอนกัดฟันหรือนอนเคี้ยวฟันตัวเอง ทั้งที่รู้ตัวหรือไม่ตัว จะทำให้กล้ามเนื้อบริเวณกราม ท้ายทอย คอเกร็งตึง ส่งผลให้เกิดอาการเส้นคอตึง ปวดหัวชนิดไมเกรน ตลอดจนตื่นเช้ามาแล้วปวดหัวได้ 

ทั้งนี้ เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดอาการนอนกัดฟันจนทำให้ตื่นนอนแล้วปวดหัว อาจจะต้องปรึกษาแพทย์ ปรับพฤติกรรม ตลอดจนใช้ตัวช่วย เช่น ใส่ฟันยางขณะนอนหลับ

  • ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea หรือ OSA) เกิดจากการอุดกั้นของทางเดินหายใจส่วนบน ส่งผลให้การหายจผิดปกติ ร่างกายและสมองมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เยอะกว่าปกติ ในขณะเดียวกันก็ขาดออกซิเจน ส่งผลให้ตื่นเช้าแล้วปวดหัว

เมื่อใดที่พบว่ามีพฤติกรรมภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ซึ่งส่งผลให้ตื่นนอนแล้วปวดหัว อาจจะต้องเข้ารับการปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาวิธีแก้ไขหรือรักษา เนื่องจากพฤติกรรมดังกล่าวเป็นอันตรายต่อการนอนหลับ

  • ภาวะนอนไม่หลับเรื้อรัง

แม้ว่าจะง่วง อ่อนเพลีย หรือเหนื่อยล้าแค่ไหน แต่หลาย ๆ  คนกับต้องเผชิญกับภาวะนอนไม่หลับเรื้อรัง ทำให้ร่างกายนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดอาการตื่นนอนแล้วปวดหัวทุกวัน หรือปวดหัวบ่อยครั้ง 

อย่างไรก็ตาม นอกจากอาการเหล่านี้แล้ว อาจจะพบว่ามีอาการอื่น ๆ  ร่วมด้วย เช่น สมาธิสั้น เหม่อลอย ความจำสั้น อ่อนล้า เป็นต้น 

2. ภาวะเครียด ซึมเศร้า วิตกกังวล

แม้ว่าปัจจัยทางกายภาพจะมีส่วนสำคัญที่ส่งผลให้เกิดอาการตื่นนอนแล้วปวดหัว แต่หากพิจารณาถึงปัญหาทางด้านจิตใจแล้วจะพบว่าเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญเช่นกันที่ทำให้อาการปวดหัวรูปแบบต่าง ๆ  กำเริบ 

ไม่ว่าจะเป็นความเครียด ที่จะทำให้กล้ามเนื้อบริเวณสมอง ขมับ รอบหัวตึงมากขึ้น และส่งผลให้เกิดอาการปวดหัวจากความเครียด บางรายก็มีอาการเครียดจนทำให้ต้องนอนกัดฟัน ซึ่งก็ส่งผลให้เวลาตื่นนอนแล้วปวดหัว

นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าหรือวิตกกังวล สารในสมองจะทำงานผิดปกติ ซึ่งแม้ว่าการศึกษาและวิจัยจะไม่สามารถสรุปว่าเป็นปัจจัยโดยตรงได้ แต่ก็ส่งผลให้เกิดอาการปวดหัวไมเกรนและปวดตอนตื่นนอนร่วมกับอาการทางกายภาพอื่น ๆ  

3. โรคไมเกรน

ลักษณะอาการที่พบได้บ่อยของโรคไมเกรนคือ ปวดกระบอกตา ปวดคิ้ว ปวดบริเวณขมับหรือท้ายทอย ปวดหัวเรื้อรัง ตลอดจนมีอาการตื่นนอนแล้วปวดหัวข้างเดียว 

แต่สำหรับผู้ป่วยบางรายที่มีอาการมึนหัว คลื่นไส้ ตาพร่ามัว ไปถึงขั้นสูญเสียการมองเห็นหรือการทรงตัวร่วมด้วย ก็อาจจะส่งผลให้ตื่นนอนแล้วมึนหัวร่วมด้วยเช่นกัน

จากการศึกษาพบว่าผู้ที่เป็นไมเกรนมีแนวโน้มเป็นโรคซึมเศร้าและโรควิตกกังวลมากถึง 2-5 เท่า ซึ่งก็เป็นสาเหตุของอาการปวดหัว 

ทางที่ดีอาจจะเข้ารับการตรวจไมเกรน รักษาในรูปแบบต่าง ๆ  ตามระดับอาการหรือระดับความสามารถและความเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการรักษาโดยวิธีแก้ปวดหัวไมเกรนด้วยตัวเองหรือวิธีรักษาทางการแพทย์ตามคำแนะนำของแพทย์ เป็นต้น

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีรักษาไมเกรน : 8 วิธีแก้ปวดหัวไมเกรนเบื้องต้น บรรเทาไมเกรนเร่งด่วนด้วยวิธีธรรมชาติ 

4. เนื้องอก

อย่างที่ทราบกันดีว่าอาการตื่นนอนแล้วปวดหัวคลื่นไส้ เป็นเสมือนสัญญาณเตือนของโรคต่างๆ ซึ่งหนึ่งในโรคดังกล่าวคือ “เนื้องอก” 

แต่จากการศึกษาและวิจัยพบว่ามีโอกาสเกิดได้น้อยและมักจะมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ชักเกร็ง ตัวกระตุก เวียนหัว คลื่นไส้อาเจียนบ่อยๆ ร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่งเป็นอัมพาตหรืออ่อนแรง ประสิทธิภาพในการพูดลดลง เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม หากพบว่าตนเองมีลักษณะอาการตื่นนอนแล้วปวดหัวจี๊ดๆ พร้อมกับอาการคลื่นไส้ ตลอดจนมีอาการร่วมดังต่อไปนี้ อาจจะต้องรีบเข้าพบแพทย์เพื่อทำการรักษาทันที

5. พฤติกรรมการนอนหลับที่ไม่เหมาะสม

แน่นอนว่าพฤติกรรมนอนหลับที่ไม่เหมาะสมจะส่งผลให้มีอาการตื่นนอนแล้วปวดหัว ซึ่งแบ่งได้ดังนี้

  • พฤติกรรมการอดนอน

ไม่ว่าจะการนอนเร็วแต่ตื่นเช้า การทำงานหนัก เล่นเกม ดูซีรีส์ หรือดูภาพยนตร์จนดึกที่ชอบก็ส่งผลให้ร่างกายนั้นพักผ่อนไม่เพียงพอทั้งสิ้น แน่นอนว่าอาการเหล่านี้จะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของร่างกายลดลง พักผ่อนไม่เพียงพอ จนเกิดอาการตื่นนอนแล้วปวดหัว ปวดตาจากแสงสีฟ้าได้อีกด้วย 

  • การนอนมากเกินไป

การนอนหลับมากเกินไปจะส่งผลให้ฮอร์โมนในร่างกายบางชนิดทำงานผิดปกติ เลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ ขาดน้ำหรือน้ำตาลในเลือดและในร่างกาย แน่นอนว่าจะส่งผลให้เกิดอาการตื่นนอนแล้วปวดหัวข้างซ้ายหรือขวาได้อย่างง่ายๆ  

  • การนอนหลับไม่เป็นเวลา

นอกจากการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ 6-8 ชั่วโมงต่อวันแล้ว ก็ควรนอนพักให้เป็นเวลา เนื่องจากร่างกายจะต้องปรับตัวให้เหมาะกับการใช้ชีวิต การปรับอุณหภูมิในร่างกาย ตลอดจนการหดหรือขยายตัวของเส้นเลือด 

6. สาเหตุจากปัจจัยอื่นๆ

นอกจากปัจจัยทางกายภาพและปัจจัยทางด้านจิตใจแล้ว ยังมีปัจจัยอื่น ๆ  ที่ส่งผลให้เกิดอาการตื่นนอนแล้วปวดหัว ดังนี้

  • การดื่มแอลกอฮอล์ คาเฟอีน

การดื่มแอลกอฮอล์และคาเฟอีน เช่น กาแฟ ชาเขียว โกโก้ หรือแอลกอฮอล์ นอกจากจะส่งผลต่อระบบการทำงานต่าง ๆ  ในร่างกายแล้ว ยังกระตุ้นระบบประสาทและการหดหรือขยายตัวของหลอดเลือดโดยตรง ส่งผลให้เกิดอาการปวดหัวข้างขวา ตื่นนอนแล้วปวดหัวข้างขวา หรือปวดทั้งสองข้างได้

  • การตั้งครรภ์

การตั้งครรภ์จะส่งผลให้ร่างกายเกิดอาการเหนื่อยล้า พักผ่อนไม่เพียงพอ หรือขาดสารอาหารได้ ดังนั้น เพื่อให้ร่างกาย สุขภาพ และไม่มีอาการตื่นนอนแล้วปวดหัวมากมากวนใจ อาจจะพักผ่อนให้เพียงพอ ทานอาหารเสริมหรืออาหารที่มีประโยชน์ ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุของอาการปวดหัวได้

  • การใช้ยาบางประเภท

อย่างไรก็ตาม การทานยาบางประเภทเพื่อรักษาโรคประจำตัวหรืออาการที่เป็นอยู่ ก็สามารถกระตุ้นให้เกิดอาการตื่นนอนแล้วปวดหัวได้ หากใช้เกินความจำเป็นหรือเกินขนาดจากแพทย์สั่ง ดังนั้นจึงไม่ควรซื้อยามาทานเอง แต่ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ


ตื่นนอนแล้วปวดหัว..เมื่อไหร่ควรพบแพทย์

ตื่นนอนแล้วปวดหัวมื่อไหร่ควรพบแพทย์

หลาย ๆ  คนอาจจะคิดว่าอาการตื่นนอนแล้วปวดหัวนั้นเป็นเรื่องปกติ เลือกที่จะมองข้ามและปล่อยให้อาการเหล่านี้เกิดขึ้นบ่อยครั้ง ดังนั้น หากมีอาการเตือนดังนี้ไม่ควรปล่อยไว้และรีบพบแพทย์

  • ปวดหัวชนิดที่ไม่เหมือนเดิม 

เนื่องจากอาการปวดหัวนั้นสามารถเกิดขึ้นได้บ่อยและพบในทุกเพศทุกวัย โดยส่วนใหญ่จะไม่รุนแรง และมีอาการคล้ายเดิม เช่น ปวดหัวท้ายทอยสู่การปวดบริเวณขมับ ปวดรอบหัวสู่การปวดหัวคิ้วโดยเฉพาะ อาจจะต้องรีบไปพบแพทย์ เพื่อตรวจรักษา

  • ปวดหัวมาเป็นเวลานานและถี่ขึ้น 

ตามปกติแล้ว หากมีอาการปวดหัว หลายๆ คนจะเลือกทานยาตามความเหมาะสม ผ่านไปสักพักอาการเหล่านั้นก็จะดีขึ้น แต่หากใครทานยาแล้วไม่หาย แต่อาการกลับรุนแรงขึ้น หรือปวดถี่ขึ้นในแต่ละวัน จะต้องเข้าตรจกับทางแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่แน่ชัด

  • ปวดหัวจนทำให้ตื่นกลางดึก 

ร่างกายจะพักผ่อนอย่างเต็มที่ขณะที่เราหลับ และเมื่อเข้าสู่ช่วงกลางดึก ร่างกายจะหลับสนิท แต่หากเมื่อใดที่ต้องตื่นเพราะอาการปวดหัว ให้รีบพบแพทย์ทันที เนื่องจากอาการนั้นเข้าขั้นรุนแรง 

  • ปวดหัวและมีอาการอื่นร่วมด้วย

ไม่ว่าจะเป็นอาการเวียนหัว คลื่นไส้ แขนขาอ่อนแรง หน้าเบี้ยว ประสิทธิภาพการมองเห็น การทรงตัว หรือการจำลดลง อาจจะต้องเข้าพบแพทย์โดยเร็ว เนื่องจากหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการตื่นนอนแล้วปวดหัวมากคือ โรคทางสมอง


การวินิจฉัยอาการตื่นนอนแล้วปวดหัว

การวินิจฉัยอาการตื่นนอนแล้วปวดหัว

การวินิจฉัยอาการตื่นนอนแล้วปวดหัวจะมีลักษณะคล้ายกับการวินิจฉัยอาการปวดหัวคือ เริ่มจากการซักประวัติ สอบถามการแพ้ยาหรือระดับอาการ พฤติกรรมการใช้ชีวิต จากนั้นจะรักษาอย่างละเอียด เช่น 

  • การตรวจ MRI 

การตรวจวินิจฉัยโรคด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจะใช้สำหรับการตรวจหาความผิดปกติในร่างกาย เช่น เนื้องอก การอักเสบ ภาวะต่าง ๆ  ในร่างกาย เนื่องจากวิธีนี้ผลที่ออกมาจะละเอียดและแม่นยำ สามารถหาวิธีแก้ตื่นนอนแล้วปวดหัวได้อย่างตรงจุด 

  • การตรวจ CT SCAN 

การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ใช้สำหรับเน้นตรวจหาความผิดปกติของอวัยวะเฉพาะบริเวณ เช่น บริเวณรอบหัว เพื่อสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดหัว บริเวณสมอง เพื่อตรวจดูเนื้องอก บริเวณต่าง ๆ  ของร่างกายเพื่อดูการทำงานของหลอดเลือด โดยผลของการตรวจนั้นจะละเอียดและชัดเจน

  • การเจาะน้ำไขสันหลัง

การเจาะตรวจน้ำไขสันหลัง จะดูดน้ำหล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลังมาตรวจวินิจฉัยโรค เช่น การตรวจหาสาเหตุของอาการตื่นนอนแล้วปวดหัว อาการปวดหัวไมเกรน เป็นต้น 

  • ตรวจการนอนหลับ 

เนื่องจากพฤติกรรมการนอนที่ผิดปกติหรือไม่เหมาะสมส่งผลให้เกิดอาการปวดหัวตอนเช้า ดังนั้น จึงจำเป็นต้องใช้การตรวจการนอนหลับ เพื่อประเมินภาวะการหยุดหายใจขณะหลับ ตรวจออกซิเจน ในร่างกายหรือในสมอง การขยับตัว ท่านอน  อัตราการหายใจ เป็นต้น


วิธีแก้อาการตื่นนอนแล้วปวดหัว

แม้ว่าจะพบว่าตนเองนั้นมีอาการตื่นนอนแล้วปวดหัว แต่ก็สามารถแก้ได้ง่ายๆ ได้ตาม 4 วิธีแก้ตื่นนอนแล้วปวดหัว ดังนี้

1. การปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต

การปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต

จากการวิจัยและศึกษาของมูลนิธิ American Migraine Foundation ได้แนะนำถึง “SEEDS” วิธีจัดการกับอาการปวดหัวไมเกรนและอาการตื่นนอนแล้วปวดหัว ดังนี้

  • S – Sleep เน้นการนอนหลับพักผ่อนอย่างเหมาะสม เป็นเวลารักษา และปรับสภาพแวดล้อมในการนอนหลับให้เหมาะสม
  • E – Exercise เน้นการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อสร้างเสริมสุขภาพที่ดีและลดอาการปวดหัว 
  • E – Eat เน้นทานอาหารที่มีประโยชน์ ครบ 5 หมู่ เลี่ยงอาหารที่กระตุ้นอาการ ตลอดจนดื่มน้ำในปริมาณที่เหมาะสมและเพียงพอต่อความต้องการ
  • D – Diary ต้องไม่ลืมที่จะจดบันทึกอาการปวดหัวของตนเองอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้สะดวกต่อการประเมินหรือการวินิจฉัยโรค
  • S – Stress เน้นทำกิจกรรมที่ชอบ งานอดิเรก ออกไปพบปะเพื่อน เพื่อลดความเครียด

2. การใช้ยาบรรเทาอาการปวดหัว

อาการตื่นนอนแล้วปวดหัวนั้นสามารถรักษาได้โดยการทานยา เช่น แอสไพริน ยาพาราเซตามอล ตลอดจนยาไมเกรนโดยเฉพาะ โดยแบ่งได้ 3 กลุ่ม ดังนี้

การใช้ยาบรรเทาอาการปวดหัว

อาการตื่นนอนแล้วปวดหัวนั้นสามารถรักษาได้โดยการทานยา เช่น แอสไพริน ยาพาราเซตามอล ตลอดจนยาไมเกรนโดยเฉพาะ โดยแบ่งได้ 3 กลุ่ม ดังนี้

  • ยากลุ่ม Triptan แก้ปวดหัวรูปแบบต่างๆ มีทั้งยาชนิดเม็ด แผ่นแปะ ยาฉีด และย่าพ่นจมูก
  • ยากลุ่ม Ergotamine ช่วยทำให้เส้นเลือดมีการหดตัวลดลงตามปกติ 
  • ยากลุ่ม Ibuprofen ใช้ในการรักษาอาการปวดในรูปแบบต่างๆ 

3.หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง

หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง

ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมการนอนไม่เหมาะสม พฤติกรรมการทานอาหาร การดื่มแอลกอฮอล์หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ตลอดจนสูบบุหรี่ การพักผ่อนไม่เพียงพอ และความเครียดสะสม เนื่องจากพฤติกรรมเหล่านี้เป็นปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการอาการตื่นนอนแล้วปวดหัวได้

4. การรักษาจากสาเหตุของโรค

การรักษาจากสาเหตุการปวดหัว

โดยทั่วไปแล้ว วิธีแก้ปวดหัวนั้นสามารถรักษาได้ตามสาเหตุของโรค เช่น

  • พฤติกรรมการนอนที่ผิดปกติหรือไม่เหมาะสม ควรรักษาด้วยการปรับพฤติกรรม ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ทำแบบทดสอบการนอนหลับ เป็นต้น
  • ภาวะเครียด ซึมเศร้า วิตกกังวล ควรรักษาด้วยการพูดคุย รับฟัง และแสดงความเห็น ตลอดจนการทำจิตบำบัด
  • โรคไมเกรน หากอาการเกิดจากสาเหตุนี้ สามารถรักษาได้หลายรูปแบบ เช่น ฝังเข็มไมเกรนตามแพทย์แผนจีนที่มีมาอย่างยาวนาน การเลือกกินสมุนไพรรักษาไมเกรน ตลอดจนวิธีการทางการแพทย์แผนปัจจุบันอย่างการฉีดโบท็อกไมเกรน ซึ่งผลลัพธ์อยู่นานถึง 3-4 เดือน ปลอดภัย และมีผลข้างเคียงน้อย
  • เนื้องอก ควรรักษาด้วยการผ่าตัดหรือทานยาควบคู่ ตามดุลยพินิจของแพทย์
  • สาเหตุจากปัจจัยอื่น ๆ วิธีการรักษานั้นอาจจะต้องพิจารณารักษาตามระดับอาการและรายบุคคล รวมถึงขึ้นอยู่กับปัจจัยนั้น ๆ  เช่น การปรับลดยา การทานอาหารเสริม เป็นต้น

แนวทางการป้องกันการตื่นนอนแล้วปวดหัว

แนวทางการป้องกันการตื่นนอนแล้วปวดหัว

เพื่อเป็นการป้องกันอาการเหล่านี้ สามารถนำ 7 แนวทางการป้องกันการตื่นนอนแล้วปวดหัวดังต่อไปนี้ไปปรับใช้กันได้ง่ายๆ  

1. หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์หรือคาเฟอีน

เนื่องจากสิ่งเหล่านี้มีฤทธิ์ในการกระตุ้นระบบประสาทและบีบขยายหลอดเลือด ส่งผลให้เกิดอาการตื่นนอนแล้วปวดหัว คลื่นไส้ได้

2. หลีกเลี่ยงการนอนนานๆ

ดังที่กล่าวมาในข้างต้น การนอนพักผ่อนมากเกินไปจะส่งผลเสียแทนผลดีและทำให้เกิดอาการตื่นนอนแล้วปวดหัวได้ ทางที่ดีจึงควรนอนพักให้เหมาะสมและเพียงพอ

3. หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่

ในบุหรี่มีสารนิโคติน ซึ่งสามารถกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางได้โดยตรง ทำให้ร่างกายตื่นตัวและไม่ง่วง ซึ่งส่งผลเสียต่อร่างกายในหลาย ๆ  ส่วน

4. ควรนอนหลับในที่ที่เงียบสงบและอุณหภูมิเหมาะสม

เนื่องจากแสงหรือเสียงนั้นจะรบกวน ทำให้ร่างกายหลับไม่สนิท ในขณะเดียวกันหากอากาศร้อนหรือเย็นเกินไปก็จะส่งผลให้เกิดอาการตื่นเช้าแล้วปวดหัวได้

5. ปรับท่านอนให้เหมาะสม

หากร่างกายนอนในท่าที่ไม่เหมาะสม จะส่งผลให้สามารถนอนกรน กล้ามเนื้อยึดตึงได้ ทางที่ดีควรนอนให้ท่าที่เหมาะสมกับร่างกายของตนเองจะดีกว่า

6. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

อย่างที่ทราบกันดีว่าการออกกำลังกายนั้นดีต่อสุขภาพ ดังนั้น หากปรับพฤติกรรมและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เช่น โยคะแก้ปวดหัว คาร์ดิโอ วิ่งเบาๆ ก็จะช่วยได้

7. ทานอาหารที่มีประโยชน์

ไม่ว่าจะเป็นเนื้อสัตว์ แป้ง ผัก ผลไม้ หรืออาหารเสริมชนิดต่าง ๆ  ก็ควรทานให้เหมาะสมและครบ 5 หมู่ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง ลดอาการเจ็บป่วย และอาการตื่นนอนแล้วปวดหัวจี๊ดๆ


ข้อสรุป

อาการปวดหัวหรืออาการตื่นนอนแล้วปวดหัวนั้นเป็นเรื่องใกล้ตัว หากเมื่อใดที่พบว่าตนเองมีอาการรุนปรง ถี่ขึ้น หรือมีอาการอื่น ๆ  ร่วมก็ควรรีบพบแพทย์ทันที เพื่อหาทางรักษาที่ปลอดภัย

หากใครที่กำลังมองหาวิธีแก้ตื่นนอนแล้วปวดหัวด้วยนวัตกรรมที่ทันสมัยอย่างการฉีดโบท็อกไมเกรน สามารถแอดไลน์ @ayaclinic หรือโทร 090–970-0447 เพื่อปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านของทาง BTX Migraine Center หรือศูนย์รักษาไมเกรนเฉพาะทางที่ปลอดภัยและน่าเชื่อถือได้ตลอด 24 ชั่วโมง

แอดไลน์


เอกสารอ้างอิง

American Migraine Foundation. 2021. Lifestyle Changes for Migraine Management. Retrieve from https://americanmigrainefoundation.org/resource-library/lifestyle-changes-for-migraine/