ยาไมเกรนส่งผลทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นได้อย่างไร
อาการหิวเป็นเรื่องธรรมชาติที่เกิดขึ้นได้กับบุคคลทุกเพศ ทุกวัย การเกิดความหิวถูกควบคุมด้วยส่วนของสมองที่ เรียกว่า ไฮโพทาลามัส (hypothalamus) เมื่อใดที่ร่างกายต้องการอาหาร จะพบว่าส่วนหนึ่งของไฮโพทาลามัสได้ส่งสัญญาณไปยังกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดความรู้สึกหิวและเมื่อร่างกายได้รับอาหารแล้ว อีกส่วนหนึ่งของไฮโพทาลามัสจะส่งสัญญาณไปกดไม่ให้เกิดความรู้สึกหิว ในกลุ่มยาไมเกรนบางตัว เมื่อรับประทานยาไปแล้ว ตัวยาบางชนิดส่งผลต่อระบบสมองในส่วน ไฮโพทาลามัส (hypothalamus) ซึ่งอาจเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้น้ำหนักขึ้นได้
สารบัญบทความ
- กลุ่มผู้ป่วยไมเกรน
- วิธีแก้ปวดไมเกรน
- อ้วนเพราะยา ไมเกรน
- ยาไมเกรนตัวไหนบ้างที่ทำให้น้ำหนักขึ้น
- อ้วนเพราะยา ไมเกรนทุกคนไหม
- ทำอย่างไรเมื่อ อ้วนเพราะยา ไมเกรน
- ยาไมเกรนที่ไม่ทำให้น้ำหนักขึ้น
- ข้อสรุป
กลุ่มผู้ป่วยไมเกรน
อาการปวดหัวไมเกรน สามารถพบได้ประมาณ 15% ของประชากรทั่วไป ส่วนใหญ่จะพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ที่อยู่ในช่วงอายุ 20-25 ปี ซึ่งอาจส่งผลรุนแรงในเพศหญิงที่มีประจำเดือนมากกว่าบุคคลทั่วไปถึง 2 เท่า ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้ มักจะกังวลเกี่ยวกับปัญหาน้ำหนักขึ้นมากพอสมควร จึงมีการสังเกตเกี่ยวกับกลุ่มยาไมเกรนว่าอาจทำให้น้ำหนักขึ้นได้
วิธีแก้ปวดไมเกรน
- ใช้วิธีการแก้ปวดโดยวิธีทางธรรมชาติ การรักษาไมเกรนด้วยวิธีธรรมชาติอย่างการออกกำลังกาย ถือเป็นวิธีรักษาไมเกรนที่เห็นผลดี อีกทั้งยังส่งผลต่อสุขภาพอีกด้วย ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิตไปยังสมองได้เป็นอย่างดี แถมยังช่วยให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนเอ็นดอร์ฟิน (Endorphin) ที่ถือเป็นสารบรรเทาอาการปวดตามธรรมชาติในร่างกาย
- การรักษาอาการปวดหัวไมเกรนด้วยวิธีทางการแพทย์
- ยาแก้ปวดเฉียบพลัน คือ กลุ่มยาแก้ปวด จะใช้เมื่อมีอาการ ปวดศรีษะไมเกรน และสามารถแก้ ปวด ไมเกรน เร่ง ด่วน แต่ยากลุ่มนี้มีข้อเสียคือส่งผลต่อการทำงานต่อไตและตับ ได้แก่ Paracetamol และ Ibuprofen ยากลุ่ม NSAIDs (ไม่ใช่สเตียรอยด์)
- ยาป้องกัน เป็นยาที่ใช้ป้องกันโรคไมเกรน มียาหลายกลุ่มที่นำมาที่ใช้ป้องกันโรคไมเกรน เช่น กลุ่มยากันชัก, กลุ่มยาต้านเศร้า , กลุ่มยาปิดกั้นตัวรับเบตา, กลุ่มสารพิษต่อประสาท จะช่วยป้องกันการเกิดอาการไมเกรน สำหรับผู้ที่ป่วยเป็นไมเกรนขั้นรุนแรง แต่ยาป้องกันไมเกรนจะส่งผลโดยตรงต่อการเพิ่มของน้ำหนัก ทำให้ผู้ป่วยอาจอ้วนเพราะยาได้
อ้วนเพราะยาไมเกรน
อาการไมเกรน คือ อาการปวดหัวเรื้อรังจากสิ่งกระตุ้นหรือสิ่งเร้าทั้งภายในและภานนอก ทั้งควบคุมได้และควบคุมไม้ได้ ผู้ป่วยไมเกรนบางรายนอกจากจะปวดหัวเรื้อรังแล้วยังพบโรคที่อยู่ร่วมกับโรคไมเกรนด้วย คือ ภาวะหรือโรคซึมเศร้า ผู้ป่วยซึมเศร้าบางราย เมื่อเกิดช่วงเวลาซึมเศร้า ก่อนช่วงเวลาซึมเศร้า หลังช่วงเวลาซึมเศร้า พบว่าผู้ป่วยมีอาการหิวผิดปกติ หรือรับประทานครั้งละมาก ๆ
ไฮโพทาลามัส (hypothalamus) เป็นสมองส่วนที่ควบคุมความหิวของร่างกาย ผู้ป่วยไมเกรนและผู้ป่วยซึมเศร้าบางราย พบว่ามีสารสื่อประสาทในส่วนนี้มีปัญหาอยู่แล้ว ซึ่งจะมีความรู้สึกหิวก่อนปวดหัว หิวหลังปวดหัว หรือหิวหลังจากการนอนหลับ ซึ่งยาป้องกันไมเกรนบางชนิด อาจะทำปฏิกิริยากับสารในร่างกาย คือ
ออเร็กซิน
ออเร็กซิน เป็นสารสื่อประสาทประเภทนิวโรเปปไทด์ มีหน้าที่ทำให้สมองตื่นตัวและรู้สึกอยากอาหาร เมื่อรับประทานยาป้องกันไมเกรนก็อาจจะส่งผลให้รู้สึกอยากอาหารมากขึ้น และทำให้รับประทานอาหารได้มากขึ้น จึงส่งผลต่อน้ำหนักตัวโดยตรง
กาบา
การรับประทานยาไมเกรน จะเข้าไปช่วยเพิ่มระดับของสารสื่อประสาท GABA ที่เป็นสารที่สมองใช้ในการสื่อสารกับระบบประสาท เมื่อตัวยาเข้าไปกระตุ้น จะทำให้รู้สึกง่วงนอน และอยากอาหารมากยิ่งขึ้น
สารเซลาโทนิน
สารเซลาโทนิน เป็นสารเคมีชนิดหนึ่งภายในร่างกาย มีบทบาทสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของสมองและระบบประสาท เมื่อผู้ป่วยไมเกรนบางรายรับประทานยาป้องกัน และตัวยาส่งผลต่อสารทั้ง 3 ชนิด อาจทำให้น้ำหนักขึ้นได้
ตัวยาตัวไหนบ้างที่ทำให้น้ำหนักขึ้น
ยาชนิดที่ป้องกันไมเกรน หลังจากที่ผู้ป่วยบางรายรับประทานเข้าไปแล้วพบว่าน้ำหนักขึ้น มีดังนี้
- Flunarizine (ฟลูนาริซีน) เป็นยาในกลุ่มยาต้านไมเกรน โดยตัวยาจะออกฤทธิ์ขยายหลอดเลือดในสมองและปรับระดับสารสื่อประสาทบางชนิดในสมอง ช่วยบรรเทาอาการปวดหัวได้ดี อีกทั้งยังหาซื้อง่าย แต่ยาชนิดนี้มีผลข้างเคียงเกี่ยวกับระบบต่อมไร้ท่อและการเผาผลาญ ส่งผลให้น้ำหนักขึ้นได้
- Valproic Acid (วาลโปรอิก แอซิด) เป็นยากันชักและป้องกันอาการปวดหัวไมเกรนช่วยปรับสมดุลของสารเคมีในสมองให้อยู่ในระดับปกติ การรับประทานยา Valproic Acid ควรอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์ เพราะยาตัวนี้มีแนวโน้มทำให้น้ำหนักเยอะ มีผู้ที่รับประทานยาตัวนี้แล้วน้ำหนักขึ้นราว 20 เปอร์เซ็นต์
- Amitriptyline (อะมิทริปไทลีน) เป็นยาใช้รักษาอาการจากโรคซึมเศร้า ยาต้านเศร้า ช่วยปรับปริมาณสารเคมีในสมองที่ไม่สมดุลกันให้กลับมาเป็นปกติ นอกจากนี้ ยังสามารถป้องกันอาการปวดไมเกรนได้ด้วย ที่สำคัญยังส่งผลต่อการเพิ่มของน้ำหนัก จึงควรรับประทานโดยอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์
- Ventafaxine (เวนลาฟาซีน) เป็นยารักษาโรคซึมเศร้าในกลุ่มเอสเอ็นอาร์ไอ (SNRIs) ที่ออกฤทธิ์ช่วยเพิ่มระดับของสารเซโรโทนินและสารนอร์อิพิเนฟรินในสมอง และช่วยบรรเทาอาการปวดหัวไมเกรน เป็นยาอีกกลุ่มที่ส่งผลต่อน้ำหนักตัวหรืออยากอาหารมากขึ้น
อ้วนเพราะยา ไมเกรนทุกคนไหม
ผู้ป่วยไมเกรนหรือผู้ป่วยซึมเศร้าที่รับประทานยาป้องกันไมเกรน ไม่ใช่ทุกรายที่น้ำหนักขึ้นเพราะยา การที่รับประทานยาแล้วน้ำหนักขึ้นอาจเกิดจากยาโดยตรงที่ทำให้น้ำหนักขึ้น หรืออาจเกิดจาก สมองส่วน ไฮโพทาลามัส (hypothalamus) ทำให้เกิดความหิวจากสภาพร่างกายที่ผิดปกติ
ทำอย่างไรเมื่อ อ้วนเพราะยา ไมเกรน
สำหรับผู้ป่วยไมเกรนที่รับประทานยาไมเกรนชนิดป้องกันแล้วมีอาการอยากอาหารมากกว่าปกติ, รู้สึกง่วงนอนบ่อยกว่าเดิม หรือมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น อ้วนเพราะยา นั่นอาจเป็นผลข้างเคียงมาจากสารที่อยู่ในตัวยาไมเกรน ซึ่งสามารถรับมือได้ ดังนี้
- ปรึกษาหมอที่รับการรักษาในปัจจุบัน ให้ดูเรื่องการใช้ยา เพราะยาบางชนิดก็อาจจะส่งผลข้างเคียงให้กับแต่ละคนแตกต่างกันออกไป ดังนั้น ควรรีบปรึกษาแพทย์โดยเร็วที่สุด เพื่อที่จะได้หายาป้องกันไมเกรนที่เหมาะสมกับเรา
- ทานอาหารที่มีสัดส่วนของผัก มากกว่าเนื้อสัตว์ ควบคุมการรับประทานอาหารทุกมื้อโดยเฉพาะอาหารจำพวกแป้ง แต่ก็ไม่ควรงดเลยทีเดียว เพียงแค่ปรับไปรับประทานผักในสัดส่วนที่มากกว่า
- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารหวาน ๆ หรืออาหารที่มีไขมันเยอะ เพราะจะทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น และยังส่งผลต่อปัญหาสุขภาพอื่นๆ ที่อาจตามมา เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน เป็นต้น
- ออกกำลังกายที่โรคไมเกรนสามารถออกได้ วันละประมาณ 20-30 นาที อย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์ และไม่ควรหักโหมมากจนเกินไป
- ติดตามการชั่งน้ำหนักทุกเดือน ควบคุมให้น้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ไม่ให้มากหรือน้อยจนเกินไป
ยาไมเกรนที่ไม่ทำให้น้ำหนักขึ้น
นอกจากยาป้องกันไมเกรนที่ทำให้น้ำหนักขึ้นแล้ว ยังมียากลุ่มการกันชักที่ชื่อว่า topiramate (โทพิราเมท) ที่ไม่ทำให้น้ำหนักขึ้น และบางรายอาจทำให้น้ำหนักลงด้วย
topiramate (โทพิราเมท)
topiramate (โทพิราเมท) เป็นยาในกลุ่มยากันชัก (Anticonvulsant) ที่ใช้สำหรับควบคุมอาการชัก อีกทั้งยังสามารถใช้ในการป้องกันอาการปวดหัวไมเกรนได้อีกด้วย โดยกลไกการทำงานจะเข้าไปเปลี่ยนสารสื่อประสาท 2 ชนิด ช่วยลดอาการชัก และบรรเทาอาการปวดหัวได้เป็นอย่างดี ซึ่งยากลุ่มโทพิราเมท เป็นยาที่ไม่ส่งผลข้างเคียงในเรื่องของน้ำหนักเหมือนยาป้องกันไมเกรนชนิดอื่น อีกทั้งยังทำให้น้ำหนักลดลงอีกด้วยในผู้ป่วยบางราย แต่จะมีผลข้างเคียงอื่นๆเช่น มือเท้าชา ปากชา เป็นต้น
ข้อสรุป
การรับประทานยาแก้ไมเกรน อาจช่วยบรรเทาอาการปวดหัวไมเกรนได้ในทันที ถือเป็นการรักษาอาการไมเกรนที่เห็นผลไวที่สุด แต่การรับประทานยาบ่อยเกินไปก็อาจจะส่งผลเสียมากกว่าผลดี อีกทั้งยังมีผลข้างเคียงหลายประการ เช่น น้ำหนักขึ้น และอาจจะส่งผลให้เป็นโรคอ้วนได้ในที่สุด
หากใครที่มีปัญหาเรื่องการรับประทานยาแก้ไมเกรนแล้วน้ำหนักขึ้น อ้วนเพราะยา ควรปรึกษาแพทย์เพื่อให้แพทย์พิจารณาหาวิธีการรักษาแบบใหม่ ซึ่งหากใครกำลังมองหาที่รักษาก็สามารถแอดไลน์ @ayaclinic หรือโทรเบอร์ 090–970-0447 เพื่อปรึกษา ขอคำแนะนำ หรือจองคิวฉีดโบท็อกไมเกรน เพื่อลดอาการไมเกรน เวียนหัวและปวดหัวรูปแบบต่าง ๆ กับทาง