วิธีรักษาไมเกรนให้หายขาด มีอะไรบ้าง บอกลาอาการปวดหัวเรื้อรัง
วิธีรักษาไมเกรน เป็นหนึ่งในคำค้นหาของหลายๆ คนที่กำลังเผชิญกับปัญหาจากโรคไมเกรนที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน การทำงาน การเรียน สุขภาพกายและสภาพจิตใจเป็นอย่างมาก และเกิดความสงสัยว่า ไมเกรนรักษาหายไหม เพราะยิ่งถ้าหากปล่อยไว้มากขึ้นเรื่อยๆ ก็ยิ่งสร้างความทรมานให้ไม่น้อยเลยทีเดียว
อย่างไรก็ตาม การที่จะรักษาให้หายขาดจะมีวิธีหรือไม่ แล้วมีทางเลือกไหนบ้างที่จะช่วยป้องกันและให้คุณได้บอกลาอาการปวดหัวเรื้อรัง ในบทความนี้ ได้รวมข้อควรรู้เกี่ยวกับวิธีการรักษา วิธีแก้ไมเกรนให้หายขาด ให้คุณได้ได้บ๊ายบายและลดอาการเจ็บปวดที่กวนร่างกายและกวนใจได้อย่างถาวรกัน
สารบัญบทความ
- โรคไมเกรน..รักษาได้
- วิธีรักษาไมเกรนมีอะไรบ้าง
- วิธีรักษาไมเกรนเบื้องต้นด้วยตัวเอง
- วิธีรักษาไมเกรนทางการแพทย์
- ไมเกรนรักษาให้หายขาดได้ไหม
- แนะนำวิธีป้องกันโรคไมเกรน
- รักษาไมเกรนที่ไหนดี
- รักษาไมเกรนที่ BTX MIGRAINE CENTER
- ข้อสรุป
โรคไมเกรน..รักษาได้
การรักษาไมเกรน เป็นที่พูดถึงและค้นคว้าของหลายคนอย่างมาก เนื่องจากอาการที่รุนแรงและยังเกิดขึ้นได้บ่อย จนในบางครั้งได้สร้างผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต การทำงาน ทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยแย่ลง เรียกได้ว่าเป็นโรคที่มีความรุนแรงไม่น้อยเลยทีเดียว
โดยศาสตราจารย์นายแพทย์ กัมมันต์ พันธุมจินดา หัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อีกทั้งยังเป็นประธานชมรมโรคปวดศีรษะ ได้เปิดเผยสถิติ ในประเทศไทยพบผู้ป่วยไมเกรนมากถึง 17% ในระยะเวลา 1 ปี และอีก 30% พบว่าเมื่อมีอาการปวดไมเกรนจะส่งผลกระทบไปยังการทำงาน ผู้ป่วยไม่สามารถทำงานได้ อีกทั้งยังพบในกลุ่มเพศหญิงเป็นไมเกรนมากกว่าเพศชายถึง 3 เท่า
และที่น่าตกใจไม่น้อยคือ โรคไมเกรนสามารถพบได้บ่อยมากที่สุดในกลุ่มผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 20 – 40 ปี แสดงให้เห็นถึงความรุนแรงของโรคที่ไม่ได้จำกัดช่วงวัย อย่างไรก็ตาม โรคไมเกรนเป็นมีทางเลือกด้านรักษาด้วยเช่นกัน สามารถที่จะรักษาได้
ดังนั้น เพื่อให้คุณสามารถเข้าใจถึงสาเหตุ แก้ไมเกรน ปัจจัยเสี่ยง อาการและอื่นๆ เพื่อใช้สำหรับการรักษาให้หายได้ เราไปทำความรู้ไมเกรน ให้มากยิ่งขึ้นกัน
ทำความรู้จักโรคไมเกรน
รู้หรือไม่ว่า ไมเกรน เป็นโรคที่กำเนิดขึ้นมาและรู้จักกันยาวนานกว่า 2,000 ปี โดยต้นขึ้นตั้งแต่ในยุคสมัยของกาเลน โดยเป็นโรคที่เกิดจากระดับสารเคมีภายในสมองทำงานผิดปกติ ส่งผลให้ก้านสมองได้รับการกระตุ้น จนทำให้เกิดการบีบตัวและคลายตัวในระดับที่มากกว่าปกติจากหลอดเลือดภายในสมอง
ส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดอาการปวดหัวอย่างรุนแรง มีการปวดหัวกะทันหัน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการปวดหัวข้างเดียว ปวดหัวตุบๆ หรือในบางคนก็ปวดหัวทั้งสองข้าง รวมถึงมีอาการอื่นๆ แสดงเพิ่มเติมด้วย เช่น ไวต่อแสง คลื่นไส้และอาเจียน ซึ่งอาการเหล่านี้เกิดจากบริเวณก้านสมองได้รับการกระตุ้นนั่นเอง
จากผลการศึกษาพบว่า มีคนไทยป่วยเป็นโรคไมเกรน 17% นอกจากนี้ยังพบผู้ป่วยโรคไมเกรนเป็นจำนวนมากถึงร้อยละ 15 หรือราวๆ 1 พันล้านคนทั่วโลก ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นตัวเลขที่สูงอย่างมากเลยทีเดียว
ซึ่งเมื่อปี 2562 ทาง WHO ได้มีการเล็งเห็นถึงความสำคัญของอาการปวดไมเกรน อีกทั้งโรคนี้จะเป็นโรคที่ก่อให้เกิดความทุพพลภาพเป็นอันดับต้นๆ ของโลกอีกด้วย รวมถึงยังเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยต้องประสบปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการทำงาน ขาดสมรรถภาพด้านการทำงานและยังมีคุณภาพชีวิตที่แย่ลงอีกด้วย
สาเหตุของไมเกรน
ไมเกรน เป็นโรคปวดหัวเรื้อรังชนิดหนึ่งที่มีสาเหตุเกิดจากการที่สารเคมีในสมองทำงานผิดปกติ ส่งผลให้ก้านสมองได้รับการกระตุ้นและทำให้บริเวณหลอดเลือดในสมองบีบตัวและคลายตัว ซึ่งตามปกติแล้ว หลอดเลือดแดงภายในสมองจะมีการบีบตัวและคลายตัวเป็นประจำ แต่ในผู้ป่วยที่เป็นไมเกรนจะมีการบีบตัวและคลายตัวที่รุนแรงและผิดปกติ
อย่างไรก็ตาม สาเหตุของการเกิดไมเกรนก็ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่เสริมเข้ามาทำให้เกิดอาการปวดเรื้อรัง สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดไมเกรนมีอยู่หลายอย่าง ซึ่งจากผลการสำรวจพบว่า ไมเกรน สามารถพบได้ในเพศหญิงมากกว่าเพศชายถึง 3 เท่า
เนื่องจากปัจจัยในด้านของฮอร์โมน นอกจากนี้ยังรวมไปถึงพันธุกรรม ที่พบว่าถ้าหากมีคนในครอบครัวป่วยเป็นไมเกรน ก็จะมีโอกาสที่จะป่วยด้วยโรคนี้สูงเช่นกัน ว่าแล้วเราไปดูปัจจัยเสี่ยงของการไมเกรน สิ่งที่เป็นตัวกระตุ้นและมีความเสี่ยงสูงในการปวดหัวไมเกรน โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้
- ความเครียด ความวิตกกังวล
- การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนภายในร่างกาย
- การใช้ยาบางชนิดติดต่อกันเป็นระยะเวลานานและถี่จนเกินไป
- การนอนหลับที่ไม่เพียง การอดนอน การมีสุขภาพการนอนที่ไม่สมดุล รวมถึงการนอนหลับที่มากจนเกินไป
- สภาพแวดล้อมและสภาพอากาศ เช่น อากาศที่ร้อนมากจนเกินไป หรือ สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว รวมถึงฝุ่นควัน เป็นต้น
- สิ่งรบกวนและสิ่งกระตุ้นทางประสาทสัมผัส เช่น เสียงรบกวน เสียงที่ดังมากจนเกิน มลพิษทางเสียง
- แสงแดด แสงแฟลช แสงจ้า กลิ่นไม่พึงประสงค์ กลิ่นที่รุนแรง และอื่นๆ เป็นต้น
- การออกกำลังกายหนักและพักโหมจนเกินไป
- การดื่มเครื่องดื่มคาเฟอีนและเครื่องแอกอฮอล์
- การรับประทานอาหารที่ไม่เพียงพอต่อร่างกาย
- การรับประทานอาหารบางชนิดที่กระตุ้นไมเกรน เช่น น้ำตาลเทียม ผงชูรส และ ชีส เป็นต้น
อาการไมเกรนเป็นอย่างไร
อาการปวดไมเกรน เป็นสิ่งที่สร้างความทุกข์ทรมานให้แก่ผู้ป่วยอย่างมาก โดยคุณสามารถที่จะเช็คลิสต์อาการเบื้องต้นของโรคไมเกรนดูว่า คุณมีอาการดังต่อไปนี้หรือไม่ เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการศึกษาระยะของการป่วยและการดูแลตนเองอย่างถูกต้อง โดยอาการเบื้องต้น มีดังต่อไปนี้
- ปวดหัวอย่างรุนแรงจนไม่สามารถดำเนินชีวิตได้
- ปวดหัวข้างเดียว ในบางรายพบว่าปวดหัวทั้งสองข้าง
- ปวดตุบๆ เป็นจังหวะ เหมือนบีบตัวและคลายออก
- ไวต่อแสงและเสียง ไม่สามารถทนต่อแสงแดด เสียงรบกวนหรือเสียงจ้าได้
- ปวดหัวมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อมีการเคลื่อนไหวร่างกาย
สำหรับอาการของไมเกรน จะแสดงออกมาเป็นระยะ เป็นๆ หายๆ โดยสามารถเกิดขึ้นกับผู้ป่วยในทุกช่วงวัยและสามารถพบได้มากที่สุดในกลุ่มผู้ที่มีอายุ 20 – 40 ปี
ซึ่งในปัจจุบัน เราสามารถแบ่งอาการของโรคไมเกรนได้เป็น 4 ระยะ ได้แก่ ระยะเริ่มแสดงอาการล่วงหน้า, ระยะการเตือนนำ, ระยะแสดงอาการ ปวดหัว และ ระยะหลังแสดงอาการหรือเข้าสู่ช่วงปกติ ซึ่งแต่ละระยะอาการมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้
ระยะที่ 1 เริ่มแสดงอาการล่วงหน้า (Prodrome Stage)
ระยะเริ่มแสดงอาการไมเกรน จะเป็นแสดงอาการล่วงหน้าก่อนการปวดจริงราวๆ 1 – 3 วัน ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการต่างๆ ที่แจ้งเตือนขึ้นมา ยกตัวอย่างเช่น อารมณ์ที่แปรปรวน, อาการปวดตึงบริเวณต้นคอ, ท้องผูก, ปวดปัสสาวะถี่ขึ้น และอาการหิวมากผิดปกติ เป็นต้น
ระยะที่ 2 การเตือนนำ (Aura Stage)
ระยะที่ 2 จะเป็นการแสดงสัญญาณเตือนของไมเกรน ผู้ป่วยจะเกิดอาการไวต่อแสงและสิ่งกระตุ้นต่างๆ เกิดความผิดปกติในด้านการมองเห็น สายตาพร่ามัว ไม่สามารถรับภาพได้ชัดเจนเหมือนปกติ รวมถึงอาจจะส่งผลให้สูญเสียการมองเห็นในชั่วขณะอีกด้วย
นอกจากการไวต่อแสงและความผิดปกติด้านการมองเห็น ยังรวมถึงการไวต่อสิ่งกระตุ้นอย่าง เสียงรบกวน เสียงดัง กลิ่นฉุนหรือกลิ่นไม่พึงประสงค์ อีกด้วย ซึ่งอาการเหล่านี้เป็นสิ่งที่แสดงถึงระบบประสาทผิดปกตินั่นเอง
ระยะที่ 3 ปวดไมเกรน แสดงอาการ (Attack Stage)
หลังจากที่มีการแสดงอาการล่วงหน้าและส่งสัญญาณเตือนในระยะที่ 2 จะเป็นการปวดไมเกรน ซึ่งจะเป็นการแสดงอาการที่เด่นชัดมากที่สุดและมีความรุนแรงแตกต่างกันกันออกไป จะมีอาการปวดหัวข้างเดียว ปวดหัวข้างใดข้างหนึ่ง การปวดหัวในลักษณะตุบๆ หรือในบางรายก็ปวดทั้งสองข้าง ซึ่งโดยทั่วไปจะมีการแสดงอาการ คลื่นไส้อาเจียน เวียนหัว ร่วมด้วย
ระยะที่ 4 ภาวะปกติ หลังแสดงอาการ
ในระยะสุดท้าย จะเป็นอาการหลังจากปวดไมเกรนอย่างชัดเจนมากที่สุด ซึ่งอาการหลังการปวดจะมีอาการที่แตกต่างกันออกไป หลายๆ คนที่เผชิญกับอาการปวดที่รุนแรงก็มักจะรู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยล้า สับสนและเวียนหัว เนื่องจากความรุนแรงของโรค ในขณะเดียว ผู้ป่วยบางรายก็รู้สึกผ่อนคลาย กระปรี้กระเปร่า สดใสและดูแข็งแรงขึ้นอย่างเห็นได้
ในระยะทั้ง 4 ระยะของโรคไมเกรน ระยะที่รุนแรงและสร้างผลกระทบให้แก่ผู้ป่วยมากที่สุดคือระยะที่ 4 โดยการปวดจะแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ การปวดหัวเป็นครั้งคราว ที่จะเกิดขึ้นน้อยกว่าเวลา 15 วันต่อเดือน และการปวดหัวเรื้อรัง ที่จะปวดติดต่อกัน 15 วันต่อเดือน และ 1 เดือนจนถึง 3 เดือนขึ้นไป ซึ่งอาการปวดของไมเกรนตามหลักเกณฑ์นั้น ได้แก่
- ปวดหัวตั้งแต่ 4 – 72 ชั่วโมง
- ปวดหัวข้างเดียว
- ปวดหัวแบบตุบๆ
- ปวดหัวเมื่อเคลื่อนไหวร่างกาย
- มีอาการไวต่อเสียงและการกระตุ้นสัมผัส เช่น กลิ่นและเสียง
การวินิจฉัยโรคไมเกรน
แล้วถ้าหากคุณมีอาการไมเกรน จะเข้าพบแพทย์และได้รับการตรวจวินิจฉัยอย่างไร ซึ่งโดยปกติแล้ว แพทย์จะทำการวินิจฉัยด้วยการตรวจสอบอาการและสอบถามเกี่ยวกับประวัติ โดยมีรายละเอียดของหลักการวินิจฉัย ดังต่อไปนี้
- ลักษณะอาการปวดหัว
- ตำแหน่งและจุดที่ปวดหัว
- ความถี่ของการปวดหัว ระยะเวลาที่ปวดหัว
- ระดับความรุนแรงของการปวดหัว
- อาการร่วมต่างๆ เช่น คลื่นไส้อาเจียน อาการไข้ กล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือชัก เป็นต้น
- ตรวจสอบประวัติการใช้ยาและโรคประจำตัว รวมถึงประวัติผู้ป่วยไมเกรนในครอบครัว
- สิ่งกระตุ้นที่ส่งผลให้เกิดอาการไมเกรน
- การตรวจสภาพร่างกายอย่างละเอียด
โดยการตรวจสอบภาพร่างกายเพื่อวินิจฉัยไมเกรน นอกจากการตรวจพื้นฐานแล้ว ยังมีการตรวจเพิ่มเติมอย่าง CT SCAN (Computerized Tomography Scan) การวินิจฉัยด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์และการตรวจ Magnetic Resonance Imaging (MRI) เครื่องตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเพื่อสแกนหาความผิดปกติของระบบสมอง
วิธีรักษาไมเกรนมีอะไรบ้าง
การรักษาไมเกรน เป็นที่ถูกค้นหาอย่างมากในปัจจุบัน เนื่องจากผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากปัจจัยต่างๆ โดยพบว่าคนไทยป่วยเป็นไมเกรนมากกว่า 12 ล้านคน ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่น่าตกใจไม่น้อยเลยทีเดียว อย่างไรก็ตาม การรักษาโรคไมเกรนก็ไม่ได้เป็นเรื่องเข้าถึงยาก ปัจจุบันยังมีรูปแบบการรักษาให้คุณเลือกได้ถึง 2 แบบ ได้แก่
การรักษาแบบเบื้องต้นด้วยตัวเอง
การรักษาไมเกรน ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม รวมถึงการดูแลตัวเองด้วยเทคนิคต่างๆ ที่สามารถทำได้ด้วยตัวเองเพื่อรักษาอาการปวดไมเกรนแบบเบื้องต้น ช่วยบรรเทาอาการปวดไมเกรนที่ไม่รุนแรงได้
เป็นการเข้าพบแพทย์เรื่องตรวจวินิจฉัยพร้อมรับคำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลตนเอง การรับประทานยาตามที่แพทย์ได้สั่ง และการเข้ารับการตรวจสอบอย่างละเอียดจากแพทย์โดยตรง รวมไปถึงการรักษาแบบแพทย์ทางเลือก ที่จะเป็นการเลือกวิธีรักษาผ่านกระบวนการที่น่าเชื่อถือและเห็นประสิทธิภาพจริง
วิธีรักษาไมเกรนเบื้องต้นด้วยตัวเอง
รู้หรือไม่ว่า คุณเองก็สามารถรักษาไมเกรน เบื้องต้นด้วยตัวเองได้เช่นเดียวกัน โดยหลายๆ คนอาจจะคิดว่าการปวดไมเกรน จำเป็นที่จะต้องรับประทานยาแค่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ต้องมีการทานยาต่อเนื่องและการรักษาวิธีอื่นไม่เห็นผล
แต่ต้องบอกเลยว่าวิธีแก้ปวดไมเกรนเร่งด่วนนั้น นอกจากการทานยาแล้ว ยังมีวิธีการรักษาด้วยตัวเองแบบเบื้องต้นที่สามารถเห็นผลได้จริงอีกด้วย ดังนั้น เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการรักษาแบบง่ายๆ ลดระดับความรุนแรงได้ในขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยาก ไปดูกันว่ามีวิธีไหนที่น่าสนใจบ้าง
1. ปรับพฤติกรรมรักษาไมเกรน
เรียกได้ว่าเป็นข้อแรกที่หลายๆ อาจจะคาดไม่ถึงว่าสามารถรักษาไมเกรนเบื้องต้นได้จริง นั่นคือ การเริ่มต้นด้วยการปรับพฤติกรรมตนเองสามารถรักษาโรคไมเกรน ลดอาการปวดหัวเรื้อรังให้ดียิ่งกว่าเดิม เพราะหลายปัจจัยในการปวดหัวและเป็นไมเกรนนั้น ส่วนหนึ่งก็มาจากพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน
รู้หรือไม่ว่าแนวโน้มความรุนแรงและความถี่ในการกำเริบของไมเกรนจะเกิดขึ้นได้ง่าย ถ้าหากคุณไม่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม รวมถึงการหลีกเลี่ยงสิ่งที่จะกระตุ้นให้อาการกำเริบ แล้วควรจะปรับอะไรบ้าง ไปดูแนวทางที่บอกเลยว่าคุณสามารถทำได้ไม่ยากในชีวิตประจำวันอย่างแน่นอน
- รับประทานอาหารให้ตรงเวลา ไม่ควรอดอาหาร รับประทานให้ครบ 5 หมู่
- ดื่มน้ำอย่างน้อย 6 – 8 แก้วต่อวัน หรือดื่มน้ำให้เพียงพอในแต่ละวัน
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงการอดนอน การนอนดึกมากจนเกินไป รวมถึงการนอนหลับให้เหมาะสม เพราะการนอนหลับที่มากจนเกินไปก็ส่งผลให้ป่วยเป็นไมเกรนได้เช่นเดียวกัน
- หลีกเลี่ยงการทานยาแก้ปวดที่มากจนเกินไป ถ้าหากคุณมีการทานยาแก้ปวดเนื่องจากอาการปวดหัวติดต่อกัน มากกว่า 3 วันต่อสัปดาห์ อาจจะทำให้คุณเกิดผลกระทบจากการใช้ยาที่เกินขนาดได้ ดังนั้น แนะนำว่าควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลตนเองและการทานยาที่เหมาะสม
- หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่ก่อให้เกิดไมเกรน เช่น แสงจ้า แสงแดดจ้า กลิ่นไม่พึงประสงค์ เป็นต้น
- หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย 3 – 5 วันต่อสัปดาห์ อย่างไรก็ตาม ควรที่จะออกกำลังกายอย่างเหมาะสม ไม่หักโหมมากจนเกิน
- หลีกเลี่ยงการนั่งหรือยืนในท่าเดิมติดต่อกันนานจนเกินไป ควรนั่งทำงานในท่าทางที่เหมาะสมและหาเวลาเพื่อพักผ่อน ยืดเส้นยืดสาย เพื่อไม่ให้กล้ามเนื้อของคุณตึงมากจนเกินไป
2. การประคบเย็นรักษาไมเกรน
หลายคนมีคำถามว่าควรรักษาไมเกรนด้วยการประคบร้อนหรือเย็น? แนะนำว่าให้ใช้การประคบเย็น ซึ่งเป็นเคล็ดลับที่ถูกแนะนำอย่างมากเลยทีเดียวสำหรับการรักษาไมเกรนแบบธรรมชาติ ที่จะช่วยลดอาการปวดหัวไมเกรนได้เป็นอย่างดี
คุณสามารถประคบเย็นเพื่อลดความตึงเครียด เพิ่มความผ่อนคลายและยังช่วยลดอาการปวดหัวได้ดีเลยทีเดียว เรียกได้ว่าเป็นเคล็ดลับที่มีประโยชน์และเห็นผลมาก แต่ก็ต้องระมัดระวังอย่างยิ่ง เพราะการประคบเย็นที่ไม่ถูกต้องอาจจะสร้างผลเสียให้แก่ร่างกายเช่นเดียวกัน
3. วิธีนวดกดจุดรักษาไมเกรน
การนวดเป็นทางเลือกยอดนิยมสำหรับการรักษาโรคหลายๆ โรค รวมถึงเป็นการรักษาไมเกรนด้วยตัวเองอีกทั้งยังช่วยลดความตึงเครียดของกล้ามเนื้อ ช่วยให้ระบบไหลเวียนโลหิตทำงานได้อย่างคล่องตัว มากไปด้วยประโยชน์มากมาย
รวมถึงการนวดกดจุดเพื่อรักษาไมเกรน จะช่วยแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับอาการปวดไมเกรนได้อย่างรวดเร็วผ่านการนวดโดยมืออาชีพ ซึ่งโดยปกติแล้ว การนวดกดจุดไมเกรน จะเน้นที่บริเวณ มือ คอด้านบน และเท้า อย่างไรก็ตาม แนะนำว่าควรเลือกหมอนวดและสถาบันการนวดที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องการกดจุดโดยเฉพาะ เพื่อความปลอดภัยและผลลัพธ์ที่ดีกับคุณมากที่สุด
4. สมุนไพรรักษาไมเกรน
นอกจากจะเป็นทางเลือกด้านการแพทย์ที่สามารถช่วยรักษาและดูแลสุขภาพได้เป็นอย่างดี สมุนไพร ก็ยังสามารถเป็นตัวช่วยในด้านการรักษาไมเกรนได้เช่นเดียวกัน สมุนไพรบางชนิดสามารถที่จะช่วยลดอาการปวดหัวเรื้อรัง ปวดไมเกรน ด้วยสรรพคุณที่เป็นธรรมชาติ ยกตัวอย่างเช่น
- สาระแหน่ เป็นสมุนไพรรักษาไมเกรนที่มีคุณประโยชน์ในการช่วยบรรเทาอาการปวดหัว กระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ลดความตึงเครียดและเพิ่มความปลอดโปร่งให้แก่สมอง
- ว่านหางจระเข้ สามารถช่วยลดอาการปวดหัวเรื้อรังได้เป็นอย่างดี แก้ปวดไมเกรน โดยส่วนใหญ่แล้วจะใช้วิธีการนำฝานให้กลายเป็นวุ้นแผ่นบาง พร้อมเอามาทาที่บริเวณขมับ 10 – 15 นาที ซึ่งฤทธิ์เย็นของว่านหางจระเข้จะช่วยลดอาการปวดหัวให้แก่ผู้ป่วยได้ ซึ่งเรามักจะเห็นในรูปแบบของเจลแก้ปวดไมเกรนนั่นเอง
วิธีรักษาไมเกรนทางการแพทย์
แน่นอนว่าเมื่อเรียนรู้วิธีรักษาไมเกรนเบื้องต้นด้วยตัวเองแล้ว การรักษาทางการแพทย์ ก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นเดียวกัน เนื่องจากความรุนแรงของไมเกรนมีหลายระดับ แต่ละคนจะมีสภาพร่างกายที่ทนทานและรับไหวแตกต่างกัน
ดังนั้นการรักษาด้วยวิธีทางการแพทย์จึงสามารถเห็นผลได้ดีเช่นเดียวกัน ซึ่งในปัจจุบัน ด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง การรักษาไมเกรนจึงมีหลายวิธีที่สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดหัวเรื้อรังของคุณได้เป็นอย่างดี แล้วมีอะไรบ้าง ไปดูรายละเอียดพร้อมข้อดีและข้อควรพิจารณากัน
1. ใช้ยาแก้ปวดไมเกรน
ถึงแม้ว่าอาการปวดหัวไมเกรน จะสามารถป้องกันการกำเริบหรือลดความรุนแรง ช่วยบรรเทาให้หายปวดโดยที่ไม่จำเป็นต้องรับประทานยา แต่การทานยารักษาไมเกรน ก็สามารถเข้ามาเป็นตัวเลือกสำคัญสำหรับการรักษาให้หายและบรรเทาได้ดี
รู้หรือไม่ว่า การทานยาทันทีหลังจากที่คุณมีอาการปวดหัวกำเริบ มีอาการไมเกรนแสดงขึ้นมาก็จะช่วยให้ยาที่รับประทานสามารถทำงานได้ดียิ่งขึ้น บรรเทาอาการปวดได้อย่างเห็นผล
อย่างไรก็ตาม การที่จะรับประทานยา ไม่ว่าจะเป็นการเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจและวินิจฉัยหรือการซื้อยาทานเองกับเภสัชกรและร้านยา ก็ควรที่จะทานภายใต้คำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น
การทานยาแก้ปวดไมเกรน จะแบ่งระดับตามประเภทของอาการปวด นั่นคือ การปวดแบบไม่รุนแรงและอาการปวดแบบรุนแรง โดยเราสามารถแนะนำยาสำหรับการแก้ปวดไมเกรนได้ ดังต่อไปนี้
- ยาแก้ปวดไมเกรนสำหรับอาการปวดไม่รุนแรง ได้แก่ ยาสามัญประจำบ้าน อย่าง ยาพาราเซตามอล, ยากลุ่ม NSAIDs สำหรับลดการอักเสบ เช่น พอนสแตนแก้ไมเกรน ไอบูโปรเฟน และ แอสไพริน
- ยาแก้ปวดไมเกรนสำหรับอาการปวดรุนแรง สำหรับการรักษาอาการปวดหัวไมเกรนโดยเฉพาะ ได้แก่ ยาที่มีส่วนผสม Ergotamine, ยากลุ่ม Triptans
2. ฉีดยารักษาไมเกรน
นอกจากการทานยาที่แพทย์ได้แนะนำให้แก่ผู้ป่วยแล้ว ในปัจจุบันได้มีการพัฒนายาป้องกันไมเกรนที่ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา เป็นการฉีดยาแก้ปวดไมเกรน ที่ได้รับการรับรองและอนุญาตให้สามารถใช้ในการรักษาผู้ป่วยทางการแพทย์ได้
อย่างไรก็ตาม การฉีดยาระงับไมเกรนให้หายขาดหรือลดให้สนิท ก็จะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษเช่นเดียวกัน
3. ฝังเข็มรักษาไมเกรน
เทรนด์การฝังเข็มกำลังมาแรง นอกจากจะสามารถฟื้นฟูสุขภาพร่างกายจุดอื่นๆ แล้ว ยังสามารถที่จะช่วยรักษาโรคไมเกรนได้อีกด้วย การฝังเข็มไมเกรนจะเป็นการเปิดทวารสมอง ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต
ซึ่งผลการวิจัยพบว่าการฝังเข็มสามารถช่วยรักษาไมเกรนเรื้อรัง ได้ดีในระดับหนึ่ง อาการปวดมีระดับความรุนแรงที่ลดลง ลดอาการเวียนหัว และยังช่วยลดความวิตกกังวล ผ่อนคลายความเครียดได้เป็นอย่างดี ซึ่งการฝังเข็มให้ได้ผลก็ต้องพิจารณาเกี่ยวกับลักษณะทางกายภาพและปัจจัยอื่นๆ ของผู้รักษา
4. สารคลายกล้ามเนื้อรักษาไมเกรน
สารคลายกล้ามเนื้อรักษาไมเกรน ถือว่าได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายเลยทีเดียว หลายๆ คนอาจจะคุ้นเคยกับตัวยาในฐานะของผลิตภัณฑ์เสริมความงาม ตัวช่วยในการฉีดเพื่อลดริ้วรอยและกระชับใบหน้า ปรับรูปหน้าและอื่นๆ ที่เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งทางเลือกด้านเพิ่มความสวยที่หลายคนให้ความสนใจอย่างมาก
แต่รู้หรือไม่ว่า สารคลายกล้ามเนื้อ มีคุณสมบัติในการช่วยลดอาการปวดหัวเรื้อรัง บรรเทาอาการปวดหัวไมเกรน รวมถึงช่วยรักษาโรคอื่นๆ ทางระบบประสาทและสมองได้อีกด้วย
โปรแกรมฉีดสารคลายกล้ามเนื้อ เป็นหนึ่งแนวทางการรักษาอาการปวดไมเกรนที่แพทย์นำมาใช้กันมาก และยังได้รับการรับรองตั้งแต่ปี 2010 จากอง์ค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา หรือ US.FDA และการรักษาไมเกรนด้วยตัวยาฉีดชนิดนี้ ก็ยังได้รับการรับรองจากองค์กรอาหารและยาของประเทศไทยเช่นเดียวกัน
ซึ่งผลการศึกษาพบว่าตัวยานั้น สามารถที่จะช่วยลดอาการปวดหัวได้สูงสุดถึง 70% ช่วยลดความถี่ของอาการ บรรเทาอาการปวดและความรุนแรงได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังสามารถเห็นผลได้ในระยะยาว
การฉีดสารคลายกล้ามเนื้อรักษาไมเกรน สามารถอยู่ได้นานสูงสุดถึง 6 เดือน มีผลข้างเคียงน้อยและยังช่วยลดการทานยาแก้ปวดได้มากกว่า 90% อีกด้วย
เรียกได้ว่า ตัวยาชนิดนี้เป็นทางเลือกด้านการรักษาอาการปวดที่สามารถเห็นผลลัพธ์ได้จริง ปลอดภัย อีกทั้งยังมีการรับรองอย่างเป็นทางการขององค์การต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ที่เราจะเห็นได้ถึงความนิยมในการรักษาอาการปวดไมเกรนด้วยสารคลายกล้ามเนื้อในปัจจุบันเป็นจำนวนมาก
ไมเกรนรักษาให้หายขาดได้ไหม
เชื่อว่าหลายๆ คนที่ต้องเผชิญกับความอาการต่างๆ จะต้องเกิดคำถามว่าในปัจจุบันสามารถรักษาไมเกรนให้หายขาดได้หรือไม่? ซึ่งคำตอบก็คือ ในปัจจุบันโรคไมเกรนยังไม่สามารถที่จะรักษาให้หายขาดได้ เนื่องจากเป็นโรคเรื้อรังและยังไม่มีวิธีการรักษาให้หายขาดแบบถาวร
ในปัจจุบันนี้ สามารถที่จะรักษาได้ 3 รูปแบบ ได้แก่ การรักษาด้วยตัวเองในเบื้องต้น เช่น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม, การฝังเข็ม หรือ การนวดกดจุด, การรักษาทางการแพทย์ อย่างการทานยาสำหรับรักษาไมเกรน นอกจากนี้ยังมีวิธีอื่นๆ ที่ใช้ได้ดีและเป็นทางเลือกยอดนิยมของผู้ป่วย เช่น การฉีดสารคลายกล้ามเนื้อ เป็นต้น
แนะนำวิธีป้องกันโรคไมเกรน
อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่าไมเกรนเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ สิ่งที่จะช่วยได้คือการเตรียมพร้อมรับมืออาการปวด การบรรเทาอาการปวดและการป้องกันอาการไมเกรนกำเริบ แล้วจะสามารถป้องกันได้อย่างไรบ้าง เรามีคำแนะนำที่จะช่วยให้คุณเตรียมตัวรับมือได้มากยิ่งขึ้น
- นอนหลับพักผ่อนอย่างเหมาะสมและเพียงพอ ไม่นอนมากจนเกินไปและไม่อดนอนมากจนเกินไป นอนให้เป็นเวลาและอย่านอนดึกเกินไป
- พักผ่อนให้เต็มที่ เว้นช่วงในการทำกิจกรรมต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น หลังจากที่ออกกำลังกายอย่างหนัก ควรพักให้ร่างกายผ่อนคลายและหายเหนื่อยก่อนที่จะไปทำกิจกรรมอื่นๆ เป็นต้น
- หลีกเลี่ยงการอยู่ในสภาพแวดล้อมที่กระตุ้นการเกิดไมเกรน เช่น เสียงดัง เสียงรบกวน แสงสว่างจ้า เป็นต้น
- ทำกิจกรรมผ่อนคลายสมอง ทำจิตใจให้ปลอดโปร่ง ลดความเครียด
- รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ หลีกเลี่ยงการอดอาหารและควรที่จะหลีกเลี่ยงอาหารที่กระตุ้นให้ไมเกรนกำเริบได้ง่าย เช่น อาหารหมักดอง, เนย หรือ ถั่ว เป็นต้น
- หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอกอฮอล์ น้ำอัดลมและคาเฟอีน
รักษาไมเกรนที่ไหนดี
การเลือกสถานที่รักษาไมเกรน เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก เนื่องจากในปัจจุบันมีทางเลือกด้านการรักษาที่มีความแตกต่างกันออกไป การเลือกสถาบันการรักษาที่มีความเหมาะสมจะช่วยให้คุณได้รับการดูแลโดยผู้เชี่ยว การรักษาที่เห็นผลและปลอดภัย อย่างเช่น การรักษาไมเกรนด้วยโปรแกรมฉีดสารคลายกล้ามเนื้อ ที่จำเป็นจะต้องให้ความสำคัญสำหรับการเลือกศูนย์การรักษาอย่างมาก โดยมีคำแนะนำสำหรับการเลือกสถานที่ ดังต่อไปนี้
- ศูนย์รักษาไมเกรน มีคุณภาพ ผ่านการรับรองมาตรฐาน มีความน่าเชื่อถือ
- แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านในการรักษาไมเกรน มีเอกสารทางการแพทย์ที่ถูกต้อง สามารถดูแลและให้คำแนะนำได้อย่างเชี่ยวชาญ
- สภาพแวดล้อม พื้นที่โดยรอบและภายในสถานพยาบาลมีความสะอาด ถูกสุขอนามัยและเป็นระเบียบเรียบร้อย
- เจ้าหน้าที่ของสถานพยาบาลมีความเชี่ยวชาญ ใส่ใจและมีการบริการอย่างเป็นมืออาชีพ
เครื่องมือต่างๆ มีความทันสมัย สะอาด อุปกรณ์มีประสิทธิภาพ สามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัย - ทำเลที่ตั้งของสถานพยาบาลเดินทางง่าย คล่องตัว ไม่ซับซ้อนและสะดวก
- ผลิตภัณฑ์ ยาที่ใช้จะต้องเป็นของแท้ ผ่านการรับรองอย่างถูกต้อง และมีคุณภาพ
- บริการหลังการขาย สามารถให้คำแนะนำและดูแลอย่างดีทั้งก่อนและหลังเข้ารับการรักษา
- ราคาสมเหตุสมผล มีความคุ้มค่าและสอดคล้องกับคุณภาพ ผลลัพธ์ที่ได้รับ
- รีวิวการรักษาจากผู้มีประสบการณ์ เพื่อให้คุณสามารถมั่นใจได้ว่าสถานพยาบาลที่เลือกมีคุณภาพ
รักษาไมเกรนที่ BTX Migraine Center
ถ้าหากคุณกำลังมองหาตัวเลือกสำหรับการรักษาไมเกรนที่ไหนดี ที่มีคุณภาพ ปลอดภัยและเชื่อถือได้ ต้องแนะนำ BTX Migraine Center ศูนย์รักษาไมเกรนโดยแพทย์เฉพาะทาง คลินิกรักษาไมเกรนด้วยโปรแกรมฉีดสารคลายกล้ามเนื้อ ที่จะมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านตรวจรักษาและดูแลคุณอย่างละเอียด สามารถเห็นผลลัพธ์ได้จริงและเร็ว
รวมถึงเจ้าหน้าที่ผู้ชำนาญที่มีความใส่ใจด้านการบริการ อุปกรณ์ที่ทันสมัย เครื่องมือที่ครบครันและสะดวก อีกทั้งยังมีราคาที่คุ้มค่า ซึ่งคุณสามารถฉีดรักษาได้ เริ่มต้นแค่ 9,900 บาทเท่านั้น
ข้อสรุป
ถึงแม้ว่าในปัจจุบันการรักษาไมเกรน จะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ก็มีวิธีสำหรับช่วยบรรเทาอาการปวด ความรุนแรงของโรคอยู่หลายวิธี ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ โปรแกรมฉีดสารคลายกล้ามเนื้อ นวัตกรรมด้านการรักษาไมเกรน ที่ได้รับการยอมรับและรับรองอย่างถูกต้องผ่านองค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ปี 2010 มีคุณภาพ สามารถเห็นผลลัพธ์ได้จริงและรวดเร็ว รวมถึงผลข้างเคียงที่น้อย ช่วยลดการทานยาแก้ปวดได้สูงสุดถึง 90%
และสำหรับใครที่กำลังต้องการรักษาไมเกรนโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน แนะนำเลยว่า BTX Migraine Center ศูนย์รักษาไมเกรนโดยแพทย์เฉพาะทาง สามารถตอบโจทย์คุณได้เป็นอย่างดี ยินดีให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการปวดหัวเรื้อรัง ปวดหัวไมเกรน สามารถขอคำแนะนำและนัดเข้ารับการรักษาได้ทางไลน์ @ayaclinic ได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย บอกเลยว่าเห็นผลเร็ว ปลอดภัย ป้องกันได้จริงแน่นอน
เอกสารอ้างอิง
Minor DS, Wofford MR. Chapter 45. Headache disorders. In: DiPiro JT, Talbert RL, Yee GC, Matzke GR, Wells BG, Posey L. eds. Pharmacotherapy: a pathophysiologic approach, 9 edition. McGraw-Hill. . Available from: https://accesspharmacy.mhmedical.com/content.aspx?bookid=689§ionid=45310495
Migraine Aura, Transient Ischemic Attacks, Stroke, and Dying of the Brain Share the Same Key Pathophysiological Process in Neurons Driven by Gibbs-Donnan Forces, Namely Spreading Depolarization.
Lemale CL, Lückl J, Horst V, Reiffurth C, Major S, Hecht N, Woitzik J, Dreier JP
https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/35237133/