ยาแก้ปวดไมเกรน ผลข้างเคียงระยะยาวของการใช้ยา “รู้ทันอันตรายเพื่อสุขภาพที่ดีกว่า”

ผลข้างเคียงของยาแก้ปวดคุณเคยรู้สึกไหมว่า “ไมเกรน” เป็นเหมือนแขกที่ไม่ได้รับเชิญในชีวิตประจำวันที่คิดอยากจะมาก็มา แถมยังรบกวนการทำงานของเราอีกด้วย อาการปวดหัวตุบๆ เหมือนโดนค้อนทุบ อาการไวต่อแสง เสียง หรือกลิ่น มักทำให้เราต้องพึ่งยาแก้ปวดไมเกรนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่เคยสงสัยไหมว่าการใช้ยาแก้ปวดไมเกรนอย่างต่อเนื่องจะส่งผลอย่างไรในระยะยาว ในบทความนี้เราจะพาไปดูผลข้างเคียงระยะยาวของการใช้ยาแก้ปวดไมเกรนอย่างต่อเนื่อง และแนะนำวิธีป้องกันผลข้างเคียงจากการใช้ยาแก้ปวดพร้อมวิธีลดการใช้ยาแก้ปวดไมเกรนแบบค่อยเป็นค่อยไป

สารบัญบทความ

ไมเกรนและการใช้ยาแก้ปวด: พฤติกรรมที่เสี่ยงต่อสุขภาพ

การใช้ยาแก้ปวดสำหรับการรักษาไมเกรนอย่างต่อเนื่องอาจนำไปสู่ผลกระทบที่คาดไม่ถึงได้ การกินยาแก้ปวดทุกครั้งที่รู้สึกว่าไมเกรนมาเยือน อาจทำให้เกิดอาการปวดหัวจากยาเกินขนาด ซึ่งทำให้ปวดหัวเรื้อรังมากขึ้น และยังส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินอาหารและตับ เนื่องมาจากผู้ป่วยหลายคนซื้อยากินเองโดยไม่ได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ทำให้ใช้ยาผิดวิธีหรือเกินขนาดได้

ทำไมผู้ป่วยไมเกรนถึงพึ่งพายาแก้ปวดมากเกินไป ?

  • ไมเกรนเป็นภาวะที่คาดเดาไม่ได้และมักเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน ทำให้ผู้ป่วยรีบหาทางบรรเทาอาการทันทีด้วยยา
  • ผู้ป่วยเข้าใจว่าการใช้ยาคือทางออกเดียว เป็นวิธีแก้ปัญหาที่เร็วและง่ายที่สุด
  • ขาดความรู้เกี่ยวกับการรักษาทางเลือก เช่น การฉีดโบท็อกซ์รักษาไมเกรน การใช้เทคนิคผ่อนคลาย การออกกำลังกาย หรือการฝังเข็ม
  • แรงกดดันจากชีวิตประจำวัน ภาระงาน และปัญหาส่วนตัว ทำให้การใช้ยาแก้ปวดดูเหมือนเป็นสิ่งจำเป็น

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการใช้ยาแก้ปวดไมเกรน

  • ยิ่งใช้ยามาก ยิ่งรักษาหายขาดได้เร็ว : ในความเป็นจริง การใช้ยาแก้ปวดไมเกรนบ่อยเกินไปอาจทำให้อาการปวดเรื้อรังและรักษาได้ยากขึ้น
  • ยาแก้ปวดแบบทั่วไปใช้แทนยาไมเกรนได้ : ยาสำหรับไมเกรน (เช่น Triptans) มีสูตรเฉพาะที่แตกต่างจากยาแก้ปวดทั่วไป และไม่ควรใช้แทนกัน
  • การปรับพฤติกรรมไม่จำเป็น : หลายคนมองข้ามการการรักษาไมเกรนด้วยวิธีอื่น เช่น การรับประทานอาหาร การพักผ่อนที่เพียงพอ หรือการลดความเครียด
  • ยาแก้ปวดไม่มีผลข้างเคียง : จริงๆ แล้ว การใช้ยา NSAIDs ติดต่อกันนานๆ อาจเสี่ยงต่อการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร ไตเสื่อม หรือโรคหัวใจได้

ปวดหัวจากการกินยาแก้ปวด

ผลข้างเคียงระยะยาวจากการใช้ยาแก้ปวดไมเกรน

ถึงแม้ว่าการใช้ยาแก้ปวดไมเกรนจะเป็นตัวช่วยสำคัญในช่วงเวลาฉุกเฉิน แต่การใช้ติดต่อกันในระยะยาวอาจนำไปสู่ผลข้างเคียงที่หลายคนไม่คาดคิดได้ เรามาเจาะลึกถึงผลกระทบที่ซ่อนอยู่ของการพึ่งพายาเหล่านี้กัน

อาการปวดหัวจากการใช้ยาเกินขนาด (Medication Overuse Headache – MOH)

  • ลักษณะอาการ : ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัวเรื้อรังที่เกิดขึ้นบ่อยกว่าปกติ และยิ่งใช้ยาบรรเทาอาการมากเท่าไหร่ อาการปวดก็จะวนกลับมารุนแรงขึ้น  
  • สาเหตุ : เกิดจากการใช้ยาแก้ปวดบ่อยเกินไป เช่น ยาในกลุ่ม NSAIDs, Triptans หรือยาแก้ปวดทั่วไป โดยมักใช้มากกว่า 10-15 วันต่อเดือน
  • ผลกระทบ : ทำให้ผู้ป่วยติดอยู่ในวงจร “ปวด-กินยา-ปวดอีก” ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพชีวิตและความสามารถในการทำงานที่ลดลงได้

ผลกระทบต่อระบบอวัยวะสำคัญ

  • ระบบทางเดินอาหาร : การใช้ยาแก้ปวดไมเกรนในกลุ่ม NSAIDs ติดต่อกันอาจทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร เลือดออกในทางเดินอาหาร หรือกรดไหลย้อน
  • ตับและไต : การใช้ยาแก้ปวดในปริมาณมากเกินไปเป็นระยะเวลานาน อาจทำให้ตับอักเสบหรือไตเสื่อมสภาพ
  • ระบบหัวใจและหลอดเลือด : ยาแก้ปวดไมเกรนบางชนิด เช่น Triptans อาจเพิ่มความเสี่ยงของความดันโลหิตสูง หัวใจวาย หรือโรคหลอดเลือดสมอง

การพึ่งพายาและผลกระทบต่อระบบประสาท

ผู้ป่วยบางรายอาจรู้สึกว่าต้องใช้ยาแก้ปวดทุกครั้งที่ไมเกรนมาเยือนจนไม่สามารถหยุดยาได้ ซึ่งการใช้ยาแก้ปวดไมเกรนบ่อยเกินไปอาจทำให้สมองปรับตัวจนไวต่อความเจ็บปวดมากขึ้น ส่งผลให้ไมเกรนกำเริบบ่อยและรุนแรง นอกจากนี้ ความเครียดจากการปวดหัวเรื้อรังยังอาจเพิ่มโอกาสของภาวะซึมเศร้าและวิตกกังวลได้อีกด้วย

 

กินยาแก้ปวดเสี่ยงตับไตพัง

สัญญาณเตือนว่าคุณอาจใช้ยาแก้ปวดไมเกรนเกินขนาด

การใช้ยาแก้ปวดไมเกรนมากเกินไปอาจทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพโดยที่คุณไม่รู้ตัว ต่อไปนี้คือสัญญาณเตือนที่บ่งบอกว่าคุณกำลังมีอาการปวดศีรษะจากการใช้ยาเกินขนาด

  • อาการปวดหัวเรื้อรังเพิ่มขึ้น : หากคุณเริ่มปวดหัวบ่อยขึ้น แม้จะกินยาแล้วอาการก็ยังกลับมา อาจเป็นสัญญาณของ Medication Overuse Headache (MOH) หรืออาการปวดศีรษะจากการใช้ยามากเกินไป  
  • ต้องเพิ่มปริมาณยาเพื่อให้ได้ผลเหมือนเดิม : หากทานยาแก้ปวดในปริมาณที่ปกติเริ่มไม่ช่วยบรรเทาอาการปวดและคุณต้องกินยาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นั่นอาจเป็นสัญญาณของการดื้อยาและส่งผลให้อาการปวดหัวเรื้อรังมากยิ่งกว่าเดิม
  • ปวดหัวทุกครั้งหลังตื่นนอน : ผู้ป่วยที่ใช้ยาแก้ปวดไมเกรนเกินขนาดมักพบว่าอาการปวดหัวจะเกิดขึ้นช่วงเช้าหลังตื่นนอน ซึ่งอาจเกิดจากผลข้างเคียงยาแก้ปวด
  • รู้สึกว่าต้องพกยาติดตัวตลอดเวลา : การกังวลว่าจะไม่มียาแก้ปวดอยู่ใกล้มือ หรือรู้สึกไม่สบายใจหากลืมยาติดตัวมาด้วย อาจสะท้อนถึงการพึ่งพายามากเกินไป
  • ปวดหัวหลังหยุดยา : หากคุณพยายามหยุดยาแก้ปวดแล้วพบว่าอาการปวดหัวรุนแรงกว่าเดิม นั่นอาจเป็นผลจากการที่ร่างกายปรับตัวจนต้องพึ่งพายา
  • อารมณ์แปรปรวนหรือหงุดหงิดง่าย : การใช้ยาเกินขนาดอาจส่งผลต่อระบบประสาท ทำให้เกิดความเครียดหรืออารมณ์แปรปรวนโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • มีปัญหาด้านระบบย่อยอาหาร : เช่น ปวดท้อง คลื่นไส้ หรือกรดไหลย้อน ซึ่งอาจเป็นผลมาจากการใช้ยา NSAIDs อย่างต่อเนื่อง
  • สมาธิลดลงหรือเหนื่อยล้าตลอดเวลา : การใช้ยาแก้ปวดไมเกรนบ่อยเกินไป อาจเข้าไปรบกวนสมองและระบบประสาท ทำให้รู้สึกล้า สมาธิลดลง และมีปัญหาในการโฟกัสสิ่งที่ต้องทำ

วิธีลดการใช้ยาแก้ปวดไมเกรนในระยะยาว

สำหรับผู้ป่วยไมเกรนที่ใช้ยาแก้ปวดเป็นประจำ การลดการใช้ยาแก้ปวดไมเกรนไม่เพียงแค่ช่วยป้องกันผลข้างเคียงในระยะยาวเท่านั้น แต่ยังช่วยให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นอีกด้วย วิธีที่ได้ผลคือการปรับพฤติกรรม รักษาเชิงป้องกัน และใช้การรักษาทางเลือกเพื่อบรรเทาอาการไมเกรนอย่างยั่งยืน

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อบรรเทาไมเกรน

  • การรับประทานอาหาร : ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยหลีกเลี่ยงอาหารที่มีส่วนกระตุ้นให้เกิดไมเกรน เช่น ช็อกโกแลต ชีส นม คาเฟอีน หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอลล์
  • นอนหลับให้เพียงพอ : การพักผ่อนที่ไม่เพียงพอหรือนอนไม่เป็นเวลา อาจกระตุ้นไมเกรนได้ ควรจัดเวลาเข้านอนและตื่นในเวลาเดียวกันทุกวัน และนอนให้ได้อย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมง
  • หลีกเลี่ยงตัวกระตุ้น : เช่น แสงจ้า หรือเสียงดังที่อาจกระตุ้นให้เกิดอาการไมเกรน หากอาการไมเกรนกำเริบควรนอนพักพื้นที่สงบๆ เช่น ในห้องนอน อากาศปลอดโปร่ง เย็นสบาย จะช่วยให้อาการไมเกรนบรรเทาลงได้
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ : การออกกำลังกายเบาๆ เช่น โยคะ หรือเดินเร็ว สามารถช่วยลดความถี่และความรุนแรงของไมเกรนได้

การรักษาทางเลือกเพื่อลดการใช้ยา

  • การใช้เทคนิคผ่อนคลาย (Relaxation Techniques)

การใช้เทคนิคผ่อนคลาย เช่น การฝึกสมาธิ การทำโยคะ การฟังเพลงบำบัด หรือการออกกำลังกายช่วยลดไมเกรน จะช่วยลดความเครียด ลดความถี่ของไมเกรน และปรับสมดุลระบบประสาท เหมาะสำหรับผู้ที่มีความเครียดสูงและต้องการลดการใช้ยาไมเกรน  

  • การบำบัดพฤติกรรมทางปัญญา (Cognitive Behavioral Therapy – CBT)

การบำบัดรูปแบบนี้ช่วยปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมที่ส่งผลต่อไมเกรน เช่น การจัดการอารมณ์และป้องกันความเครียดสะสม ช่วยลดความรุนแรงของไมเกรนและช่วยให้ผู้ป่วยควบคุมอาการได้ดีขึ้น เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นไมเกรนเรื้อรังและต้องการวิธีจัดการทางจิตใจควบคู่ไปกับการรักษาทางกายภาพ

  • การปรับเปลี่ยนอาหารเสริม

อาหารเสริมที่ช่วยได้ ได้แก่ แมกนีเซียม วิตามินบี2 (Riboflavin) และโคเอนไซม์คิวเท็น (Coenzyme Q10) ที่มีส่วนช่วยในการลดความถี่ของไมเกรนและส่งผลดีต่อสมอง เหมาะสำหรับผู้ที่มีข้อจำกัดด้านการรับประทานอาหารหรือต้องการลดการใช้ยาไมเกรน

การรักษาไมเกรนที่ช่วยลดการใช้ยาแก้ปวด

  • การใช้ยาป้องกันไมเกรน

ยาป้องกันไมเกรน เช่น ยาต้านความดันโลหิต (Beta-blockers), ยาต้านซึมเศร้า (Amitriptyline), หรือยากันชัก เป็นกลุ่มยาที่ช่วยลดความถี่และความรุนแรงของไมเกรนในระยะยาว เป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับการใช้ยาแก้ปวดที่ปลอดภัย เหมาะสำหรับผู้ที่ไมเกรนกำเริบบ่อยครั้งและไม่ตอบสนองต่อยาแก้ปวด  

  • การรักษาด้วยสารยับยั้ง CGRP (CGRP Inhibitors)

CGRP inhibitors คืออะไร? CGRP inhibitors คือสารที่เข้าไปช่วยปิดกั้น CGRP ซึ่งเป็นโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับการเกิดไมเกรน มีผลทำให้หลอดเลือดในสมองขยายตัวและกระตุ้นอาการปวดผ่านเส้นประสาท โดยจะช่วยลดความถี่ของไมเกรนโดยไม่ส่งผลกระทบต่อระบบอวัยวะสำคัญ  

  • การรักษาไมเกรนด้วยโบท็อกซ์ (Botox Injections)

การรักษาไมเกรนด้วยโบท็อกซ์ คือการฉีดโบท็อกซ์บริเวณหน้าผาก คอ หรือไหล่ เพื่อคลายกล้ามเนื้อและลดความไวของเส้นประสาท ช้วยลดความถี่ของไมเกรนเรื้อรังได้อย่างมีประสิทธิภาพ เหมาะสำหรับผู้ที่มีไมเกรนเรื้อรังมากกว่า 15 วันต่อเดือน

รักษาไมเกรนแบบปัจจุบัน

ผลลัพธ์จากการลดการใช้ยาแก้ปวดและการรักษาไมเกรนที่เหมาะสม

การลดการใช้ยาไมเกรนและเปลี่ยนมาสู่การรักษาเชิงป้องกันหรือการจัดการที่เหมาะสม สามารถนำไปสู่ผลลัพธ์ที่เป็นบวกต่อสุขภาพทั้งในระยะสั้นและระยะยาวได้ ดังนี้

  • ความถี่และความรุนแรงของไมเกรนลดลง

การจัดการด้วยวิธีที่เหมาะสมช่วยให้ไม่ปวดหัวบ่อยๆ และอาการปวดยังลดน้อยลง ทำให้สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ดีขึ้น

  • ลดความเสี่ยงของผลข้างเคียงจากยา

การลดการใช้ยาไมเกรนการใช้ยาแก้ปวดในปริมาณมากช่วยป้องกันปัญหาสุขภาพต่างๆ ได้ เช่น การทำงานผิดปกติของตับ ไต และระบบทางเดินอาหาร

  • สมองตอบสนองต่อความเจ็บปวดได้ดีขึ้น

การลดการพึ่งพายาช่วยให้ระบบประสาทปรับตัวและลดความไวต่อการกระตุ้นของไมเกรนได้ดีขึ้น

  • คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

อาการปวดหัวที่ลดลงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน การใช้ชีวิตประจำวัน และมีสมาธิที่ดีขึ้น  

  • ลดความเครียดและภาวะซึมเศร้า

การรักษาไมเกรนโดยไม่พึ่งพายาแก้ปวดมากเกินไป ช่วยลดความกังวลเกี่ยวกับอาการปวดหัวเรื้อรัง และช่วยให้สภาพจิตใจดีขึ้น 

วิธีป้องกันผลข้างเคียงจากการใช้ยาแก้ปวดไมเกรน

การป้องกันผลข้างเคียงจากการใช้ยาแก้ปวดไมเกรนเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ที่ต้องพึ่งพายาในการบรรเทาอาการอยู่เสมอ การปฏิบัติตามคำแนะนำที่เหมาะสมและเลือกวิธีการรักษาแบบทางเลือกขะสามารถช่วยลดความเสี่ยงได้ ดังนี้

การใช้ยาภายใต้คำแนะนำของแพทย์

การใช้ยาแก้ปวดไมเกรนอย่างปลอดภัยต้องอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้มั่นใจว่าเลือกใช้ยาที่เหมาะสมกับอาการของผู้ป่วย ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงของผลข้างเคียงต่างๆ ได้ นอกจากนี้ ควรแจ้งข้อมูลสำคัญ เช่น ประวัติการแพ้ยาและโรคประจำตัว เพื่อให้แพทย์สามารถปรับแผนการรักษาได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ

การรักษาไมเกรนด้วยวิธีอื่น 

นอกเหนือจากการใช้ยาแก้ปวด การรักษาไมเกรนยังสามารถทำได้ด้วยวิธีอื่นที่ปลอดภัยและลดการพึ่งพายาได้ เช่น 

  • การใช้ปากกาฉีดพุงลดไมเกรน

การใช้ปากกาฉีดพุงลดไมเกรน เป็นยาที่สร้างจากเซลล์ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย และทำงานโดยการไปขัดขวางการทำงานของสารโปรตีนบางตัวในร่างกายที่เป็นสาเหตุของการเกิดไมเกรน โดยมักจะฉีดเข้าไปบริเวณพุง เดือนละ 1 ครั้งทุก ๆ เดือน

  • การฉีดโบท็อกซ์รักษาไมเกรน 

การฉีดโบท็อกซ์รักษาไมเกรน จะใช้ระยะเวลาในการออกฤทธิ์ประมาณ 3-4 วัน และจะทำการออกฤทธิ์สูงสุดภายในสัปดาห์ที่ 2  ผลลัพธ์ก็จะอยู่ได้ประมาณ 3-4 เดือน หากคนไข้ตอบสนองต่อตัวยาดีอาจอยู่ได้นานกว่านั้น และสามารถกลับมาฉีดอีกครั้งเมื่อโบท็อกหมดฤทธิ์

ฉีดโบไมเกรน

ข้อสรุป

การใช้ยาแก้ปวดไมเกรนอย่างต่อเนื่องอาจนำมาซึ่งผลข้างเคียงในระยะยาว เช่น อาการปวดหัวจากยาเกินขนาด ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพชีวิตในหลายด้าน การรักษาไมเกรนอย่างยั่งยืนจึงควรเน้นวิธีที่ปลอดภัยและเหมาะสม เช่น การใช้ยาภายใต้คำแนะนำของแพทย์ การรักษาเชิงป้องกัน หรือการใช้วิธีทางเลือกที่มีประสิทธิภาพ สำหรับผู้ที่ต้องการการรักษาไมเกรนอย่างตรงจุดและปลอดภัย BTX Migraine Center ศูนย์รักษาไมเกรนเฉพาะทาง พร้อมให้บริการด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยและแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ คุณสามารถปรึกษาหรือจองคิวฉีดโบท็อกซ์รักษาไมเกรน เพื่อลดอาการปวดหัวรูปแบบต่าง ๆ ได้ทันที โดยแอดไลน์ @ayaclinic หรือโทร 090–970-0447

แอดไลน์