ไมเกรนในผู้หญิง ทำไมถึงมีโอกาสเป็นมากกว่าผู้ชาย 3 เท่า ?
ไมเกรนสามารถเป็นได้ทุกเพศไม่ได้เกิด ไมเกรนในผู้หญิง อย่างเดียวแต่ผู้หญิงที่เป็นโรคไมเกรนจะมีอาการปวดหัวมากกว่าผู้ชาย ผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะเป็นไมเกรนมากกว่าผู้ชายถึง 3 เท่า และมักมีอาการปวดหัวมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากระดับฮอร์โมนที่มีการเปลี่ยนแปลงมากกว่าผู้ชาย ตลอดทั้งเดือน ได้แก่ในรอบการมีประจำเดือนหรือการตั้งครรภ์
สารบัญบทความ
- อาการปวดไมเกรนทำไมเกิดกับเพศหญิงมากกว่าเพศชาย
- ทำไมจึงเป็นไมเกรนช่วงที่มีประจำเดือน
- ลักษณะอาการของปวดศีรษะไมเกรนช่วงที่มีประจำเดือน
- การรักษาอาการของปวดศีรษะไมเกรนช่วงที่มีประจำเดือน
- ข้อสรุป
อาการปวดไมเกรนทำไมเกิดกับเพศหญิงมากกว่าเพศชาย
ทำไมไมเกรนในผู้หญิงมักมีอาการไมเกรมากกว่าผู้ชาย นักวิจัยยังคงไม่ทราบแน่ชัด แต่คำอธิบายที่เป็นไปได้คือฮอร์โมนเพศที่ผู้หญิงมีความผันผวนในปริมาณมากตลอดทั้งเดือน ทำให้ในช่วงก่อนมีประจำเดือนจะเกิดการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเพศอย่างเห็นได้ชัด ผู้หญิงในวัยเจริญพันธุ์มีฮอร์โมนเพศสองชนิด: ฮอร์โมนหญิงและฮอร์โมนเพศชาย อาจมีการเปลี่ยนแปลงในความสมดุลของฮอร์โมนเอสโตรเจน – โพรเกรตสโตนที่ทำให้รุนแรงขึ้นไมเกรนในสตรีจำนวนมากขึ้นก็ได้ การเปลี่ยแปลงฮอร์โมนในเพศหญิง ความผันผวนของฮอร์โมนเอสโตรเจน เช่นช่วงก่อนหรือระหว่างมีรอบเดือน, ช่วงตั้งครรภ์และวัยหมดประจำเดือน โดยการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนในเพศหญิง ความผันผวนของฮอร์โมนเอสโตรเจน เช่นช่วงก่อนหรือระหว่างมีประจำเดือน ช่วงตั้งครรภ์ รวมถึงวัยหมดประจำเดือน น่าจะเป็นตัวกระตุ้นสำคัญที่ทำให้มีอาการปวดศีรษะในเพศหญิงที่ส่วนใหญ่แล้วมีอาการปวดมากกว่าเพศชาย ไม่เพียงเท่านี้ ยาฮอร์โมนอย่าง ยาเม็ดคุมกำเนิดหรือฮอร์โมนทดแทนแบบธรรมชาติ ยาที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจน ที่ผู้หญิงนิยมทานเพื่อช่วยแก้ปัญหาต่างๆ เช่น อาการปวดท้องประจำเดือน ทานเพื่อลดปัญหาสิว ทานเพื่อคุมกำเนิด อาจทำให้อาการไมเกรนยิ่งแย่ลงได้
ทำไมจึงเป็นไมเกรนช่วงที่มีประจำเดือน
ในช่วงก่อนมีประจำเดือน จะเกิดการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเพศ ก่อนมีประจำเดือน 1-3 วันระดับเอสโตรเจนจะลดลงอย่างรวดเร็ว (estrogen withdrawal) ในผู้ที่สมองมีความไวต่อสิ่งกระตุ้นมากกว่าปกติ (จากพันธุกรรม) ผู้ที่เป็นโรคไมเกรนอยู่แล้วจะเกิดการกระตุ้น ทำให้ปวดศีรษะไมเกรนได้ โดยอาการปวดศีรษะมักจะเกิดก่อนที่จะมีประจำเดือน 2 วัน จนถึงขณะที่มีประจำเดือนวันที่ 3 อาการปวดศีรษะมักจะเกิดรุนแรงมากกว่าและเป็นนานกว่าไมเกรนปกติ โดยพบอาการอื่นร่วมกับอาการปวดศีรษะ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน มีความไวต่อแสง เสียงและกลิ่น เพิ่มมากขึ้น ในช่วงก่อนหมดประจำเดือน (premenopausal) เป็นอีกช่วงอายุที่สามารถพบอาการปวดศีรษะไมเกรนเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนเพศได้มาก ระดับฮอร์โมนไม่คงที่ รวมทั้งอาจจะมีปัญหาเรื่องร้อนวูบวาบในเวลากลางคืน ทำให้การนอนหลับไม่ดี เกิดการกระตุ้นให้ปวดศีรษะไมเกรนได้ง่าย
ลักษณะอาการของปวดศีรษะไมเกรนช่วงที่มีประจำเดือน
อาการปวดศีรษะช่วงที่มีประจำเดือนมักจะเกิดก่อนที่จะมีประจำเดือน 2 วัน จนถึงขณะที่มีประจำเดือนวันที่ 3 โดยอาการปวดศีรษะมักจะเกิดความรุนแรงมากกว่าและเป็นนานกว่าไมเกรนปกติ เนื่องจากาช่วงที่มีประจำเดือนร่างกายต้องสูญเสียเลือดเป็นจำนวนมาก ทำให้ร่างกายอ่อนแอมากกว่าปกติ มีเลือดน้อย ไม่เพียงพอต่อการหล่อเลี้ยงสมองในระหว่างช่วงมีประจำเดือน จึงทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ โดยอาการปวดหัวช่วงที่มีประจำเดือนนั้น เกิดขึ้นบ่อยครั้งในผู้หญิง สาเหตุเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระบบฮอร์โมนภายในร่างกายและมีได้หลากหลายอาการ โดยยังพบอาการอื่นร่วมกับอาการปวดศีรษะอีกด้วยเช่น คลื่นไส้, อาเจียน, มีความไวต่อ แสง-เสียง-กลิ่น เพิ่มมากขึ้น ในผู้ป่วยบางรายตอบสนองไม่ดีต่อยารักษาไมเกรนแบบเฉียบพลัน หรือมีการปวดศีรษะกลับเป็นซ้ำใหม่ได้มากกว่าปกติ อย่างไรก็ตามอาการปวดหัวที่เป็นช่วงมีประจำเดือนนั้นถือเป็นอาการปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้และไม่เป็นอันตรายแต่อย่างใด หากมีอาการปวด ก็ควรพักผ่อนเพื่อให้อาการดีขึ้น และสามารถทานยาพาราเซตามอลเพื่อลดอาการได้
การรักษาอาการของปวดศีรษะไมเกรนช่วงที่มีประจำเดือน
การรักษาช่วงที่มีอาการปวดเฉียบพลัน
ให้การรักษาเหมือนกับไมเกรนทั่วไป คือการทานยาแก้ปวดทั่วไปเพื่อให้อาการปวดศีรษะทุเลาลง เช่น ยาทริปแทน (triptans), ยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) เป็นต้น แต่อาจต้องใช้ยาในขนาดที่สูงกว่าปกติ หรืออาจจำเป็นต้องทานยาหลายชนิดควบคู่กัน รวมทั้งต้องให้การรักษาที่รวดเร็วและเหมาะสม เพื่อให้อาการไมเกรนดีขึ้น และไม่รบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน การใช้ยาแก้ปวดควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งก่อนการใช้ยา
การรักษาแบบป้องกัน
จะแนะนำในผู้ที่มีอาการรุนแรง หรือไม่ตอบสนองต่อยาแก้ปวดแบบเฉียบพลัน สามารถให้ยาป้องกันได้ 2 ลักษณะ คือ ให้ระยะสั้นเฉพาะช่วงก่อนมีประจำเดือน และ ให้ระยะยาวทานติดต่อกันทุกวัน ยาในกลุ่มนี้ มีหลายชนิด เช่น ยาทริปแทน (triptans) ที่ออกฤทธิ์ยาว, ยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs), ยาคุมกำเนิด (ชนิดทาน, เจล, แปะ) เป็นต้น ซึ่งยาแต่ละชนิดจะมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป ขึ้นกับปัจจัยของผู้ป่วยแต่ละคน โดยจะต้องทานยาที่เหมาะกับอาการที่เป็นอยู่ให้มากที่สุด
อย่างไรก็ตามหากมีอาการรุนแรง จนไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้อย่างปกติ ก็สามารถติดต่อสูตินารีแพทย์ หรือแพทย์เฉพาะทางอื่นๆ เพื่อหาสาเหตุว่ามีอาการอื่นที่อันตรายร่วมด้วยในช่วงที่เป็นประจำเดือน เช่น โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งอาจจะต้องใช้ยาเพิ่มเติมตามอาการที่เป็น หรือต้องใช้การรักษาเแพาะทางเพิ่มเติม
บทสรุป
ผู้หญิงมักมีปัจจัยที่ละเอียดอ่อนกว่าเพศชายเกี่ยวกับด้านฮอร์โมน ยิ่งเจอปัญหากวนใจที่มาในช่วงเป็นประจำเดือนหรือช่วงที่กำลังตั้งครรภ์ยิ่งทำให้มีอาการที่แย่เข้าไปใหญ่ ดังนั้นหากมีอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน รู้สึกไม่สบายตัว จึงแนะนำให้มาปรึกษาแพทย์
ไม่สามารถรักษาได้โดยวิธีทางธรรมชาติ อาจจะต้องได้รับการวินิจฉัยทางการแพทย์ เพิ่มเติม
หากพบว่าตนเองหรือคนใกล้ตัวมีอาการวิงเวียนศีรษะ บ้านหมุน คลื่นไส้ หรืออาเจียนควรปฏิบัติตามแนวทางการรักษา ยิ่งถ้ามีอาการเวียนหัวรุนแรง อาจจะต้องปรึกษาแพทย์ เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุที่แท้จริง และทำการรักษาได้อย่างตรงจุด
ซึ่งหากใครกำลังมองหาที่รักษาก็สามารถแอดไลน์ @ayaclinic หรือโทรเบอร์ 090–970-0447 เพื่อปรึกษา ขอคำแนะนำ หรือจองคิวฉีดโบท็อกไมเกรน เพื่อลดอาการไมเกรน เวียนหัวและปวดหัวรูปแบบต่าง ๆ กับทางแพทย์ผู้เชี่ยวชาญของ BTX Migraine Center ศูนย์รักษาไมเกรนเฉพาะทางที่ปลอดภัยและทันสมัยได้ทันที
https://www.migraineagain.com/10-foods-that-help-migraine/
https://www.health.com/condition/birth-control/birth-control-brain
https://www.rush.edu/news/why-birth-control-and-migraines-aura-dont-mix
Briggs GG, Freeman RK. A refference guide to fetal and neonatal risk: Drug in pregnancy and lactation. 8th edition: Lippincott Williams & Wilkins, 2008