ตรวจไมเกรน

การตรวจไมเกรน เป็นหนึ่งในสิ่งสำคัญของการดูแลรักษาและป้องกันอาการปวดไมเกรน โรคที่ส่งผลกระทบในชีวิตประจำวันอย่างมาก การปวดไมเกรนจะมีอาการปวดหัวข้างใดข้างหนึ่ง ปวดหัวข้างเดียว ปวดหัวในลักษณะตุบๆ รวมถึงสิ่งกระตุ้นต่างๆ เช่น เวียนหัว ไวต่อแสง และอื่นๆ แล้วจะทำอย่างไรดี มีวิธีตรวจไมเกรน อะไรบ้าง

ถ้าหากคุณกำลังเผชิญกับอาการปวดหัวรุนแรงและต่อเนื่อง ในบทความนี้ จะพาไปรู้จักกับแพ็คเกจการตรวจและรักษาไมเกรน ทางเลือกที่จะช่วยให้คุณสามารถรู้ทันและป้องกันได้เร็ว รวมถึงอาการเตือนที่ควรเข้ารับการรักษาอย่างเร่งด่วน

อาการสัญญาณเตือนไมเกรน

อาการไมเกรนที่ควรพบแพทย์

ก่อนที่จะเข้ารับการตรวจไมเกรน หลายคนอาจจะสงสัยเกี่ยวกับอาการของโรค ว่าแบบไหนที่ควรเข้ารับการรักษา ตำแหน่งปวดไมเกรนจุดใดที่ควรพบแพทย์ แล้วอาการไมเกรนจะแตกต่างกับอาการปวดหัวปกติอย่างไรบ้าง

เราได้รวบรวมอาการสัญญาณเตือนไมเกรน ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้ามเกี่ยวกับการสังเกตความผิดปกติ รวมถึงการทำความเข้าใจกับโรคและวิธีตรวจไมเกรน เพื่อให้คุณสามารถดูแลตนเอง ป้องกันการเกิดและลดอาการปวดได้ในระยะยาว เพราะต้องบอกเลยว่า ไมเกรน เป็นอาการปวดหัวที่สร้างความทรมาน มีความรุนแรงและรบกวนต่อการดำเนินชีวิตอย่างมาก

  • ปวดหัวข้างเดียว ปวดหัวอย่างรุนแรงข้างใดข้างหนึ่ง โดยสามารถสลับข้างได้ในการปวดแต่ละครั้ง
  • หรือในบางผู้ป่วยก็จะมีอาการปวดหัวทั้งสองข้าง แต่ส่วนใหญ่แล้วที่พบจะมีอาการปวดหัวข้างเดียวเด่นชัด
  • ปวดหัวไมเกรนรุนแรงระดับปานปลางไปจนถึงระดับรุนแรงมากที่สุด
  • ปวดหัวในลักษณะตุบๆ การปวดแบบเต้นเป็นจังหวะ ปวดหัวเป็นระยะ
  • มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน
  • ไวต่อสิ่งกระตุ้น กลิ่น การมองเห็นและเสียง เช่น แสงไฟที่จ้า เสียงรบกวน กลิ่นไม่พึงประสงค์ เป็นต้น
  • ปวดหัวเมื่อต้องเคลื่อนไหวร่างกาย เมื่อทำกิจวัตรทั่วไปก็จะรู้สึกปวดมากขึ้นเรื่อยๆ
  • อาการปวดหัวไมเกรนจะแสดงอาการตั้งแต่ 4 – 72 ชั่วโมง

ความรุนแรงของอาการไมเกรนจะแตกต่างกันไปในแต่ละคน โดยจะมีอาการตั้งแต่ระดับปานกลางจนถึงรุนแรงมากที่สุด จะเห็นได้ว่าอาการปวดหัวไมเกรนจะสร้างผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต การทำงานของผู้คนอย่างมาก ซึ่งเราสามารถที่จะแบ่งประเภทของอาการไมเกรนที่แสดงถึงลักษณะเฉพาะของโรค ได้ 2 รูปแบบ ได้แก่

  • ปวดหัวไมเกรนแบบไม่มีอาการนำ (Migraine without aura) อาการปวดหัวไมเกรนที่พบได้มากที่สุด ผู้ป่วยจะมีอาการที่ปวดหัวไมเกรนอย่างเฉียบพลันโดยไม่มีการแสดงอาการนำ สามารถพบอาการกระตุ้นอื่นๆ ได้ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ไวต่อแสง เป็นต้น
  • ปวดหัวไมเกรนแบบมีอาการนำ (Migraine with aura) อาการปวดหัวไมเกรนที่พบได้น้อยกว่าแบบที่ 1 โดยจะมีอาการนำเตือนก่อน 5 – 20 นาทีไปจนถึง 1 – 2 ชั่วโมง ซึ่งอาการนำจะมีหลายแบบ ได้แก่ อาการนำทางความรู้สึก, อาการนำทางตา, อาการนำที่บริเวณก้านสมอง เป็นต้น

การตรวจวินิจฉัยโรคไมเกรน

วิธีตรวจไมเกรน

การตรวจไมเกรน จะมีการวินิจฉัยอย่างไรบ้าง ซึ่งปกติแล้วการตรวจโรคไมเกรนจะไม่ได้มีการตรวจวินิจฉัยเฉพาะเจาะจงเหมือนกับโรคชนิดอื่นๆ โดยหลักๆ แล้วจะมีวินิจฉัยด้วยการตรรวจสอบประวัติของผู้ป่วย ประวัติการรักษา ประวัติของผู้ป่วยภายในครอบครัว ประวัติอาการปวดหัวที่เข้ากับลักษณะของโรคไมเกรนจากการรักษาที่ผ่านมา

นอกจากนี้จะวินิจฉัยผ่านทางการสอบถามอาการทางการแพทย์ว่าผู้ป่วยมีอาการแบบไหน ปวดตำแหน่งไหนบ้าง รวมถึงการตรวจสภาพร่างกาย ตรวจระบบประสาท

ในส่วนของการตรวจเพิ่มเติม วิธีตรวจไมเกรนจะมีการพิจารณาเฉพาะเจาะจงเป็นรายๆ ในผู้ป่วยแต่ละคน เช่น ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมากจนเกิดผลกระทบทางด้านร่างกายอย่างรุนแรงหรือผู้ป่วยที่มีอาการปวดหัว รับประทานยาและไม่ดีขึ้น เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม การปวดไมเกรน เป็นอาการปวดที่มักจะเกิดขึ้นอย่างเรื้อรัง มีอาการซ้ำๆ และเกิดขึ้นต่อเนื่องอย่างรุนแรง การเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยอย่างถูกต้อง จะช่วยให้คุณได้รับคำแนะนำที่ดีสำหรับการดูแลและป้องกันตนเอง

วิธีตรวจไมเกรน ตรวจอะไรบ้าง

เมื่อคุณต้องเผชิญกับอาการที่รุนแรงของโรคไมเกรน การเข้ารับการตรวจไมเกรน และวินิจฉัยอาการจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ และแน่นอนว่าการเข้ารับการตรวจจำเป็นที่จะต้องรู้ถึงขั้นตอนและการตรวจว่ามีอะไรบ้าง

ตรวจโรคไมเกรน

ซึ่งอย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่า ไมเกรนเป็นการวินิจฉัยอาการที่จะไม่มีการเฉพาะเจาะจงตรวจเหมือนกับประเภทอื่นๆ ยกเว้นแต่มีความผิดปกติหรืออาการที่รุนแรงมากกว่าปกติจึงจะมีการตรวจโดยเฉพาะ แล้ววิธีตรวจไมเกรน จะตรวจอะไรบ้าง เราได้เรียบเรียงมาให้คุณได้เช็คก่อนเข้ารับการรับตรวจ

  • ตรวจอาการไมเกรน ตรวจโรคไมเกรนในตำแหน่งต่างๆ ว่าผู้ป่วยมีอาการปวดอย่างไรบ้าง ตำแหน่งที่ปวด ระยะเวลาที่ปวด ความถี่ของการปวด และ ระดับความรุนแรงของอาการปวดหัว
  • ประวัติการรักษา ประวัติโรคประจำตัวของผู้ป่วย รวมถึงประวัติการรับยาที่ผ่านมา
  • ตรวจอาการร่วมต่างๆ เช่น สายตาพร่ามัว อาการชัก อาการอ่อนแรงหรือชม เป็นต้น
  • การตรวจสภาพร่างกายอย่างละเอียด เพื่อเช็คเกี่ยวกับความผิดปกติของร่างกาย

นอกจากนี้แพทย์ยังสอบถามรายละเอียดและซักประวัติทั้งข้อมูลพื้นฐานและรายละเอียดส่วนตัว ดังนี้

  • คุณสามารถทนต่ออาการปวดหัวได้นานมากแค่ไหน
  • ลักษณะอาการปวด ปวดเมื่อย ปวดตุบๆ ปวดจี๊ด
  • ปวดบริเวณใดมากที่สุด
  • อาการปวดเริ่มต้น มีอาการรุนแรงและหายในช่วงเวลาใดบ้าง
  • คุณได้ทานยาหรือยัง ทานยาอะไรบ้าง
  • คุณได้ทดลองรักษาด้วยวิธีอื่นๆ หรือไม่
  • ยาที่คุณรับประทานสามารถเห็นผลหรือเปล่า
  • การนอนหลับ คุณนอนหลับวันละกี่โมง มากหรือน้อย
  • คุณออกกำลังกายหรือไม่ การออกกำลังกายกี่ชั่วโมงและสัปดาห์ละกี่วัน
  • สภาพอากาศในพื้นที่ที่คุณอยู่เป็นอย่างไรบ้าง
  • สภาพจิตใจของ คุณมีความเครียดหรือไม่
  • คุณอยู่ในช่วงมีประจำเดือนหรือไม่ มีประจำเดือนทุกๆ เดือนวันที่เท่าไหร่
  • คุณรับประทานอะไร รวมถึงเครื่องดื่มประจำวัน

อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันมีทางเลือกเกี่ยวกับการตรวจด้วยแพ็คเกจจากศูนย์รักษาไมเกรนเฉพาะทางและโรงพยาบาลต่างๆ เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถตรวจอย่างละเอียด ซึ่งจะมีการตรวจที่มากยิ่งขึ้น เช่น ตรวจระบบการทำงานของไต, ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด, ตรวจระบบการทำงานของตับ, ตรวจระดับความสมบูรณ์เม็ดเลือด และ ตรวจความดันลูกตา เป็นต้น

ปวดไมเกรน เมื่อไหร่ควรพบแพทย์

การตรวจไมเกรน

การปวดหัว เมื่อไหร่ที่ควรเข้ารับการตรวจไมเกรน ละพบแพทย์ ซึ่งจุดนี้จะพิจารณาจากอาการและความรุนแรงของโรค ซึ่งปกติแล้วเราจะเห็นได้จากผู้ป่วยหลายๆ ท่านที่มักจะทานยา ซื้อยารับประทานแทนเข้ารับ วิธีตรวจไมเกรน และรักษาโดยตรง

แต่แท้จริงแล้ว ผู้ป่วยควรสังเกตอาการและความผิดปกติว่าเมื่อไหร่ที่ควรจะเข้าพบแพทย์เพื่อรักษาอย่างถูกต้อง ป้องกันและรักษาได้อย่างเห็นผล สามารถรับคำวินิจฉัยและการตรวจจากแพทย์เพื่อรักษาโดยเฉพาะ โดยอาการปวดไมเกรนที่ควรเข้าพบแพทย์ มีรายละเอียด ดังนี้

  • ปวดไมเกรน จนไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้ เมื่อเคลื่อนไหวร่างกายจะมีความรุนแรงที่มากกว่าเดิม
  • ปวดไมเกรน ทานยาแล้วอาการไม่ดีขึ้น มีอาการที่รุนแรงมากกว่าเดิม
  • ได้รับผลกระทบจากการปวดไมเกรนจนไม่สามารถดำเนินชีวิตประจำวัน ทำงานหรือเรียนได้
  • ปวดไมเกรนในระดับที่รุนแรงมาก
  • ปวดไมเกรนถี่ เกิดขึ้นบ่อยครั้งและมากขึ้นเรื่อยๆ

การบันทึกอาการปวดหัวเพื่อการวินิจฉัย

ตรวจไมเกรน ออนไลน์

เพื่อช่วยให้การตรวจไมเกรนและวินิจฉัยโรค สามารถรักษาได้อย่างตรงจุดและแพทย์สามารถเช็ครายละเอียดต่างๆ ที่ผิดปกติได้อย่างละเอียด การบันทึกอาการไมเกรนหรืออาการปวดหัวถือว่าเป็นตัวช่วยที่ดีที่จะช่วยให้การวินิจฉัยมีประสิทธิภาพที่มากกว่าเดิม

โดยคุณสามารถจดบันทึกอย่างต่อเนื่องหรือในช่วงระยะเวลา 2 – 3 สัปดาห์ ก็สามารถช่วยได้เช่นเดียวกัน โดยมีรายละเอียดของการจดบันทึกอาการปวดหัวไมเกรนเพื่อใช้เกี่ยวกับวิธีตรวจไมเกรน ดังต่อไปนี้

  1. วันที่และเวลาที่คุณปวดหัวไมเกรน
  2. สิ่งที่คุณทำเมื่อมีอาการไมเกรนกำเริบหรือเริ่มต้นขึ้น
  3. ระยะเวลาของการกำเริบของอาการไมเกรน
  4. คุณใช้ยาอะไรในการรักษาหรือบรรเทาอาการไมเกรน (ถ้ามี)

อย่างไรก็ตาม การทานยาแก้ปวดเป็นประจำและต่อเนื่องเมื่อมีอาการปวดไมเกรน ถือว่าเป็นสาเหตุสำคัญที่จะทำให้คุณรักษาอาการไมเกรนได้ยากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังอาจจะทำให้เกิดอาการปวดหัวมีความรุนแรงที่มากขึ้น บรรเทาอาการปวดได้ยากลง

ดังนั้น การจดบันทึกการทานยาแก้ปวดหัวนอกเหนือจากที่แพทย์สั่ง จะมีประโยชน์ต่อการตรวจรักษาอย่างมาก แนะนำให้คุณหลีกเลี่ยงการทานยาแก้ปวดมากกว่า 10 วันต่อเดือนและติดต่อกันในระยะยาว
นอกจากการจดบันทึกเรื่องของการทานยาแก้ปวดแล้ว การจดบันทึกเมื่อคุณเริ่มมีประจำเดือนก็ช่วยให้การตรวจวินิจฉัยไมเกรนในผู้หญิงดีขึ้น เนื่องจากจะช่วยแพทย์สามารถระบุปัจจัยกระตุ้นที่อาจจะเกิดขึ้นได้

กล่าวได้ว่า การจดบันทึกเกี่ยวกับอาการไมเกรน จะช่วยให้คุณสามารถเพิ่มความง่ายและความแม่นยำในการตรวจวินิจฉัย เพื่อให้แพทย์สามารถเห็นถึงสิ่งกระตุ้น ปัจจัยเสี่ยงและสาเหตุต่างๆ ที่จะช่วยให้สามารถรักษาและแนะนำแนวทางที่ถูกต้องและลดอาการปวดได้อย่างดียิ่งขึ้น

แนวทางการรักษาไมเกรน

การทำความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการรักษาก่อนที่จะเข้ารับการตรวจไมเกรน จะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถเตรียมความพร้อมได้ดียิ่งกว่าเดิม ซึ่งถึงแม้ว่าในปัจจุบัน ไมเกรน จะเป็นโรคปวดหัวเรื้อรังที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ มีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการกำเริบได้อยู่เสมอ

ทั้งนี้ ถ้าหากผู้ป่วยมีแนวทางการรักษาที่ดีและเหมาะสมก็จะช่วยให้สามารถลดระดับความรุนแรงของการปวดหัว ลดความถี่ในการกำเริบของไมเกรน ช่วยบรรเทาอาการได้ในระยะยาว

ซึ่งในปัจจุบันมีทางเลือกสำหรับวิธีตรวจไมเกรน และ รักษาอาการ โดยสามารถแบ่งได้เป็น การรักษาไมเกรนเบื้องต้น และการรักษาทางการแพทย์ ที่แต่ละประเภทจะแบ่งออกเป็นหลากหลายรูปแบบการรักษาที่มีความน่าสนใจและสามารถช่วยเป็นแนวทางสำหรับการเตรียมความพร้อม การดูแลและรักษาไมเกรนให้แก่คุณได้เป็นอย่างดีในอนาคต ดังนั้น เราไปดูรายละเอียดของการรักษาไมเกรนกัน

การรักษาไมเกรนเบื้องต้น

การรักษาไมเกรนเบื้องต้น เป็นการรักษาอาการขั้นพื้นฐานที่จะเป็นการรักษา ดูแลตนเองเพื่อลดอาการและความรุนแรงของโรคไมเกรน ซึ่งในปัจจุบันมีการรักษาไมเกรนแบบเบื้องต้นอยู่หลายประเภท ได้แก่

ตรวจวินิจฉัยไมเกรน

1. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่าง

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่างในชีวิตประจำวันซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการกำเริบของไมเกรน จะช่วยให้ผู้ป่วยมีอาการที่ดียิ่งขึ้น

ยกตัวอย่างเช่น การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ รักษาสภาพแวดล้อมในการนอนที่ดี นอนหลับในพื้นที่ที่เงียบสงบ หลีกเลี่ยงการนอนดึกที่มากจนเกินไป, ผ่อนคลายความเครียด ทำจิตใจให้แจ่มใจ ทำกิจกรรมที่ช่วยเพิ่มความผ่อนคลาย, หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารและเครื่องดื่มที่มีผลในการกระตุ้นการก่อไมเกรน

รวมถึงการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย 3 -5 วันต่อสัปดาห์ แต่ไม่ควรที่จะหักโหมหรือออกกำลังกายหนักมากจนเกินไป

2. สมุนไพรรักษาไมเกรน

สมุนไพรไทย ยังคงเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับการรักษาโรค เช่นเดียวกับการรักษาไมเกรน ที่ในปัจจุบันมีสมุนไพรอยู่หลายชนิดที่สามารถช่วยลดอาการไมเกรนได้ดี

ยกตัวอย่างเช่น ขิง สมุนไพรที่สามารถช่วยลดอาการปวดไมเกรนได้มากถึง 60% เนื่องจากสรรพคุณด้านการลดอาการปวดและอักเสบ ช่วยปรับระบบไหลเวียนโลหิตในร่างกาย ลดอาการปวดหัว เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมีอีกหลายชนิด เช่น ว่านหางจระเข้ และ มะกรูด เป็นต้น ที่จะเห็นได้ว่าแต่ละชนิด หาทานได้ง่าย เป็นพืชผักสมุนไพรภายในครัวเรือนนี่เอง

3. การประคบเย็นลดอาการปวด

การประคบเย็นที่บริเวณคอ หน้าผาก และดวงตา จะช่วยลดอาการปวดหัวไมเกรนได้เป็นอย่างดี เป็นการช่วยผ่อนคลายความเครียด เป็นตัวช่วยสำหรับลดอาการปวดและอักเสบ สามารถทำได้ง่ายและไม่ยุ่งยากจนเกินไป

4. การนวดกดจุดแก้ปวดไมเกรน

การนวดกดจุดแก้ปวดไมเกรน เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ได้รับความนิยมอย่างมาก ผู้ป่วยสามารถนวดด้วยตัวเองหรือจะนวดโดยผู้เชี่ยวชาญ อย่างไรก็ตาม แนะนำว่าควรที่จะศึกษาเรื่องการกดจุดอย่างละเอียด

ถ้าหากคุณเป็นผู้ทำด้วยตัวเองหรือควรเลือกช่างสำหรับการนวดที่มีความชำนาญด้านการนวด เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดจากการกดจุดที่ผิดพลาดได้

การรักษาไมเกรนทางการแพทย์

การรักษาไมเกรนทางการแพทย์ ยังคงเป็นทางเลือกที่ได้รับความนิยมอย่างมาก เช่นเดียวกับการักษาไมเกรนแบบเบื้องต้น ที่จะเป็นการเข้าสู่กระบวนการรักษาไมเกรนผ่านทางแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หลังจากเข้ารับการวินิจฉัยวิธีตรวจไมเกรน

ซึ่งเราสามารถแบ่งการรักษาไมเกรนทางการแพทย์ออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ ยารักษาไมเกรน, ฉีดยาแก้ไมเกรน, ฝังเข็มรักษาไมเกรน และ ฉีดสารคลายกล้ามเนื้อ ซึ่งแต่ละแบบจะมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้

ฉีดโบท็อกซ์ รักษาไมเกรน

1. ยารักษาไมเกรน

ยารักษาไมเกรน เป็นการรักษาทางการแพทย์ ที่จะช่วยลดอาการปวดไมเกรนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเราสามารถแบ่งยารักษาไมเกรนออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ยาเบรรทาอาการปวดแบบไม่รุนแรง และ ยาบรรเทาอาการปวดแบบรุนแรง

อย่างไรก็ตาม การซื้อยารักษาเองควรที่จะปรึกษาแพทย์และเภสัชกรเพื่อได้รับยาที่เหมาะสมและปลอดภัยมากที่สุด

2. ฉีดยาแก้ไมเกรน

การฉีดยารักษาไมเกรน เป็นทางเลือกทางการแพทย์ที่ได้รับความนิยมเช่นเดียวกัน โดยจะมีการฉีดยารักษาให้ตามคำวินิจฉัยของแพทย์เฉพาะทาง ที่จะมีลักษณะของการฉีดยาที่แตกต่างกันออกไป โดยหลักๆ แล้วจะเป็นการฉีดยาเพื่อยับยั้งสาร CGRP ซึ่งเป็นสารนิวโรเปปไทชนิดหนึ่งภายในร่างกายที่ทำให้หลอดเลือดภายในสมองเกิดการขยายตัว ส่งผลให้กระตุ้นการปวดหัวไมเกรน

ซึ่งการฉีดยารักษาไมเกรนจะเป็นการฉีดเพื่อยับยั้งสาร CGRP ช่วยควบคุมอาการและป้องกันการเกิดไมเกรน นอกจากนี้ในปัจจุบันยังมียาสำหรับการป้องกันหลายชนิดตามสถานพยาบาลหรือศูนย์รักษาไมเกรน ที่คุณจะต้องตรวจสอบให้ดี

3. ฝังเข็มรักษาไมเกรน

การฝังเข็มรักษาไมเกรน จะเป็นการรักษาทางศาสตร์จีน ที่แพทย์แผนจีนเชื่อว่าการฝังเข็มไปยังบริเวณต่างๆ ของร่างกาย จะช่วยลดอาการปวดไมเกรนได้ดี เนื่องจากช่วยปรับสมดุลของระบบไหวเวียนโลหิต

4. โปรแกรมฉีดสารคลายกล้ามเนื้อ

กำลังมาแรงและได้รับการตอบรับที่ดีอย่างมาก สำหรับการฉีดสารคลายกล้ามเนื้อรักษาไมเกรน ที่หลายคนอาจจะคุ้นเคยแต่ไม่คาดคิดว่าเป็นตัวยาแบบที่เราใช้เสริมความงามหรือไม่ คำตอบก็คือ ใช่ การฉีดสารคลายกล้ามเนื้อ จะช่วยลดอาการปวดหัวได้เป็นอย่างดี รักษาไมเกรนได้ผลจริง

จากผลจากการศึกษาพบว่าสามารถช่วยลดความรุนแรงของโรคได้มากกว่าการรับประทานถึง 90% อีกทั้งยังใช้กันในแวดวงการแพทย์มายาวนานกว่า 30 ปี และตัวยายังได้การรับรองจากองค์การอาหารและยาของประเทศสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ปี 2010 รวมถึงในประเทศก็ผ่านการรับรองจาก องค์การอาหารและยาเช่นเดียวกัน

หากตรวจไมเกรนแล้วไม่เข้าข่าย

เป็นอีกหนึ่งข้อสงสัยที่หลายๆ คนตั้งคำถามว่า ถ้าหากตรวจไมเกรนแล้วไม่เข้าข่าย จะต้องทำอย่างไร ซึ่งในปัจจุบันความเสี่ยงของการเกิดโรคที่มีอาการใกล้เคียงกับไมเกรนมีอยู่มากพอสมควร

ยกตัวอย่างเช่น สายตาผิดปกติ, เนื้องอกในสมอง, โรคเครียด และ หลอดเลือดสมองโป่งพอง เป็นต้น วิธีตรวจไมเกรน อย่างละเอียดจึงเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมาก ครอบคลุมทุกการปวดศีรษะ

ดังนั้น เมื่อคุณตรวจไม่เข้าข่าย จึงจำเป็นที่จะต้องเร่งตรวจอย่างอื่นอย่างละเอียดโดยทันที เพื่อป้องกันและสามารถรักษาให้ทันท่วงที แล้วถ้าหากไม่เข้าข่าย ควรที่จะตรวจอะไรเพิ่มบ้าง เราสามารถแนะนำได้ ยกตัวอย่างเช่น

  • การตรวจวัดความดันลูกตา
  • การตรวจค่าการทำงานของไต
  • การตรวจค่าการทำงานของ
  • การตรวจระดับน้ำตาลในเลือด
  • การตรวจระดับไขมันในเลือด
  • การตรวจความอักเสบภายในร่างกาย

การตรวจที่ครอบคลุมของอาการไมเกรนเพื่อหาโรคที่แท้จริง หลังจากที่การรักษาและตรวจด้วยไมเกรนไม่ได้หรืออาการไม่เข้าข่าย การที่คุณสามารถตรวจอย่างละเอียดเพิ่มเติมและครบถ้วน จะช่วยให้สามารถป้องกันและดูแลตนเองได้อย่างทันท่วงที

การตรวจวินิจฉัยอื่นๆ

โดยปกติแล้ว การวินิจฉัยจากแพทย์ที่ผ่านการฝึกอบรมด้านการรักษาอาการปวดศีรษะหรือนักประสาทวิทยามักจะทำการวินิจฉัยไมเกรนด้วยการพิจารณาอาการ ประวัติการรักษาทางการแพทย์ อาการและการตรวจร่างกาย รวมถึงการตรวจระบบสมองและประสาท

อย่างไรก็ตาม ถ้าหากคุณมีอาการที่ไม่เข้าข่ายไมเกรน, อาการที่รุนแรงและผิดปกติ อาการมีความซับซ้อนและน่าเป็นห่วง แพทย์ก็อาจตรวจวินิจฉัยอื่นๆ เพิ่มเติม ได้แก่

ตรวจรักษาไมเกรน

การตรวจวินิจฉัยด้วย MRI (Magnetic Resonance Imaging)

การตรวจ MRI เป็นการตรวจร่างกายด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่จะมีประสิทธิภาพในการแสดงภาพที่มีความชัดและละเอียดชัดเจน การตรวจ MRI จะเป็นการใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพสูงสำหรับการสร้างภาพที่ละเอียดของสมองและหลอดเลือด การสแกน MRI จะช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยเนื้องอก อาการปวดหัวเรื้อรัง เส้นเลือดในสมองแตกและการติดเชื้อต่างๆ ได้อีกด้วย

การตรวจวินิจฉัยด้วย CT Scan

การตรวจ CT Scan เป็นการฉายรังสีเอ็กเรย์ผ่านทางระบบสมองหรืออวัยวะที่ต้องการวินิจฉัยเพื่อหาความผิดปกติของอวัยวะดังกล่าว ผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จะทำการประมวลภาพพร้อมแสดงภาพเพื่อให้แพทย์ได้เห็นถึงรายละเอียด โดย CT Scan ช่วยในการวินิจฉัยการติดเชื้อ เนื้องอก ความเสียหายของสมอง และปัญหาอื่นๆ เกี่ยวกับโรคทางการแพทย์

ตรวจไมเกรนที่ไหนดี

เชื่อว่าหลังจากที่ได้พิจารณาแต่ละข้อเรียบร้อยแล้ว หลายคนจะต้องมีคำถามอย่างแน่นอนว่าควรตรวจไมเกรนที่ไหนดี เพราะจะเห็นได้ถึงความสำคัญของวิธีตรวจไมเกรน ที่เรียกได้ว่าถ้าหากคุณสามารถเลือกสถานพยาบาลสำหรับการรักษาที่มีคุณภาพ เชื่อถือได้และมีความพร้อมสำหรับการดูแลรักษา

ตรวจไมเกรนที่ไหนดีที่ครบวงจร ก็จะช่วยเพิ่มความง่ายในการเตรียมความพร้อมและยังสอดคล้องไปถึงการรักษาให้หายอีกด้วย แล้วควรเลือกที่ไหนดี เลือกอย่างไรให้มั่นใจที่สุด เราได้ลิสต์มาเป็นแนวทางให้แก่คุณ

  1. สถานพยาบาลมีความน่าเชื่อถือ ได้รับการรับรองมาตรฐานจากองค์กรที่เชื่อถือได้
  2. คุณภาพของสถานพยาบาลครบครัน มีความพร้อมในการให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ
  3. แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านสำหรับการดูแลเรื่องไมเกรน มีชำนาญเฉพาะด้านและสามารถวินิจฉัย ตรวจและรักษาได้อย่างดี
  4. เครื่องมือภายในสถานพยาบาลมีความพร้อม ทันสมัย สะอาด สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย
  5. เจ้าหน้าที่ภายในคลินิกหรือสถานพยาบาลนั้นๆ มีความเชี่ยวชาญ ดูแลผู้เข้ารับการรักษาและตรวจวินิจฉัยอย่างดี บริการอย่างเป็นมืออาชีพทั้งก่อนและหลังเข้ารับการรักษา
  6. ราคาที่สมเหตุสมผล ราคาของการรักษาและการตรวจวินิจฉัยมีความคุ้มค่า
  7. สภาพแวดล้อมเปี่ยมคุณภาพ พื้นที่สะอาด ปลอดภัย มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย
  8. ผลิตภัณฑ์ในการรักษามีคุณภาพ ที่จะต้องเป็นของแท้ตรวจสอบได้
  9. รีวิวจากผู้ใช้งานจริง ผู้มีประสบการณ์สำหรับการตรวจและวินิจฉัยอาการไมเกรน

ตรวจไมเกรนที่ BTX Migraine Center

ตรวจไมเกรนที่ไหนดี

ถ้าหากคุณกำลังมองหาสถานพยาบาลสำหรับการตรวจไมเกรน อย่างครบวงจรและมีประสิทธิภาพสูง BTX Migraine Center เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ต้องแนะนำศูนย์รักษาไมเกรนเฉพาะทาง ที่มีแพทย์เฉพาะทางด้านสมองตรวจ ให้คำแนะนำและรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ เห็นผลลัพธ์ได้จริงด้วยโปรแกรมฉีดสารคลายกล้ามเนื้อที่สามารถเห็นผลที่ชัดเจนและยังสามารถช่วยลดระดับความรุนแรง ความถี่ของอาการปวดหัว รวมถึงลดการใช้ยารับประทานได้มากถึง 90%

BTX Migraine Center ตั้งอยู่ทำเลที่เดินทางสะดวก พื้นที่โดยรอบได้มาตรฐาน สะอาด สามารถตอบโจทย์ด้านการตรวจรักษาไมเกรนได้เป็นอย่างดี รวมถึงยังมีอุปกรณ์ที่ทันสมัย เครื่องมือที่ครบครันและทางเลือกในการตรวจวินิจฉัยที่ครบวงจร ตรวจได้อย่างละเอียดและมีความใส่ใจด้านการบริการเป็นอย่างดี

ข้อสรุป

การตรวจไมเกรน เป็นสิ่งสำคัญสำหรับการรักษาและดูแลตนเองเมื่อคุณต้องเผชิญกับอาการปวดหัวเรื้อรัง ปวดหัวไมเกรนรุนแรง ที่นอกจากจะศึกษาเกี่ยวกับการรักษาแบบเบื้องต้นและการรักษาทางการแพทย์ หรือการรักษาด้วยการฉีดสารคลายกล้ามเนื้อ ที่ช่วยลดอาการปวดหัวได้เป็นอย่างดีแล้ว การเข้ารับการตรวจโดยศูนย์ที่มีความพร้อมและตอบโจทย์ ปลอดภัยและมีคุณภาพก็เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก

และสำหรับใครที่กำลังมองหาศูนย์รักษาไมเกรนเฉพาะทาง คลินิกตรวจไมเกรนที่มีความเชี่ยวชาญและความพร้อมวิธีตรวจไมเกรน ทางเลือกที่หลากหลายสำหรับการเข้ารับการรักษาและวินิจฉัย BTX Migraine Center สามารถตอบทุกข้อสงสัย สามารถปรึกษาและสอบถามได้ฟรีที่ไลน์ @ayaclinic

เอกสารอ้างอิง

Diagnostic Accuracy of the ID Migraine: A systematic Review and Meta-Analysis; Cousins G, Hijazze S, Van de Laar F, Fahey T. Headache. Jul-Aug 2011;51(7):1140-8 https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/21649653/

New players in the preventive treatment of migraine. Mitsikostas DD, Rapoport AM. BMC Med. 2015;13:279. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/26555040/

A Controlled Trial of Erenumab for Episodic Migraine Goadsby P, Reuter U, et al N Engl J Med 2017; 377:2123-2132 https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/29171821/