Ibuprofen (ไอบูโพรเฟน) ยาแก้ปวดรักษาไมเกรน สรรพคุณและวิธีใช้ยาให้ปลอดภัย
หนึ่งในโรคที่สร้างความทรมานและความกังวลใจให้ใครหลาย ๆ คน คือ ไมเกรนหรือปวดหัวเรื้อรังเนื่องจากอาการนั้นส่งผลต่อชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะกับบางคนที่ส่งผลกระทบจนกระทั่งไม่สามารถทำงานหรือขับรถยนต์ได้
ทั้งนี้ หนึ่งในวิธีรักษาไมเกรนที่เห็นผลดีคือ การทานยา Ibuprofen (ไอบูโพรเฟน) หรือยา Brufen (บรูเฟ่น) ที่เรารู้จักกัน แต่ยาชนิดนี้จะมีกี่รูปแบบ มีชื่อทางการค้าอะไรบ้าง มีวิธีใช้อย่างไร รักษาไมเกรนขึ้นตาได้ไหม ตามไปอ่านกันได้เลยค่ะ
เลือกอ่านหัวข้อที่สนใจ
- ยาไอบูโพรเฟน (Ibuprofen)
- เกี่ยวกับยาไอบูโพรเฟน
- กลไกการออกฤทธิ์ของยาไอบูโพรเฟน
- สรรพคุณของยาไอบูโพรเฟน
- รูปแบบของยาไอบูโพรเฟน
- วิธีใช้ยาไอบูโพรเฟนและปริมาณยาที่เหมาะสม
- การใช้ยา Ibuprofen รักษาไมเกรน
- ข้อควรระวังในการใช้ยา Ibuprofen
- ผลข้างเคียงที่อาจได้รับจากยา Ibuprofen
- ยา Ibuprofen ราคาเท่าไหร่
- วิธีเก็บรักษายา Ibuprofen
- ปรึกษาการใช้ยารักษาไมเกรนกับผู้เชี่ยวชาญ
- ข้อสรุป
ยาไอบูโพรเฟน (Ibuprofen)
ยา Ibuprofen (ไอบูโพรเฟน) หรือในชื่อ “ยาบรูเฟ่น” ที่คุ้นเคย จัดอยู่ในกลุ่มยาต้านอาการอักเสบไร้สเตียรอย (NSAIDs) นิยมนำมาใช้ในการรักษาอาการปวดในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ปวดฟัน ปวดหัวไมเกรน ปวดท้องประจำเดือน ปวดกล้ามเนื้อ เป็นต้น
เนื่องจากยาชนิดนี้นิยมใช้อย่างแพร่หลายและได้จดทะเบียนตามกฎหมาย โดยองค์การอาหารและยาแล้ว ทำให้ Ibuprofen (ไอบูโพรเฟน) มีชื่อทางการค้าที่หลากหลาย โดยที่พบส่วนใหญ่ เช่น Ibrofen, Probufen, AdavilL, Duran, Gofen, Cefen, Greatofen, Ibuman, Ibustar Forte, S-Pro, Rabufen เป็นต้น
แม้ว่ายา ibuprofen รักษาอาการปวดเหล่านี้ได้ แต่ก็มีข้อควรระวังในการใช้ยา เนื่องจากหากใช้อย่างไม่เหมาะสมหรือเกินขนาดก็จะส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายได้
เกี่ยวกับยาไอบูโพรเฟน
อย่างที่ทราบกันดีว่ายา Ibuprofen (ไอบูโพรเฟน) มีสรรพคุณในการลดอาการปวดรูปแบบต่าง ๆ เช่น ปวดหัวท้ายทอย ลดไข้ ปวดฟัน ปวดกล้ามเนื้อ ปวดหัวข้างเดียว แต่นอกจากจะลดอาการปวดหัวและไมเกรนได้แล้ว ยังมีสรรพคุณลดอาการอักเสบได้อีกด้วย
โดยยาชนิดนี้จัดอยู่ในประเภทยาตามแพทย์สั่งและสามารถหาซื้อเองได้ สามารถใช้ได้กับเด็กตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป ตลอดจนผู้ใหญ่ ทำให้ยาบรูเฟนแก้ปวดชนิดนี้ผลิตออกมาหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นยาทา ยาเม็ด ยาน้ำ หรือยาสำหรับพ่น
กลไกการออกฤทธิ์ของยาไอบูโพรเฟน
อาการปวดบริเวณต่าง ๆ เกิดจากหลายสาเหตุ เช่นเดียวกับอาการอักเสบที่เกิดจากเอนไซม์ไซโคลออกซิจิเนส 1 และ 2 (Cyclooxygenase: COX-1 และ COX-2) เข้าไปเปลี่ยนกรดอะราคิโดนิก (Arachidonic Acid) หรือกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัว ซึ่งมีส่วนช่วยในการฟื้นฟูสภาพร่างกายให้กลับสู่ภาพปกติ สมบูรณ์แข็งแรง ให้กลายเป็นโพรสตาแกลนดิน (Prostaglandins) ที่เป็นตัวกระตุ้นการรับความรู้สึกปวด เจ็บ อักเสบของร่างกายนั่นเอง
ทั้งนี้ยา Ibuprofen (ไอบูโพรเฟน) จะเข้าไปทำหน้าที่ยับยั้งการทำงานของ โพรสตาแกลนดิน (Prostaglandins) และยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ไซโคลออกซิจิเนส 1 และ 2 (Cyclooxygenase: COX-1 และ COX-2)
เมื่อทานยา Brufen ไป อาการปวดหัวข้างซ้าย ปวดหัวข้างขวา ไข้ ไมเกรน หรือการอักเสบต่าง ๆ ในร่างกายจึงบรรเทาลงอย่างเห็นได้ชัด
สรรพคุณของยาไอบูโพรเฟน
Ibuprofen (ไอบูโพรเฟน) มีสรรพคุณในการรักษามากมาย มีดังนี้
1. รักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์หรือโรคข้อต่อที่เกิดจากการอักเสบเรื้อรังของเยื่อหุ้มข้อบริเวณกระดูก ส่วนใหญ่จะเกิดอาการอักเสบบริเวณข้อนิ้วมือ นิ้วเท้า โดยอาจจะส่งผลรุนแรงถึงขั้นพิการได้
ทั้งนี้ยา Ibuprofen (ไอบูโพรเฟน) ซึ่งมีสรรพคุณในการรักษาอาการปวดและอีกเสบ จะเป็นหนึ่งในวิธีที่รักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ได้โดยทานตามแพทย์สั่งหรือทานในปริมาณที่เหมาะสม
2. รักษาโรคข้อกระดูกเสื่อม
โรคข้อกระดูกเสื่อมหรือที่รู้จักกันในชื่อของ “ข้อเสื่อม” นับว่าเป็นโรคที่พบได้บ่อยครั้ง โดยจะมีอาการหลังจากใช้ข้อมาก ๆ ซึ่งจะส่งผลให้การเคลื่อนไหวข้อลำบาก เกิดอาหารเจ็บปวด
ทั้งนี้หากทานบรูเฟ่นแก้ปวดตามแพทย์สั่งหรือทานในปริมาณ 400-800 มิลลิกรัม/วัน ก็จะช่วยบรรเทาอาการปวดและรักษาโรคข้อกระดูกเสื่อมได้
3. บรรเทาอาการปวดเล็กน้อย – ปานกลาง
แน่นอนว่าสรรพคุณหลักของยาชนิดนี้คือ ลดอาการอักเสบและลดอาการปวดต่าง ๆ โดยเฉพาะการปวดหัวไมเกรนและการปวดหัวในระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง เช่น อาการปวดฟัน ปวดกล้ามเนื้อ อาการอักเสบระดับเบื้องต้น เพียงทานIbuprofen (ไอบูโพรเฟน)
แต่หากผู้ที่ทานยาหรือผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บปวดและอักเสบขั้นรุนแรงก็ควรที่จะปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทันที
4. บรรเทาอาการปวดประจำเดือน
สาว ๆ หลาย ๆ คนคงมีอาการปวดประจำเดือนเป็นประจำ บางคนอาจจะปวดถึงขั้นไม่สามารถทำงานหรือทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้ ซึ่งหากทาน Ibuprofen (ไอบูโพรเฟน) ปริมาณเพียง 200 – 400 มิลลิกรัม ก็จะสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดประจำเดือนได้เป็นอย่างดี
5. บรรเทาอาการไข้
ในวันที่ฝนตก แดดจ้า หรือสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง แน่นอนว่าหลาย ๆ คนจะมีอาการเจ็บคอ ไขขึ้น ตลอดจนปวดหัว ซึ่งหากทาน Ibuprofen เพื่อลดไข้ รับรองว่าอาการเป็นไข้ จะลดลงและสามารถบรรเทาอาการปวดหัวได้แน่นอน
6. บรรเทาอาการปวดไมเกรนเฉียบพลัน
หลาย ๆ คนอาจจะเกิดความสงสัยเมื่อตนเองนั้นมีอาการไมเกรน ปวดกระบอกตา และอาจจะเกิดคำถามว่าปวดหัวไมเกรนกินอะไรหาย แต่ใครจะรู้บ้างว่าเพียงแค่ทานยา Ibuprofen (ไอบูโพรเฟน) ในปริมาณที่เหมาะสมกับตนเองหรือในปริมาณที่แพทย์สั่งเมื่อมีอาการก็จะช่วยบรรเทาอาการได้แล้ว นับว่าเป็นวิธีแก้ปวดหัวไมเกรนเบื้องต้นที่เห็นผลดีอย่างยิ่ง
รูปแบบของยาไอบูโพรเฟน
ยา Ibuprofen (ไอบูโพรเฟน) มีจัดจำหน่ายหลายรูปแบบ โดยผู้ป่วยสามารถเลือกซื้อทานตามความสะดวกในการใช้งานหรือตามแพทย์สั่งได้ ดังนี้
1. ยา Ibuprofen แบบเม็ดและแคปซูล
ยา Ibuprofen (ไอบูโพรเฟน) แบบเม็ดหรือแคปซูลจะมีลักษณะเป็นเม็ดกลมและเม็ดรี พบได้ทั้งสีทึบและสีใส โดยมีตั้งแต่ขนาด 200 มิลลิกรัม 400 มิลลิกรัม 600 มิลลิกรัม ไปจนถึง 800 มิลลิกรัม โดยยาแบบเม็ดและแคปซูลจะมีสีที่หลากหลาย เช่น สีชมพู สีเทา สีน้ำตาล สีเหลือง หรือที่คุ้นเคยกันในชื่อ Ibuprofen 400 mg สีเหลือง
ทั้งนี้ยา Ibuprofen (ไอบูโพรเฟน) แบบเม็ดหรือแคปซูลควรทานยาพร้อมกับมื้ออาหาร หรือหลังอาหาร เพื่อไม่ให้เกิดอาการระคายเคืองโรคกระเพาะ
2. ยา Ibuprofen แบบน้ำ
ยา Ibuprofen (ไอบูโพรเฟน) แบบน้ำจะพบได้ในลักษณะของยาน้ำเชื่อม เป็นหนึ่งในส่วนผสมของยาแก้ไอ ยาลดไข้ต่าง ๆ และยาแก้เจ็บคอ เนื่องจาก ibuprofen แก้เจ็บคอได้ โดยมีความเข้มข้น 100 มิลลิกรัมต่อยา 5 มิลลิลิตร เหมาะสำหรับเด็กเล็กที่อายุ 6 เดือนเป็นต้นไปเนื่องจากสามารถทานได้ง่าย
3. ยา Ibuprofen ชนิดทาภายนอก
พบได้ในรูปแบบของสเปรย์ เจล หรือครีม ซึ่งสะดวกต่อการใช้งาน ยาชนิดทาภายนอกนี้จะเหมาะสำหรับอาการปวดและอาการอักเสบที่เกี่ยวข้องกับกล้ามเนื้อ
วิธีใช้ยาไอบูโพรเฟนและปริมาณยาที่เหมาะสม
อย่างที่ทราบกันดีว่ายา Ibuprofen (ไอบูโพรเฟน) มีสรรพคุณในการรักษาโรคต่าง ๆ เช่น โรคปวดหัวจากความเครียดหรือไมเกรน โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคข้อเสื่อม และอื่น ๆ
แต่หากไม่ทราบวิธีใช้ยาและปริมาณยาที่เหมาะสมก็อาจจะส่งผลเสียต่อร่างกายแทนได้ วันนี้เราจึงนำความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับวิธีใช้ยาและปริมาณยาที่เหมาะสมมาฝาก ดังรายละเอียดต่อไปนี้
- หากทานยาตามแพทย์สั่ง ควรทานยาตามคำแนะนำของแพทย์ โดยหากมีข้อสงสัยหรือคำถามควรปรึกษาแพทย์ให้เข้าใจก่อนทานยา
- หากซื้อยาที่จำหน่ายตามคลินิกหรือร้านขายยาควรอ่านคำแนะนำและวิธีการใช้ยาตามคู่มืออย่างเคร่งครัด
- ไม่ควรนอนหลับทันทีหลังทานยา ควรเว้นระยะเวลาอย่างน้อย 10 นาที
- เมื่อทานยา Ibuprofen (ไอบูโพรเฟน) แล้วควรดื่มน้ำเปล่าหรือดื่มนม 1 แก้วตามทันที หรือทานอาหารลดกรดด้วย ก็จะช่วยลดผลข้างเคียงได้
- หากใช้ยา Ibuprofen (ไอบูโพรเฟน) กับเด็ก ควรพิจารณาถึงน้ำหนักตัวและขนาดของยาให้เหมาะสม เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
- โรคบางชนิดหรืออาการบางอาการอาจจะต้องใช้เวลาในการทานยานานถึง 2 สัปดาห์จึงจะเห็นผล
- ยาจะมีประสิทธิภาพสูงสุดหากทานเมื่อมีอาการปวดทันที
- หากทานยาชนิดนี้แล้ว แต่ยังมีอาการปวดหรืออักเสบอยู่ ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทันที
ปริมาณการใช้ยา Ibuprofen ที่เหมาะสม
ปริมาณการใช้ยา Ibuprofen สำหรับผู้ใหญ่ (แยกตามอาการ-โรค)
- ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่ที่เป็นข้ออักเสบรูมาตอยด์ : ทานยาในปริมาณ 400-800 มิลลิกรัม/วัน วันละ 3-4 ครั้งหรือทุก ๆ 6 – 8 ชั่วโมง
- ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่ที่เป็นโรคข้อเสื่อม : ทานยาในปริมาณ 400-800 มิลลิกรัม/วัน วันละ 3-4 ครั้งหรือทุก ๆ 6 – 8 ชั่วโมง
- ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่ที่เป็นไข้ : ทานยาในปริมาณ 200-400 มิลลิกรัม/วัน ทุก ๆ 4 – 6 ชั่วโมง
- ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่ที่ปวดประจำเดือน : ทานยาในปริมาณ 200-400 มิลลิกรัม/วัน ทุก ๆ 4 – 6 ชั่วโมงหรือเท่าที่จำเป็น
- ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่ที่มีอาการปวดหัวเล็กน้อย-ปานกลาง : ทานยาในปริมาณ 200 มิลลิกรัม แต่ถ้าหากอาการยังไม่ดีขึ้น ให้เพิ่มขนาดเป็น 400 มิลลิกรัม รับประทานทุก ๆ 4-6 ชั่วโมง ทั้งนี้ไม่ควรทานเกิน 1,200 มิลลิกรัม
ปริมาณการใช้ยา Ibuprofen สำหรับเด็ก
- ขนาดยาสำหรับเด็กที่มีอาการปวด : เด็กทารกและเด็กเล็ก ทานยา 4-10 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ทุก ๆ 6-8 ชั่วโมง ปริมาณยาสูงสุดต่อวันไม่เกิน 40 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
- ขนาดยาสำหรับเด็กที่เป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ : อายุตั้งแต่ 6 เดือน – 12 ปี ทาน 30-40 มิลลิกรัม/กิโลกรัม/วัน แบ่งทาน 3-4 ครั้ง
- ขนาดยาสำหรับเด็กที่เป็นไข้ : อายุตั้งแต่ 6 เดือน – 12 ปี
- สำหรับเด็กที่มีไข้ต่ำกว่า 39.2 องศาเซลเซียสควรทานยา 5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม/ต่อครั้ง ทุก ๆ 6-8 ชั่วโมง
- สำหรับเด็กที่มีไข้เท่ากับหรือเกินกว่า 39.2 องศาเซลเซียส ควรทานยา 10 มิลลิกรัม/กิโลกรัม/ต่อครั้ง ทุก ๆ 6-8 ชั่วโมง
- ขนาดยาสำหรับเด็กที่ป่วยเป็นโรคซิสติก ไฟโบรซิส (Cystic Fibrosis) : สำหรับผู้ที่มีอาการเรื้อรังที่เป็นมานานมากกว่า 4 ปี ควรทานยา Ibuprofen (ไอบูโพรเฟน) 2 ครั้ง/วัน และควรปรับขนาดยา เพื่อรักษาค่าของเหลวให้อยู่ในระดับ 50-100 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร
- ขนาดยาสำหรับเด็กที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจเกิน : ทารกอายุครรภ์ 32 สัปดาห์หรือน้อยกว่านั้นหรือเด็กที่มีน้ำหนักแรกเกิด 500-1500 กรัม ควรทานยา 10 มิลลิกรัม/กิโลกรัม หลังผ่านไป 24 และ 48 ชั่วโมงจึงทานยา Ibuprofen (ไอบูโพรเฟน) 5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม 2 ครั้ง
การใช้ยา Ibuprofen ชนิดทาภายนอก
- ครีม เจล หรือสเปรย์ที่มีส่วนผสมของตัวยา 5%
- ชนิดเจลที่มีส่วนผสมของตัวยา 10% บริเวณที่มีอาการปวด
การใช้ยา Ibuprofen รักษาไมเกรน
การใช้ยา Ibuprofen รักษาไมเกรนนั้นเป็นที่ได้รับความนิยม เนื่องจากมีมีฤทธิ์ในการยับยั้งการทำงานของ โพรสตาแกลนดินและยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ไซโคลออกซิจิเนส 1 และ 2 ซึ่งเป็นสรรพคุณในการบรรเทาอาการปวดต่าง ๆ รวมถึงอาการปวดหัวคิ้วหรือไมเกรน ดังนั้น เพียงแค่ทาน Ibuprofen ไมเกรนก็จะลดลงได้ภายใน 2 ชั่วโมง
ทั้งนี้อาจจะต้องปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้วย เนื่องจากยาไอบูโพรเฟน ชนิดนี้มีผลข้างเคียงและหากทานในปริมาณที่ไม่เหมาะสมก็อาจจะส่งผลเสียต่อสุขภาพของตนเองได้ แต่ถ้าหากใครจะลองรักษาไมเกรนด้วยกลุ่มยาตัวอื่น ๆ เราก็นำข้อมูลมาฝากเช่นเดียวกัน
กลุ่มยารักษาไมเกรนอื่นๆ
- Ergotamine
ergotamine หรือเออร์โกตามีน เป็นยารักษาไมเกรน ผ่านการกระตุ้นตัวรับของสารสื่อประสาทซีโรโทนิน (serotonin) ซึ่งส่งผลให้หลอดเลือดที่ขยายตัวผิดปกตินั้นกลับสู่ภาวะปกติ ซึ่งบรรเทาอาการปวดหัวหายได้
- Triptan
triptan หรือทริปแทน เป็นยาในกลุ่มแก้ปวดหัวไมเกรน โดยจะมีกลไกการออกฤทธิ์คล้ายกับ ergotamine เพียงแค่ 2 ชั่วโมงหลังทานยาดังกล่าว อาการปวดหัวไมเกรนก็จะดีขึ้นได้
ทางเลือกอื่นในการรักษาไมเกรน
อย่างไรก็ตาม หากรักษาด้วยการวิธีเบื้องต้นอย่างเลี่ยงอาหารกระตุ้นไมเกรน ใช้สมุนไพรรักษาไมเกรน
หรือทานยา ไอบูโพรเฟน แล้วไม่เห็นผลหรือเห็นผลน้อย ก็สามารถรักษาด้วยทางเลือกอื่น ๆ ดังนี้
- ฉีดยาไมเกรน
การฉีดยาไมเกรนนั้นสามารถบรรเทาอาการปวดหัว ลดความรุนแรง รวมถึงความถี่ของการเกิดอาการได้มากถึง 50-75% โเพียงแค่ฉีดยา 1 ครั้ง ตัวยาก็จะออกฤทธิ์ในการยับยั้งและบรรเทาอาการปวดหัวได้ยาวนานถึง 1 เดือน
- โบท็อกไมเกรน
นอกจากการฉีดโบท็อกจะช่วยสร้างเสริมความงาม ยกกระชับใบหน้า ลดริ้วรอยต่าง ๆ แล้ว ยังสามารถรักษาไมเกรนได้เป็นอย่างดีอีกด้วย นับว่าเป็นวิธีง่าย ๆ แต่เห็นผลเร็ว เพียงแค่ฉีดโบท็อกไมเกรนบริเวณใบหน้าระหว่างคิ้ว หน้าผาก ท้ายทอย ต้นคอ และบ่า โดยสารในโบท็อกก็จะเข้าไปทำหน้าที่ลดความรุนแรงในการปวดปวดหัวไมเกรน
หลังจากการฉีดประมาณ 3 – 4 วัน อาการก็จะดีขึ้น ในขณะเดียวกันผลลัพธ์ก็ยังคงอยู่นานถึง 3-4 เดือน ในปัจจุบันวิธีการฉีดโบท็อกไมเกรน จึงนับส่าเป็ยวิธีที่คุ้มค่า ผลข้างเคียงน้อย และได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก
- การฝังเข็มไมเกรน
การฝังเข็มนั้นถือเป็นหนึ่งในศาสตร์ของการแพทย์แผนจีนที่มีมาตั้งแต่ 7,000 ปีก่อน และยังสามารถรักษาไมเกรนในปัจจุบันได้ดี
หลักการทำงานของการฝังเข็มไมเกรน คือ แพทย์จะฝังเข็มตามจุดต่าง ๆ ของร่างกาย โดยเน้นที่จุดที่มีพลัง เพื่อปรับสมดุลอวัยวะในร่างกายให้กลับคืนสู่ปกติ เมื่อมีอาการปวดไมเกรน ก็จะสามารถช่วยรักษาและปรับสมดุลในร่างกายได้
ข้อควรระวังในการใช้ยา Ibuprofen
แม้ว่าจะมีสรรพคุณที่ดีต่อการรักษาโรคต่าง ๆ และบรรเทาอาการปวด แต่ก็มีข้อควรระวัง ดังนี้
- ไม่ควรใช้ Ibuprofen (ไอบูโพรเฟน) ติดต่อกันเป็นเวลานาน เนื่องจากจะก่อให้เกิดความเสี่ยงเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจวาย
- อาจก่อให้เกิดภาวะเลือดออกในช่องท้องและลำไส้ โดยเฉพาะในผู้ป่วยสูงอายุ
- หากทานยาขณะท้องว่างจะส่งผลเสียต่อ ต่อลำไส้และกระเพาะอาหาร
- สตรีมีครรภ์ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยา
- การใช้ยา ibuprofen ลดไข้ในเด็กหรือใช้ยา ibuprofen เด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี ต้องได้รับคำแนะนำจากแพทย์เท่านั้น
- ผู้ป่วยที่เป็นโรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด หอบหืด ความดันโลหิตสูง เบาหวาน คอเลสเตอรอลสูง โรคตับและไต ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาเสมอ
ใครที่ไม่ควรใช้ยา Ibuprofen
- ควรระวังการใช้ยากับผู้ป่วยโรคตับและไต
- ควรระวังการใช้ยากับผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดออก
- ควรระวังการใช้ยากับผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด
- ควรระวังการใช้ยากับผู้ป่วยทารกที่มีสารบิลิรูบินสูง
- ควรระวังการใช้ยากับผู้ป่วยสูงอายุ
- ควรระวังการใช้ยากับผู้ที่กำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร
- ไม่ใช้ยากับผู้ป่วยที่แพ้ยา Ibuprofen (ไอบูโพรเฟน), แพ้ยาแอสไพริน หรือยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) รวมถึงมีอาการภูมิแพ้อื่นๆ
- ไม่ใช้ยากับผู้ป่วยโรคหอบหืดและผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับเลือด
- ไม่ใช้ยากับผู้ป่วยที่มีอาการปวดระหว่างผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ
- ไม่ใช้ยากับผู้ป่วยที่เคยเป็นโรคแผลในกระเพาะอาหาร หรือมีเลือดออกในทางเดินอาหาร
- ไม่ใช้ยากับผู้ป่วยทารกที่เป็นโรคหัวใจแต่กำเนิด
ยาที่ไม่ควรใช้ร่วมกับยา Ibuprofen
- ยาแอสไพริน หรือยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) เช่น ยานาพรอคเซน (Naproxen) ยาเซเลคอคซิบ (Celecoxib) ยาไดคลอฟีแนค (Diclofenac) เป็นต้น
- ยาสเตียรอยด์
- ยาเมโทเตรเซท (Methotrexate)
- ยาหัวใจหรือความดัน เช่น ยาลิซิโนพริล (Lisinopril) ยาเบนาเซพริล (Benazepril) ยาเอนาราพริล (Enalapril) ยาควินาพริล (Quinapril) เป็นต้น
- ยาขับปัสสาวะ (ยาขับน้ำ) เช่น ยาฟูโรเซไมด์ (Furosemide) เป็นต้น
- ยาเจือจางเลือด เช่น ยาวาร์ฟาริน (Warfarin) เป็นต้น
- ยาลิเทียม (Lithium)
ผลข้างเคียงที่อาจได้รับจากยา Ibuprofen
ยาแต่ละชนิดเมื่อทานเข้าไปแล้วก็ย่อมส่งผลข้างเคียงต่อร่างกาย เช่นเดียวกับ Ibuprofen (ไอบูโพรเฟน) ที่จะส่งผลให้ร่างกายนั้นมีอาการ ดังนี้
- หอบหืด หายใจถี่ หายใจลำบาก
- ปัญหาการเลือดออกผิดปกติ เลือดจาง และลิ่มเลือด
- บวมน้ำบริเวณใบหน้า นิ้วมือ มือ เท้า เข่า และขาส่วนล่าง
- มีแผลหรือเลือดออกในกระเพาะหรือลำไส้
- หัวใจวายหรือหัวใจล้มเหลว
- ความดันโลหิตสูงขึ้น
- มีปัญหาเรื่องปัสสาวะ เช่น ปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะน้อยลง
- เวียนหัว คลื่นไส้ ท้องไส้ปั่นป่วน
ยา Ibuprofen ราคาเท่าไหร่
อย่างที่ทราบกันดีว่ายา Ibuprofen (ไอบูโพรเฟน) มีขายตามร้านขายยาโดยทั่วไป สามารถหาซื้อได้ง่าย สะดวก มีประสิทธิภาพสูง แต่ราคามาตรฐาน เนื่องจากยา Ibuprofen ราคาจะถูกกำหนดโดยองค์การอาหารและยา ดังนี้
- ยาบรูเฟน ชนิดเม็ด ราคา 0.6 บาท/1 เม็ด
- ยาบรูเฟน ชนิดแคปซูล ราคา 0.8 บาท/1 เม็ด
- ยาบรูเฟน ชนิดน้ำ ราคา 15 บาท/1 มิลลิลิตร
หากคิดเป็นแผงจะมีราคาดังนี้
- ยาบรูเฟน 400 มิลลกรัมชนิดเม็ด จำนวน 10 เม็ด/1 แผง ราคา 25-34 บาท
- ยาบรูเฟน 600 มิลลกรัมชนิดเม็ด จำนวน 10 เม็ด/1 แผง ราคา 40-50 บาท
- ยาบรูเฟน ชนิดแคปซูล จำนวน 10 เม็ด/1 แผง ราคา 80-100 บาท
- ยาบรูเฟน ชนิดน้ำ ปริมาณ 5 มิลลิลิตร/1 ขวด ราคา 40-80 บาท
วิธีเก็บรักษายา Ibuprofen
ตามปกติแล้วการเก็บรักษายาควรเก็บไว้ในอุณหภูมิที่ระบุตามฉลากหรือเอกสารกำกับยา โดย Ibuprofen (ไอบูโพรเฟน) นั้นควรเก็บที่อุณหภูมิ 20-25 องศาเซลเซียสและเก็บยาให้พ้นจากแสงแดด เพื่อให้คงประสิทธิภาพฤทธิ์ยาไว้
ปรึกษาการใช้ยารักษาไมเกรนกับผู้เชี่ยวชาญ
ทั้งนี้การใช้ยารักษาไมเกรนควรอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางเท่านั้น เพื่อป้องกันอันตรายที่เกิดจากการใช้ยา
โดย BTX Migraine Center ศูนย์รักษาไมเกรนเฉพาะทาง ที่ปลอดภัย มีเทคโนโลยีในการรักษาระดับดีเยี่ยม นอกจากนี่ยังมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านคอยให้คำแนะนำในการรักษาทั้งการใช้ยา Ibuprofen (ไอบูโพรเฟน) การรักษาด้วยวิธีเบื้องต้น เช่น วิธีนวดแก้ปวดไมเกรน ตลอดจนการรักษาทางการแพทย์ เช่น ฉีดยาไมเกรน ฝังเข็มไมเกรน เป็นต้น
ข้อสรุป
การรักษาไมเกรนด้วยยา Ibuprofen (ไอบูโพรเฟน) เป็นหนึ่งในวิธีที่ได้รับความนิยม เนื่องจากตัวยานั้นหาซื้อได้ง่าย มีหลายรูปแบบให้เลือกตามความสะดวกในการใช้งาน ประสิทธิภาพสูง ในขณะเดียวกันก็ราคาย่อมเยาว์
สำหรับผู้ที่สนใจรักษาไมเกรนด้วยยา Ibuprofen หรือวิธีอื่น ๆ กับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญของ BTX Migraine Center ศูนย์รักษาไมเกรนเฉพาะทางที่ได้รับการรองรับ สามารถแอดไลน์ @ayaclinic หรือโทร 090–970-0447 เพื่อรับคำปรึกษา ตรวจไมเกรน และนัดเข้ารักษาได้ทัน
เอกสารอ้างอิง (APA)
Ibuprofen Ann Intern Med. 1979 Dec;91(6):877-82. doi: 10.7326/0003-4819-91-6-877.Ibuprofen – PubMed (nih.gov)
Efficacy of low-dose ibuprofen in acute migraine treatment: systematic review and meta-analysis. Ann Pharmacother. 2007 Nov;41(11):1782-91. doi: 10.1345/aph.1K121. Epub 2007 Sep 18.Efficacy of low-dose ibuprofen in acute migraine treatment: systematic review and meta-analysis – PubMed (nih.gov)