วิธีการรักษาไมเกรนเบื้องต้นด้วยตัวเอง

รักษาไมเกรนด้วยตัวเอง

การรักษาไมเกรนด้วยตัวเอง เป็นการบรรเทาอาการปวดศีรษะที่ไม่จำเป็นต้องใช้ยาแก้ปวด โดยการรักษาไมเกรนด้วยวิธีธรรมชาติมีหลากหลายวิธีและสามารถทำได้ด้วยตัวเอง ทำให้คนไข้ไมเกรนสามารถลดการกินยาแก้ปวดลงไปได้ และเห็นผลได้จริง ด้วยวิธีการเหล่านี้

  1. ทำกิจกรรมที่ช่วยให้ผ่อนคลาย ลดอาการเครียด
  2. หลีกเลี่ยงปัจจัยที่สามารถกระตุ้นให้เกิดการปวดศีรษะไมเกรน เช่น นอนพักในที่มืดและเงียบสงบ พักสายตาจากหน้าจอ เป็นต้น
  3. ประคบเย็นบริเวณศีรษะที่มีอาการปวด
  4. นวดกดจุดบริเวณที่ปวดศีรษะ โดยสามารถทำได้ด้วยตัวเอง
  5. ปรับพฤติกรรมการนอน และการรับประทานอาหาร
  6. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

สารบัญบทความ

อาการปวดไมเกรนระดับใดที่สามารถรักษาด้วยตนเองได้

อาการปวดหัวไมเกรนที่สามารถรักษาได้ด้วยตนเอง ควรอยูในระดับ ปวดศีรษะปฐมภูมิ (Primary headaches) หากปวดหัวในระดับที่มากกว่านั้นควรพบแพทย์ เนื่องจาก เป็นกลุ่มอาการทั่วไปที่สามารถพบได้บ่อยที่สุด จากอาการไมเกรน โดยอาการปวดศีรษะแบบปฐมภูมิเกิดจากระบบรับความรู้สึกของระบบประสาทและสมองทำงานผิดปกติ จนเกิดอาการปวดหัว เป็นอาการปวดหัวที่เป็น ๆ หาย ๆ ไม่ได้เป็นโรคร้ายแรงใด ๆ จึงสามารถรักษาและบรรเทาอาการได้ด้วยตัวเอง

ไมเกรนเกิดกับใครได้บ้าง

ไมเกรนสามารถเกิดได้กับทุกเพศทุกวัย มักเกิดสูงสุดในช่วงอายุ ระหว่าง 25 – 45 ปี โดยเพศ ผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะเป็นไมเกรนมากกว่าผู้ชายถึง 3 เท่า นอกจากนี้เด็กก็สามารถเป็นไมเกรนได้เช่นกัน โดยจะเป็นได้ตั้งแต่เด็ก อายุ 7-8 ขวบ

วิธีการรักษาการปวดไมเกรน

วิธีการการรักษาไมเกรนสามารถแบ่งได้ดังนี้

  1. การรักษาไมเกรนด้วยตันเอง คือ การรักษาด้วยวิธีธรรมชาติ ใช้ในผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรงมาก โดยมีหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการ กดจุด นวดแก้ปวดไมเกรน นวดบริเวณคอหรือศีรษะเพื่อลดอาการเจ็บ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ พยายามเลี่ยงแสงและเสียงเพื่อไม่ให้อาการไมเกรนกำเริบ

การรักษาโดยใช้ยา เป็นการบรรเทาหรือป้องกันอาการไมเกรน โดยการรับประทานยาใจทันทีที่มีอาการไมเกรน จะช่วยให้ผลของยาป้องกันไมเกรนที่ใช้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

  • ยาป้องกัน ยาที่ใช้ป้องกันอาการไมเกรน ได้แก่ กลุ่มยาลดความดัน เช่น Propranobol กลุ่มยาต้านอาการซึมเศร้า Amitriptyline กลุ่มยากันชัก Valproate เป็นต้น
  • ยาแก้ปวดเฉียบพลัน ยาบรรเทาอาการปวดแบบไม่รุนแรง เช่น พาราเซตามอล ยาบรรเทาอาการปวดที่รุนแรง ได้แก่ ยากลุ่ม Triptans เป็นต้น

2. การรักษาแบบพบแพทย์ การวินิจฉัยและรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยการประเมินตามอาการของผู้ป่วย โดยจะแนะนำวิธีการรักษา เช่น ฝังเข็ม กระตุ้นด้วยคลื่นไฟฟ้า หรือ การฉีดโบท็อกซ์รักษาไมเกรน

  • ฝังเข็ม การฝังเข็มรักษาอาการไมเกรนเป็นวิธีการรักษาในทรงการแพทย์แผนจีน ซึ่งเป็นศาสตร์ที่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลาย และมีมานานกว่า 4,000 ปีแล้ว โดยการฝังเข็มจะช่วยให้เลือดลมไหลเวียนได้สะดวก และจะทำให้อาการไมเกรนลดงลง โดยจะฝังเข็มไปตามจุดต่างๆ บริเวณคอ บ่า ไหล่ หน้าผาก ศีรษะ เป็นต้น
  • กระตุ้นคลื่นไฟฟ้า เป็นการรักษาเพื่อลดและป้องกันอาการปวดศีรษะไมเกรน ซึ่งเป็นการรักษาที่มีความปลอดภัยสูง ไม่เจ็บปวด ไม่เป็นอันตราย ไม่ต้องใช้ยาสลบ ใช้เวลาไม่นานเพียง 30-60 นาทีเท่านั้น ซึ่งผลการรักษาด้วยคลื่นไฟฟ้าเป็นที่น่าพอใจ
  • ฉีดโบท็อกซ์ การฉีดโบท็อกซ์ไมเกรน หมอจะฉีดโบท็อกซ์บริเวณใบหน้า เช่น หน้าผาก ท้ายทอย ต้นคอ และบ่า เพื่อช่วยลดอาการปวดศีรษะ การฉีดโบท็อกซ์ จะเข้าไปทำให้กล้ามเนื้อที่หดเกร็งอยู่คลายตัวลง ทำให้อาการปวดศีรษะบรรเทาลง

แนวทางการป้องกันอาการปวดหัวเพราะนอนน้อยออกกำลังกายสม่ำเสมอ เช่น โยคะแก้ปวดหัว

ข้อดีของการรักษาการปวดไมเกรนด้วยตนเอง

ข้อดีของการรักษาการปวดไมเกรนด้วยตนเอง มีดังนี้

  1. ได้สังเกตและสาเหตุของการปวดไมเกรนของตนเองอย่างแท้จริง เพื่อหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่ทำให้ปวดไมเกรน เนื่องจากสาเหตุหรือตัวกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการไมเกรนนั้นแตกต่างกันไปในคนไข้แต่ละคน อาจเกิดจากความเครียด การทำงานที่หนักเกินไป หรือการเรียนที่ค่อนข้างใช้สมองในการคิดเยอะ บางรายอาจเกิดจากการพักผ่อนไม่เพียงพอ หรือการเลือกทานอาหารที่เป็นตัวกระตุ้นไมเกรน เป็นต้น
  2. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่กระตุ้นการเกิดไมเกรน เมื่อเรารู้ถึงสาเหตุแล้วเราก็จะสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เป็นตัวกระตุ้นการเกิดไมเกรนได้ด้วยตนเอง เพราะการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่กระตุ้นการเกิดไมเกรน ถือเป็นการรักษาที่ตรงจุดที่สุด และมีแนวโน้มสูงที่จะไม่กลับมาเป็นซ้ำ หากเราปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ที่สำคัญคือไม่ต้องเจ็บตัวและไม่มีค่าใช้จ่ายในการรักษา

วิธีแก้ไมเกรนโดยวิธีธรรมชาติ

วิธีการบรรเทาอาการปวดศีรษะ ไมเกรนโดยที่ไม่ต้องใช้ยา ซึ่งเหมาะกับคนที่ไม่ต้องการใช้ยาสามารถทำได้ดังนี้

ฟีเวอร์ฟิว (feverfew)

เป็นสมุนไพรโบราณที่ใช้รักษาโรคไมเกรน มีทั้งในรูปแบบของชาหรือ การรับประทานแบบสด หรือการผสมในอาหารก็ โดยมีงานวิจัยรองรับว่าสมุนไพรชนิดนี้มีสารเคมีที่สามารถช่วยลดอาการปวดหัวอย่างได้ผล

น้ำมันเปปเปอร์มิ้นท์ หรือ น้ำมันดอกลาเวนเดอร์

ทุกคนคงทราบดีว่ากลิ่นของเปปเปอร์มิ้น และลาเวนเดอร์ ช่วยให้ผ่อนคลาย ยังมีสรรพคุณซึ่งช่วยบรรเทาการเจ็บปวด ซึ่งรวมถึงอาการปวดหัวจากโรคไมเกรนด้วย ที่นิยมก็จะเป็นในรูปแบบของยาดม ยาหม่อง เทียนหอม เป็นต้น

ขิง

ขิงสามารถบรรเทาอาการปวดไมเกรนได้มากถึง 60% เนื่องจากขิงมีฤทธิ์ในการลดกระบวนการอักเสบ ลดอาการปวดในร่างกาย อีกทั้งขิงยังมีสรรพคุณในการแก้คลื่นไส้ อาเจียน เวียนหัว ซึ่งอาการดังกล่าวมักพบว่าเป็นอาการนำก่อนที่จะมีอาการปวดไมเกรน

วาเลอเรียน (Valerian)

วาเลอเรียนนิยมใช้เพื่อลดอาการวิตกกังวลและความเครียดทางจิตใจ อีกทั้งยังสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดหัวไมเกรนที่เกิดจากความเครียดอีกด้วย

คาเฟอีน

หลายคนอาจเคยได้ยินว่าคาเฟอีนเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการไมเกรน แต่รู้หรือไม่ว่าคาเฟอีนสามารถลดอาการปวดหัวไมเกรนได้ด้วย เนื่องจากสารกาเฟอีน ที่ออกฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทนั้น จะเข้าไปทำงานออกฤทธิ์หดหลอดเลือดที่กำลังโป่งพองที่ศีรษะ ขณะมีอาการปวดไมเกรน ทำให้อาการไมเกรนทุเลาลงชั่วขณะ

ดื่มน้ำให้เพียงพอ

การดื่มน้ำให้เพียงพอช่วยให้อาการปวดไมเกรนลดลงได้ เพราะผลการวิจัยบอกว่า หากผู้ป่วยไมเกรน ร่างกายขาดน้ำก็จะยิ่งปวดไมเกรนมากขึ้น จึงควรดื่มน้ำเพื่อช่วยลดอาการดังกล่าว

ปรับอุณหภูมิบริเวณศีรษะให้เย็นลง

ปรับอุณหภูมิบริเวณศีรษะให้เย็นลง โดยการประคบเย็นบริเวณหน้าผากและคอบริเวณท้ายทอยหรือบริกเวณที่มีอาการปวด ก็สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดไมเกรนได้ โดยให้ทำแบบนี้สลับกันทุก ๆ 2-3 นาที เป็นเวลา 15 นาที จะช่วยลดการอักเสบ ชะลอกระแสประสาทและการไหลเวียนของโลหิต เพิ่มความผ่อนคลายและความสดชื่น ที่สำคัญคือช่วยให้อาการปวดหัวบรรเทาลง

ดื่มน้ำเปล่าเพิ่มความชุ่มชื้นให้ร่างกาย

แนวทางการบรรเทาอาการปวดไมเกรน

ความรุนแรงของอาการปวดไมเกรนว่านอกจากวิธีการใช้ธรรมชาติบำบัดอาจใช้วิธีอื่นร่วมด้วย ดังนี้

การดูแลตัวเอง

การดูแลตัวเอง ตั้งแต่เรื่องอาหารการกิน ต้องรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ไม่อยู่ในกลุ่มอาการที่จะกระตุ้นอาการไมเกรน การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ช่วยให้สมองปลอดโปร่งและมีร่างกายที่แข็งแรง หรือแม้แต่การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ต้องให้การนอนหลับของเรามีคุณภาพมกาที่สุด

หลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้น

  1. ช่วงอายุ อายุโดยเฉลี่ยของผู้ป่วยไมเกรนจะอยู่ที่ช่วงระหว่าง 15-30 ปีหรือช่วงวัยรุ่นและวัยทำงานตอนต้นนั่นเอง
  2. พันธุกรรม กรรมพันธุ์ พันธุกรรมของโรคไมเกรนที่ได้รับมาจากพ่อแม่
  3. ฮอร์โมนเพศหญิง ความเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเพศหญิง ทั้งช่วงมีประจำเดือน ช่วงระหว่างตั้งครรภ์ ช่วงหมดประจำเดือน หรือแม้แต่การรับประทานยาคุมกำเนิด
  4. อาหาร อาหารบางชนิดเป็นตัวกระตุ้นให้อาการไมเกรนกำเริบ เช่น ชีส ไวน์แดง ช็อคโกแล็ต น้ำตาลเทียม ผงชูรส ชา และกาแฟ
  5. สิ่งแวดล้อม อากาศร้อนและบริเวณที่มีฝุ่นควันเป็นสิ่งกระตุ้นไมเกรน
  6. นิสัยการนอน เช่น การนอนดึก นอนไม่พอ นอนมากเกินไป หรือการนอนที่ไม่มีคุณภาพ
  7. ความเครียด ความเครียดที่มากเกืนไปกระตุ้นให้เกิดอาการไมเกรน
  8. ความเหนื่อยล้า อาการเหนื่อยล้าจากการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากเกินไป เช่น การออกกำลังอย่างหนัก
  9. การทำงานหนัก การจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากเกินไปทำให้อาการไมเกรนกำเริบ เช่น การนั่งทำงานหน้าจอคอมเป็นเวลานาน
  10. การทานอาหาร การทานอาหารไม่ตรงเวลาหรือการอดอาหารทำให้เกิดอาการไมเกรน

นวดกดจุด

  1. การกดจุด หมายถึงการนวดจุดๆ นั้นโดยใช้ปลายนิ้วมือที่เล็บสั้น
  2. เริ่มการกดจุดโดย กดให้ถูกจุด จากนั้นจะให้ความรู้สึกได้ดีกว่าบริเวณรอบๆ และควรกดจุดให้แรงพอเพื่อให้อาการบรรเทาลง
  3. แนะนำให้ใช้นิ้วชี้ในการนวดกดจุด โดยให้ปลายนิ้วมือตั้งฉากกับผิวหนังและนวด โดยการนวดควรนวดประมาณ 30 ครั้ง ต่อ 10 วินาที หรือ 70-100 ครั้งต่อนาที
  4. หาเป็นบริเวณใบหูอาจจะใช้ปลายนิ้วก้อยนวด หรือปลายดินสอ ได้ เนื่องจากบริเวณใบหูเล็กและแคบกว่าส่วนอื่นของร่างกาย

รับประทานอาหารป้องกันไมเกรน

  1. แซลมอน แซลมอน ถือเป็นสัตว์มีคุณค่าทางอาหารสูง มีทั้งโอเมก้า 3 ที่ช่วยลดการอักเสบ บำรุงหลอดเลือดแดง อุดมไปด้วยวิตามินบี 2 ซึ่งเป็นสารอาหารที่สามารถช่วยรับมือกับอาการปวดหัวไมเกรนได้
  2. กุ้ง อาหารอีกหนึ่งชนิดที่ช่วยต้านไมเกรนได้เป็นอย่างดี มีสาร Astaxanthin ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ที่ช่วยต้านการอักเสบ แถมยังช่วยลดอาการปวดหัวจากไมเกรนได้อีกด้วย
  3. เครื่องในสัตว์เป็นอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ และสารอาหารหลายชนิด ที่สามารถช่วยรับมือกับอาการปวดหัวไมเกรนได้เป็นอย่างดี
  4. แครอท มีเบต้าแครอทีน (Beta-Carotene) และสารอาหารอีกหลายชนิดที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ช่วยลดอาการปวดหัวไมเกรนได้เป็นอย่างดี
  5. มันเทศ มีส วิตามินบี 1, บี 2, บี 6, วิตามินซี, ฟอสฟอรัส, แมงกานีส และโพแทสเซียม ที่สามารถช่วยรับมือกับอาการปวดศีรษะไมเกรนได้
  6. ควินัว อาหารที่คนรักสุขภาพต้องรู้จัก ควินัวจัดเป็น Superfood ที่มีสารอาหารหลากหลายชนิด อ่อนโยนต่อระบบทางเดินอาหาร ช่วยลดอาการปวดหัวจากไมเกรนได้
  7. เคล อาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง มีสารอาหารที่จะช่วยให้ร่างกายต่อสู้กับอาการไมเกรนได้เป็นอย่างดี เช่น ไฟเบอร์, แมคนีเซียม และโอเมก้า 3 เป็นต้
  8. น้ำเปล่า การดื่มน้ำให้เพียงพอช่วยให้อาการปวดไมเกรนลดลงได้ เพราะผลการวิจัยบอกว่า หากผู้ป่วยไมเกรน ร่างกายขาดน้ำก็จะยิ่งปวดไมเกรนมากขึ้น จึงควรดื่มน้ำเพื่อช่วยลดอาการดังกล่าว
  9. ขิงสามารถบรรเทาอาการปวดไมเกรนได้มากถึง 60% เนื่องจากขิงมีฤทธิ์ในการลดกระบวนการอักเสบ ลดอาการปวดในร่างกาย อีกทั้งขิงยังมีสรรพคุณในการแก้คลื่นไส้ อาเจียน เวียนหัว ซึ่งอาการดังกล่าวมักพบว่าเป็นอาการนำก่อนที่จะมีอาการปวดไมเกรน

ข้อสรุป

สำหรับคนที่ปวดไมเกรน และไม่สามารถรักษาได้โดยวิธีทางธรรมชาติ อาจจะต้องได้รับการวินิจฉัยทางการแพทย์ เพิ่มเติม

หากพบว่าตนเองหรือคนใกล้ตัวมีอาการวิงเวียนศีรษะ บ้านหมุน คลื่นไส้ หรืออาเจียนควรปฏิบัติตามแนวทางการรักษา ยิ่งถ้ามีอาการเวียนหัวรุนแรง อาจจะต้องปรึกษาแพทย์ เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุที่แท้จริง และทำการรักษาได้อย่างตรงจุด
ซึ่งหากใครกำลังมองหาที่รักษาก็สามารถแอดไลน์ @ayaclinic หรือโทรเบอร์ 090–970-0447 เพื่อปรึกษา ขอคำแนะนำ หรือจองคิวฉีดโบท็อกไมเกรน เพื่อลดอาการไมเกรน เวียนหัวและปวดหัวรูปแบบต่าง ๆ กับทางแพทย์ผู้เชี่ยวชาญของ BTX Migraine Center ศูนย์รักษาไมเกรนเฉพาะทางที่ปลอดภัยและทันสมัยได้ทันที

แอดไลน์

เอกสารอ้างอิง

https://www.migraineagain.com/10-foods-that-help-migraine/

https://www.scmp.com/news/hong-kong/education/article/3207162/number-ethnic-minority-students-special-education-needs-hong-kong-schools-underestimated-says-ngo?module=perpetual_scroll_2&pgtype=article&campaign=3207162

https://pdfs.semanticscholar.org/68b1/131fec0dfc227ddf5a291384059b7e517502.pdf?_ga=2.221469912.1910126796.1615368643-1089673905.1608626583