ทำไมอากาศร้อนแล้วปวดหัว? สาเหตุปวดหัวไมเกรนจากอากาศร้อน มีวิธีรักษาอย่างไร

ทำไมอากาศร้อนแล้วปวดหัว

ประเทศไทยเป็นเมืองอากาศร้อน ที่แม้ว่าจะมีการระบุอย่างชัดเจนว่าเมืองไทยมี 3 ฤดู แต่ส่วนใหญ่ก็จะเจอแต่ฤดูร้อน จนบางที่อากาศร้อน ปวดหัวหรืออาการรู้สึกไม่สบายตัวก็จะตามมาโดยปริยาย

บทความนี้เราจึงจะพาทุกคนไปหาคำตอบว่าอากาศร้อนแล้วปวดหัวมีสาเหตุมาจากอะไร? ใครที่จะมีอาการเหล่านี้ ตลอดจนอากาศร้อนปวดหัว วิธีแก้ทำได้แบบไหนบ้าง?


สารบัญบทความ


อากาศร้อน ปวดหัว (Heat Headaches)

อากาศร้อน ปวดหัว (Heat Headaches)

อาการปวดหัวเนื่องจากอากาศร้อนถือเป็นอาการปวดหัวแบบปฐมภูมิ ซึ่งจะเป็นอาการปวดศีรษะที่มีความเชื่อมโยงกับโรคไมเกรน โดยมีลักษณะเด่น คือ ปวดตุบๆ ปวดหัวข้างเดียว และบางครั้งก็มีอาการเวียนหัว คลื่นไส้ร่วมด้วย

สาเหตุที่ทั้งสองสิ่งนี้เกี่ยวข้องเชื่อมโยงกันเป็นเพราะว่าอาการปวดหัวไมเกรนจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อมีปัจจัยกระตุ้น เช่น สี กลิ่น เสียง โดยเฉพาะแสงแดดจ้าและการอยู่ท่ามกลางอากาศร้อนนั่นเอง


ทำไมเจออากาศร้อนแล้วจึงปวดหัว

ทำไมเจออากาศร้อนแล้วจึงปวดหัว

เป็นเรื่องธรรมดาสำหรับภูมิอากาศในประเทศไทยที่จะร้อนรุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูร้อน เดือนเมษายนที่ส่งผลให้หลายๆ คนพบเจอกับอากาศร้อนจนปวดหัว เนื่องจากเมื่ออากาศร้อนมากๆ จะส่งผลทำให้หลอดเลือดแดงบีบและหดตัวมากกว่าปกติ ส่งผลให้เรารู้สึกปวดหัวเพราะอากาศร้อน

ปัจจัยกระตุ้นอาการปวดหัวจากอากาศร้อน

โดยปัจจัยที่เป็นตัวประตุ้นให้เกิดอาการปวดหัวจากความร้อน มีดังนี้

  • พักผ่อนไม่เพียงพอ นอนน้อย ปวดหัวบ่อยๆ 
  • ร่างกายที่เหนื่อยล้าจากการทำงานหนักหรือไม่ได้พักผ่อน
  • ดื่มน้ำไม่เพียงพอ 
  • อากาศร้อน แสงจ้า จากทั้งแสงแดดธรรมชาติ แสงจากคอมพิวเตอร์ และแสงจากโทรศัพท์มือถือ
  • เกิดภาวะเครียดระยะยาวกลายเป็นความเครียดสะสม
  • กลิ่นแรง เช่น กลิ่นควันท่อไอเสีย กลิ่นบุหรี่ กลิ่นน้ำหอม หรือสารเคมี 
  • เสียงที่ดัง เช่น เสียงท่อรถ เสียงก่อสร้าง เสียงเพลงดังๆ 

อากาศร้อนกระตุ้นปวดหัวไมเกรนอย่างไร

อากาศร้อน ปวดหัวไมเกรน เกิดจากสารเคมีในสมองที่เปลี่ยนแปลงไป และส่งผลให้ร่างกายเพิ่มปริมาณฮอร์โมนเซโรโทนิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำให้เกิดความเครียดสูง เป็นสาเหตุของอาการไมเกรน 

นอกจากนี้การที่เจออากาศร้อนแล้วปวดหัวไมเกรน ยังเกิดจากการที่ร่างกายทำงานอย่างหนัก ระบบและอวัยวะต่างๆ ทำงานมากกว่าปกติ ส่งผลให้อัตราการเต้นของหัวใจสูงขึ้น ระบบไหลเวียนโลหิตบีบและคลายตัวมากกว่าปกติจนทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ

รู้จักโรคไมเกรน (Migraine)

โรคไมเกรน ยังไม่สามารถหาสาเหตุได้อย่างแน่ชัด แต่จากการศึกษาพบว่าเกิดจากการบีบและคลายตัวของหลอดเลือดแดงที่มากกว่าปกติ โดยมีปัจจัยกระตุ้นหลายอย่าง เช่น ฮอร์โมน สภาพแวดล้อม อากาศร้อน ความเครียด รวมถึงอาหารกระตุ้นไมเกรน ส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดอาการปวดหัวท้ายทอย ปวดบริเวณรอบหัว ปวดกระบอกตา เป็นต้น

นอกจากอาการปวดหัวข้างซ้าย หรือบริเวณต่างๆ แล้ว โดยในบางรายอาจจะมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ตาพร่ามัว เวียนหัว เห็นแสงวูบวาบ คลื่นไส้ อาเจียน เลือดกำเดาไหล เป็นต้น


 

ปวดไมเกรนจากอากาศร้อน VS ปวดหัวจากอากาศร้อน

หลายๆ คนอาจจะสงสัยว่าเจออากาศร้อนแล้วปวดหัวกับเจออากาศร้อนแล้วปวดหัวไมเกรนต่างกันอย่างไร คำตอบคือหากเป็นการปวดหัวทั่วไป จะมีลักษณะอาการปวดหัวร่วมกับอาการเจ็บปวดบริเวณคอ บ่า ไหล่ เส้นคอตึง ไปจนถึงอาการปวดตา

แต่อาการปวดหัวไมเกรนจะมีอาการทางระบบประสาทเพิ่มเติม และจะกินระยะเวลาในการปวดนานกว่าปกติ อาจจะหลายชั่วโมง หลายวัน จนเกิดเป็นอาการปวดหัวเรื้อรัง เกิดขึ้นซ้ำๆ อีกทั้งในบางรายก็มีอาการไวต่อแสง สี เสียง ประสิทธิภาพในการมองเห็นลดลง ตลอดจนปวดหัวคลื่นไส้ร่วมด้วย


อากาศร้อนจนปวดหัว..แบบไหนควรพบแพทย์

อากาศร้อนจนปวดหัว..แบบไหนควรพบแพทย์

อากาศร้อน ปวดหัวจี๊ดๆ พบได้บ่อยๆ แต่บางครั้งเมื่อมีปัจจัยกระตุ้นในรูปแบบต่างๆ ก็อาจจะส่งผลให้เกิดอาการดังต่อไปนี้ ซึ่งไม่ควรมองข้ามและควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทันที

  • เวียนหัวบ่อยๆ 
  • กระหายน้ำอย่างรุนแรง
  • ระดับความอยากอาหารเปลี่ยนแปลงไป
  • อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นมากกว่า 40 °C
  • คลื่นไส้ มีอาการเกี่ยวกับอาหาร
  • เหงื่อออกตลอดเวลา
  • ความผิดปกติขิงสีผิว มีการทำลายเซลล์เม็ดสี
  • พูดไม่ชัดหรือสับสน

การวินิจฉัยอาการปวดหัวจากอากาศร้อน

แม้ว่าอากาศร้อน ปวดหัวจะเกิดขึ้นในทุกเพศทุกวัย แต่บางครั้งหากมีอาการรุนแรง หรือกินระยะเวลานานก็อาจจะเป็นสัญญาณเตือนของอาการหรือความผิดปกติของร่างกายได้ ดังนั้น จึงควรเข้ารับการวินิจฉัยกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ในเบื้องต้นคือตรวจสอบประวัติทางการแพทย์ สอบรายละเอียดของอาการปวดหัว ตรวจร่างกายทั่วไปๆ ก่อนจะตรวจอย่างละเอียด ดังนี้ 

การตรวจ CT SCAN

การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์เป็นหนึ่งในทางเลือกสำหรับการรักษาที่ได้รับความนิยม โดยจะใช้การเอกซเรย์ เพื่อหาความผิดปกติของอวัยวะในร่างกาย  เพื่อฉายภาพบนจอ ใช้เวลาตรวจเพียงสั้นๆ 10-15 นาทีเท่านั้น

การตรวจ MRI 

MRI คือ การตรวจโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า กล่าวคือจะสร้างสนามแม่เหล็กไฟฟ้าโดยรอบ จากน้ันจะฉายผลลัพธ์ออกมา สำหรับวิธีการวินิจฉัยรูปแบบนี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อร่างกาย ปลอดภัย และสามารถตรวจวินิจฉัยโรคได้อย่างละเอียด

การเจาะน้ำไขสันหลัง

การเจาะน้ำไขสันหลังจะใช้สำหรับการหาเชื้อ มะเร็ง การแพร่กระจายของไวรัสหรือโรคต่างๆ โดยจะทำการแทงเข็มเพื่อดูดน้ำหล่อเลี้ยงสมองและน้ำไขสันหลังไปวิเคราะห์และวินิจฉัยอย่างละเอียด เพื่อหาความผิดปกติของร่างกาย 


วิธีแก้อาการปวดหัวจากอากาศร้อน

คำถามที่หลายๆ คนมักจะสงสัยในลำดับต่อมาคือ ปวดหัวเพราะอากาศร้อน แก้ยังไง คำตอบคือ สามารถแก้ได้หลายวิธี โดยเริ่มจากการใช้วิธีแก้ปวดหัวเบื้องต้น ดังนี้

1. หลีกเลี่ยงบริเวณที่มีอากาศร้อน

หลีกเลี่ยงบริเวณที่มีอากาศร้อน

อย่างที่ทราบกันดีว่าอากาศร้อน แดดจ้า เป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดอาการปวดหัวได้ง่ายๆ ทางที่ดีจึงควรเลี่ยงบริเวณที่มีอากาศร้อน และควรพักอาศัยอยู่ในที่ที่อุณหภูมิเหมาะสม แต่หากใครที่มีความจำเป็นต้องการทำงานหรืออยู่ที่กลางแจ้ง ควรป้องกันตนเองโดยการใส่เสื้อผ้าให้มิดชิด สวมแว่นตา หรือหมวก ป้องกันแสงแดดและอากาศร้อน ปวดหัว

2. ประคบเย็นเพื่อลดอุณหภูมิร่างกาย

ประคบเย็นเพื่อลดอุณหภูมิร่างกาย

เมื่อปวดหัวแดดร้อน วิธีแก้ไขและบรรเทาอาการด้วยตนเองคือ ใช้ผ้าเย็น ผ้าชุบน้ำเย็นบิดหมาดๆ หรือผ้าห่อนำแข็งนำมาประคบบริเวณหัวหรือจุดที่ปวดทิ้งไว้ 10-15 นาที การประคบเย็นนี้จะช่วยให้เส้นเลือดบริเวณผ่อนคลาย ลดอาการตึง หรือลดการอักเสบ ตลอดจนลดอาการปวดหัวข้างขวา หรือปวดบริเวณอื่นๆ ได้

3. เลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน

เลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน

เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ โกโก้ จะทำให้ร่างกายนั้นทำงานผิดปกติ ส่งผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้เกิดอาการปวดหัวไมเกรนได้ แต่หากจะเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนโดยเด็ดขาดจะส่งผลให้ปวดหัวได้เช่นกัน ทางที่ดีควรค่อยๆ ลดปริมาณต่อวันลง

4.ดื่มน้ำเปล่าเพิ่มความชุ่มชื้นให้ร่างกาย

ดื่มน้ำเปล่าเพิ่มความชุ่มชื้นให้ร่างกาย

แม้ว่าจะเป็นเพียงน้ำเปล่า แต่ก็สามารถช่วยให้ร่างกายชุ่มชื้นและลดอาการปวดหัวเพราะอากาศร้อนได้อย่างดี แต่หากใครที่ไม่ชอบดื่มน้ำเปล่าหรือต้องการดื่มเครื่องดื่มที่มีรสชาติ อาจจะผสมน้ำผึ้ง น้ำมะนาว หรือดื่มน้ำผลไม้ที่มีน้ำสูง เช่น แตงโม ส้ม ก็จะลดอาการปวดหัวอากาศร้อนได้เช่นกัน

5. รับประทานยาแก้ปวดหัวไมเกรน

รับประทานยาแก้ปวดหัวไมเกรน

หากใครที่ต้องการแก้อาการปวดหัวแบบเร่งด่วน อาจจะเลือกทานยาแก้ปวด โดยเฉพาะยาไมเกรน เช่น ยากลุ่ม Ibuprofen ต้านอาการอักเสบไร้สเตียรอย (NSAIDs) นิยมนำมาใช้ในการรักษาอาการปวด ยากลุ่ม Ergotamine ปรับให้หลอดเลือดหรือสารต่าง ๆ ทำงานได้ปกติ และยากลุ่ม Triptan ยาแก้ปวดไมเกรนและใช้บรรเทาอาการปวดอื่นๆ 

6. พบแพทย์หากอาการไม่ดีขึ้น

พบแพทย์หากอาการไม่ดีขึ้น

สุดท้ายนี้ หากมีอาการปวดหัวจากอากาศร้อน และลองทำตามวิธีแก้ปวดในข้างต้นแล้ว แต่อาการยังไม่ดีขึ้น หรือยังคงปวดหัวต่อเนื่อง อาจจะต้องเข้าปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อทำการวินิจฉัยดังที่กล่าวมาในข้างต้น จากนั้นจึงจะรักษาให้ถูกต้อง เหมาะสม ตามลำดับอาการต่อไป


แนวทางป้องกันดูแลตัวเองเมื่ออาการร้อน ปวดหัวไมเกรน

แนวทางป้องกันดูแลตัวเองเมื่ออาการร้อน ปวดหัวไมเกรน

สำหรับใครที่ต้องการป้องกันและดูแลตัวเองในช่วงเข้าสู่ฤดูร้อนหรือเมื่อมีอากาศร้อนสูง อาจจะทำตามวิธีป้องกัน เพื่อป้องกันเมื่อเจออากาศร้อนแล้วปวดหัว ดังต่อไปนี้

  • ดื่มน้ำเปล่าหรือเครื่องดื่มแก้ปวดหัวให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย เพื่อป้องกันการกระหายน้ำและเพิ่มความชุ่มชื้น 
  • หลีกเลี่ยงการอยู่ในพื้นที่ที่มีแสงแดดจ้า
  • พักผ่อนในพื้นที่ที่เหมาะสม เงียบสงบ ไม่มีสิ่งเร้า อุณหภูมิเย็นเหมาะสม
  • หากจำเป็นต้องออกแดดควรใส่หมวก เสื้อคลุม แว่นกันแดด ตลอดจนทาครีม
  • หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายในที่กลางแจ้ง แต่ควรออกกำลังกายอย่างเหมาะสม เช่น โยคะแก้ปวดหัว พิลาทิส วิ่ง เป็นต้น
  • รับประทานอาหารให้ครบทุกมื้อ โดยเฉพาะอาหารมื้อเช้า โดยเน้นทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย

ข้อสรุป

เนื่องจากเมืองไทยเป็นเมืองในภูมิประเทศเขตร้อน ทำให้อากาศร้อนแทบจะตลอดทั้งปี ดังนั้น หลายๆ คนจึงอาจจะเผชิญกับอาการปวดหัวเพราะอากาศร้อนบ่อยๆ ซึ่งก็ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรม รักษา และหาทางป้องกันอย่างถูกวิธี

ทั้งนี้ หากใครที่ต้องการรักษาไมเกรนอย่างปลอดภัย ตรวจไมเกรนด้วยวิธีที่ถูกต้องเหมาะสม เพื่อเช็กระดับอาการ ก่อนจะเข้ารักษาด้วยการฉีดโบท็อกไมเกรนหรือวิธีทางการแพทย์ เพียงแค่แอดไลน์ @ayaclinic หรือโทร 090–970-0447 ก็จะสามารถรักษาอาการปวดหัวไมเกรนจากอากาศร้อนกับ BTX Migraine Center ศูนย์รักษาไมเกรนเฉพาะทางได้ง่ายๆ 

แอดไลน์


เอกสารอ้างอิง

Healthcare Associates of Texas. (2022). Heat Headaches: Causes, Symptoms, Treatment, and More. Retrieve from https://healthcareassociates.com/heat-headaches-causes-symptoms-treatment-and-more/

Jenna Fletcher. (2020). Heat headaches: What causes them?. Retrieve from https://www.medicalnewstoday.com/articles/heat-headache