ปวดท้ายทอย ปวดต้นคอ อาการปวดเรื้อรัง มีวิธีการรักษาอย่างไร
ไม่ว่าจะวัยรุ่น วัยทำงาน หรือผู้สูงอายุ หลายๆ ก็จะเผชิญกับปัญหากวนใจเดียวกันคือ ปวดท้ายทอยหรือปวดหัวท้ายทอย โดยมีลักษณะอาการที่ต่างกันออกไป ซึ่งบางท่านอาจจะไม่ทราบสาเหตุหรือไม่มีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวิธีการรักษามากนัก
ดังนั้น วันนี้เราจึงรวบรวมช้อมูลและรายละเอียดต่างๆ เพื่อนำมาฝากและคลายข้อสงสัย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องปวดท้ายทอยสาเหตุเกิดจากอะไร วิธีแก้ปวดต้นคอท้ายทอยทำอย่างไร ลักษณะอาการมีแบบไหนบ้าง ตลอดจนวิธีรักษาอาการปวดท้ายทอยทำได้ด้วยวิธีใด
สารบัญบทความ
- ปวดท้ายทอย
- ปวดท้ายทอย เกิดจากสาเหตุใด
- ปวดท้ายทอย อาการเป็นอย่างไร
- เมื่อไหร่ควรพบแพทย์
- การวินิจฉัยอาการปวดหัวท้ายทอย
- แนวทางการรักษาอาการปวดหัวท้ายทอย
- ปรับพฤติกรรม..ป้องกันปวดหัวท้ายทอย
- ข้อสรุป
ปวดท้ายทอย
อาการปวดหัวท้ายทอย ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นบนเวณใต้ฐานกะโหลกศีรษะหรือท้ายทอย โดยจะมีอาการหลากหลาย เช่น ปวดลึกๆ ข้างใน ปวดท้ายทอยด้านขวา ปวดท้ายทอยเวลาก้มหัว ตลอดจนปวดท้ายทอยเวลานอน ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าการปวดท้ายทอยนี้มีลักษณะอาการหลายแบบ ซึ่งก็เกิดจากหลายๆ สาเหตุขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันที่มีอาการเครียด การนอนหลับไม่เพียงพอ การใช้สมองอย่างหนัก ใช้งานท่าเดิมๆ ซ้ำๆ ทำให้จากเดิมที่บริเวณคอหรือท้ายทอยต้องเป็นตัวส่งผ่านน้ำหนักของร่างกาย ทำงานหนักขึ้น ส่งผลให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง เกร็งตัว ตลอดจนปวดคอและปวดหัวท้ายทอยนั่นเอง
ปวดท้ายทอย เกิดจากสาเหตุใด
ดังที่กล่าวมาในข้างต้น การปวดท้ายทอยนั้นเกิดได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งโดยส่วนมากมักมีอาการปวดหัวร่วมด้วย ดังนั้นหากใครที่มีอาการอาจจะต้องสังเกตตนเองอย่างสม่ำเสมอ เพื่อหาสาเหตุและวิธีรักษาที่เหมาะสม วันนี้เราจึงรวบรวมข้อมูลของสาเหตุต่างๆ มาฝาก ดังนี้
1. ปวดท้ายทอยจากกล้ามเนื้อตึงตัว (Tension Headache)
ปวดท้ายทอยจากกล้ามเนื้อตึงตัว เป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้ให้เกิดอาการปวดหัวท้ายทอย เนื่องจากกลไกการทำงานของกล้ามเนื้อเกร็งตัวบริเวณโดยรอบศีรษะ ส่งผลให้เกิดอาการปวดหัวตรงท้ายทอยในบางท่านจะส่งผลให้เกิดอาการปวดร้าวมายังบริเวณบ่า ไหล่ คอ และท้ายทอย
อาการมักเกิดขึ้นในผู้ป่วยกลุ่มใด : พบได้ในทุกเพศ ตั้งแต่ช่วงวัยรุ่น วัยทำงาน ตลอดจนผู้สูงอายุ
2. เส้นประสาทต้นคออักเสบ (Occipital Neuralgia)
อาการปวดหัวท้ายทอยนี้จะเกิดจากภาวะหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทบริเวณต้นคอ ส่งผลให้กล้ามเนื้อหลังคอยึดตึง จนมีอาการปวดบริเวณดังกล่าวบ่อยครั้ง หากมีอาการรุนแรงอาจจะต้องรีบปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทันที
อาการมักเกิดขึ้นในผู้ป่วยกลุ่มใด : กลุ่มผู้สูงอายุ
3. กล้ามเนื้อต้นคอหดเกร็ง (Muscle Pain Syndrome)
สาเหตุต่อมาที่ทำให้เกิดอาการปวดหัวท้ายทอยคือ กล้ามเนื้อต้นคอหดเกร็ง ทั้งนี้เป็นเพราะว่าใช้คอผิดท่าทาง กล่าวคือ ทำกิจกรรมในท่าที่ไม่เหมาะสมเป็นระยะเวลานานหรือบ่อยครั้ง จนทำให้กลไกกล้ามเนื้อบริเวณท้ายทอยหรือต้นคอยึดเกร็งนั่นเอง
อาการมักเกิดขึ้นในผู้ป่วยกลุ่มใด : ทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานในท่าก้มเงย ก้มพิมพ์คอมพิวเตอร์ ตลอดจนนั่งก้มเล่นโทรศัพท์
4. โรคไมเกรน (Migraine)
ผู้ที่เป็นโรคไมเกรน มักเผชิญกับอาการปวดหัวคลื่นไส้ โดยบางครั้งจะปวดไมเกรนท้ายทอยข้างเดียว สองข้าง หรือสลับกันก็ได้ ในบางรายหากมีอาการรุนแรงจะมีอาการอื่นๆ เช่น ปวดหัวคลื่นไส้ เห็นแสงวูบวาบ หน้ามืด เวียนหัวร่วมด้วย
อาการมักเกิดขึ้นในผู้ป่วยกลุ่มใด : ผู้ที่เป็นโรคไมเกรน
5. ภาวะความดันโลหิตสูง (Hypertension)
นอกจากอาการปวดหัวไมเกรน หรืออาการปวดหัวเรื้อรังแล้ว ผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงจะยังคงมีอาการปวดหัวท้ายทอยร่วมด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงเฉียบหลันจะมีอาการเวียนหัว ตาพร่ามัว ปัสสาวะบ่อย ปากเบี้ยว ลิ้นแข็ง และพูดไม่ชัด
อาการมักเกิดขึ้นในผู้ป่วยกลุ่มใด : ผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง
ปวดท้ายทอย อาการเป็นอย่างไร
อาการปวดหัวท้ายทอยมีลักษณะแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับสาเหตุและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่งได้ดังนี้
1. ปวดหัวร้าวไปท้ายทอยทั้ง 2 ข้าง
นอกจากจะปวดท้ายทอยร้าว 2 ข้างแล้ว ในบางรายอาจะมีการปวดร้าวมาจนสะบักไหล่ทั้ง 2 ข้าง ขึ้นอยู่ปัจจัยร่วมอื่นๆ เช่น การนอนพัก ความเครียด ส่วนใหญ่อาการเหล่านี้จะเกิดการที่ปวดท้ายทอยจากกล้ามเนื้อตึงตัว (Tension Headache)
2. ปวดตึงต้นคอ
กรณีนี้จะเกิดจากเส้นประสาทต้นคออักเสบ โดยจะมีอาการปวดและตึงบริเวณต้นคอ จากนั้นจะเริ่มปวดร้าวไปที่สะบัก ร้าวอย่างต่อเนื่องลงไปยังแขนข้างใดข้างหนึ่ง รวมถึงปวดข้อไหล่ ทำให้มีมีอาการไหล่ติด
3. ปวดหัวและปวดท้ายทอย
หลายๆ คนอาจจะคิดว่าคงมีแค่อาการปวดท้ายทอยเพียงอย่างเดียว แต่สำหรับผู้ที่เป็นโรคไมเกรนอยู่แล้วจะมีอาการร่วมด้วย คือ ปวดขมับหรือท้ายทอย 2 ข้าง ปวดหัวคิ้ว ตลอดจนอาการปวดหัวข้างเดียว
4. ปวดร้าวทั้งคอ แขน ไหล่ หลัง หรือบ่า
อาการเหล่านี้เกิดจากสาเหตุหลักๆ คือ กล้ามเนื้อต้นคอหดเกร็ง (Muscle Pain Syndrome) หรือการที่ใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำๆ ส่งผลให้เกิดอาการปวดตึงไปทั่วบริเวณ โดยเฉพาะท้ายทอย ตลอดจนคอ แขน ไหล่ หลัง และบ่า
5. ปวดท้ายทอยมึนหัว
ส่วนใหญ่อาการจะไม่ค่อยแสดงมากนัก อย่างมากคือ ปวดท้ายทอยมึนหัวปวดตา ตึงที่ต้นคอ เวียนหัวพร้อม ๆ กับปวดหัวตุ้บๆ คล้ายกับไมเกรน อาการเหล่านี้มักเกิดจากภาวะความดันโลหิตสูง
อย่างไรก็ตาม ในบางรายหากมีอาการรุนแรงจะมีอาการอื่นๆ เช่น ปวดหัวคลื่นไส้ เห็นแสงวูบวาบ หน้ามืด เวียนหัว ตาพร่ามัว ปัสสาวะบ่อย ปากเบี้ยว ลิ้นแข็ง พูดไม่ชัด อ่อนเพลีย ใจสั่นร่วมด้วย ดังนั้นควรสังเกตอาการตนเองอยู่เสมอ
เมื่อไหร่ควรพบแพทย์
แม้ว่าจะรู้เท่าทันสาเหตุ อาการปวดตึงทายทอย หรือวิธีรักษา ในเบื้องต้นแล้ว แต่หากพบว่าตนเองมีอาการต่อไปนี้ก็ไม่ควรนิ่งนอนใจ แต่ควรรีบพบแพทย์ทันที
- เมื่อกินยาแก้ปวดสามัญประจำย้ายแล้วแต่อาการยังไม่บรรเทา
- พักผ่อนเพียงพอแล้วแต่อาการยังไม่บรรเทา
- ระดับอาการรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ
- มีไข้
- อาเจียน
- คอแข็ง
- มีอาการอื่นๆ ที่ผิดปกติร่วมด้วย
การวินิจฉัยอาการปวดหัวท้ายทอย
หากพบว่าตนเองมีอาการปวดท้ายทาย และทำการเข้ารักษา ทางแพทย์ผู้เชี่ยวจะมีหลักการวินิจฉัย เริ่มจาก ตรวจสอบประวัติการรักษา สอบถามรายละเอียดอาการ ตรวจร่างกายทั่วๆ ไป แต่ในบางครั้งก็จะมีการตรวจอย่างละเอียด เพื่อวินิจฉัยสาเหตุที่แท้จริง ผ่านวิธีดังต่อไปนี้
การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT SCAN)
เป็นหนึ่งในวิธีที่ใช้สำหรับตรวจหาความผิดปกติในร่างกาย ใช้วินิจัฉัยโรคต่างๆ เนื่องจากจะเป็นวิธีสร้างภาพ 3 มิติ ทำให้เห็นรายละเอียดเอียดชัดเจน ผลลัพธ์แม่นยำ ในขณะเดียวกันก็ปลอดภัยต่อผู้เข้ารับการตรวจ
การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)
เมื่อมีอาการปวดหัวท้ายทอยหรือปวดหัวไมเกรน จากสาเหตุจำพวกอาการอักเสบ ภาวะอักเสบ แพทย์อาจใช้วิธีตรวจ MRI คือ การตรวจโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า สำหรับตรวจหาความผิดปกติของร่างกาย เนื่องจากสามารถตรวจวินิจฉัยโรคได้อย่างละเอียด
การเจาะน้ำไขสันหลัง
แม้ว่าฟังดูจะน่ากลัว แต่การเจาะน้ำไขสันหลังเป็นหนึ่งในวิธีวินิจฉัยโรคที่มีความแม่นยำ มีคุณภาพ เช่น การตรวจภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบติดเชื้อ ภาวะการอักเสบต่างๆ อาการปวดหัวที่ยังไม่ทราบสาเหตุ เป็นต้น
แนวทางการรักษาอาการปวดหัวท้ายทอย
เพื่อเป็นการป้องกันอาการเจ็บป่วยจากปวดหัวท้ายทอยข้างขวาหรือข้างซ้าย วันนี้เราจึงนำแนวทางการรักษาอาการปวดท้ายทอยมาฝาก ดังนี้
1. ทานยาแก้ปวด
หากมีอาการปวดท้ายทอย อาจจะเลือกทานยาแก้ปวดทั่วๆ ไป แต่หากมีอาการปวดหัวจากโรคไมเกรน ควรทานยาไมเกรนโดยเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็นยากลุ่ม triptan, ยากลุ่ม ibuprofen ตลอดจนยากลุ่ม ergotamine ทั้งนี้ก็ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหรือเภสัชกรก่อนเสมอ
2. นวดบรรเทาอาการปวด
วิธีนวดแก้ปวดไมเกรนหรือแก้ปวดหัวตื๊อๆ ท้ายทอยทำได้ง่าย ๆ เพียงนวดตามจุดต่าง ๆ ในร่างกาย โดยเฉพาะจุดที่ปวด เช่น คอ บ่า ไหล่ สะบัก ท้ายทอย โดยการนวดแก้ปวดนี้จะช่วยให้ระบบไหลเวียนโลหิตทำงานได้ดี ร่างกายรู้สึกผ่อนคลาย ลดการเกร็งของกล้ามเนื้อ
3. ประคบร้อน
อย่างที่ทราบกันดีว่าความร้อนจะช่วยทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตทำงานได้ดี กล้ามเนื้อตามจุดต่างๆ คลายตัว เพียงแค่ใช้ถุงร้อน ลูกประคบ หรือผ้าขนหนูชุบน้ำอุ่น ประคบบริเวณที่ปวดไว้เพียง 10 – 15 นาที อาการก็จะค่อยๆ ดีขึ้น
4. การผ่าตัด
หากวินิจฉัยด้วยวิธีในข้างต้นอย่างละเอียดและพบว่าผู้ป่วยมีอาการปวดหัวท้ายทอยที่เกิดจากภาวะหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท อาจจะต้องใช้วิธีการผ่าตัด เพื่อให้สามารถขยับร่างกายหรือใช้ชีวิตประจำวันได้ดังเดิม โดยวิธีนี้เห็นผลดี โดยเฉพาะกับเหล่าผู้สูงอายุที่มีภาวะหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
5. ฉีดโบท็อกแก้ไมเกรน
ไม่เพียงแต่การฉีดโบท็อกเพื่อรักษาริ้วรอย ยกกระชับใบหน้า เสริมความงามเท่านั้น แต่ยังมีการนำศาสตร์ของการฉีดโบท็อกมาใช้ในการแก้ปวด เช่น โบท็อกไมเกรน แก้ปวดหัว ปวดท้ายทายตุ๊บๆ ตลอดจนโบท็อกออฟฟิศซินโดรม
โดยวิธีนี้กำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในประเทศไทย เนื่องจากการฉีดโบท็อกสามารถป้องกันอาการปวดหัวและปวดบริเวณต่างๆ มีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเห็นผลชัดเจน
วิธีคือจะฉีดโบท็อกไมเกรน บริเวณรอบหัว 31 จุด โดยเฉพาะบ่า ต้นคอ หน้าผาก คิ้ว หรือตามความเหมาะสมของแพทย์ ทั้งนี้ก็เพื่อช่วยคลายกล้ามเนื้อ ลดการเกร็งตัว อีกทั้งสารในโบท็อกจะช่วยยับยั้งอาการปวดและลดระดับความรุนแรงของอาการได้ ข้อดีคือเห็นผลภายใน 3-5 วัน และผลยังคงอยู่นานถึง 4-6 เดือน
6. การรักษาแบบทางเลือก
แม้ว่าจะมีการรักษาหลายๆ รูปแบบ แต่ผู้ป่วยบางรายก็อาจจะเลือกรักษาด้วยการแพทย์ทางเลือก ซึ่งก็ได้ผลดีและบรรเทาได้เช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น
- ฝังเข็ม
แม้ว่าศาสตร์ทางการแพทย์ของจีนจะมีมาอย่างยาวนานและมีความเก่าแก่ แต่ปัจจุบันก็ยังถูกนำมาใช้รักษาหลายๆ โรค เช่น การฝังเข็มไมเกรน การฝังเข็มอัมพฤกษ์อัมพาต รวมถึงการฝังเข็มยังเป็นวิธีแก้ปวดหัวท้ายทอยที่เห็นผลดีอีกด้วย อย่างไรก็ตาม อาจจะต้องศึกษาข้อมูลและปรึกษาแพทย์ก่อนเข้ารับการรักษา
- กายภาพบำบัด
เมื่อใดที่รู้สึกว่าตนเองนั้นมีอาการปวดคอท้ายทอย อาการปวดตามจุดต่างๆ อาจจะเข้ารักษาโดยการทำกายภาพบำบัด ไม่ว่าจะเป็นการทำท่าบริหารปวดท้ายทอย การใช้เครื่องดึงคอ วิธีต่างๆ เหล่านี้จะช่วยรักษาได้อย่างตรงจุด
ปรับพฤติกรรม..ป้องกันปวดหัวท้ายทอย
สำหรับผู้ที่มีอาการเบื้องต้น หรือผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงมีอาการปวดตึงท้ายทอย อาจจะเลือกใช้วิธีปรับพฤติกรรมเบื้องต้นของตนเอง เพื่อป้องกันไม่ให้เผชิญกับปัญหากวนใจอย่างอาการปวดหัวตรงท้ายทอย ดังนี้
- ควรปรับระดับความสูงและความต่ำของหมอนให้พอดีกับสรีระร่างกาย
- ควรพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่หักโหมจนเกินไป
- ควรหากิจกรรมทำยามว่างหรือกิจกรรมที่ชอบ เช่น ดูซีรีส์ เล่นเกม อ่านหนังสือ เพื่อเป็นการลดความเครียดและสร้างความผ่อนคลาย
- ยืดกล้ามเนื้ออย่างสม่ำเสมอ ตลอดจนขยับร่างกายบ่อย ๆ เมื่อรู้สึกว่าตนเองนั่งทำงานเป็นเวลานาน
- หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อยืดหยุ่นและมีความแข็งแรง เช่น เดิน วิ่ง โยคะแก้ปวดหัว
- หลีกเลี่ยงการใช้งานกล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำ ๆ การก้มหน้าหรือเงยหน้านาน ๆ ก้มหน้าเล่นโทรศัพท์หรือใช้คอมพิวเตอร์บ่อย
ข้อสรุป
จากที่กล่าวมาในข้างต้นจะเห็นได้ว่าอาการปวดหัวท้ายทอยนั้นพบได้ในคนทุกเพศทุกวัย ดังนั้นจึงอาจจะต้องป้องกันตนเอง ปรับพฤติกรรมให้เหมาะสม เพื่อไม่ให้อาการปวดท้ายทอย ปวดหัวไมเกรน ตลอดจนปวดหัวรูปแบบต่าง ๆ มากวนใจ
แต่หากใครที่กำลังเผชิญปัญหาเหล่านี้ก็สามารถรักษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ง่ายๆ เพียงแค่แอดไลน์ @ayaclinic หรือโทร 090–970-0447 ก็สามารถปรึกษาปัญหา เข้าตรวจไมเกรน ตรวจอาการต่างๆ ตลอดจนนัดวันและอาการปวดท้ายทอยกับทาง BTX Migraine Center ศูนย์รักษาไมเกรนเฉพาะทางชื่อดังของไทย
เอกสารอ้างอิง
เมืองไทยประกันชีวิต. (2563). ทำไมต้องตรวจด้วย MRI? ตรวจอะไรได้บ้าง!. สืบค้นเมื่อ 11 สิงหาคม 2565 จาก https://www.muangthai.co.th/th/article/what-is-mri
Hedy Marks. (2020). Occipital Neuralgia. Retrieve from https://www.webmd.com/migraines-headaches/occipital-neuralgia-symptoms-causes-treatments