ปวดหัวคลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย เสี่ยงโรคใด เกิดจากสาเหตุอะไร วิธีรักษาอย่างไร
หลายๆ ครั้งที่งานยุ่ง หัวหมุน ต้องทำงานหนักจนไม่มีเวลากินข้าว ปวดหัวไมเกรน หรือหลาย ๆ ครั้งที่ต้องเดินทางด้วยรถหรือเรือนานๆ กลับรู้สึกว่าตนเองมีอาการปวดหัว คลื่นไส้ อ่อนเพลีย หรือเวียนหัวขึ้นมา
ซึ่งอาจจะเกิดคำถามตามมาว่าอาการปวดหัว อ่อนเพลีย คลื่นไส้เหล่านี้เกิดขึ้นได้อย่างไร มีสาเหตุมาจากอะไร ร่างกายจะมีกลไกการทำงานอย่างไรหากรู้สึกปวดหัว คลื่นไส้ วันนี้เราจึงรวบรวมข้อมูลที่เป็นประโยชน์มาคลายข้อสงสัยทุกคำถาม พร้อมทั้งมีวิธีแก้อาการปวดหัว คลื่นไส้มาฝากด้วย
สารบัญบทความ
- ปวดหัวคลื่นไส้
- ปวดหัวคลื่นไส้เกิดจากสาเหตุใด
- ปวดหัวคลื่นไส้เสี่ยงโรคใดบ้าง
- ปวดหัวคลื่นไส้กับโรคไมเกรน
- ปวดหัวคลื่นไส้..เมื่อไหร่ควรพบแพทย์
- วิธีแก้อาการปวดหัวคลื่นไส้จากโรคไมเกรน
- ป้องกันอาการปวดหัวคลื่นไส้อย่างไรได้บ้าง
- ข้อสรุป
ปวดหัวคลื่นไส้
อาการปวดหัว คลื่นไส้ อ่อนเพลีย สามารถพบได้ในคนทุกเพศทุกวัย โดยลักษณะอาการคือ อึดอัด ผะอืดผะอม ปวดหัวจะอาเจียน ซึ่งในบางครั้งก็อาเจียนออกมาหรือในบางครั้งก็รู้สึกอยากอาเจียนเฉยๆ ส่งผลให้เกิดความรู้สึกไม่สบายตัว และยังคงมีอาการปวดหัว ตาลาย คลื่นไส้ไปอีกสักพัก
อาการปวดหัว คลื่นไส้นั้นสามารถเกิดขึ้นแบบเฉียบพลันหรือเกิดขึ้นแบบสะสมมาเป็นระยะเวลานาน แน่นอนว่าย่อมส่งผลให้มีอาการปวดกระบอกตา ร่างกายอ่อนเพลีย หรือปวดหัวข้างเดียวเข้ามาร่วมด้วย ทั้งนี้ อาการปวดหัวจะอ้วกเกิดจากได้หลายสาเหตุจากทั้งปัญหาด้านสุขภาพและปัญหาด้านจิตใจ
ปวดหัวคลื่นไส้เกิดจากสาเหตุใด
อาการปวดหัว คลื่นไส้ อ่อนเพลียเกิดจากหลายๆ สาเหตุดังที่กล่าวมาในข้างต้น โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ดังนี้
1. ปัญหาด้านสุขภาพ
อาการปวดหัวคลื่นไส้อาจเกิดจากปัญหาสุขภาพ เช่น โรคไมเกรน โรคทางระบบประสาทและสมอง การทำงานของหูชั้นในที่ขาดความสมดุล หรือผลข้างเคียงจากการตั้งครรภ์
2. ปัญหาด้านจิตใจ
ปวดหัวคลื่นไส้สามารถเกิดได้จากปัญหาทางด้านจิตใจเช่นกัน เช่น ความเศร้า ภาวะวิตกกังวล ภาวะที่รู้สึกกดดัน ตลอดปวดหัวจากความเครียดจนนำไปสู่อาการคลื่นไส้
3. ปัญหาจากปัจจัยภายนอก
ปัญหาจากปัจจัยภายนอกที่สามารถทำให้เกิดอาการปวดหัวคลื่นไส้ เช่น อาการเวียนหัว แพ้ยา เมารถ เมาเรือ แพ้อาหาร การดื่มแอลกอฮอล์ การได้รับยาสลบ
อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาพบว่าสาเหตุหรือกลไกที่ทำให้เกิดอาการปวดหัวและคลื่นไส้นั้นเกิดจากการที่หลอดเลือดแดงในสมองและในร่างกายหดหรือบีบตัวมากกว่าปกติหรือมากกว่าคนทั่วไป
ส่งผลให้เกิดอาการปวดหัว ปวดเบ้าตา คลื่นไส้พร้อม ๆ กัน นอกจากนี้ผู้ป่วยบางรายยังมีอาการปวดหัวท้ายทอย ตาพร่ามัว ไวต่อสิ่งเร้า เห็นภาพซ้อน ตลอดเส้นคอตึงปวดหัวร่วมด้วย
ปวดหัวคลื่นไส้เสี่ยงโรคใดบ้าง
นอกจากอาการปวดหัว คลื่นไส้ อ่อนเพลีย จะเกิดจากการเป็นโรคไมเกรนแล้ว หากมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย หรือหากเข้ารับการรักษาไมเกรน หรือวินิจฉัยอย่างละเอียดอาจพบว่าเสี่ยงเป็นโรคอื่น ๆ ได้ด้วย เช่น
1. โรคเนื้องอกในสมอง
อย่างที่ทราบกันดีว่าอาการปวดหัวนั้นนอกจากเป็นเพราะไมเกรน ยังเสี่ยงเกิดโรคเนื้องอกในสมอง เนื่องจากเมื่อมีเนื้องอกในสมองจะส่งผลให้ค่าความดันสูงขึ้นผิดปกติ ซึ่งอาการที่ตามมาคือ ปวดหัว แต่หากปล่อยทิ้งไว้นานหรือไม่รักษาก็จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายด้วย
อาการร่วม : อาการปวดหัว คลื่นไส้ บ้านหมุน แขนขาอ่อนแรง พูดจาติดขัด เนื่องจากปากเบี้ยว ประสิทธิภาพในการทรงตัวต่ำลง
2. โรคหลอดเลือดในสมอง
โรคหลอดเลือดในสมองเกิดจาก 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่สมองขาดเลือดและกลุ่มที่มีเลือดออกในสมอง โดยพบได้ตั้งวัยรุ่นตอนต้นถึงวัยผู้ใหญ่ สาเหตุของอาการนั้นเกิดจากหลายสาเหตุ อาจะเป็นเพราะพันธุกรรม การสูบบุหรี่ กรใช้สารเคมีร้ายแรง การใช้ยา ส่งผลให้เกิดความผิดปกติของหลอดเลือดได้
อาการร่วม : ปวดหัวบ่อย คลื่นไส้ อาเจียน ตาพร่ามัว แขนขาอ่อนแรง ปวดหัวข้างซ้าย พูดไม่ชัด แต่อาการเหล่านี้อาจจะเกิดขึ้นในระยะเวลาสั้นๆ คล้ายกับอาการทั่วไป ก่อนจะเกิดภาวะของหลอดเลือดผิดปกติในสมอง
3. โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
สาเหตุของโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ นั้นเกิดจากการติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย ตลอดจนเชื้อราบริเวณเยื่อหุ้มสมอง และไขสันหลัง ส่วนใหญ่นั้นพบได้ทั้งวัยเด็ก วัยรุ่น และวัยผู้ใหญ่
อาการร่วม : มึนหัวคลื่นไส้ปวดต้นคอ สับสน ไม่มีสมาธิ ไข้ขึ้นสูงเฉียบพลัน ชัก แพ้แสงหรือไวต่อแสงคล้ายกับอาการไมเกรน เบื่ออาหาร ง่วงนอน ผิวหนังเป็นผื่น ปวดหัวอ้วก แต่หากเป็นเด็กเล็กจะมีอาการร่วมคือ ไข้สูง ตัวและคอแข็ง ซึมกว่าปกติ นอนหลับมากเกินไป หงุดหงิดง่าย ร้องไห้งอแงตลอดเวลา เบื่อนม
4. โรคต้อหิน
ต้อหินเกิดจากการที่ความดันในตาสูงมากกว่ามากกว่าปกติ ส่งผลให้เกิดเส้นประสาทกดทับในตา จนสูญเสียการมองเห็น หรือในกรณีร้ายแรงที่สุดคือ ตาบอด
ทั้งนี้ต้อหินมี 2 ชนิดคือ ต้อหินมุมเปิด จะทำให้เส้นประสาทตาสูญเสียการมองเห็นไปเรื่อยๆ และต้อหินมุมปิด จะมีอาการเกิดขึ้นเฉียบพลัย แต่ยังสามารักษาให้หายได้ หากพบแพทย์ได้ทันเวลา
อาการร่วม : ปวดตา ตาแดง ตาพร่ามัวปวดหัวคลื่นไส้ สูญเสียการมองเห็น
5. โรคบ้านหมุน
โรคบ้านหมุนพบได้ในคนทุกเพศทุกวัย แต่พบบ่อยในผู้สูงอายุ สาเหตุนั้นเกิดจาก ความผิดปกติของอวัยวะภายในหูชั้นใน ซึ่งมีหน้าที่ในการควบคุมความสมดุลของร่างกาย อย่างไรก็ดี อาการบ้านหมุนหรือโรคบ้านหมุนเหล่านี้ยังในเป็นสัญญาณเสี่ยงโรคต่าง ๆ เช่น ไมเกรน น้ำในหูไม่เท่ากัน อุบัติเหตุทางสมอง เป็นต้น
อาการร่วม : มึนงง เวียนหัว การทรงตัวหรือประสิทธิภาพในการทรงตัวต่ำลง มีอาการปวดหัว คลื่นไส้ อ่อนเพลีย หูอื้อ มีเสียงดังในหู และหน้ามืดคล้ายจะเป็นลม
ปวดหัวคลื่นไส้กับโรคไมเกรน
อย่างที่ทราบกันดีว่าโรคไมเกรนเกิดได้จากทั้งพันธุกรรม ความผิดปกติของหลอดเลือดในสมอง ตลอดจนสารเคมีในสมอง ซึ่งก็แน่นอนว่าโรคไมเกรนนี้เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการปวดหัว คลื่นไส้
ทำไมเป็นไมเกรนแล้วจึงมีอาการคลื่นไส้
ลักษณะอาการของโรคไมเกรนที่เรารับรู้โดยทั่วกันคือ จะมีอาการปวดหัว คลื่นไส้ อ่อนเพลีย อาเจียน เวียนหัว ทั้งนี้เป็นเพราะอาการปวดหัวไมเกรนเกิดขึ้นบริเวณก้านสมอง ซึ่งบริเวณก้านสมองนี้เองที่ไวต่ออาการอาเจียน เมื่อใดที่อาการไมเกรนกำเริบ ร่างกายหลั่งสารโดปามีนซึ่งเป็นสารสื่อประสาท ออกมาด้วย ส่งผลให้มีอาการคลื่นไส้เวียนหัวร่วมด้วย
แม้ว่าประเภทของไมเกรนจะมีหลายรูปแบบ เช่น ไมเกรนปวดหัวเรื้อรังปวดหัวเป็นระยะเวลานานหลายวันหรือหลายเดือน ไมเกรนเฉียบพลันที่เกิดขึ้นกะทัน
อาการไมเกรนขึ้นตา ส่งผลกระทบต่อการมองเห็นในชีวิตประจำวัน หรือไมเกรนช่วงมีประจำเดือน เนื่องมาจากระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ที่ลดลง ก็ล้วนส่งผลให้เกิดอาการปวดหัว คลื่นไส้ อ่อนเพลียทั้งสิ้น
ปวดหัวคลื่นไส้..เมื่อไหร่ควรพบแพทย์
เมื่อมีอาการปวดหัวคลื่นไส้ที่ไม่รุนแรงมากนัก หลายๆ คนอาจจะเลือกนั่งพัก นอนพัก หรือทานยา แต่เมื่อไรก็ตามที่พบว่ามีอาการดังต่อไปนี้ ให้ควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการรักษาทันที
- ปวดหัวอย่างรุนแรง มีอาการเจ็บหน้าอก เจ็บบริเวณแขนหรือขากรรไกรฝั่งซ้าย เนื่องจากอาจะเป็นสัญญาณเตือของโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
- ปวดหัวอย่างรุนแรง ตัวหรือคอแข็ง มีอาการสับสนมึนงง และหายใจติดขัดตลอด
- เบื่ออาหาร คลื่นไส้รุนแรงตลอดเวลา จนไม่สามารถทานอาหารหรือน้ำดื่มได้เลย
- เมื่อทานยาหรือพักผ่อนสักพักแล้ว แต่พบว่าอาการปวดหัวคลื่นไส้ยังไม่บรรเทาลงหรืออาการรุนแรงยิ่งขึ้น
- เกิดอาการคลื่นไส้จากปัจจัยภายนอก เช่น การได้รับสารเคมี การได้รับยา ที่ส่งผลกระทบต่ออาการอย่างรุนแรง
วิธีแก้อาการปวดหัวคลื่นไส้จากโรคไมเกรน
หากพบว่าตนเองกำลังเผชิญกับอาการปวดหัวคลื่นไส้จากโรคไมเกรน ก็ควรรีบรักษาหรือหาวิธีแก้ไข ซึ่งเราก็ได้รวบรวมวิธีแก้ปวดหัวมาฝาก ดังต่อไปนี้
1. รับประทานยาบรรเทาอาการ
วิธีแก้อาการปวดหัวไมเกรน อาเจียน หรือคลื่นไส้ที่สามารถทำได้ง่ายๆ คือ การเลือกรับประทานยา โดยแบ่งเป็นยา 2 กลุ่มคือ
- การทานยาแก้ปวดหัวไมเกรน
หากมีอาการปวดหัวไมเกรนอย่างหนัก พร้อมทั้งคลื่นไส้ อาจจะเลือกทานยาไมเกรนกลุ่มต่าง ๆได้แก่
- ยากลุ่ม Triptan ซึ่งยาแก้ปวดที่ช่วยบรรเทาอาการปวดหัวรูปแบบต่าง ๆ
- ยากลุ่ม Ergotamine ทำให้เส้นเลือดหดตัวลดลงตามปกติ และทำให้ตัวรับในสมอง สารสื่อประสาททำงานได้อย่างปกติ
- ยากลุ่ม Ibuprofen ซึ่งเป็นยายาต้านอาการอักเสบไร้สเตียรอยด์ (NSAIDs) สำหรับใช้ในการรักษาอาการปวดในรูปแบบต่าง ๆ
- การทานยาแก้คลื่นไส้
สามารถทานยาพร้อมกับอาการปวดหัวได้ โดยเฉพาะการทานยาขณะต้องเดินทาง สามารถทานยาเพื่อป้องกันได้ โดยยาแก้คลื่นไส้มีหลายรูปแบบ เช่น Domperidone, Metoclopramide, Debendox
ทั้งนี้ควรปรึกษาแพทย์และเภสัชกรก่อนทานยาทุกครั้ง เพื่อความปลอดภัยของตนเอง
2. ดื่มน้ำให้เพียงพอ
น้ำเป็นหนึ่งในส่วนประกอบสำคัญของร่างกายที่จะช่วยให้กระบวนการทำงานภายในร่างกายทำงานได้อย่างปกติ เช่น การดีท็อกซ์ของเสีย การบำรุงผิวพรรณ การเพิ่มความชุ่มชื้น ตลอดจนการลดอาการปวดหัวไมเกรนคลื่นไส้ โดยตามปกติแล้วร่างกายควรได้รับน้ำ 1.5 ลิตรต่อวัน
หรือหากใครไม่สะดวกที่จะดื่มน้ำในปริมาณมาก อาจจะรับประทารผลไม้ที่มีน้ำสูง เช่น แตงโม ส้ม แคนตาลูป เป็นต้น
3. รักษาไมเกรนด้วยการฉีดโบท็อก
การฉีดโบท็อก สามารถใช้รักษาริ้วรอยบนใบหน้า ยกกระชับใบหน้า ตลอดจนใช้ในวงการความงามอย่างกว้างขวาง แต่ถึงอย่างไรก็ดี ยังมีอาการฉีดโบท็อกออฟฟิศซินโดรม รักษาอาการปวดเมื่อย และฉีดโบท็อกไมเกรน เพื่อรักษาอาการปวดหัว คลื่นไส้ อ่อนเพลีย
โดยจะเริ่มจากการฉีดตามจุดต่างๆ 31 จุด ตามคำแนะนำของแพทย์ เพียงเท่านี้ก็จะช่วยบรรเทาอาการไมเกรนต่างๆ ลดอาการเวียนหัว คลื่นไส้ คลายกล้ามเนื้อ ลดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อได้แล้ว
4. ฝังเข็มรักษาไมเกรน
การฝังเข็ม เป็นศาสตร์ของการแพทย์แผนจีน ที่ใช้รักษามานานช่วงตั้งแต่ 4,000 – 7,000 ปีก่อน โดยในปัจจุบันได้มีการนำมาฝังเข็มไมเกรน เพียงแค่ใช้เข็มขนาดเล็กและบางมาปักตามบริเวณจุดต่างๆ ประมาณ 20-30 นาที ก็จะรู้สึกดีขึ้น โดยการฝังเข็มนี้จะช่วยปรับสมดุลอวัยวะในร่างกายให้กลับคืนสู่ปกติ บรรเทาอาการปวดไมเกรน คลื่นไส้ เวียนหัว
5. ฉีดยาแก้ไมเกรน
การฉีดยาไมเกรน (Aimovig) จะช่วยบรรเทาอาการไมเกรน คลื่นไส้ ปวดหัวได้ โดยตัวยา Aimovig นี้ปลอดภัย เนื่องจากผ่านการรับรองจากองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA) และสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยาของไทยแล้ว ทั้งนี้กลไกการออกฤทธิ์การทำงานคือ จะเข้าไปยับยั้งสาร CGRP ยับยั้งอาการปวดหัวคลื่นไส้ อ่อนเพลีย เพียงแค่ฉีด 1 ครั้ง/เดือนเท่านั้น
ป้องกันอาการปวดหัวคลื่นไส้อย่างไรได้บ้าง
เพื่อป้องกันไม่ให้ตนเองนั้นต้องเผชิญกับอาการปวดหัว คลื่นไส้ที่รบกวนกิจวัตรประจำวันหรือทำให้เกิดความรู้สึกไม่สบายตัวและไม่สบายใจ สามารถใช้วิธีป้องกันอาการปวดหัว อยากอาเจียนได้ดังนี้
1. นอนหลับให้เพียงพอและเป็นเวลา
กล่าวคือ ไม่ควรนอนดึกมากเกินไป และไม่ควรนอนมากเกินไปก็จะส่งผลให้เกิดอาการปวดหัวและคลื่นไส้ได้ ดังนั้น ควรนอนอย่างน้อยวันละ 6-8 ชั่วโมงก็เพียงพอแล้ว
2. ดื่มน้ำเปล่าหรือทำให้ร่างกายชุ่มชื้นอยู่เสมอ
การทำให้ร่างกายชุ่มชื้นในที่นี้หมายถึงการทำให้ร่างกายไม่ขาดน้ำ เนื่องจากการที่ร่างกายขาดน้ำเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ปวดหัวได้
3. ทานอาหารที่มีประโยชน์
หลีกเลี่ยงอาหารกระตุ้นไมเกรน เช่น ไขมัน ไวน์แดง เนื้อสัตว์แปรรูป หรืออาหารที่ส่งผลให้เกิดอาการปวดหัวอาเจียน ควรเลือกทานอาหารที่ประโยชน์ เช่น วิตามินรักษาไมเกรน ตลอดจนวิตามินเสริมสุขภาพและอาหารที่มีแมกนีเซียม อาการปวดหัวก็จะลดลงได้
4. หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่คาเฟอีนหรือแอลกอฮอล์
นอกจากจะส่งผลเสียต่อระบบส่วนอื่นของร่างกายแล้ว ยังส่งผลต่อการทำงานของระบบโลหิตอีกด้วย เมื่อดื่มไปแล้ว หลายๆ คนอาจจะเริ่มรู้สึกปวดหัวคลื่นไส้ตอนเช้าวันต่อมา
5. พยายามรักษาสุขภาพให้ห่างจากโรคไข้หวัด
เนื่องจากหนึ่งในอาการของโรคไข้หวัดทั่วๆ ไป คือ อาการปวดหัว คลื่นไส้ อ่อนเพลีย ซึ่งอาการปวดหัวอาจจะทวีความรุนแรงขึ้นได้อีกเมื่อร่างกายอยู่ในภาวะอ่อนแอหรือมีโรค
6. หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้ศีรษะต้องบาดเจ็บ
กิจกรรมที่อาจทำให้เกิดการบาดเจ็บที่ศีรษะ เช่น การเล่นกีฬา การขับรถ การท่องเที่ยวแบบแอดเวนเจอร์ เป็นต้น หากจะทำกิจกรรมที่มีความเสี่ยงควรสวมหมวกกันน็อคหรืออุปกรณ์ป้องกันเสมอ
7. หลีกเลี่ยงอาการไมเกรน
หากพบว่าตนเองเป็นโรคไมเกรน มีอาการอาเจียนหรือเวียนหัว อาจจะต้องพิจารณาระดับอาการของตนเอง เพื่อให้รู้ถึงความรุนแรงของอาการ อีกทั้งอาจจะต้องหลีกเลี่ยงปัจจัยที่เป็นสิ่งกระตุ้นต่าง ๆ เพื่อไม่ให้เกิดอาการไมเกรนฉับพลันหรือไมเกรนขึ้นตา
8. ดื่มเครื่องดื่มที่ช่วยบรรเทาอาการ
การดื่มเครื่องดื่มบางชนิดจะช่วยบรรเทาอาการปวดหัวคลื่นไส้ ช่วยให้กระเพาะอาหารฟื้นตัวเร็วและทำให้ร่างกายผ่นอคลาย เช่น น้ำขิง ชาดอกคาโมมายล์ หรือชาเปเปอร์เมนต์
9. เลี่ยงอาหารทอดหรืออาหารที่มีน้ำมัน
อาหารจำพวกของทอด หรืออาหารที่มีน้ำมันเป็นส่วนประกอบสูง เมื่อทานไปสักพักอาจจะรู้สึกว่าอยู่ดีๆ ก็ปวดหัวคลื่นไส้ได้ ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงอาหารเหล่านี้
10. ทานผลไม้เปรี้ยว
ผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง ผลไม้รสเปรี้ยว เช่น มะม่วง มะนาว มะดัน มะยม จะมีส่วนช่วยในการรักษาอาการวิงเวียนหัวและคลื่นไส้ได้
ข้อสรุป
อย่างไรก็ตาม หากพบว่าตนเองมีอาการปวดหัว คลื่นไส้ อ่อนเพลียบ่อยๆ ซึ่งเมื่อสังเกตตนเองแล้วพบว่าไม่ได้เกิดจากปัจจัยภายนอก ให้ควรเข้ารับการตรวจรักษาทันที เพื่อไม่ให้เสี่ยงเกิดโรคอื่นๆ รวมถึงให้รู้และรักษาอย่างเท่าทัน
โดยหากมีอาการปวดหัวข้างเดียว คลื่นไส้ ปวดหัวข้างขวาข้างเดียว หรือตาพร่ามัว ปวดหัว คลื่นไส้อาจเกิดเพราะไมเกรน ดังนั้นจึงควรรีบเข้าตรวจไมเกรน ทำการรักษารูปแบบต่างๆ โดยสามารถแอดไลน์ @ayaclinic หรือโทร 090–970-0447 เพื่อนัดหมายวันเวลากับทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ยาวนานของ BTX Migraine Center ศูนย์รักษาไมเกรนเฉพาะอันดับต้น ๆ ได้เลย
เอกสารอ้างอิง
Rachel Nal. (2019). What’s Causing My Headache and Nausea?. Retrieve from https://www.healthline.com/health/headache-and-nausea#prevention