ปวดหัวตรงไหน เป็นโรคอะไรได้บ้าง อาการปวดหัวแบบไหนที่ต้องพบแพทย์?
หลายๆ คนอาจจะกำลังเผชิญอยู่กับอาการปวดหัว อาจจะด้วยปัจจัยต่าง ๆ เช่น สถานการณ์บ้านเมือง เศรษฐกิจ การเรียน การทำงาน แต่นอกจากปัจจัยภายนอกเหล่านี้แล้ว อาการปวดหัวนั้นอาจเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ได้เช่นกัน
วันนี้เราจึงจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับอาการปวดหัวแบบต่าง ๆ และหาคำตอบว่าสาเหตุการปวดหัวมีกี่แบบ ปวดหัวเรื้อรังมีอาการอย่างไร ตำแหน่งปวดหัวบอกโรคได้ไหม ตลอดจนปวดหัวบ่อยอันตรายไหม ถ้าพร้อมแล้วตามไปดูกันเลย
สารบัญบทความ
- ปวดหัว (Headache)
- ปวดหัวเกิดจากสาเหตุใด
- อาการปวดหัวมีกี่แบบ บอกโรคใดบ้าง
- อาการปวดหัวที่ควรพบแพทย์
- การวินิจฉัยอาการปวดหัว
- แนวทางการรักษาอาการปวดหัว
- ภาวะแทรกซ้อนจากอาการปวดหัว
- ปรับพฤติกรรมช่วยป้องกันอาการปวดหัว
- ข้อสรุป
ปวดหัว (Headache)
อาการปวดหัวเป็นหนึ่งในโรคที่พบได้บ่อย ทุกเพศทุกวัย ส่วนใหญ่เมื่อมีอาการปวดหัว เพียงแค่กินยาอาการก็จะบรรเทาลง แต่ก็มีอาการปวดหัวอีกหลาย ๆ รูปแบบ เช่น การปวดหัวไมเกรน เป็นประจำเดือนแล้วปวดหัว การปวดหัวจากกล้ามเนื้อเกร็งตัว การปวดหัวคลัสเตอร์ การปวดหัวจากความเครียด ซึ่งแต่ละรูปแบบก็บอกถึงสาเหตุการปวดหัวได้
แต่อย่างไรก็ตามหากมีอาการปวดหัวไม่ทราบสาเหตุ ปวดหัวขั้นรุนแรงจนไม่สามารถทนได้ ปวดหัวพร้อมมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย ซึ่งส่งผลต่อชีวิตประจำวัน หรือปวดหัวเรื้อรังเป็นระยะเวลานานควรรีบพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาในทันที
ปวดหัวเกิดจากสาเหตุใด
อาการปวดหัวเกิดส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นตั้งบริเวณคอส่วนบนไปจนบริเวณรอบหัว โดยกลไกในร่างกายที่ทำให้เกิดอาการปวดหัวคือ เนื้อเยื่อและโครงสร้างรอบกระโหลกหรือสมองเกิดการอักเสบ
แต่อาการปวดหัวหรือเนื้อเยื่อและโครงสร้างเหล่านี้อักเสบก็จากหลาย ๆ สาเหตุ ทั้งนี้จะต้องวินิจฉัยอย่างละเอียดถี่ถ้วน อย่างไรก็ตาม ทางการแพทย์ในปัจจุบันแบ่งอาการปวดหัวตามสาเหตุเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
ปวดหัวแบบปฐมภูมิ
อาการปวดหัวแบบปฐมภูมิไม่สามารถระบุสาเหตุได้ชัด แต่จากการศึกษาพบว่าไม่ใช่อาการที่มาจากโรค เช่น ไมเกรน ปวดหัวคลัสเตอร์ ปวดหัวจากความเครียด
ปวดหัวแบบทุติยภูมิ
อาการปวดหัวแบบทุติยภูมิเป็นผลมาจากความผิดปกติของโครงสร้างบริเวณคอส่วนบนไปจนบริเวณรอบหัวและโรคต่าง ๆ ยกตัวอย่างอาการ เช่น ปวดหัวไซนัส ปวดหัวเนื้องอก ปวดหัวจากอาการเมาค้าง
ปวดหัวจากเส้นประสาทและอื่นๆ
นับว่าเป็นอาการปวดหัวที่รุนแรง โดยเกิดจากการอักเสบของเส้นประสาทสมอง 1 ใน 12 เส้น ซึ่งเส้นประสาทสมองเหล่านี้มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อร่างกาย เปรียบเสมือนตัวส่งสัญญาณความรู้สึก เช่น อาการปวดเส้นประสาทบนใบหน้า
อาการปวดหัวมีกี่แบบ บอกโรคใดบ้าง
อย่างที่ทราบกันดีว่าอาการปวดหัวนั้นเกิดขึ้นได้กับทุกคน โดยเฉพาะวัยทำงาน แต่หากสังเกตดี ๆ จะพบว่าอาการปวดหัวนั้นมีหลายรูปแบบ ซึ่งแต่ละรูปแบบก็บ่งบอกสาเหตุพร้อมทั้งโรคต่าง ๆ ได้ดังนี้
1. ปวดศีรษะชนิดกล้ามเนื้อตึง
- พบได้ในใคร : พบได้ในทุกวัย ส่วนใหญ่พบในผู้หญิงและในผู้ที่มีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เครียด พักผ่อนไม่เพียงพอแต่เดิม
- ลักษณะอาการ : ปวดหัวตรงท้ายทอยไปจนถึงขมับ นอกจากนี้ยังมีอาการปวดบริเวณสะบักไหล่ 2 ข้าง ทั้งนี้ระยะเวลาการเกิดอาการขึ้นอยู่กับความหรือการพักผ่อน ตั้งแต่ 30 นาทีถึง 1 สัปดาห์
- สาเหตุ : เนื่องจากมีการปวดกล้ามเนื้อบริเวณต่าง ๆ ส่งผลให้มีการเกร็งบริเวณหัว โดยจากการศึกษาพบว่าอาจพบร่วมกับปวดหัวไมเกรน ภาวะซึมเศร้า โรควิตกกังวล การปรับตัวต่าง ๆ
- วิธีการรักษา : การปวดหัวรูปแบบนี้ไม่อันตรายมากนัก สามารถรักษาด้วยตนเองโดยใช้วิธีแก้ปวดหัวไมเกรนเบื้องต้น หรืออาจจะรักษาด้วยวิธีทางการแพทย์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่ระดับอาการและดุลพินิจของแพทย์
2. ปวดศีรษะไมเกรน
- พบได้ในใคร : พบได้ในผู้ที่เป็นไมเกรนและผู้มีความผิดปกติของการทำงานของหลอดเลือด
- ลักษณะอาการ : อาการปวดหัวไมเกรนนับว่าเป็นหนึ่งในอาการปวดหัวเรื้อรัง โดยผู้มีอาการส่วนใหญ่จะปวดหัวข้างเดียว หรือปวดหัวทั้งสองข้างตลอดจนมีอาการปวดหัวคลื่นไส้ ตาพร่ามัว เวียนหัวร่วมด้วย หากอาการรุนแรงมากจนส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน นับว่าเป็นอันตราย ควรรีบพบแพทย์
- สาเหตุ : ปวดหัวไมเกรนเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ แต่ส่วนใหญ่เกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของหลอดเลือดในร่างกาย อีกทั้งยังเกิดจากพันธุกรรม ตลอดจนปัจจัยภายนอก เช่น ความเครียด อาหารกระตุ้นไมเกรน สภาพแวดล้อม การพักผ่อนไม่เพียงพอ เป็นต้น
- วิธีการรักษา : วิธีแก้ปวดสามารถรักษาด้วยยาไมเกรน เช่น ยากลุ่ม triptan ยากลุ่ม ergotamine หรือยารักษากลุ่ม ibuprofen แต่ควรรับคำปรึกษาและตรวจไมเกรนจากแพทย์ก่อนกินยา ทั้งนี้อาจจะเลือกรักษาด้วยวิธีธรรมชาติ ปรับพฤติกรรมตนเอง ตลอดจนวิธีแก้ปวดหัวไมเกรนเบื้องต้นก่อนได้
3. ปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์
- พบได้ในใคร : พบได้ในบุคคลทั่วไป ส่วนใหญ่พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง
- ลักษณะอาการ : มีอาการปวดหัวคลัสเตอร์รุนแรง บางคนปวดหัวข้างเดียว ปวดขมับ หรือปวดกระบอกตา โดยการปวดแต่ละครั้งกินเวลานานตั้งแต่ 15 ถึง 3 ชั่วโมง จากนั้นอาการปวดหัวคลัสเตอร์จะเกิดขึ้นเป็นระยะ ๆ ติดต่อกันทุกวัน ทุกสัปดาห์
- สาเหตุ : สาเหตุเกิดจากความผิดปกติของระบบประสาทอัตโนมัติไตรเจอร์มิมอลและการทำงานของต่อมไอโพทาลามัส
- วิธีการรักษา : หากปล่อยทิ้งไว้นาน ๆ จะส่งผลอันตราย ดังนั้นจึงต้องรักษาอาการปวดหัวคลัสเตอร์โดยวิธีต่าง ๆ เช่น ฉีดยาบรรเทาอาการปวดทางกลอดเลือดดำ ฉีดยาเฉพาะจุด หรือผ่าตัด ทั้งนี้ขั้นอยู่กับดุลพินิจและการวินิจฉัยของแพทย์
4. ปวดศีรษะจากไซนัสอักเสบ
- พบได้ในใคร : ผู้ที่เป็นไซนัส
- ลักษณะอาการ : ลักษณะอาการคล้ายกับการปวดหัวเป็นไข้ทั่วไปและปวดหัวไมเกรน แต่ส่วนใหญ่จะพบว่ามีอาหารปวดหัวตรงหน้าผากระหว่างคิ้ว กระบอกตา ตลอดจนบริเวณโหนกแก้ม
- สาเหตุ : สาเหตุเกิดจากการอักเสบบริเวณเยื่อโพรงจมูก ส่งผลให้กล้ามเนื้อบริเวณนั้นหดเกร็งและนำไปสู่อาการปวดหัวในที่สุด
- วิธีการรักษา : เนื่องจากการปวดหัวรูปแบบนี้ไม่อันตราย มีวิธีการรักษาคือ ควรรักษาอาการไซนัสให้หายเป็นปกติ อาการปวดหัวก็จะหายไปโดยปริยาย
5. ปวดศีรษะจากกล้ามเนื้อบดเคี้ยว
- พบได้ในใคร : พบได้ในบุคคลทั่วไป
- ลักษณะอาการ : ปวดหัว ปวดหู และปวดบริเวณกรามหรือขากรรไกรเป็นพิเศษ โดยมักพบอาการปวดหลังตื่นนอน ตอนเช้า ทำให้อ้าปากไม่ขึ้น พูดและกินอาหารไม่สะดวก
- สาเหตุ : สาเหตุส่วนใหญ่พบว่ามีการบาดเจ็บบริเวณกล้ามเนื้อบดเคี้ยว ขากรรไกรหรือข้อต่อขากรรไกร ตลอดจนเกิดจากการนอนกัดฟัน
- วิธีการรักษา : การปวดหัวรูปแบบนี้ไม่อันตรายมากนัก สามารถใช้น้ำอุ่นประคบบริเวณที่ปวด 20 นาทีต่อครั้ง โดยประคบ 3-5 ครั้งต่อวัน นอกจากนี้ยังกินยาไมเกรนชนิดต่าง ๆ เพื่อบรรเทาอาการได้
6. ปวดศีรษะรุนแรง ฉับพลัน
- พบได้ในใคร : พบได้ในบุคคลทั่วไปที่มีความเครียดสูง บุคคลที่ได้รับแรงกระแทกบริเวณหัว
- ลักษณะอาการ : ปวดหัวรุนแรงเหมือนจะระเบิดและฉับพลัน มีอาการหน้ามืด แต่ส่วนใหญ่ผู้ที่มีอาการมักมีไข้และความดันโลหิตสูงร่วมด้วย หรือบางครั้งอาการปวดหัวจะเกิดขึ้นหลังจากร่างกายได้รับแรงกระแทกบริเวณหัว ทำให้นอกจากปวดหัวแล้วยังปวดคอ ชาบริวณใบหน้า ลิ้น ปาก ส่งผลต่อการพูดและการทำงานของกล้ามเนื้ออีกด้วย
- สาเหตุ : สาเหตุส่วนใหญ่พบว่าอาการปวดหัวจากความเครียดสูง ทำให้ความดันโลหิตสูง เกิดการสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงสมอง หรือกรณีที่ร้ายแรงต่อมาคือ หัวได้รับแรงกระทบกระเทือน ตลอดจนพบเนื้องอกในสมอง
- วิธีการรักษา : เนื่องจากเป็นการปวดหัวรุนแรงและฉับพลัน และอันตรายสูง ดังนั้นหากผู้ป่วยมีอาการให้นำส่งโรงพยาบาลทันที
7. ปวดศีรษะจากฤทธิ์คาเฟอีน
- พบได้ในใคร : พบได้ในบุคคลทั่วไปที่ร่างกายรับคาเฟอีนเป็นพิเศษ
- ลักษณะอาการ : มักมีอาการปวดหัวตื้อ ๆ หนักหัว ปวดกระบอกตา ตลอดจนเวียนหัวร่วมด้วย
- สาเหตุ : เกิดจากการที่ร่างกายรับคาเฟอีนมากเกินไป
- วิธีการรักษา : เนื่องจากระดับความรุนแรงไม่อันตรายมากนัก จึงควรรักษาเริ่มต้นด้วยการกำหนดหรือลดการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน หรือกินยาแก้ปวดต่าง ๆ ตามคำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
8. ปวดศรีษะในช่วงรอบเดือน
- พบได้ในใคร : ผู้หญิงที่มีรอบเดือน
- ลักษณะอาการ : ลักษณะอาการคล้ายกับไข้ทับฤดู อาจเกิดอาการปวดหัวช่วงก่อนมีประจำเดือนหรือหลังจากมีประจำเดือนไปแล้ว 2-3 วัน
- สาเหตุ : เกิดจากระดับฮอร์โมนเอสโทรเจนที่เพิ่มขึ้นสูง ทำให้เกิดอาการปวดหัว ปวดท้องน้อย ปวดเมื่อยตามร่างกาย
- วิธีการรักษา : เป็นประจำเดือนแล้วปวดหัวนับว่าเป็นการปวดหัวที่ไม่อันตราย สามารถรักษาด้วยการกินอาหารที่มีประโยชน์ รวมถึงวิตามินไมเกรนและแร่ธาตุแมกนีเซียม ไมเกรน หรืออาการปวดหัวประจำเดือนจะลดลง เช่น กล้วย, ถั่ว, เต้าหู้, ทูน่า เป็นต้น
9. ปวดศรีษะจากการกินอาหารหรือดื่มเครื่องดื่มเย็นจัด
- พบได้ในใคร : บุคคลทั่วไปที่กินอาหารหรือเครื่องดื่มเย็นจัด
- ลักษณะอาการ : ปวดหัวจี๊ด ๆ บริเวณสมองหรือขมับ
- สาเหตุ : เกิดจากกลไกการป้องกันตัวเมื่อได้รับสิ่งแปลกปลอม โดยเส้นเลือดบริเวณเพดานปากจะส่งผลและเกิดปฏิกริยา เพื่อป้องกันความเย็น ส่งผลให้เส้นเลือดสูบฉีดอย่างรวดเร็วและเกิดอาการปวดหัว
- วิธีการรักษา : ลดกินอาหารหรือเครื่องดื่มเย็นจัด เน้นดื่มน้ำอุ่น หรือหากต้องกินอาหารหรือเครื่องดื่มที่เย็นจัดไม่ควรกินอย่างรวดเร็ว อาจจะพักไว้ที่ลิ้นสักพักก่อน
อาการปวดหัวที่ควรพบแพทย์
แม้ว่าหลายๆ คนจะมีอาการปวดหัว แต่เมื่อกินยาหรือนอนพักผ่อนก็อาจจะหาย ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องที่ดี แต่หากใครที่มีอาการอื่น ๆ หรืออาการยังคงอยู่ ควรรีบไปพบแพทย์ ซึ่งวิธีสังเกตอาการสังเกตได้ดังนี้
1. ลักษณะอาการปวดหัวต่างจากที่เคยเป็น
คนส่วนใหญ่ที่เผชิญอาการปวดหัว มักเจอลักษณะอาการปวดหัวเช่นเดิม เช่น หากมีอาการปวดหัวตรงท้ายทอย ในวันต่อมาหรือวันอื่น ๆ เมื่อมีอาการปวดหัว ก็มักจะปวดหัวบริเวณท้ายทอยเช่นเดิม แต่หากพบว่าอาการปวดหัวเปลี่ยนไปเป็นปวดหัวตรงกลาง ปวดขมับ หรือบริเวณอื่น ๆ แทน จะต้องรีบไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและรักษาอาการในลำดับต่อไป
2. ปวดหัวเรื้อรังและมีแนวโน้มปวดหัวบ่อยขึ้น
หลาย ๆ คน เมื่อมีอาการปวดหัว กินยาหรือนอนพักผ่อนก็หาย แต่ถ้าหากสังเกตุตัวเองแล้วพบว่าอาการปวดหัวปวดหัวทุกวันเวลาเดิม ปวดหัวบ่อยขึ้นเรื่อย ๆ หรือปวดหัวหลายครั้งในหนึ่งวัน และกินยาแล้วอาการยังไม่บรรเทาลง ควรพบแพทย์ เพื่อหาสาเหตุต่อไป
3. ปวดหัวหนักมากจนต้องตื่นกลางดึก
ตามปกติแล้ว เวลานอนหลับตลอดคืน จะไม่มีการขยับตาและไม่มีการทำงานของกล้ามเนื้อ ทำให้ร่างกายตอบสนองต่อการสิ่งเร้าต่าง ๆ ได้ยาก แต่หากเมื่อใดที่ตื่นขึ้นเพราะรู้สึกถึงอาการปวดหัว แสดงให้เห็นว่าอาการนั้นค่อนข้างรุนแรงแล้ว จึงควรพบแพทย์เพื่อรับคำปรึกษาโดยเร็ว
4. ปวดหัวร่วมกับอาการอื่นๆ
หากพบว่าตนเองมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น แขนขาอ่อนแรง หน้าเบี้ยว ปวดหัวตาพร่ามัว เห็นภาพซ้อน แสงวูบวาบ ตลอดจนเวียนหัวอย่างหนักก็ควรพบแพทย์เพื่อรักษาอาการอย่างรวดเร็ว
5. อาการตื่นนอนแล้วปวดหัว
อาการปวดหัวที่เกิดหลังจากตื่นนอน ย่อมชวนให้อารม์เสียและเกิดความกังวลไปตลอดทั้งวัน แต่นอกจากจะสร้างความวิตกกังวลแล้วยังบ่งบอกถึงภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูง ซึ่งควรไปพบแพทย์ทันที
6. อาการปวดหัวข้างเดียวตลอดเวลา
หากมีอาการปวดหัวข้างเดียวตลอดเวลา ไม่ว่าจะปวดหัวข้างซ้าย ปวดหัวข้างขวา หรือปวดหัวด้านหลัง ก็ควรรีบไปพบแพทย์ทั้งสิ้น เนื่องจากเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าอาจมีพยาธิสภาพอยู่บริเวณนั้น ๆ
การวินิจฉัยอาการปวดหัว
หลังจากที่พบว่าตนเองนั้นมีอาการปวดหัวดังที่กล่าวมาในข้างต้น ก็ควรเข้าพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อทำการรักษา โดยแพทย์จะมีหลักการวินิจฉัยดังนี้
- ตรวจสอบประวัติทางการแพทย์และการรักษาที่ผ่านมา
- สอบรายละเอียดของอาการปวดหัวที่พบว่ามีลักษณะอาการอย่างไร รุนแรงเพียงใด มีอาการแทรกซ้อนหรือไม่
- ตรวจร่างกายทั่วไป ๆ
- ตรวจคัดกรองทางห้องปฏิบัติการอื่น ๆ เช่น การตรวจเลือด การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือการเจาะน้ำไขสันหลัง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระดับอาการและดุลยพินิจทางการแพทย์
การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์
การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์เพื่อหาความผิดปกติของอวัยวะในร่างกาย โดยส่วนใหญ่จะใช้ตรวจเฉพาะบริเวณ เช่น หากมีอาการปวดหัวไมเกรนหรือปวดหัวรุนแรง ก็จะเอกซเรย์บริเวณหัว การตรวจด้วยวิธีนี้เรียกได้ว่าเป็นวิธีการสร้างภาพ 3 มิติ ซึ่งจะทำให้เห็นภาพรายละเอียดต่าง ๆ ชัดเจนมากกว่าการเอกซเรย์ทั่วไป อีกทั้งยังใช้ระยะเวลาในการตรวจสั้น แต่ปลอดภัยและสามารถนำมาประกอบการวินิจฉัยโรคได้อย่าง
การตรวจ MRI
MRI คือ การตรวจโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า สำหรับตรวจหาความผิดปกติของร่างกาย เช่น ตรวจหาเนื้องอก ตรวจหาภาวะอักเสบต่าง ๆ เช่น ปลอกประสาทอักเสบ เส้นประสาทอักเสบปวดหัวหรือปวดหัวจากการอักเสบ โดยการตรวจวินิจฉัยด้วยวิธีนี้ไม่ส่งผลกระทบต่อร่างกาย ปลอดภัย และสามารถตรวจวินิจฉัยโรคได้อย่างละเอียด
การเจาะน้ำไขสันหลัง
การเจาะน้ำไขสันหลัง คือ การเจาะตรวจน้ำไขสันหลังโดยการแทงเข็มเข้าไปในช่องว่างใต้ชั้นเยื่อหุ้มสมอง เพื่อนำน้ำหล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลังมาตรวจวินิจฉัยโรค เช่น ภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบติดเชื้อ ภาวะการอักเสบต่างๆ หรือในบางกรณีจะใช้วิธีนี้ในการฉีดยาชา เพื่อใช้ในการระงับปวดหรือเพื่อรักษาโรคของเยื่อหุ้มสมอง
ทั้งนี้การตรวจด้วยวิธีต่าง ๆ ควรจะเตรียมตัวให้พร้อมและอยู่ภายใต้การดูและและการตรวจวินิจฉัของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญ
แนวทางการรักษาอาการปวดหัว
นอกจากข้อมูลเกี่ยวกับอาการปวดหัวต่าง ๆ แล้ว เรายังนำแนวทางการรักษาอาการปวดหัวมาฝาก ดังรายละเอียดต่อไปนี้
กรณีปวดหัวไม่รุนแรง
กรณีที่ปวดหัวไม่รุนแรง เช่น ปวดหัวจากการกินอาหารหรือดื่มเครื่องดื่มเย็นจัด ปวดหัวจากฤทธิ์คาเฟอีน ปวดหัวชนิดกล้ามเนื้อตึง อาจจะรักษาและบรรเทาอาการปวดหัวเบื้องต้นด้วยตนเอง ด้วยวิธีแก้ปวดหัวต่าง ๆ ดังนี้
- นวดกดจุดและยืดกล้ามเนื้อ : ช่วยทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว เพียงแค่นวดบริเวณที่ปวดตึงกล้ามเนื้อค้างไว้ 10-20 วินาที ทั้งนี้อาจจะใช้น้ำมันนวดสมุนไพร ก็จะช่วยสร้างความผ่อนคลายเพิ่มขึ้น เป็นอีหหนึ่งวิธีนวดแก้ปวดหัวไมเกรนที่เห็นผลดี
- การออกกำลังกาย : เพียงแค่ขยับร่างกายเล็กน้อยก็จะช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด ร่างกายหลั่งสารที่มีประโยชน์ นับว่าเป็นิธีแก้ปวดหัวตามธรรมชาติที่เห็นผล
- ดื่มน้ำเพิ่มความชุ่มชื้น : เมื่อมีอาการปวดหัว ควรดื่มน้ำเปล่าให้มากขึ้น ทั้งนี้อาจจะใส่มะนาว น้ำผึ้ง หรือดื่มชาต่าง ๆ ที่มีกลิ่นหอม ก็จะช่วยบรรเทาอาการปวดหัวได้
กรณีปวดหัวอย่างรุนแรง
หากมีอาการปวดหัวรุนแรง เช่น ปวดหัวเหมือนจะระเบิด ปวดหัวรุนแรงฉับพลัน ก็สามารถเข้ารับการปรึกษาจากทางการแพทย์และตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด
โดยการวินิจฉัยโรคนั้นอาจจะต้องอาศัยวิธีที่มีความแม่นยำ ละเอียดถี่ถ้วน เช่น การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ การตรวจ MRI หรือตรวจโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า การเจาะน้ำไขสันหลัง เป็นต้น เพื่อมองหาความผิดปกติ สาเหตุของการปวดหัวเรื้อรัง และหาวิธีรักษาที่เหมาะสม สอดคล้องกับระดับความรุนแรงต่อไป
กรณีปวดหัวเรื้อรัง
กรณีปวดหัวคลัสเตอร์หรือปวดหัวเรื้อรังอย่างไมเกรนเป็นระยะเวลานาน นอกจากจะรักษาด้วยวิธีเบื้องต้นดังที่กล่าวมาในข้างต้นแล้ว อาจจะต้องเข้ารับคำปรึกษา ตรวจไมเกรน และรักษาด้วยวิธีทางการแพทย์ ดังนี้
- ยาไมเกรน
กรณีที่มีอาการปวดหัวรุนแรง สามารถกินยาไมเกรนชนิดต่าง ๆ เช่น ยาแก้ปวดสามัญประจำบ้าน ยากลุ่ม triptan ตลอดจนยากลุ่ม ibuprofen เพื่อช่วยลดอาการปวดหัว
- ฝังเข็มไมเกรน
ศาสตร์ทางการแพทย์ของจีนเชื่อว่าการฝังเข็มแก้ไมเกรนจะช่วยรักษาอาการเจ็บป่วย ตลอดลดอาการปวดหัวจากไมเกรน เนื่องจากการฝังเข็มไมเกรนมีส่วนช่วยให้เลือดลมไหลเวียนได้ดี
- ฉีดยาไมเกรน (Aimovig)
แม้ชื่อจะฟังดูน่ากลัว แต่การฉีดยาไมเกรนนั้นนับว่าเป็นวิธีการรักษาไมเกรนที่เห็นผลดี ใช้ระยะเวลาสั้น อีกทั้งยังสามารถลดความถี่และความรุนแรงของอาการปวดได้มากถึง 50-75%
- โบท็อกไมเกรน
นอกจากจะสามารถยกกระชับใบหน้า ลดริ้วรอย เพิ่มความเต่งตึงแล้ว ยังสามารถลดอาการปวดหัวไมเกรนได้อย่างไม่น่าเชื่อ เพียงฉีดโบท็อกไมเกรน 1 ครั้ง ผลลัพธ์จะคงอยู่ได้นานประมาณ 3-4 เดือนเลยทีเดียว
ภาวะแทรกซ้อนจากอาการปวดหัว
หลาย ๆ คนเมื่อพบว่าตนเองมีอาการปวดหัวบ่อย หากสังเกตตนเองก็อาจจะพบว่าร่างกายมีภาวะแทรกซ้อนด้วย ซึ่งภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้อาจจะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้ ยกตัวอย่างเช่น
- มีปัญหาเรื่องการนอนหลับพักผ่อน
- เกิดความวิตกกังวล เนื่องจากอาการปวดหัว
- เกิดความเครียด จากอาการปวดหัวทุกวัน
- มีแน้วโน้มเกิดภาวะซึมเศร้าหรือปัญหาทางด้านจิตใจ
อย่างไรก็ตาม อาการปวดหัวรูปแบบต่าง ๆ สามารถรักษาให้ดีขึ้นได้ ดังนั้นจึงไม่ควรกังวล เครียด หรือวิตกมากเกินไป แต่ควรกินอาหารที่มีประโยชน์ รักษาตามวิธี และพักผ่อนให้เพียงพอแทน
ปรับพฤติกรรมช่วยป้องกันอาการปวดหัว
แม้ว่าจะมีวิธีการรักษาหรือบรรเทาอาการปวดหัวไมเกรนและอาการปวดหัวหลาย ๆ รูปแบบ แต่หากเริ่มต้นปรับพฤติกรรมตนเองก่อน ก็จะช่วยให้อาการนั้นดีขึ้นได้เป็นอย่างดี และยังสามารถป้องกันให้อาการรุนแรงขึ้นได้ด้วย โดยมีวิธีง่าย ๆ ดังนี้
- ปรับสภาพแวดล้อม เช่น ควรปรับโต๊ะ เก้าอี้ให้เหมาะสมสอดคล้องสรีระร่างกาย การปรับห้องให้มีแสงสว่างเพียงพอ เป็นต้น
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ตามปกติแล้วคนเราควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ 6-8 ชั่วโมง เพื่อให้ร่างกายฟื้นฟูและพักผ่อนได้อย่างเต็มที่
- ควรเลี่ยงอาหารกระตุ้นไมเกรน เช่น เนื้อแปรรูป ผลไม้จำพวกส้ม มะนาว ข้าวสาลี ในขณะเดียวกันควรเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น ผัก ผลไม้ อาหารที่มีแมกนีเซียม ไมเกรนก็จะลดลงแทน
- เลี่ยงปัจจัยกระตุ้นจากภายนอก เช่น ภาวะความเครียดจากการทำงาน กลิ่นฉุน เสียงดัง สถานที่ที่มีแสงวูบวาบตลอดเวลา เป็นต้น
- หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนและแอลกอฮอล์ เนื่องจากคาเฟอีนส่งผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง อีกทั้งแอลกอฮฮลล์มีส่วนประกอบของไทรามีน ฮีสตามีน ฟลาโวนอยด์ และสารอื่น ๆ ที่เข้าไปกระตุ้นให้เกิดอาการปวดหัว
ข้อสรุป
หากใครที่กำลังเผชิญอาการปวดหัวไมเกรน ปวดหัวข้างเดียว ปวดหัวจี๊ดๆ ตลอดจนอาการปวดหัวแบบต่าง ๆ ควรปรับพฤติกรรมตนเอง เพื่อป้องกันอาการปวดหัวและเพื่อสุขภาพที่ดี
แต่หากใครที่ต้องการปรึกษาาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางเกี่ยวกับอาการปวดหัวไมเกรน สามารถแอดไลน์ @ayaclinic หรือโทร 090–970-0447 เพื่อปรึกษา เข้าตรวจ ตลอดจนนัดวันรักษาไมเกรนกับ BTX Migraine Center หรือศูนย์รักษาไมเกรนเฉพาะทาง ที่มีมาตรฐานรองรับ เทคโนโลยีทันสมัย และมีความปลอดภัยสูงได้ทันที
เอกสารอ้างอิง
ศูนย์รังสีวินิจฉัยก้าวหน้า (ไอแมค). (ม.ป.ป.). ความรู้ MRI เบื้องต้น. สืบค้นเมื่อ 31 กรกฎาคม 2565 จาก https://www.rama.mahidol.ac.th/aimc/th/content/09122017-1414-th
Mayo Clinic. (n.d.). Cluster headache. Retrieve from https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/cluster-headache/symptoms-causes/syc-20352080