ออกกำลังกายแล้วปวดหัวหน้ามืด เพราะอะไร
การออกกำลังกายเป็นหนึ่งในวิธีที่ช่วยเสริมสร้างให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง สดชื่น กระปรี้กระเปร่า แต่บางคนเมื่อออกกำลังแล้วปวดหัว หน้ามืดบ่อยๆ จนบางครั้งก็สงสัยว่าจะเป็นอันตรายหรือไม่
บทความนี้ เราจึงได้รวบรวมข้อมูลที่เป็นประโยชน์ว่าหลังออกกําลังกายแล้วปวดหัวเกิดจากอะไร อาการเป็นอย่างไร ออกกําลังกายแล้วปวดหัวไมเกรนเกี่ยวข้องกันหรือไม่ และเมื่อมีอาการ ออกกําลังกายแล้วมึนหัว วิธีแก้จะต้องทำอย่างไรบ้าง อ่านต่อได้ในบทความ
สารบัญบทความ
- ออกกำลังกายแล้วปวดหัว (Exercise Headaches)
- อาการออกกำลังกายแล้วปวดหัวเป็นอย่างไร
- ออกกำลังกายแล้วปวดหัวเกิดจากสาเหตุใด
- ปัจจัยเสี่ยงการออกกำลังกายแล้วปวดหัว
- ออกกำลังกายแล้วปวดหัว อันตรายไหม
- ปวดหัวหลังออกกำลังกายแบบไหน..ควรพบแพทย์
- การวินิจฉัยอาการออกกำลังกายแล้วปวดหัว
- วิธีแก้อาการออกกำลังกายแล้วมึนหัว
- แนวทางการป้องกันอาการออกกำลังกายแล้วปวดหัว
- ข้อสรุป
ออกกำลังกายแล้วปวดหัว (Exercise Headaches)
ออกกำลังแล้วปวดหัว เป็นหนึ่งในอาการปวดหัวที่เกิดจากกิจกรรมทางกายภาพ โดยส่วนใหญ่จะพบว่าออกกําลังกายแล้วปวดหัวข้างเดียว บางครั้งก็ปวดสองข้าง เป็นจังหวะตุบๆ คล้ายกับการเต้นของหัวใจ
เนื่องจากกล้ามเนื้อต้องทำงานหนักและต้องการเลือดมาหมุนเวียน ทำให้หลอดเลือดขยายตัวมากกว่าปกติ ทั้งนี้ อาการปวดหัวยังจะเกิดอยู่ตั้งแต่ไม่กี่นาทีไปจนถึงระยะเวลาหลายวัน ซึ่งขึ้นอยู่กับอาการของแต่ละบุคคล
อาการออกกำลังกายแล้วปวดหัวเป็นอย่างไร
อย่างไรก็ดี อาการออกกําลังกายเสร็จแล้วปวดหัว อาจจะเป็นทั้งอาการปวดแบบปฐมภูมิและทุติยภูมิ ขึ้นอยู่กับสาเหตุและลักษณะอาการร่วม โดยแบ่งได้ดังนี้
อาการออกกำลังกายแล้วปวดหัวแบบปฐมภูมิ
อาการออกกำลังกายแล้วปวดหัวแบบปฐมภูมิคือ การปวดหัวขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ แต่จากการศึกษาและวิจัยของแพทย์และผู้ที่เกี่ยวข้องในเรื่องดังกล่าวพบว่าเกี่ยวข้องกับการตีบของหลอดเลือดเมื่อออกกำลังกาย ซึ่งนอกจากการออกกําลังกายแล้วปวดหัวจี๊ด ยังมีอาการปวดหัวจากความเครียดเป็นส่วนหนึ่งของการเกิด ตลอดจนอาการปวดหัวคลัสเตอร์ โดยมีจะอาการร่วมคล้ายๆ กันดังนี้
- ตาลาย
- ปวดหัวทั้งสองข้าง
- ตาพร่ามัว
- เวียนหัว
- อาการสั่น
- ปวดหัวคลื่นไส้
อาการออกกำลังกายแล้วปวดหัวแบบทุติยภูมิ
อาการออกกำลังกายแล้วปวดหัวแบบทุติยภูมิ เกิดจากความผิดปกติของโครงสร้างบริเวณคอส่วนบนไปจนบริเวณรอบหัวและโรคต่างๆ ซึ่งมักจะถูกกระตุ้นด้วยการออกกำลังกาย ตลอดจนสภาพแวดล้อมอื่นๆ ซึ่งอาการออกกำลังกายแล้วปวดหัวแบบทุติยภูมิ จะมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย ดังนี้
- อาเจียน
- หมดสติ
- เห็นภาพซ้อน มีปัญหาทางด้านการมองเห็น
- คอแข็ง รู้สึกตึงคอ
ออกกำลังกายแล้วปวดหัวเกิดจากสาเหตุใด
การออกกำลังกายแล้วปวดหัวเกิดจากหลายสาเหตุ ซึ่งแม้ว่าอาการปวดหัวแบบปฐมภูมิจะยังไม่พบสาเหตุที่แน่ชัด แต่าการปวดแบบทุติยภูมิจะพบได้จากหลายๆ สาเหตุ ดังนี้
1. โรคไมเกรน
โรคไมเกรน สามารถพบได้ในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ลักษณะอาการคือ จะมีอาการปวดหัวข้างซ้าย ข้างขวา ปวดหัวท้ายทอยร่วมด้วย ซึ่งส่วนใหญ่มักมีอาการตาพร่ามัว เวียนหัว เห็นภาพซ้อนร่วมด้วย อย่างไรก็ดี อาการปวดหัวไมเกรนนั้นเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ แต่ส่วนใหญ่เกิดจากเกิดจาพันธุกรรม การทำงานที่ผิดปกติของหลอดเลือดในร่างกาย ตลอดจนปัจจัยภายนอก เช่น ออกกําลังกายแล้วปวดหัวไมเกรน อาหารกระตุ้นไมเกรน สภาพแวดล้อม การพักผ่อนไม่เพียงพอ
2. โรคไซนัสอักเสบ
โรคไซนัสอักเสบ เกิดจากการอักเสบของโพรงจมูก ส่งผลให้เกิดแรงดันบริเวณหน้าและหน้าผากบีบตัว ซึ่งส่งผลให้เกิดอาการปวดหัวคิ้ว ปวดเบ้าตา กระบอกตา ปวดหัวไซนัส และปวดจมูกได้ นอกจากนี้ยังมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล ปวดแน่นบริเวณใบหน้า สูญเสียการรับรสหรือกลิ่นร่วมด้วย ซึ่งเมื่อออกกำลังกายหนัก ก็อาจจะไปกระตุ้นให้อาการเหล่านี้เกิดขึ้นได้
3. การอุดตันของการไหลของน้ำไขสันหลัง
การอุดตันทางเดินน้ำหล่อสมองและไขสันหลัง แบ่งได้ 2 แบบ คือ การอุดตันระหว่างโพรงสมองกับช่องใต้เยื่อหุ้มสมองและไขสันหลังและการติดต่อระหว่างโพรงสมองและช่องใต้เยื่อหุ้มสมองที่มักเกิดขึ้นนอกโพรงสมองที่ช่องใต้เยื่อหุ้มสมอง ไขสันหลัง และระบบหมุนเวียนของหลอดเลือดดำ อย่างไรก็ดี การอุดตันของการไหลของน้ำไขสันหลังอาจจะถูกกระตุ้นด้วยการออกกำลังกายแล้วปวดหัวได้
4. ความผิดปกติของหลอดเลือด
ความผิดปกติของหลอดเลือดเกิดได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งส่วนใหญ่จะมีลักษณะอาการแตกต่างกันออกไป เช่น ภาวะขาขาดเลือดจากหลอดเลือดแดงตีบตัน แผลเรื้อรังที่เท้า ปวดเมื่อยที่น่องเวลายืนนานๆ ขาบวม เป็นต้น ซึ่งมักจะเกิดอาการปวดหัวอย่างรุนแรง โดยเฉพาะออกกําลังกายแล้วปวดหัวคลื่นไส้ ทางที่ดีจึงควรรักษาอย่างถูกวิธีและอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์
5. ก้อนเนื้อหรือเนื้องอกมะเร็ง
เนื้องอกเป็นเนื้อเยื่อที่ผิดปกติในร่างกาย ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบประสาทและสมอง ทำให้ร่างกายเกิดความผิดปกติ เนื่องจากเนื้องอกจะกดทับบริเวณศีรษะ ส่งผลให้ความดันเพิ่มสูง จนเกิดอาการปวดหัวข้างขวา ข้างซ้าย ปวดหัวเรื้อรัง ตลอดจนปวดลามไปบริเวณต่างๆ ซึ่งนอกจากนี้อาจจะพบว่ามีอาการแขนขาอ่อนแรง ตาพร่ามัว สับสน มึนงงร่วมด้วย จนบางครั้งเมื่อออกกําลังกายแล้วปวดหัวบ่อยๆ
ปัจจัยเสี่ยงการออกกำลังกายแล้วปวดหัว
การออกกําลังกายแล้วปวดหัวจะเกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่นอกจากสาเหตุในข้างต้นแล้วนั้นยังมีปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลให้ออกกําลังกายแล้วปวดหัวไมเกรน ปวดจี๊ดๆ ร่วมด้วย ดังนี้
- การออกกำลังกายในสภาพอากาศร้อน เนื่องจากจะส่งผลให้เกิดภาวะเพลียแดดและสมแดด อุณหภูมิในร่างกายจะสูงขึ้นตามไปด้วย ดังนั้น เมื่ออากาศร้อน ปวดหัวก็จะตามมาด้วย
- ออกกำลังกายบนที่สูง แม้ว่าจะช่วยเพิ่มความแข็งแรง และลดน้ำหนักได้ดี แต่ก็มีความดันที่สูงขึ้น จนส่งผลให้เกิดอาการปวดหัว
- มีประวัติส่วนตัวหรือครอบครัวเกี่ยวกับไมเกรน เนื่องจากสาเหตุหนึ่งของไมเกรนมาจากพันธุกรรม
ออกกำลังกายแล้วปวดหัว อันตรายไหม
ทำไมหลังออกกำลังกายแล้วปวดหัว? กลายเป็นคำถามยอดฮิตของหลายๆ คน ซึ่งคำถามที่มักจะพบได้บ่อยตามมาคือ การออกกำลังกายแล้วปวดหัวอันตรายไหม?
ซึ่งคำตอบส่วนใหญ่จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและนักวิจัยจะพบว่าออกกำลังกายแล้วปวดหัวไม่เป็นอาการอันตราย ซึ่งหากพบว่าตนเองมีอาการก็สามารถรักษาได้ แต่ทั้งนี้ก็อาจจะต้องเข้าพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อประเมินอาการ เนื่องจากเกิดได้จากหลายสาเหตุที่เป็นอันตราย
ปวดหัวหลังออกกำลังกายแบบไหน..ควรพบแพทย์
หลายๆ คนอาจจะมีอาการออกกำลังกายแล้วปวดหัวอยู่บ้าง แต่บางครั้งที่มีอากรรดังต่อไปนี้ ก็ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อเชา้รับการตรวจและประเมินอาการอย่างทันท่วงที
- อาการปวดหัวเริ่มต้นขึ้นอย่างกะทันหัน
- ออกกําลังกายแล้วปวดหัวจี๊ดเป็นครั้งแรก
- มีอาการติดต่อกันนานกว่า 2 วัน
- มีอาการง่วงนอน อ่อนเพลีย
- เป็นลมหรือหมดสติบ่อยๆ
การวินิจฉัยอาการออกกำลังกายแล้วปวดหัว
สำหรับการวินิจฉัยทางการแพทย์นั้นจะเริ่มจากการซักถามประวัติส่วนตัว ประวัติการรักษา พฤติกรรมการใช้ชีวิตก่อนจะออกกำลังกายแล้วปวดหัว ตลอดจนข้อมูลเบื้องต้นต่างๆ จากนั้นจึงจะสอบถามและทำการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียดด้วยวิธีทางการแพทย์ ดังนี้
1. การตรวจหลอดเลือดด้วยเครื่องเอกซเรย์
วิธีการตรวจวินิจฉัยออกกําลังกายแล้วปวดหัวไมเกรน สำหรับดูความผิดปกติของหลอดเลือดหัวใจและความผิดปกติของหลอดเลือดต่างๆ ซึ่งวิธีนี้จะมีผลข้างเคียงต่ำ เห็นภาพเอกซเรย์ชัดเจน ซึ่งเมื่อทำการวินิจฉัยและไม่พบความผิดปกติ ผู้ที่เข้ารับการวินิจฉัยก็สามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันตามปกติได้
2. การตรวจ CT Scan
วิธีการตรวจวินิจฉับแบบ CT SCAN จะเน้นตรวจหาความผิดปกติของร่างกายผ่านการฉายรังสีเอกซ์เข้าไปยังบริเวณอวัยวะที่ต้องการจะตรวจ เช่น หัว หัวใจ หน้าอก แขน ขา เป็นต้นจากนั้นผลลัพธ์จะแสดงออกมาในรูปแบบภาพ 3 มิติและภาพแนวระนาบ ทำให้สามารถวินิจฉัยโรคได้อย่างละเอียด หาความผิดปกติ และหาสาเหตุของอาการก้มแล้วปวดหัว ออกกําลังกายแล้วปวดหัว ปวดคอ บ่า ไหล่ ได้ง่ายขึ้น
3. การตรวจ MRI
วิธีการตรวจวินิจฉับแบบ MRI นับว่าเป็นการตรวจร่างกายด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งได้รับความนิยมสูง เนื่องจากจะวิธีทำให้ได้ภาพที่คมชัด มีรายละเอียดชัดเจน โดยส่วนใหญ่จะใช้ตรวจหาความผิดปกติในร่างกาย เช่น ตรวจหาเนื้องอก ภาวะอักเสบในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย สมอง หัวใจ ความผิดปกติของระบบเลือด รวมถึงยังสามารถตรวจดูความผืดปกติอื่นๆ เช่น ไอแล้วปวดหัว ออกกําลังกายเสร็จแล้วปวดหัว
วิธีแก้อาการออกกำลังกายแล้วมึนหัว
แน่นอนว่าเมื่ออ่านมาถึงตรงนี้ หลายๆ คนที่ออกกำลังกายเหนื่อยแล้วปวดหัว อาจจะพยายามหาวิธีแก้หลายๆ แบบ ทั้งวิธีแก้ปวดหัวไมเกรนเบื้องต้นและวิธีทางการแพทย์ ดังนี้
การบรรเทาอาการเบื้องต้น
วิธีการบรรเทาอาการเบื้องต้น เมื่อออกกําลังกายแล้วปวดหัวไมเกรน
สามารถทำได้ง่ายๆ หลากหลายรูปขึ้นอยู่กับความสะดวกของแต่ละคน เช่น
- การดื่มน้ำให้เพียงพอ
ตามปกติการดื่มน้ำให้เพียงพอให้ดื่มน้ำวันละ 8-10 แก้ว แต่หากเป็นผู้ที่ออกกำลังกายหนักควรดื่มน้ำก่อนออกกำลังกาย 1-2 แก้วอย่างน้อย 15 นาที และในขณะที่ออกกำลังกายอยู่ควรพักจิบน้ำอย่างน้อย 1-2 แก้ว ทุก 15-20 นาที เพื่อให้ร่างกายได้รับน้ำอย่างเพียงพอ ลดการสูญเสียน้ำและเหงื่อ นอกจากนี้หลังออกกำลังกายก็ควรดื่มน้ำอย่างน้อย 1 ขวดกลางร่วมด้วย
- การทานยาแก้ปวด
ยาแก้ปวดมีหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นยาแก้ปวดพาราเซตามอล แอสไพริน หรือยาไมเกรน เช่น ยากลุ่ม triptan แก้ปวดที่ช่วยบรรเทาอาการปวดหัวรูปแบบต่าง ๆ ยา ergotamine หรือยารักษาไมเกรนโดยเฉพาะ ตลอดจนยากลุ่ม ibuprofen หรือยาต้านอาการอักเสบไร้สเตียรอยด์ เพื่อช่วยลดอาการปวดหัว อย่างไรก็ดี การกินนยาแก้ปวดจะต้องได้รับคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับเภสัชกรก่อนเสมอ
- การประคบเย็น
การประคบเย็นไม่ว่าจะด้วยผ้าเย็น ผ้าชุบน้ำเย็นบิดหมาด หรือผ้าห่อน้ำแข็งประมาณ 10-15 นาที ก็สามารถบรรเทาอาการหลังออกกำลังกายแล้วปวดหัวได้ทั้งสิ้น เนื่องจากการประคบเย็นจะช่วยให้อุณหภูมิในร่างกายเย็นขึ้น ช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัว ลดอาการตึง ตลอดจนลดอาการอักเสบของกล้ามเนื้อหลังออกกำลังกายได้เป็นอย่างดี
การรักษาทางการแพทย์
หากใครที่ออกกำลังกายแล้วปวดหัวและรักษาด้วยวิธีแก้ปวดหัวในเบื้องต้นแล้วแต่อาการยังไม่ดีขึ้น ก็สามารถรักษาด้วยวิธีการทางแพทย์ ดังต่อไปนี้
- การฉีดโบท็อกไมเกรน
การฉีดโบท็อกไมเกรน จะฉีดสาร Botulinum toxin ชนิดเอ สำหรับรักษาไมเกรนฉีดบริเวณใบหน้าระหว่างคิ้ว ท้ายทอย ต้นคอ หน้าผาก และบ่าประมาณ 31 จุด เพื่อช่วยลดอาการและยับยั้งปลายประสาท ซึ่งเป็นตัวกลางในการส่งสัญญาณความเจ็บปวดไปยังสมองส่วนที่เชื่อมโยงกับกล้ามเนื้อ นอกจากนี้ยังช่วยลดอาการกล้ามเนื้อเกร็งตัว ลดความรุนแรง และความถี่ในการเกิดอาการได้มากถึง 60-70%
ซึ่งนอกจากการฉีดโบท็อกไมเกรนจะช่วยลดอาการออกกําลังกายแล้วปวดหัวไมเกรนด้วยแล้ว ยังมีการโบท็อกออฟฟิศซินโดรม เพื่อรักษาอาการกล้ามเนื้อตึงตัวและกล้ามเนื้องเกร็งได้อีกด้วย
- การฝังเข็มไมเกรน
การฝังเข็มไมเกรนจะใช้เข็มที่ทำจากสเตนเลสขนาดเล็กและบาง ปักเข็มลงบริเวณแนวเส้นหรือจุดสำคัญที่มีพลัง เพื่อเปิดทวารสมองและทะลวงเส้นลมปราณ ปรับสมดุลอวัยวะในร่างกายให้กลับคืนสู่ปกติ ส่งผลให้ระบบไหลเวียนโลหิตดีขึ้น ลดอาการปวดหัวได้เป็นอย่างดี
แต่การฝังเข็มไมเกรน เพื่อลดอาการออกกําลังกายเสร็จแล้วปวดหัว ก็ยังมีข้อจำกัดหลายๆ ประการ ดังนั้นจึงควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนทำการรักษาเสมอ
แนวทางการป้องกันอาการออกกำลังกายแล้วปวดหัว
อย่างไรก็ดี เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการรุนแรงถึงขั้นจะต้องรักษาทางการแพทย์ เราจึงได้รวบรวมแนวทางการป้องกันการออกกำลังกายแล้วปวดหัวง่ายๆ มาฝากให้ ดังนี้
- หลีกเลี่ยงการออกกลังกายในที่ที่อาการศร้อนและการออกกำลังกายบนที่สูง
- เลือกใช้วิธีการวอร์มอัพและคูลดาวน์ก่อนและหลังการออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- ดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
- พักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อย 7-9 ชั่วโมง/วัน
- สวมแว่นกันแดด สวมใส่เสื้อผ้าที่ช่วยระบายความร้อน เมื่อต้องอยู่ที่กลางแจ้ง
- กินอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง เช่น วิตามินที่มีประโยชน์ ผักผลไม้ แร่ธาตุสำคัญๆ อย่างแมกนีเซียม ไมเกรนจะลดลงได้
ข้อสรุป
การออกกำลังกายแล้วปวดหัวเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ไซนัสอักเสบ ไมเกรน ตลอดจนเนื้องอก ซึ่งเมื่อพบว่าตนเองมีอาการในเบื้องต้นหรือพบว่ามีความผิดปกติในร่างกาย ถึงแม้ว่าจะไม่อันตราย แต่ก็ไม่ควระละเลย
อย่างไรก็ดี หากใครที่ต้องเผชิญอาการออกกำลังกายแล้วปวดหัวบ่อยๆ จนต้องรักษด้วยวิธีทางการแพทย์ สามารถแอดไลน์ @ayaclinic หรือโทร 090–970-0447 เพื่อเข้ารับคำปรึกษา เข้าตรวจไมเกรน ตลอดจนทำการรักษาอย่างปลอภัย ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ทันที
เอกสารอ้างอิง
Cleveland Clinic. (n.d.). Exertion Headaches. Retrieve from https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/21959-exertion-headaches
Mayo Clinic. (n.d.). Exercise headaches. Retrieve from https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/exercise-headaches/symptoms-causes/syc-20372276