ยาเออร์โกทามีน (Ergotamine) แก้ปวดไมเกรน อันตราย..หากใช้ผิดวิธี ข้อควรระวังก่อนใช้ยามีอะไรบ้าง
ไมเกรนนับว่าเป็นโรคปวดหัวเรื้อรังที่สร้างความกังวลใจให้กับใครหลาย ๆ คน โดยเฉพาะวัยทำงานหรือคนที่ต้องขับรถ ทำกิจกรรมต่าง ๆ เนื่องจากอาการของไมเกรนนั้นส่งผลกระทบต่อกิจกรรมนั้น ๆ
Content
- ยาเออร์โกทามีน (Ergotamine)
- ยา Ergotamine รักษาไมเกรนได้อย่างไร
- ข้อควรระวังก่อนใช้ยา Ergotamine
- แนะนำวิธีใช้ยา Ergotamine ที่ถูกต้อง
- อันตรายจากการใช้ยา Ergotamine ร่วมกับยาบางชนิด
- กลุ่มยาที่ห้ามใช้ร่วมกับ Ergotamine
- ใครบ้างที่ห้ามใช้ยา Ergotamine
- อาการข้างเคียงที่อาจเกิดจากยา Ergotamine
- วิธีเก็บรักษายาเออร์โกทามีน
- ทางเลือกอื่นในการรักษาโรคไมเกรน
- ปรึกษาการใช้ยาไมเกรนกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง
- SUMMARY
ยาเออร์โกทามีน (Ergotamine)
ยาเออร์โกทามีน (Ergotamine) นั้นมีประวัติยาวนาน โดยประกอบด้วยสารตั้งต้นได้แก่ สารเออร์กอต (Ergot) ถูกค้นพบครั้งแรกในสมัยกรีกและโรมัน เนื่องจากมีชาวกรีกและโรมันทานพืชและขนมปังที่มีการติดเชื้อรา ส่งผลให้เกิดอาการปวดแสบปวดร้อน ปลายมือและเท้าเน่า
ต่อมาในงานวิจัยของสถาบันสุขภาพแห่งชาติ (NIH) ระบุว่าช่วงต้นคริสต์ศักราชที่ 19 นักเคมีชาวสวิตเซอร์แลนด์และคณะก็ได้สกัดเออร์โกทามีน (Ergotamine) จากสารเออร์กอต (Ergot) และตั้งแต่ปีค.ศ. 1925 ก็ได้มีการนำยาดังกล่าวมาใช้รักษาไมเกรน
หลาย ๆ คนอาจจะสงสัยว่า Cafergot คือยาอะไร ต่างจากเออร์โกทามีนหรือไม่ แต่จริง ๆ แล้วนั้น Cafergot เป็นหนึ่งในชื่อทางการค้าของยาเออร์โกทามีนนั่นเอง นอกจากนี้ยังมีชื่ออื่น ๆ ที่คุ้นเคย เช่น Ergosia, Avamigran, Poligot-CF และ Tofago หรือยาไมเกรนโทฟาโก้
ทั้งนี้มีการจัดให้ Ergotamine กลุ่มยา AGENTS FOR MIGRAINE หรือเป็นยารักษาไมเกรนอีกด้วย
ยา Ergotamine รักษาไมเกรนได้อย่างไร
สำหรับคำถามที่ว่าเออร์ทาโกมีนช่วยบรรเทาMigrainesได้อย่างไรนั้น กลไกการทำงานของยาเออร์โกทามีน (Ergotamine) จะทำให้เส้นเลือดมีการหดตัวลดลงตามปกติ และทำหน้าที่กระตุ้นตัวรับในสมอง ส่งผลให้สารสื่อประสาทในสมองหลาย ๆ ชนิดมีการเปลี่ยนแปลงและทำงานได้อย่างปกติ
ดังที่กล่าวมาในข้างต้นยาเออร์โกทามีน (Ergotamine) นั้นช่วยให้หลอดเลือดหรือสารต่าง ๆ ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยลดอาการปวดกระบอกตา อาการปวดหัวจากความเครียด หรืออาการปวดหัวจากไมเกรนได้เป็นอย่างดี
ข้อควรระวังก่อนใช้ยา Ergotamine
แม้ว่ายาเออร์โกทามีน (Ergotamine) จะรักษาอาการปวดหัวไมเกรนได้ แต่ก็ยังมีข้อควรระวังก่อนใช้ยา ดังนี้
- หากเป็นโรคภูมิแพ้ต่าง ๆ ยาชนิดนี้จะไม่สามารถออกฤทธิ์ในการรักษาได้
- หากแพ้ยาเออร์กอต อัลคาลอยด์หรือแพ้ยากลุ่มรักษาอาการปวดหัวไมเกรนและคลัสเตอร์ ควรแจ้งเภสัชกรหรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญให้ทราบก่อนทานยา
- หากมีอาการคันรุนแรง อาการติดเชื้อรุนแรง อยู่ในภาวะขาดสารอาหาร ควรแจ้งเภสัชกรหรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญให้ทราบก่อนทานยาเออร์โกทามีน (Ergotamine)
- ผู้ที่สูบบุหรี่ มีภาวะความดันโลหิตสูงแบบควบคุมได้ หรือผู้ที่เป็นโรคเบาหวานควรแจ้งเภสัชกรหรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญให้ทราบก่อนทานยา
- ผู้ที่สูบบุหรี่หรือดื่มแอลกอฮอล์ที่ใช้ยาชนิดนี้ จะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการปวดหัวไมเกรนและปัญหาเกี่ยวกับหัวใจในรูปแบบต่าง ๆ
- หากต้องการขับรถ ทำงานกับเครื่องจักร ควรระมัดระวังในการใช้ยา เนื่องจากยาส่งผลให้เกิดอาการเวียนหัว
อย่างไรก็ตามผู้ที่มีอาการปวดหัวไมเกรน ปวดหัวคิ้ว หรือปวดหัวข้างเดียว และต้องการที่จะใช้ยาดังกล่าว ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนเสมอ เพื่อป้องกันผลเสียที่ตามมาและเพื่อให้ยานั้นออกฤทธิ์และมีประสิทธิภาพที่ดี
แนะนำวิธีใช้ยา Ergotamine ที่ถูกต้อง
นอกจากเราจะนำข้อมูลเกี่ยวกับข้อควรระวังในการใช้ยามาฝากแล้ว วันนี้เรายังรวบรวม ๆ ข้อแนะนำวิธีการใช้ยาเออร์โกทามีน (Ergotamine) ฉบับเข้าใจง่าย ๆ มาฝาก ดังนี้
1. เป็นยาที่ใช้รักษาเมื่อเกิดไมเกรนเฉียบพลัน
เมื่อมีอาการปวดหัวไมเกรน หลาย ๆ คนอาจจะเลือกรักษาด้วยวิธีการที่แตกต่างกันไปตามความสะดวก เช่น วิธีนวดแก้ปวดไมเกรน สมุนไพรรักษาไมเกรน รวมถึงการใช้ยาเออร์โกทามีน (Ergotamine)
ทั้งนี้ยาเออร์โกทามีน (Ergotamine) สามารถรักษาได้เมื่อเกิดไมเกรนเฉียบพลัน กล่าวคือ เมื่อรู้สึกว่าตนเองนั้นมีอาการปวดหัวท้ายทอย ไมเกรนขึ้นตา ตลอดจนปวดหัวต่าง ๆ ก็สามารถใช้ยาชนิดนี้ในการรักษาได้
เมื่อทานแล้วอาการก็จะบรรเทาลงตามลำดับ แต่ยาชนิดนี้ห้ามใช้ขณะที่ยังไม่มีอาการและห้ามใช้ในกรณีทานเพื่อป้องกันอาการไว้ก่อนเด็ดขาด
2. ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยา
จากที่กล่าวมาในข้างต้น การใช้ยารักษาไมเกรนชนิดนี้มีข้อควรระวังจำนวนมาก นับว่าเป็นยาที่ค่อนข้างอันตราย ดังนั้นหากผู้ป่วยไมเกรนหรือผู้ป่วยท่านใดที่ต้องการจะทานยาชนิดนี้ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหรือเภสัชกรก่อน
ทั้งนี้อาจจะต้องระบุถึงประวัติการรักษา ประวัติการแพ้ยา และรายละเอียดข้อมูลประกอบด้วย เพื่อป้องกันผลข้างเคียงที่รุนแรงจากการทานยาเออร์โกทามีน (Ergotamine)
3. ศึกษาวิธีและปริมาณการใช้ยาที่เหมาะสม
การใช้ยาชนิดนี้ต่างจากชนิดอื่น ๆ กล่าวคือ จะต้องอมยาไว้บริเวณใต้ลิ้นและปล่อยให้ยาละลายไปเอง ไม่ควรเคี้ยว กลืน ทานอาหาร หรือดื่มน้ำตาม
อีกทั้งยาชนิดนี้ไม่ควรใช้เป็นประจำหรือใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ทางที่ดีคือ ทานครั้งละ 1-2 เม็ด หากอาการไม่ดีขึ้นให้เว้นระยะห่างทุก ๆ ครึ่งชั่วโมงก่อนจะทานซ้ำ ทั้งนี้ใน 1 วัน ห้ามใช้ยาเกิน 6 เม็ด ในช่วงเวลา 7 วัน ห้ามใช้ยาเกิน 10 เม็ด และในช่วงเวลา 30 วัน ห้ามใช้ยาเกิน 40 เม็ด
แต่หากใช้ยานี้ติดต่อกันนานถึง 10 วันขึ้นไปจะส่งผลให้อาการปวดหัวหรือไมเกรนรุนแรงขึ้น ความดันโลหิตสูงขึ้น รวมทั้งมีอาการเจ็บหน้าอก เวียนหัว คลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย เนื่องจากร่างกายได้รับยาเกิดขนาดนั่นเอง
อันตรายจากการใช้ยา Ergotamine ร่วมกับยาบางชนิด
นอกจากข้อควรระวังในการใช้ยาแล้ว ควรระวังถึงการใช้ยาเออร์โกทามีน (Ergotamine) ร่วมกับยาอื่น ๆ ด้วย เนื่องจากจะส่งผลเสียต่อการทำงานในร่างกายได้ โดยอาจจะเกิดภาวะ Ergotism
ภาวะ Ergotism คือ ภาวะที่หลอดเลือดแดงส่วนปลายเกิดการหดตัว เนื่องจากได้รับสารกลุ่มเออร์กอต อัลคาลอยด์หรือยารักษาแก้ปวดหัวไมเกรนมากเกินไป ส่งผลให้ร่างกายขาดเลือดไปเลี้ยงบริเวณปลายแขนและขา
ผู้ที่อยู่ในภาวะ Ergotism จะมีอาการมือเท้าเย็น ชา ตลอดจนมีอาการปวด ซึ่งหากขาดเลือดในการไปเลี้ยงเป็นเวลานานจะส่งผลให้เนื้อเยื่อบริเวณนั้นตาย พิการ และในบางรายที่มีอาการรุนแรงจะส่งผลให้ความดันโลหิตต่ำลง หัวใจเต้นช้า ตลอดจนปัสสาวะลดลง หรืออันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้
กลุ่มยาที่ห้ามใช้ร่วมกับ Ergotamine
สำหรับยาที่ห้ามใช้ร่วมกับยาเออร์โกทามีน (Ergotamine) นั้นมีหลายชนิด เนื่องจากหากใช้ยาดังกล่าวจะส่งผล คือ
- ประสิทธิภาพของยาเออร์โกทามีนนั้นลดลง ไม่สามารถรักษาอาการปวดหัวไมเกรนได้
- ปริมาณยาเออร์โกทามีนในกระแสเลือดเพิ่มสูงขึ้น เกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงแทน เช่น หัวใจวาย ความดันโลหิตสูง เส้นเลือดในสมองแตก หัวใจขาดเลือด ปลายมือและปลายเท้าเน่าจากการขาดเลือด เป็นต้น
ทั้งนี้ยาที่ห้ามใช้ร่วมกันมีดังนี้
1. ยาต้านเชื้อรากลุ่ม Azoles
ยาต้านเชื้อรากลุ่ม Azoles เช่น Voriconazole, Clotrimazole, Ketoconazole และ Micronazole มีสรรพคุณในการรักษาเชื้อราประเภทต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี แต่หากใช้ร่วมกับยาเออร์โกทามีน (Ergotamine) จะส่งผลเสียแทน
2. ยาปฏิชีวนะกลุ่ม Macrolides
ยาปฏิชีวนะกลุ่ม Macrolides ประกอบด้วยยาหลายชนิด เช่น ยา Erythromycin, Clarithromycin, Azithromycin เป็นต้น ยาเหล่านี้มีสรรพคุณในการรักษาอาการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดต่าง ๆ เช่น การติดเชื้อที่ทางเดินหายใจ เป็นต้น
3. ยาต้านเชื้อไวรัสกลุ่ม Protease Inbihitors
ยาต้านเชื้อไวรัสกลุ่ม Protease Inhibitors (PIs) ยกตัวอย่างชนิดยาเช่น Indinavir (Crixivan), Nelfinavir (Viracept), Ritonavir (Norvir), Saquinavir เป็นยาต้านเชื้อ HIV ทำหน้าที่ลดจำนวนเชื้อ HIV ที่เกิดขึ้นในร่างกายนั่นเอง
4. ยารักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด
ยารักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด ไม่ว่าจะเป็น Verapamil, Diltiazem หรือ Amiodarone ก็มีสรรพคุณในการรักษาความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นผิดปกติ ช่วยยับยั้งการกระตุ้นหัวใจ และช่วยให้ระบบเลือดไหลเวียนได้ง่ายขึ้น แต่ไม่ควรใช้ร่วมกับยาเออร์โกทามีน (Ergotamine)
5. กลุ่มยาต้านเศร้า
กลุ่มยาต้านเศร้า คือ กลุ่มยาใช้ในการรักษาโรคซึมเศร้า โดยจะออกฤทธิ์ในการปรับระดับสารเคมีในสมองให้กลับสู่ภาวะปกติ โดยยากลุ่มนี้จะแบ่งเป็น 3 กลุ่มคือ
- กลุ่มเอสเอสอาร์ไอ (SSRI) เช่น Fluoxetine และ Sertraline
- กลุ่มไตรไซคลิก (Tricyclic) เช่น Amitriptyline และ Nortriptyline
- กลุ่มเอ็มเอโอไอ (MAOI) เช่น Selegiline และ Isocarboxazid
โดยยาในกลุ่มต่าง ๆ เหล่านี้ไม่ควรใช้ร่วมกับยาเออร์โกทามีน (Ergotamine)
6. ยารักษาโรคไมเกรนกลุ่ม Triptan
หากทานเออร์โกทามีน (Ergotamine) ร่วมกับยารักษาไมเกรนกลุ่ม triptan เช่น ซูมาทริปแทน (Sumatriptan) หรือไรซาทริปแทน (Rizatriptan) จะส่งผลให้เส้นเลือดมีการหดตัวอย่างรุนแรงได้
ใครบ้างที่ห้ามใช้ยา Ergotamine
แม้ว่ายาเออร์โกทามีน (Ergotamine) จะรักษาอาการปวดหัวข้างซ้าย ปวดหัวข้างขวา หรืออาการปวดหัวไมเกรนแบบเฉียบพลันได้ดี แต่ก็ยังมีผลกระทบต่อบางท่าน ทำให้ไม่สามารถใช้ยาชนิดนี้ได้ ดังนี้
- ผู้ที่เป็นภูมิแพ้ต่าง ๆ
- ผู้ที่เคยแพ้ยาเออร์กอต อัลคาลอยด์หรือแพ้ยากลุ่มรักษาอาการปวดหัวไมเกรนและคลัสเตอร์
- ผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด (Sepsis)
- ผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวกับโลหิต เช่น โรคของหลอดเลือดส่วนปลาย โลหิตจาง หลอดเลือดดำอุดตัน โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง
- ผู้ที่เป็นโรคตับและไต
- ผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงแบบควบคุมไม่ได้
- ผู้ให้นมบุตรและผู้ตั้งครรภ์ เนื่องจากส่งผลกระทบต่อเด็กโดยตรง
- หากต้องการขับรถ ทำงานกับเครื่องจักร ควรระมัดระวังในการใช้ยา เนื่องจากยาส่งผลให้เกิดอาการเวียนหัว และประสิทธิภาพการทำงานลดลง
นอกจากนี้หากมีอาการดังต่อไปนี้ในระดับรุนแรง ควรรีบพบแพทย์โดยเร็วที่สุด
- หัวใจเต้นช้าลง
- ปลายมือหรือปลายเท้าสีม่วงคล้ำและเริ่มเน่า
- ปัสสาวะลดลง หายใจติดขัด
- ปวดกล้ามเนื้อรุนแรง
- ปวดท้องอย่างรุนแรง
- พูดไม่ชัด
- เจ็บหน้าอกรุนแรง
- เกิดความรู้สึกสับสน
- การมองเห็นเปลี่ยนแปลงอย่างผิดปกติ
- บวมบริเวณใบหน้า เปลือกตา มีผื่นขึ้น
อาการข้างเคียงที่อาจเกิดจากยา Ergotamine
เพื่อให้ยาคงประสิทธิภาพและสามารถออกฤทธิ์ได้ดีที่สุดควรเก็บยาไว้ในควรเก็บยาเออร์โกทามีน (Ergotamine) ควรเก็บที่อุณหภูมิห้องปกติ เก็บให้พ้นแสงแดดและความชื้น และไม่ควรเก็บในช่องแช่แข็ง
แต่ยาเออร์โกทามีน (Ergotamine) บางชนิดก็มีวิธีการเก็บรักษาที่ต่างกันออกไป ดังนั้นอาจจะต้องพิจารณาจากฉลากหรือเอกสารกำกับยา รวมถึงถามแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหรือเภสัชที่จ่ายยาให้
วิธีเก็บรักษายาเออร์โกทามีน
เพื่อให้ยาคงประสิทธิภาพและสามารถออกฤทธิ์ได้ดีที่สุดควรเก็บยาไว้ในควรเก็บยาเออร์โกทามีน (Ergotamine) ควรเก็บที่อุณหภูมิห้องปกติ เก็บให้พ้นแสงแดดและความชื้น และไม่ควรเก็บในช่องแช่แข็ง
แต่ยาเออร์โกทามีน (Ergotamine) บางชนิดก็มีวิธีการเก็บรักษาที่ต่างกันออกไป ดังนั้นอาจจะต้องพิจารณาจากฉลากหรือเอกสารกำกับยา รวมถึงถามแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหรือเภสัชที่จ่ายยาให้
ทางเลือกอื่นในการรักษาโรคไมเกรน
อย่างไรก็ตาม นอกจากการทานยาเออร์โกทามีน (Ergotamine) แล้วยังมีการรักษาไมเกรนด้วยวิธีอื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมาก ให้เลือกรักษาตามความสะดวกหรือตามความเหมาะสม โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ
สำหรับผู้ป่วยที่กำลังมองหาวิธีแก้ปวดหัวไมเกรนเบื้องต้นนั้นก็สามารถทำได้หลากหลาย ขึ้นอยู่กับความสะดวกของแต่ละคน เช่น
- การใช้วิธีนวดแก้ปวดไมเกรน
วิธีนวดแก้ปวดไมเกรน เพื่อสร้างความผ่อนคลายในกับส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตทำงานได้ดี นอกจากนี้การนวดบริเวณขมับ ต้นคอ หรือช่วงไหล่ ก็จะช่วยลดอาการตึงของกล้ามเนื้อเส้นเลือดจะคลายจากความตึง และช่วยบรรเทาอาการปวดหัวไมเกรนได้เป็นอย่างดี
- เลี่ยงอาหารกระตุ้นไมเกรน
หนึ่งในปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการไมเกรน คือ อาหารกระตุ้นไมเกรน ไม่ว่าจะเป็นไวน์แดง เนื้อสัตว์แปรรูป ผลิตภัณฑ์จากนมและเนย ผลไม้จำพวกส้มหรือมะนาว ช็อกโกแลต หรือเครื่องปรุงรสอย่างผงชูรสและน้ำตาลเทียมนั้นก็เป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดอาการได้เป็นอย่างดี
ดังนั้นหากเลี่ยงอาหารกระตุ้นไมเกรน และเลือกทานแต่อาหารที่มีประโยชน์ เน้นทานแมกนีเซียมช่วยรักษาไมเกรนก็จะลดลงได้
- สมุนไพรรักษาไมเกรน
วิธีธรรมชาติแต่เห็นผลอย่างรวดเร็ว เพียงแค่เลือกใช้สมุนไพรรักษาไมเกรน เช่น ว่านหางจระเข้ ขิง สะระแหน่ ก็จะบรรเทาอาการปวดหัวไมเกรนเบื้องต้นได้
- ทานยาไมเกรน
การทานยารักษาไมเกรน เช่น Ibuprofen (ไอบูโพรเฟน) ในปริมาณที่เหมาะสมและใช้อย่างถูกวิธีก็จะช่วยลดอาการปวดหัวได้แล้ว
2. การรักษาไมเกรนทางการแพทย์
หากใครใช้วิธีแก้ปวดหัวไมเกรนเบื้องต้นแล้วยังไม่หาย ก็สามารถรักษาผ่านวิธีทางการแพทย์ได้ ดังนี้
- ฉีดยาไมเกรน
Theฉีดยาไมเกรน (Aimovig) เป็นวิธีการรักษาที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เหมาะสำหรับผู้ที่ลืมหรือไม่สะดวกทานยาไมเกรน เนื่องจากฉีดยาเพียงแค่ 1 ครั้งก็จะมีฤทธิ์ในการยับยั้งอาการปวดได้ 1 เดือน โดยมีประสิทธิภาพในการยับยั้งสูงถึง 50-75%
- ฝังเข็มไมเกรน
การฝังเข็มไมเกรน เป็นหนึ่งในวิธีการรักษาตามแพทย์แผนจีนที่รักษาโดยไม่ใช่ยาหรือสารเคมี เพียงแค่ฝังเข็มบริเวณจุดต่าง ๆ ในร่างกายก็จะช่วยปรับระบบหมุนเวียนโลหิต โดยบางรายฝังเข็มไมเกรน 8-10 ครั้ง ก็เห็นผลลัพธ์ชัดเจน
- Botox injection for migraine
สำหรับผู้ที่เป็นออฟฟิศซินโดรม อาจจะใช้วิธีการรักษาคือBotox Office Syndrome Injection เพื่อลดอาการปวดคอ บ่า ไหล่ หรือบริเวณต่าง ๆ ในร่างกาย แต่นอกจากนี้แล้วโบท็อกยังสามารถช่วยลดอาการปวดหัวไมเกรนได้
เพียงแค่นำโบท็อกชนิดเอ มาฉีดบริเวณต้นคอ หน้าผาก คิ้ว บ่า และบริเวณรอบศีรษะ 31 จุด สารในโบท็อกจะเข้าไปทำหน้าที่ยับยั้งอาการปวดและลดระดับความรุนแรงของการปวดหัวได้ โดยการฉีดBotox injection for migraineเพียง 1 ครั้ง จะเห็นผลในระยะยาวนานถึง 4-6 เดือน ซึ่งนอกจากจะลดไมเกรนได้แล้วนั้น ยังปลอดภัยและมีผลข้างเคียงน้อยอีกด้วย
ปรึกษาการใช้ยาไมเกรนกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง
การใช้ยา เออร์โกทามีน (Ergotamine) นั้นควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เพื่อทำการตรวจไมเกรน ระดับความรุนแรง ก่อนจะเข้ารับรักษาและทานยาได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม ตรงตามอาการของตนเอง
รักษาไมเกรนอย่างปลอดภัยที่ BTX Migraine Center
อย่างไรก็ตาม หากไม่รู้จะWhere to treat migraine? ที่ปลอดภัยและมีมาตรฐาน BTX Migraine Center ศูนย์รักษาไมเกรนเฉพาะทางก็เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ
เนื่องจากมีเทคโนโลยีที่ทันสมัย ตอบโจทย์ทุกรูปแบบการรักษาไม่ว่าจะเป็นการรักษาด้วยวิธีแก้ปวดหัวไมเกรนเบื้องต้น การทานยา เออร์โกทามีน (Ergotamine) หรือวิธีทางการแพทย์อย่างการฉีดโบท็อกไมเกรน จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ รับรองความปลอดภัย
SUMMARY
ยาเออร์โกทามีน หรือ Ergotamine ราคาไม่แพง หาซื้อได้ทั่วไป มีประสิทธิภาพในการรักษาไมเกรนเฉียบพลันได้ แต่ก่อนที่จะทานยาควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนทุกครั้ง เพื่อความปลอดภัยของตนเอง
โดยสามารถปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากทาง BTX Migraine Center ศูนย์รักษาไมเกรนเฉพาะทางได้ง่าย ๆ เพียงแค่แอดไลน์ @ayaclinic หรือโทร 090–970-0447 ก็สามารถตรวจไมเกรน ปรึกษาเรื่องการรักษาด้วยการทานยา หรือนัดเข้ารับการรักษาได้ทันที
Reference
Ergotamine: its use in the treatment of migraine and its complications. Acta Neurol (Napoli) 1992 Apr;14(2):140-6. Ergotamine: its use in the treatment of migraine and its complications – PubMed (nih.gov)
M R Lee. (2009). The history of ergot of rye (Claviceps purpurea) II: 1900-1940. retrieve from https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/20509463/
Placebo-controlled clinical trials with Ergotamine in the acute treatment of migraine.Cephalalgia
.1993 Jun;13(3):166-71. doi: 10.1046/j.1468-2982.1993.1303166.x. Placebo-controlled clinical trials with Ergotamine in the acute treatment of migraine – PubMed (nih.gov)