เช็คอาการเวียนหัว บ้านหมุน เสี่ยงอันตรายหากไม่รีบพบแพทย์
อาการเวียนหัวหรือเวียนศีรษะมีหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นอาการเวียนหัวบ้านหมุน หูอื้อ มึนงง หน้ามืด ซึ่งอาการเหล่านี้มักส่งผลให้กับตัวผู้ป่วยเกิดความกังวลใจและความรำคาญ เพราะส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตประจำวัน
ทั้งนี้อาการเวียนหัวบ่อยๆ ที่เกิดขึ้นเกิดจากหลายสาเหตุ แต่จะต้องรักษาอย่างไร จะต้องแก้อาการเวียนหัวด้วยวิธีแบบไหน มีอาการปวดหัวไมเกรนร่วมด้วยต้องทำอย่างไร วันนี้เรามีคำตอบมาฝาก
สารบัญบทความ
- อาการเวียนหัว เวียนศีรษะ
- เวียนหัวเกิดจากสาเหตุใด
- รู้จัก 5 โรคสำคัญที่ทำให้เกิดอาการเวียนหัว
- กลุ่มอาการเวียนหัวมีอะไรบ้าง
- เวียนหัวบ่อย บ้านหมุน อันตรายหรือไม่
- การวินิจฉัยอาการเวียนหัว
- วิธีรักษาอาการเวียนหัว
- แนวทางการป้องกันอาการเวียนหัว บ้านหมุน
- ข้อสรุป
อาการเวียนหัว เวียนศีรษะ
อาการวิงเวียนศีรษะ บ้านหมุน เวียนหัว เป็นอาการที่หลายๆ น่าจะเคยเป็น โดยส่วนใหญ่มักมีรู้สึกว่าตนเองและสิ่งต่าง ๆ รอบตัวเคลื่นไหวแม้จะหยุดนิ่ง มีอาการเวียนหัวหน้ามืด ตาพร่ามัว มึนงง แต่หากจะให้อธิบายถึงสาเหตุที่ทำให้แต่ละคนมีอาการเวียนหัวนั้นอาจจะเป็นเรื่องยาก เนื่องจากอาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นแตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคล
อีกทั้งอาการเวียนหัวนี้ยังสามารถพบได้ในทุกเพศทุกวัย ดังนั้น หากจะต้องการทราบสาเหตุอย่างชัดเจนเพื่่อรักษา อาจจะต้องได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะ
เวียนหัวเกิดจากสาเหตุใด
อาการเวียนหัว นอกจากจะพบได้ในคนทุกเพศทุกวัยแล้ว ยังมีสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการวิงเวียนศีรษะ และอาการบ้านหมุนแตกต่างกันออกไป โดยแบ่งเป็น 2 ปัจจัยใหญ่ ๆ ดังนี้
ปัจจัยภายนอกที่เป็นสาเหตุของอาการเวียนหัว
หนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอาการเวียนหัว คือ ปัจจัยภายนอกต่าง ๆ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะลักษณะของวิถีชีวิต ไลฟ์สไตล์ การทำงานหนัก ส่งผลให้ไม่มีเวลาดูแลตนเองและมละเลยปัจจัยภายนอกเหล่านี้ ดังนั้น เพื่อให้รู้เท่าทันสาเหตุ เพื่อจะได้ปรับพฤติกรรมของตนเองให้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง เราได้รวบรวมปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่ออาการเวียนหัวที่ไม่ควรมองข้ามมาฝาก ดังนี้
- ร่างกายขาดน้ำ
นอกจากอาการร่างกายขาดน้ำจะส่งผลให้อาการปวดหัวข้างเดียวหรือปวดหัวท้ายทอย ตลอดจนมีอาการปวดหัวในรูปแบบต่างๆ แล้วยังส่งผลให้เกิดอาการเวียนหัวด้วย เนื่องจากจะทำให้ร่างกายร้อน น้ำภายในเลือดมีน้อย ซึ่งจะทำให้ความดันโลหิตสูง นำไปสู่อาการเวียนหัวตาลายอีกด้วย
- ขาดธาตุเหล็ก
อย่างที่ทราบกันดีว่าการทานแมกนีเซียม ไมเกรนจะบรรเทาลง เช่นเดียวกันกับอาการวิงเวียนศีรษะคลื่นไส้ ที่หากทานธาตุเหล็ก อาการเวียนหัวก็จะบรรเทาลง เนื่องจากเมื่อใดที่ร่างกายขาดธาตุเหล็กจะส่งผลให้เกิดภาวะโลหิตจาง ร่างกายผลิตเม็ดเลือดแดงได้ไม่สมบูรณ์ ตลอดจนไม่สามารถลำเลียงออกซิเจนได้ดี ส่งผลให้ปวดหัวเวียนหัว
- การใช้สายตาอย่างหนัก
ไม่ว่าจะเป็นการจ้องจอคอมพิวเตอร์ การจ้องจอโทรศัพท์ หรือจ้องจอแสงสีฟ้า จะส่งผลให้อาการตาล้า ปวดกระบอกตา และเวียนหัวหน้ามืด
- อุณหภูมิต่ำ
หลาย ๆ คนอาจจะเคยเผชิญอาการปวดหัวไมเกรน อาการเวียนหัว เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิจากสูงไปต่ำ เช่น การดื่มน้ำเย็น การทานไอศกรีม การอาบน้ำเย็น ทั้งนี้เป็นเพราะว่าเส้นเลือดบริเวณหัวหรือขมับหดตัวลงนั่นเอง
- พักผ่อนไม่เพียงพอ
เมื่อใดที่ร่างกายผักผ่อนไม่เพียงพอ จะส่งผลต่อฮอร์โมนความเครียด (Cortisol) ซึ่งทำให้ปวดหัวจากความเครียด อาการไมเกรน เวียนหัวตาพร่า ตลอดจนการอาการปวดกระบอกตา
- อายุและวัยที่เปลี่ยนแปลง
พอเข้าสู่ช่วงวัยผู้ใหญ่หรือวัยสูงอายุ ประสิทธิภาพระบบการทำงานต่าง ๆ ของร่างกายอาจจะทำงานแย่ลง เกิดโรคภัยหรืออาการแทกซ้อนต่าง ๆ เช่นเดียวกับอาการเวียนหัวคลื่นไส้ และอื่น ๆ
ปัจจัยจากความผิดปกติทางร่างกาย
อีกหนึ่งปัจจัยที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ คือ ปัจจัยจากความผิดปกติจากร่างกาย ซึ่งถึงแม้ว่าหลาย ๆ คนจะพยายามดูแลตนเองหรือรักษาสุขภาพอย่างดีแล้ว แต่หากพบว่าร่างกายมีความผิดปกติด้วยโรคต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ก็ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที เพื่อป้องกันไม่ให้อาการเวียนหัวเกิดขึ้นและส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน
- ความผิดปกติของหูชั้นใน
หู เป็นหนึ่งในอวัยวะสำคัญของร่างกาย โดยจะมีระบบการทำงานหรือส่วนประกอบภายในหูหลายชั้น ทั้งนี้หูชั้นในจะทำหน้าควบคุมระบบการทรงตัวของร่างกาย ช่วยให้ร่างกายเกิดความสมดุล เคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างปกติ
ดังนั้นเมื่อมีอาการคลื่นไส้เวียนหัว ก็อาจจะเกิดจากความผิดปกติของหูชั้นใน ตลอดจนโรคต่างๆ ที่เกี่ยวกับหูชั้นในได้ จึงควรพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยอย่างละเอียดทันที
- ความผิดปกติของระบบไหลเวียนโลหิต
หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้เกิดอาการเวียนหัวคือ ความผิดปกติของระบบไหลเวียนโลหิต ไม่ว่าจะเป็นการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ การที่เป็นโรคโลหิตจาง หรือโรคเกี่ยวกับความดันโลหิตต่างๆ ซึ่งทำให้ผู้ป่วยจะต้องทานยาเพื่อรักษาอาการเสมอๆ แน่นอนว่าจะส่งผลให้เกิดความดันโลหิตต่ำ เกิดอาการหน้ามืด เวียนหัวคลื่นไส้ เป็นลม และควบคุมการทรงตัวได้ยาก
- ความผิดปกติของระบบประสาท
อาการบ้านหมุนเกิดจากโรคเกี่ยวกับระบบประสาทและสมอง เช่น การบาดเจ็บที่ศีรษะ โรคอัลไซเมอร์
ภาวะน้ำคั่งในสมอง โรคลมบ้าหมู โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต เส้นเลือดตีบตัว โรคหลอดเลือดสมอง โรคพาร์กินสัน ตลอดจนเนื้องอกในสมอง
นอกจากนี้ยังรวมถึงอาการเมารถ เมาเรือ ซึ่งเป็นอาการที่เกิดจากระบบประสาทรับภาพไม่สัมพันธ์กับการเคลื่อนไหวหรือที่เรียกว่า การมองตามวัตถุที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็ว
รู้จัก 5 โรคสำคัญที่ทำให้เกิดอาการเวียนหัว
อย่างไรก็ดี 5 โรคสำคัญต่อไปนี้ยังเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการเวียนหัวได้อีกด้วย
1. โรคไมเกรน
อย่างที่ทราบกันดีว่าอาการปวดหัวข้างซ้ายและปวดหัวข้างขวาเป็นหนึ่งในอาการของไมเกรน เวียนหัว แต่นอกจากอาการปวดหัวเหล่านี้ ยังมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น อาการเวียนหัว อาการหน้ามืด อาการมึนหัวคลื่นไส้ ตลอดจนอาการแพ้แสง เสียง หรือกลิ่น เป็นต้น
2. โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน
ปัจจุบันโรคนี้ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด แต่จะส่งผลให้เกิดอาการหน้ามืดเวียนหัว เกิดอาการบ้านหมุนอย่างรุนแรง ตลอดจนสูญเสียการทรงตัวได้
3. โรคหินปูนในหูชั้นใน
ส่วนใหญ่เป็นอาการเวียนหัวในผู้สูงอายุ เนื่องจากเกิดจากความเสื่อมของหูชั้นใน ลักษณะอาการของโรคนี้จะส่งผลให้เกิดอาการเวียนหัวตลอดเวลาที่เปลี่ยนท่าทาง ขยับตัว หรือการหยิบจับสิ่งต่าง ๆ รวดเร็ว แต่อย่างไรก็ดีผู้ป่วยโรคนี้จะมีอาการลักษณะเดิมซ้ำ ๆ ซ้ำ ๆ แต่จะไม่มีอาการอื่น ๆ แทรกซ้อน
4. โรคที่เกี่ยวข้องกับระบบไหลเวียนเลือด
ไม่ว่าจะเป็นโรคภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ โรคโลหิตจาง โรคความดันโลหิตสูง โรคกล้ามเนื้อหัวใจเสื่อม กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือโรคต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับระบบไหลเวียนโลหิต ล้วนส่งผลให้เกิดอาการวิงเวียนศีรษะ บ้านหมุน หน้ามืด เป็นลม
5. โรคทางจิตเวช
หากใครที่มีปัญหาหรือเผชิญกับโรคจิตเวช เช่น โรควิตกกังวล ย้ำคิดย้ำทำ ซึมเศร้า หรือแพนิก จะส่งผลให้เกิดอาการแทรกซ้อนคือ อาการเวียนหัว หน้ามืด ตาพร่ามัวร่วมด้วยได้
กลุ่มอาการเวียนหัวมีอะไรบ้าง
อย่างไรก็ดี หากพบว่าสายตา ระบบประสาทรับความรู้สึก และประสาทหูชั้นใน ทำงานร่วมกันได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร และขาดความสมดุล จะส่งผลให้เกิดอาการเวียนเวียนศีรษะ ซึ่งแบ่งออกได้ 2 กลุ่ม ดังนี้
เวียนหัว มึนงง ไม่มีอาการอื่นร่วม (Lightheadedness)
กล่าวคือ ผู้ป่วยจะมีอาการเวียนหัว มึนงงเพียงอย่างเดียว ทั้งนี้อาการในกลุ่มดังกล่าว มักเกิดจากภาวะความดันโลหิตต่ำ แรงดันเลือดและปริมาณเลือดที่ส่งไปหล่อเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ
ส่วนใหญ่พบในกลุ่มผู้สูงอายุหรือผู้มีภาวะโรคประจำตัวที่มีผลต่อระบบไหลเวียนโลหิต เช่น โรคหัวใจ โรคความดันโลหิต หรือโรคเบาหวาน แม้ว่ากลุ่มนี้จะไม่มีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย แต่หากไม่รักษาหรือทิ้งอาการเหล่านี้ไว้ ก็จะส่งผลให้อาการรุนแรงขึ้นได้เรื่อย ๆ
เวียนหัว บ้านหมุน ร่วมกับคลื่นไส้ (Vertigo)
นอกจากอาการเวียนหัว มึงนงง ผู้ป่วยกลุ่มนี้ยังมีอาการบ้านหมุนร่วมด้วย กล่าวคือ แม้ว่าตนเองจะหยุดนิ่งอยู่กับที่ แต่จะรู้สึกเสียการทรงตัว ทุกอย่างรอบตัวหมุน ไม่สามารถเดินตรงได้ตามปกติ ในขณะเดียวกันยะงมีอาการคลื่นไส้เวียนหัว
ในกลุ่มอาการชนิดนี้มักเกิดจากความผิดปกติของหูชั้นใน ความผิดปกติของสายตา ความผิดปกติของระบบประสาท เป็นต้น ซึ่งจะส่งผลให้ร่างกายนั้นไม่สมดุล สูญเสียการทรงตัวในที่สุด
เวียนหัวบ่อย บ้านหมุน อันตรายหรือไม่
ฟังจากชื่อแล้วอาจจะรู้สึกว่าอาการเวียนหัวบ่อยหรือบ้านหมุนเป็นเรื่องธรรมดา ไม่รุนแรงมากนัก แต่อย่างที่กล่าวมาในข้างต้นว่าอาการเวียนศีรษะเหล่านี้เกิดได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งบางสาเหตุนั้นร้ายแรง ส่งผลต่อสุขภาพโดยรวม และอันตรายถึงชีวิตได้ ดังนั้นหากมีอาการดังต่อนี้ ควรรีบพบแพทย์ทันที
หากมีอาการเหล่านี้ร่วมกับเวียนหัว ควรรีบพบแพทย์
- อาการเวียนหัวซ้ำ ๆ หรือเวียนหัวอย่างรุนแรง แม้ว่าจะพักแล้ว
- หน้าเบี้ยว
- หน้าหรือแขนและชา
- กล้ามเนื้ออ่อนแรง
- เดินเซหรือสูญเสียการทรงตัวเสมอ
- หมดสติ
- ภาวะขาดน้ำรุนแรง
- คลื่นไส้ อาเจียนบ่อยครั้ง
การวินิจฉัยอาการเวียนหัว
หากใครที่กำลังเผชิญกลับลักษณะอาการเวียนหัว แต่ไม่ทราบสาเหตุ ทางแพทย์ผู้เชี่ชวชาญจะดำเนินการวินิจฉัย เพื่อให้ทราบสาเหตุแท้จริงเสียก่อน โดยจะเริ่มจากการสอบถามประวัติการรักษา การแพ้ยา ระดับอาการ อุบัติเหตุที่เคยได้รับ รวมถึงการตรวจร่างกายทั่ว ๆ ไป จากนั้นจะเริ่มการวินิจฉัยแบบเฉพาะเจาะจง คือ
1. ตรวจวินิจฉัยการเคลื่อนไหวของดวงตา
เนื่องจากสายตาเป็นหนึ่งในสิ่งที่จะสร้างความสมดุลของร่างกาย ดังนั้นเริ่มแรก แพทย์จะทดสอบการเคลื่อนไหวสายตาของผู้ป่วยเสียก่อน โดยจะให้ผู้ป่วยมองตามสิ่งที่เคลื่อนไหว จากนั้นจะทอดสอบการทำงานร่วมกันของตา หู และสมอง เพื่อตรวจเช็กประสิทธิภาพและหาความผิดปกติที่เป็นสาเหตุของอาการเวียนหัวอาเจียน
2. ตรวจการเคลื่อนไหวของศีรษะ
หากแพทย์วินิจฉัยในระดับเบื้องต้นแล้ว คาดว่าสาเหตุของอาการอยู่ดี ๆ ก็เวียนหัวคือ โรคหินปูนในหูชั้นในเคลื่อน โดยจะเริ่มให้ทดสอบจากการนอนตะแคงหัว ห้อยหัว จากนั้นแพทย์จะสังเกตการกระตุกของลูกตา
3. การทดสอบการทรงตัว
การวินิจฉัยด้วยวิธีนี้ แพทย์จะตรวจและประเมินจากท่าทางและลักษณะต่าง ๆ เช่น การยืนทรงตัวบนพื้นกระดก การยืนทรงตัวบนพื้นที่เลื่อน การยืนตรงจัวขณะสิ่งต่าง ๆ รวบตัวเคลื่อนไหว ทั้งนี้เป็นการทดสอบว่าร่างกายมีปัญหาด้านการทรงตัวซึ่งเป็นสาเหตุของอาการเวียนหัว บ้านหมุน
หรือไม่นั่นเอง
วิธีรักษาอาการเวียนหัว
เพื่อให้อาการที่เป็นอยู่นั้นบรรเทาลง ตลอดจนหายขาดได้ อาจจะต้องรักษาให้ตรงจุด ตามแต่ละสาเหตุที่เกิดอาการ ดังนี้
1. บริหารร่างกายและกายภาพบำบัด
วิธีการรักษาด้วยการบริหารและกายภาพบำบัดทำได้ง่าย ๆ เพียงแค่เป็นการเคลื่อนไหวศีรษะด้วย คอ ตลอดจนส่วนต่าง ๆ ร่างกายอย่างระมัดระวัง ตามคำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหรือนักกายภาพบำบัด หรือบริหารร่างกายด้วยท่าต่าง ๆ เช่น การก้มศีรษะไปข้างหน้าแล้วแหงนไปข้างหลังช้า ๆ ขณะลืมตา 20 ครั้ง มองขึ้นด้านบนจากนั้นมองลงด้านล่าง ทำช้า ๆ 20 ครั้ง ยกไหล่ขึ้นลง 20 ครั้ง เป็นต้น
ข้อแนะนำ : วิธีนี้เหมาะสำหรับรักษาอาการเวียนหัว บ้านหมุน หน้ามืด ซึ่งมีสาเหตุจากความผิดปกติของหูชั้นในและระบบประสาททรงตัวอักเสบ
2. รักษาอาการเวียนหัวด้วยการใช้ยา
วิธีรักษาอาการเวียนหัวด้วยการใช้ยานั้นจะต้องผ่านการวินิจฉัยจากแพทย์มาก่อน เนื่องจากแพทย์จะให้ยาในการรักษาแตกต่างกันออกไป ตามรูปแบบ อาการ หรือสาเหตุนั่นเอง
ข้อแนะนำ : วิธีนี้เหมาะสำหรับรักษาไมเกรน เวียนหัวบ่อย ตลอดจนลักษณะอาการเวียนหัวอาเจียน ซึ่งมีสาเหตุมาจากโรคไมเกรน ตลอดจนโรคอื่น ๆ ที่ส่งผลให้เกิดอการดังที่กล่าวมา โดยอาจจะใช้ยาไมเกรน เช่น ยารักษากลุ่ม ibuprofen, ยารักษากลุ่ม ergotamine หรือยารักษากลุ่ม triptan เป็นต้น
3. การรักษาทางการแพทย์อื่นๆ
หากรักษาด้วยวิธีในข้างต้นแล้ว แต่อาการยังคงอยู่ ไม่บรรเทาลง หรือในผู้ป่วยอาการรุนแรงมากขึ้น อาจะจะต้องรักษาด้วยวิธีทางการแพทย์ เช่น
- การฉีดยาปฏิชีวนะในหูชั้นกลาง
วิธีนี้จะฉีดเพื่อช่วยควบคุมอาการเวียนหัว หูอื้อ ตลอดจนอาการเสียการทรงตัว เหมาะสำหรับผู้ที่วินิจฉัยแล้วว่าอาการเกิดจากสาเหตุความผิดปกติของหู
- การผ่าตัดเส้นประสาทที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการทรงตัวในหูชั้นใน
อย่างที่ทราบกันดีว่า “หู” เป็นอวัยวะที่ช่วยในเรื่องของการทรงตัวและทำให้ร่างกายสมดุล ดังนั้น วิธีการรักษาจะใช้สำหรับอาการเวียนหัวบ้านหมุนที่เกิดจากการทำงานผิดปกติของเส้นประสาทที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการทรงตัวในหูชั้นใน โดยจะต้องปรึกษาและอยู่ภายใต้การดูแลของแพทยืผู้เชี่ยวชาญ
- การฉีดโบท็อกไมเกรน
ไม่เพียงแต่การฉีดโบท็อกเสริมความงามหรือการฉีดโบท็อกออฟฟิศซินโดรมเท่านั้น แต่การฉีดโบท็อกไมเกรนจะช่วยลดอาการไมเกรน เวียนหัว ตลอดจนอาการปวดหัวคลื่นไส้ได้เป็นอย่างดี วิธีการรักษาแบบนี้เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการเวียนหัวจากโรคไมเกรน
แนวทางการป้องกันอาการเวียนหัว บ้านหมุน
อย่างไรก็ตาม เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการวิงเวียนศีรษะหรือการเจ็บป่วยด้วยอาการเวียนหัวต่าง ๆ เราได้นำแนวทางการป้องกันมาฝาก ดังนี้
- หลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นภายนอก เช่น ความเครียดวิตกกังวล การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ การใช้สายตาอย่างหนัก เป็นต้น
- หลีกเลี่ยงอาหารเค็ม หวานมัน รสจัดหรือเย็นจัด หรือการรับสารคาเฟอีน เช่น ชา น้ำอัดลม กาแฟ การสูบบุหรี่ และการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เกินขนาด
- หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีเสียงดังเกินกว่า 80 เดซิเบล
- หลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีแสง สี เสียงวูบวาบ เพื่อลดการกระตุ้นให้เกิดไมเกรนและอาการร่วมอื่น ๆ เช่น เวียนหัวตาพร่ามัว หน้ามืด
- หลีกเลี่ยงการทานอาหารหรือดื่มเครื่องดื่มเกินพอดี ที่จะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ เวียนหัว และอาเจียน
- ผู้ที่มีอาการเมาเรือหรือเมารถ ควรหลีกเลี่ยงการเดินทางโดยทางเรือหรือรถ หรือควรทานยาแก้เมารถ เมาเรือป้องกันไว้ก่อน
- ควรงดอาหารที่มีความเค็มหรือโวเดียมสูง เพราะวิ่งเหล่านี้จะทำให้หูและร่างกายบวมน้ำ หรือมีน้ำในหูมากขึ้นนั่นเอง
- ควรออกกำลังกายเพื่อให้ร่างกายอย่างสม่ำเสมอ เช่น คาร์ดิโอ โยคะแก้ปวดหัว แอโรบิก
- ควรทานอาการหรือวิตามินที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพและช่วยบรรเทาอาการเวียนหัวหรือโรคบ้านหมุน
ข้อสรุป
หากพบว่าตนเองหรือคนใกล้ตัวมีอาการวิงเวียนศีรษะ บ้านหมุน คลื่นไส้ หรืออาเจียนควรปฏิบัติตามแนวทางการรักษา ยิ่งถ้ามีอาการเวียนหัวรุนแรง อาจจะต้องปรึกษาแพทย์ เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุที่แท้จริง และทำการรักษาได้อย่างตรงจุด
ซึ่งหากใครกำลังมองหาที่รักษาก็สามารถแอดไลน์ @ayaclinic หรือโทรเบอร์ 090–970-0447 เพื่อปรึกษา ขอคำแนะนำ หรือจองคิวฉีดโบท็อกไมเกรน เพื่อลดอาการไมเกรน เวียนหัวและปวดหัวรูปแบบต่าง ๆ กับทางแพทย์ผู้เชี่ยวชาญของ BTX Migraine Center ศูนย์รักษาไมเกรนเฉพาะทางที่ปลอดภัยและทันสมัยได้ทันที
เอกสารอ้างอิง
Markus MacGill. (2022). Everything you need to know about vertigo. Retrieved from https://www.medicalnewstoday.com/articles/160900
Mayo Clinic. (n.d.). Dizziness. Retrieved from https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/dizziness/diagnosis-treatment/drc-20371792