หลายคนยังไม่รู้ ทริปแทน (Triptans) อันตรายต่อผู้ป่วยโรคหัวใจ

ทริปแทน อันตรายต่อหัวใจยา triptans เป็นยาที่ใช้รักษาอาการปวดหัวไมเกรนและอาการปวดหัวแบบคลัสเตอร์ ยา triptans ออกฤทธิ์โดยการกระตุ้นให้หลอดเลือดในสมองหดตัวลง ซึ่งจะช่วยลดการอักเสบและอาการปวด แต่ตัวยาอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงต่าง ๆ ได้ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ และยังส่งผลต่อหัวใจและความดันโลหิตโดยตรง ยา triptans จึงไม่เหมาะสำหรับผู้ที่มีโรคหัวใจหรือหลอดเลือดบางชนิด เช่น โรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง หรือโรคความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมได้ จึงถือเป็นอันตรายของยา triptans ที่หลายคนอาจไม่เคยรู้มาก่อน

สารบัญบทความ

รูปแบบของยาทริปแทน Triptans

ยากลุ่ม triptans มีอยู่ด้วยกันหลายรูปแบบ ทั้งยาเม็ด ยาพ่น และยาฉีด โดยมีตัวอย่างยาในกลุ่มนี้ เช่น

ยาซูมาทริปแทน (Sumatriptan)

ยาซูมาทริปแทน (Sumatriptan) เป็นยารักษาไมเกรน ที่ออกฤทธิ์โดยการกระตุ้นให้หลอดเลือดในสมองหดตัวลง ช่วยลดการอักเสบและอาการปวดหัว มีจำหน่ายทั้งในรูปแบบยาเม็ด ยาฉีด และยาพ่นจมูก มีประสิทธิภาพในการรักษาอาการปวดหัวไมเกรนได้อย่างรวดเร็ว โดยสามารถบรรเทาอาการปวดได้ภายใน 1-2 ชั่วโมงหลังจากรับประทานยา

ยาริซาทริปแทน 

ยาริซาทริปแทน (Rizatriptan) เป็นยาแก้ปวดหัวที่จัดอยู่ในกลุ่ม ซีเล็คทีฟ เซโรโทนิน รีเซพเตอร์ อะโกนิสต์ (Selective Serotonin Receptor Agonists) หรือ SSRI ใช้บรรเทาอาการปวดศีรษะไมเกรน หรืออาการอื่น ๆ ที่เกิดจากไมเกรน เช่น อาการคลื่นไส้ อาเจียน เป็นต้น 

ยานาราทริปแทน (Naratriptan)

ยานาราทริปแทน (Naratriptan) เป็นยาที่ใช้รักษาอาการปวดหัวไมเกรน ช่วยลดอาการปวด บรรเทาอาการคลื่นไส้ อาเจียน และไวต่อแสงที่เกิดจากไมเกรนได้ โดยสามารถใช้ได้ทั้งในกรณีที่อาการปวดเพิ่งเริ่มขึ้น หรือในกรณีที่อาการปวดรุนแรงแล้วก็ได้ ออกฤทธิ์โดยการกระตุ้นให้เกิดการหดตัวของหลอดเลือดในสมอง ซึ่งจะช่วยลดการอักเสบและอาการปวดได้ นอกจากนี้ ยานี้ยังช่วยยับยั้งการหลั่งสารสื่อประสาทบางชนิดที่เกี่ยวข้องกับการเกิดอาการปวดหัวไมเกรนได้อีกด้วย

ยาซอลมิทริปแทน (Zolmitriptan)

ยาซอลมิทริปแทน (Zolmitriptan) เป็นยาที่ใช้รักษาอาการปวดหัวไมเกรนที่จัดอยู่ในกลุ่ม SSRI มีเป็นตัวยาที่มีการแตกตัวในช่องปาก โดยออกฤทธิ์โดยการกระตุ้นให้หลอดเลือดในสมองหดตัวลง ยาซอลมิทริปแทนมีจำหน่ายในรูปแบบรับประทานและยาพ่นจมูก สามารถบรรเทาอาการปวดได้ดี

ยาอีลีทริปแทน (Eletriptan)

ยาอีลีทริปแทน (Eletriptan) เป็นยาไมเกรนที่จะออกฤทธิ์ต่อสารเซโรโทนินในสมอง ส่งผลให้หลอดเลือดในสมองหดตัวแคบลง และสามารถลดอาการปวดได้ทันทีหลังรับประทาน ภายใน 1-2 ชั่วโมง

คำเตือนในการใช้ยาทริปแทน Triptans

ข้อห้ามการใช้ยาทริปแทน

ยา triptans ถึงแม้จะมีประสิทธิภาพในการรักษาอาการปวดหัวไมเกรน แต่ก็อาจมีผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายได้เช่นกัน ดังนั้น แพทย์จึงมีคำเตือนในการใช้ยาทริปแทนอย่างระมัดระวัง เช่น

  • ห้ามใช้ยาทริปแทนในผู้ที่มีภาวะเกี่ยวกับหัวใจหรือหลอดเลือด เช่น โรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดในสมอง หรือความดันโลหิตสูง
  • ห้ามใช้ยาทริปแทนกับสตรีมีครรภ์หรือผู้ที่อยู่ในช่วงให้นมบุตร
  • ห้ามใช้ยาทริปแทนร่วมกับยาอื่นๆ ที่อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่ร้ายแรง เช่น ยาต้านเศร้า หรือยาแก้ปวดบางชนิด หรือห้ามใช้ยานี้ภายใน 24 ชั่วโมงก่อนหรือหลังใช้ยาชนิดอื่นรักษาอาการปวดศีรษะจากไมเกรน
  • ใช้ยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด หากมีอาการข้างเคียงที่รุนแรงจากการใช้ยาทริปแทน ให้หยุดใช้ยาและไปพบแพทย์ทันที
  • หากมีประวัติการแพ้ยากลุ่มนี้ ควรแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบ
  • ยาซอลมิทริปแทน (Zolmitriptan) มีส่วนผสมของฟีนิลอะลานีน ดังนั้น ผู้ที่ป่วยด้วยโรคฟีนิลคีโตนูเรียควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนใช้ยา
  • หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ หรือการทำกิจกรรมอื่นๆ ที่ต้องอาศัยความตื่นตัวในระหว่างที่ใช้ยา เพราะตัวยาอาจส่งผลให้มีอาการวิงเวียนหรือง่วงซึมได้

ผลข้างเคียงจากการใช้ยาทริปแทน Triptans

ผลข้างเคียงที่พบบ่อยที่สุดของยาทริปแทน triptans ได้แก่

  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • เวียนศีรษะ
  • ง่วงนอน มีอาการซึม
  • ปากแห้ง จมูกแห้ง
  • ตาพร่ามัว
  • หูอื้อ
  • รู้สึกชาหรือเสียวซ่าที่ใบหน้าหรือแขนขา
  • หัวใจเต้นเร็วหรือเต้นผิดจังหวะ
  • มีอาการแพ้ เช่น ผื่นคัน บวม หรือหายใจลำบาก (เป็นผลข้างเคียงเฉพาะบุคคลซึ่งพบได้น้อยมาก)

นอกจากนี้ ยังผลข้างเคียงที่รุนแรงของยาทริปแทน triptans ด้วย ซึ่งได้แก่

  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • ชัก
  • หมดสติ
  • หัวใจวาย
  • มีภาวะเกี่ยวกับหลอดเลือดในสมอง

ผู้ที่ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาทริปแทน Triptans

ยาทริปแทน triptans อาจไม่เหมาะสำหรับผู้ป่วยบางกลุ่ม โดยเฉพาะผู้ที่มีภาวะดังต่อไปนี้

  • โรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น โรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง และความดันโลหิตสูง เพราะมีส่วนทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้นและความดันโลหิตสูงขึ้นได้
  • ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบไหลเวียนโลหิต
  • ผู้ที่มีโรคตับ, โรคไต
  • ผู้ที่กำลังตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร
  • ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี 

ดังนั้น หากมีภาวะดังกล่าว ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาทริปแทน เพื่อประเมินความเสี่ยงในการใช้ยา และเพื่อให้แพทย์ปรับขนาดยาให้เหมาะสม

ทำไมผู้ที่เป็นโรคหัวใจควรระวังในการใช้ยาทริปแทน Triptans

ผู้ป่วยที่มีภาวะเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด หากมีการรับประทานยา triptans มากเกินไป หรือไม่ได้รับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง ก็อาจจะก่อให้เกิดอันตรายได้ เนื่องจากตัวยา triptans หากรับประทานไม่เหมาะสม จะทำให้หัวใจเต้นเร็ว เต้นผิดจังหวะ แน่นหน้าอก ความดันโลหิตสูงขึ้น และอาจอันตรายจนถึงขั้นหัวใจวายได้ ดังนั้น หากใครที่มีภาะวะเกี่ยวกับโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง หรือโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดในสมอง ควรแจ้งให้แพทย์ทรายก่อนใช้ยา

หากไม่ใช้ยาทริปแทน Triptans รักษาด้วยวิธีใดได้บ้าง

เลี่ยงการทานยาทริปแทน

หากใครที่มีภาวะเสี่ยงอันตรายตามที่ได้กล่าวไปข้างต้นก็ไม่ต้องเป็นกังวลไป เพราะในปัจจุบันได้มีแนวทางในการรักษาอาการปวดหัวไมเกรนได้โดยที่ไม่ต้องรับประทานยาไมเกรน ไม่ว่าจะเป็น

  • การฉีดโบท็อกไมเกรน

การฉีดโบท็อกไมเกรน จะฉีดเข้าไปที่บริเวณใบหน้าระหว่างคิ้ว หน้าผาก ท้ายทอย ต้นคอ และบ่า  เพื่อเข้ายับยั้งปลายประสาท Acetyl Choline ซึ่งเป็นตัวกลางในการส่งสัญญาณความเจ็บปวดไปยังสมองที่ต่อกับกล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้อคลายตัวลง และบรรเทาอาการปวดหัวไมเกรนได้

  • การใช้ปากกาฉีดพุงลดไมเกรน

การใช้ปากกาฉีดพุงลดไมเกรน เป็นยาที่สร้างจากเซลล์ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย และทำงานโดยการไปขัดขวางการทำงานของสารโปรตีนบางตัวในร่างกายที่เป็นสาเหตุของการเกิดไมเกรน ให้ผลการรักษาที่ดีมาก ในระดับ 70-90%  โดยมักจะฉีดเข้าไปบริเวณพุง เดือนละ 1 ครั้งทุก ๆ เดือน  ถือเป็นวิธีรักษาไมเกรนที่ได้รับความนิยมสูงมาก

  • การรักษาไมเกรนทางเลือก

จากงานวิจัย ได้บอกไว้ว่า การฝังเข็ม สามารถช่วยลดอาการปวดหัวไมเกรนได้จริง แต่ขึ้นอยู่กับการตอบสนองในแต่ละบุคคล แนะนำว่าให้ฝัง อย่างน้อย 6 session ขั้นต่ำ สัปดาห์ละ 1 ครั้งเท่านั้นจึงจะเห็นผลดี

ข้อสรุป

การรับประทานยา triptans เพื่อรักษาไมเกรนนั้นถือเป็นวิธีการรักษาไมเกรนที่เห็นผลไวและสะดวกมากที่สุด แต่หากรับประทานในระยะยาวก็อาจส่งผลต่อสุขภาพได้ อีกทั้งยังไม่เหมาะกับผู้ที่มีภาวะเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดซึ่งอาจส่งผลอันตรายร้ายแรงถึงชีวิตได้ แต่ถ้าหากใครที่ต้องการรักษาไมเกรนด้วยวิธีทางเลือกอื่นๆ เช่นการฉีดโบท็อกไมเกรน หรือการใช้ปากกาฉีดพุง สามารถติดต่อเข้ามาได้ที่  BTX Migraine Center ที่มีวิธีรักษาไมเกรนทั้งแบบการใช้ปากกาฉีดพุงลดการปวดหัวไมเกรน และฉีดโบท็อกซ์รักษาไมเกรน  สามารถแอดไลน์ @ayaclinic หรือโทรเบอร์  090–970-0447 เพื่อปรึกษา ขอคำแนะนำ หรือจองคิวฉีดโบท็อกไมเกรน เพื่อลดอาการไมเกรน เวียนหัวและปวดหัวรูปแบบต่าง ๆ กับทางแพทย์ผู้เชี่ยวชาญของ BTX Migraine Center ศูนย์รักษาไมเกรนเฉพาะทางที่ปลอดภัยและทันสมัยได้ทันที