ปวดหัวคลัสเตอร์ คืออะไร สัญญาณเตือนที่ควรรู้ อันตรายไหม? อาการ สาเหตุ วิธีรักษา

ปวดหัวแบบคลัสเตอร์ คืออะไร อันตรายไหม? อาการ สาเหตุ วิธีรักษา

อาการปวดคลัสเตอร์ นับว่าเป็นหนึ่งในอาการปวดหัวที่หลาย ๆ คนกังวล เนื่องจากมีผลกระทบอย่างยิ่งต่อชีวิตประจำวัน อีกทั้งลักษณะอาการยังค่อนข้างรุนแรงต่างจากปวดไมเกรนหรือปวดหัวทั่ว ๆ ไป

ทั้งนี้หากปล่อยให้อาการปวดหัวแบบคลัสเตอร์ทิ้งไว้ อาจจะส่งผลในระยะยาว ดังนั้นจึงควรทำความรู้จักว่าปวดหัวคลัสเตอร์คืออะไร อันตรายไหม เกิดจากอะไร วิธีบรรเทาอาการปวดหัวแบบคลัสเตอร์ต้องทำแบบไหน อ่านต่อได้ในบทความ


สารบัญบทความ


ปวดหัวคลัสเตอร์ (Cluster Headache)

ปวดหัวคลัสเตอร์ (Cluster Headache)
ปวดหัวคลัสเตอร์ (Cluster Headache) คือ อาการปวดหัว อันเนื่องจากความผิดปกติของระบบประสาทอัตโนมัติไตรเจอร์มินอลและต่อมไฮโพทาลามัสที่ทำงานผิดปกติ เป็นอาการที่สามารถพบได้น้อยและพบได้ในผู้ชาย อายุเฉลี่ย 40 ปีมากกว่าผู้หญิง โดยในผู้ป่วยแต่ละรายจะมีอาการร่วมแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับสุขภาพของแต่ละคนตลอดจนสิ่งเร้าต่าง ๆ  

อย่างไรก็ดี ระยะเวลาปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์จะกินเวลานานกว่าปกติ ตั้งแต่ 1 ชั่วโมงเป็นต้น โดยส่วนใหญ่จะพบว่ามีอาการ 1-8 ครั้งต่อวัน แต่ในผู้ป่วยที่มีอาการปวดหัวคลัสเตอร์หรือปวดหัวเรื้อรังจะมีอาการเกิดทุก ๆ วันติดต่อกันนานถึง 3 เดือน


อาการสัญญาณเตือนปวดหัวคลัสเตอร์

อาการปวดหัวแบบคลัสเตอร์ จะเกิดขึ้นอย่างรุนแรงและกะทันหัน โดยลักษณะอาการส่วนใหญ่คือ ปวดหัวข้างเดียว อาจจะเป็นข้างซ้ายหรือข้างขวา ตลอดจนปวดบริเวณต่าง ๆ เช่น ปวดบ่า ปวดไหล่ ปวดหน้าผาก ปวดหัวท้ายทอย 

ซึ่งอาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นมากสุด 8 ครั้งต่อวัน และเกิดขึ้นต่อเนื่องหลายเดือน จากนั้นจะเว้นช่วงและกลับมาเป็นแบบเดิมอีกครั้ง

อาการสัญญาณเตือนปวดหัวคลัสเตอร์

อาการข้างเคียงที่มักเกิดร่วมกับอาการปวดหัว

อย่างไรก็ดี นอกจากอาการอาการปวดหัวแบบคลัสเตอร์ในข้างต้นแล้วผู้ป่วยบางรายยังพบว่ามีอาการร่วมดังต่อไปนี้

  • ตาแดง
  • น้ำตาไหล
  • เปลือกตาแดง
  • คัดจมูก
  • เหงื่ออกที่หน้าผาก
  • ลืมตาลำบาก
  • ตาไวต่อแสง
  • กระสับกระส่าย 
  • เวียนหัว

ทั้งนี้อาการร่วมจะเป็นร่วมกับปวดหัวคลัสเตอร์ตั้งแต่ 15 นาที ถึง 3 ชั่วโมงและมักจะเกิดข้างเดียวกับที่ปวดหัว


ปวดหัวคลัสเตอร์เกิดจากสาเหตุใด

ปวดหัวคลัสเตอร์เกิดจากสาเหตุใด
อย่างไรก็ตาม สาเหตุของอาการปวดหัวคลัสเตอร์นั้นยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่จากการศึกษาและวิจัยในปัจจุบันพบว่า อาการปวดหัวคลัสเตอร์อาจเกิดจากการทำงานผิดปกติของระบบระบบประสาทอัตโนมัติไตรเจอร์มินอลและต่อมไฮโพทาลามัส ซึ่งมีหน้าควบคุมสิ่งต่าง ๆ ภายในร่างกาย 

ยกตัวอย่างเช่น การหลั่งฮอร์โมน ระดับอุณหภูมิในร่างกายและความดันในร่างกาย ซึ่งส่งผลให้ในสมองและหลอดเลือดมีความดันสูงกว่าปกติ จนเกิดอาการปวดหัวข้างซ้ายข้างเดียวหรือข้างขวาข้างเดียว และนำไปสู่อาการปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์

ซึ่งอาจทำให้เกิดกลไกการทำงานเส้นเลือดบริเวณใบหน้าขยายใหญ่ขึ้นจนไปกดทับเส้นประสาทบนใบหน้า และกระตุ้นความรู้สึกไปยังสมองมากผิดปกติ จึงทำให้เกิดอาการปวดหัวลักษณะนี้ขึ้น

ปัจจัยกระตุ้นอาการปวดหัวคลัสเตอร์

นอกเหนือจากสาเหตุในข้างต้นแล้ว ปัจจัยภายนอกยังเป็นส่วนหนึ่งที่กระตุ้นอาการปวดหัวได้เป็นอย่างดี โดยปัจจัยต่าง ๆ เหล่านั้นมีดังต่อไปนี้

  • การสูบบุหรี่
  • การดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ
  • กลิ่นฉุน เช่น น้ำหอม น้ำมันเบนซิน สี เป็นต้น ทำให้เกิดอาการไวต่อสิ่งเร้า
  • การออกกำลังกายอย่างหนักติดต่อกัน
  • อุณหภูมิที่สูง เช่น การอาบน้ำอุ่น ออกกำลังกายในห้องที่มีอากาศร้อน เป็นต้น
  • พันธุกรรม มีคนในครอบครัวปวดหัวแบบ Cluster 
  • มีโรคแทรกซ้อน เช่น เนื้องอกในสมอง ต่อมใต้สมอง เป็นต้น

ปวดหัวคลัสเตอร์ อันตรายไหม

อาการปวดหัวข้างขวาหรือข้างซ้ายข้างเดียว ปวดกระบอกตา ปวดหัวรุนแรง และมีอาการอื่น ๆ  ร่วมด้วย จนทำให้รู้สึกว่าการใช้ชีวิตประจำวันนั้นยากขึ้น นั่นคืออาการปวดหัวคลัสเตอร์ที่รุนแรงและอันตราย 

อีกทั้งสาเหตุหลัก ๆ ของโรคนี้คือ ความผิดปกติของการทำงานในระบบสมอง ดังนั้น หากพบว่าตนเองมีความผิดปกติหรือเข้าข่าย ควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัย เพราะนอกจากอาการปวดหัวคลัสเตอร์ที่มีสาเหตุเกิดจากการทำงานของระบบสมองแล้ว อาจจะเกิดจากโรคร้ายอย่างเนื้องอกหรือโรคเกี่ยวกับต่อมใต้สมองอีกด้วย


ปวดหัวคลัสเตอร์กับไมเกรนต่างกันอย่างไร

ใครที่เคยมีอาการไมเกรนในรูปแบบต่าง ๆ  เช่น ปวดหัวคิ้ว หน้าผาก ขมับ เส้นคอตึงจนปวดหัว ปวดรอบ ๆ  ศีรษะ ปวดทั่วบริเวณ ตลอดจนมีอาการไมเกรนขึ้นตา จะทราบดีว่ามีอาการอย่างไร 

แต่สำหรับผู้ที่เพิ่งมีอาการปวด อาจจะเกิดความสับสนได้ว่าปวดหัวคลัสเตอร์กับปวดหัวไมเกรนต่างกันอย่างไร จึงจะต้องพิจารณาและวินิจฉัยอย่างถี่ถ้วน

ปวดหัวคลัสเตอร์กับไมเกรนต่างกันอย่างไร
โรคไมเกรน (Migraine) จะมีลักษณะอาการปวดแบบตุ้บ ๆ  เป็นจังหวะ โดยอาจมีอาการปวดหัวข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง ช่วงแรก ๆ  อาการอาจยังไม่รุนแรง แต่ปล่อยทิ้งไว้อาการอาจจะเพิ่มขึ้น และมักจะมีอาการร่วมต่าง ๆ  เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เวียนหัว ไวต่อแสง เสียง หรือกลิ่น ภายในระยะเวลา 4-7 ชั่วโมง 

ทั้งนี้สามารถรักษาได้ด้วยวิธีแก้ปวดหัวไมเกรนเบื้องต้น หรือสามารถรักษาด้วยวิธีทางการแพทย์ซึ่งปลอดภัยและมีผลข้างเคียงน้อยอย่างการฉีดโบท็อกไมเกรน

สำหรับโรคปวดศีรษะคลัสเตอร์ (Cluster Headache) จะมีลักษณะอาการคือ ปวดหัวแบบรุนแรง ปวดข้างเดียว ร่วมกับอาการปวดบริเวณกระบอกตาหรือขมับ ในบางรายจะมีอาการร่วม เช่น ตาแดง น้ำตาหรือน้ำมูกไหล คัดจมูก ซึ่งจะกินระยะเวลา 15 นาทีถึง 3 ชั่วโมง จำนวน 1-8 ครั้งต่อวัน และจะปวดเป็นสัปดาห์หรือเดือน

ทั้งนี้สามารถรักษาอาการปวดหัวคลัสเตอร์ได้โดยการใช้ยาบรรเทาอาการปวดที่ออกฤทธิ์เร็ว


ใครบ้างที่เสี่ยงอาการปวดหัวคลัสเตอร์

จากการศึกษาพบว่าผู้ที่เสี่ยงอาการปวดหัวคลัสเตอร์นั้นส่วนใหญ่จะพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง และพบในชายอายุราว ๆ  40 ปี อย่างไรก็ดี ในปัจจุบันพบว่าผู้ชายที่อายุน้อยกว่าหรือผู้หญิงก็มีโอกาสเสี่ยงเป็นปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์เช่นเดียวกัน หากมีความผิดปกติของระบบสมองหรือมีสิ่งเร้า เช่น สูบบุหรี่จัด ดื่มแอลกอฮอล์หนัก เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม พบว่าผู้ที่มีคนในครอบครัวซึ่งมีประวัติการปวดหัวแบบคลัสเตอร์ มักจะมีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดอาการปวดหัวคลัสเตอร์เช่นเดียวกัน


ปวดหัวคลัสเตอร์..เมื่อไหร่ควรพบแพทย์

ปวดหัวคลัสเตอร์..เมื่อไหร่ควรพบแพทย์
อาการปวดหัวแบบคลัสเตอร์นั้นค่อนข้างที่จะรุนแรงกว่าอาการปวดหัวจากความเครียด ดังนั้น เมื่อพบว่าตนเองมีอาการเตือนอย่างใดอย่างหนึ่งในข้างต้น ปวดเหมือนของแหลมทิ่มแทง ปวดจนทนไม่ไหว หรือสังเกตตัวเองแล้วพบว่ามีอาการอื่น ๆ  ร่วมกับการปวดหัวเกณฑ์เข้าข่าย ให้รีบพบแพทย์เพื่อปรึกษา ตรวจวินิจฉัย และรักษาอาการปวดหัวคลัสเตอร์ในลำดับต่อไป


การวินิจฉัยอาการปวดหัวคลัสเตอร์

หากพบว่าตนเองนั้นมีอาการปวดหัวที่เข้าข่ายรูปแบบการปวดหัวคลัสเตอร์ และเพื่อให้รักษาอาการปวดหัวคลัสเตอร์อย่างถูกวิธี การวินิจฉัยจะเริ่มจากวิธีเบื้องต้น จากนั้นจึงจะเจาะลึกลงรายละเอียดต่าง ๆ  ดังนี้

การวินิจฉัยอาการปวดหัวคลัสเตอร์

1. การซักประวัติและตรวจร่างกาย

ในเบื้องต้นจะทำการซักประวัติ เกี่ยวกับประวัติการรักษา ประวัติการเกิดอุบัติเหตุกระทบกระเทือนศีรษะ ประวัติการใช้ยา ประวัติการที่ครอบครัวเคยมีอาการปวดหัวแบบคลัสเตอร์ ตลอดจนซักประวัติและพฤติกรรมการใช้ชีวิต จากนั้นจะทำการตรวจร่างกายในเบื้องต้น

2. การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Brain)

การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง (CT-brain) จะทำการตรวจเอกซเรย์โรคต่าง ๆ  โดยการฉายรังสีเอกซเรย์ตามร่างกาย จากนั้นจะภาพจะฉายบริเวณต่าง ๆ  ที่ตรวจบนคอมพิวเตอร์โดยมีความละเอียดสูง ซึ่งจะช่วยให้ตรวจหาความผิดปกติและสาเหตุสำคัญของโรค

3. การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสมอง MRI

การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจะสนามแม่เหล็กและคลื่นวิทยุความเข้มสูงในการตรวจร่างกายเพื่อสร้างภาพเสมือนจริงที่คมชัดสูง ซึ่งจะทำให้แพทย์สามารถวินิจฉัยความผิดปกติในร่างกายได้อย่างแม่นยำ


วิธีแก้ปวดหัวแบบคลัสเตอร์ 

อย่างที่ทรานดีว่าอาการปวดหัวคลัสเตอร์นั้นยังไม่มีทางรักษาให้หายขาดได้ แต่ก็มีวิธีแก้ปวดหัวแบบคลัสเตอร์ สำหรับรักษาและบรรเทาอาการ ดังนี้

1. การใช้ยารักษาอาการปวดหัวคลัสเตอร์

วิธีแก้ปวดหัวแบบคลัสเตอร์
เมื่อมีอาการปวดหัวคลัสเตอร์ แพทย์จะแนะนำให้ใช้ยาแก้ปวดที่ออกฤทธิ์เร็ว ยกตัวอย่างเช่น 

  • ยากลุ่ม Triptan ทั้งรูปแบบของการฉีดเข้าใต้ผิวหนัง พ่นจมูก หรือทานยาเม็ด ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม 
  • ยากลุ่ม Ibuprofen ชนิดเม็ด น้ำ หรือทา เพื่อลดอาการปวดหัวอย่างเร่งด่วน เป็นต้น 
  • ยา Lidocaine หรือยาชาเฉพาะจุด เพื่อบรรเทาอาการปวดได้ด้วยการสูดดม 

2. การรักษาด้วยการให้ออกซิเจนทางจมูก

การรักษาด้วยการให้ออกซิเจนทางจมูก
การรักษาด้วยวิธีนี้จะเน้นรักษาอาการปวดหัวคลัสเตอร์ในระยะเฉียบพลัน เนื่องจากสามารถรักษาได้ภายใน 15 นาที โดยทางแพทย์จะให้ออกซิเจนบริสุทธิ์ผ่านทางหน้ากาก วิธีนี้นับว่าเป็นวิธีปลอดภัยและไม่มีผลข้างเคียง แต่สำหรับผู้ป่วยบางรายก็อาจไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยวิธีดังกล่าว

3. การฉีดยารอบเส้นประสาท

การฉีดยารอบเส้นประสาท
วิธีนี้จะใช้สำหรับผู้ที่รักษาด้วยวิธีอื่นแล้วไม่เห็นผล ซึ่งการฉีดยารอบเส้นประสาทหรือที่เรียกว่าการบล็อกเส้นประสาท ทางแพทย์จะทำการฉีดยารอบ ๆ  เส้นประสาท เพื่อไม่ให้ผู้ป่วยได้รับรู้ถึงความเจ็บปวดเมื่อมีอาการปวดหัวคลัสเตอร์  


ภาวะแทรกซ้อนจากการปวดหัวแบบคลัสเตอร์ 

อย่างไรก็ดี ในผู้ป่วยบางรายพบว่ามีภาวะแทรกซ้อนจากอาการปวดหัวแบบ Cluster ดังนี้

  • สุขภาพจิตย่ำแย่ กระวนกระวายใจ เนื่องจากเครียดกับอาการ 
  • ภาวะซึมเศร้า
  • ไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติ
  • ปากแห้ง เวียนหัว เหนื่อย หนักบริเวณใบหน้า อก แขนและขา เนื่องจากการใช้ยา Triptan
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง สูญเสียประสาทสัมผัสบนใบหน้าส่วนใดส่วนหนึ่ง ซึ่งเป็นผลมาจากการรักษาแบบผ่าตัด

แนวทางการป้องกันอาการปวดหัวคลัสเตอร์ 

แนวทางการป้องกันอาการปวดหัวคลัสเตอร์
เนื่องจากปวดหัวคลัสเตอร์ยังไม่ทราบสาเหตุอาการเกิดที่แน่ชัด แต่ในเบื้องต้น ก็สามารถป้องกันตนเองด้วยวิธีดังต่อไปนี้ 

  • อยู่ในที่ที่อุณหภูมิที่ต่ำหรือปกติ แต่ไม่ควรร้อนหรือหนาวจนเกินไป
  • ทำกิจกรรมเบา ๆ ที่ไม่ต้องออกแรงหนัก
  • หลีกเลี่ยงการอยู่ในบริเวณที่มีสิ่งเร้า เช่น เสียงดัง กลิ่นเหม็นฉุน หรือที่ที่แสงจ้า
  • งดดื่มแอลกอฮอล์หรือสูบบุหรี่
  • ทานยาบางประเภท เช่น เออร์โกตามีน (Ergotamine), เมลาโทนิน, สเตียรอยด์, เวอราปามิล เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดอาการ
  • เน้นออกกำลังเบา ๆ เช่น โยคะแก้ปวดหัว เดินเบา ๆ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง

ข้อสรุป 

อาการปวดหัวคลัสเตอร์นั้นค่อนข้างรุนแรง แม้ว่าจะไม่มีทางรักษาให้หายขาด แต่ก็มีวิธีแก้ปวดหัวแบบคลัสเตอร์ที่ช่วยรักษาหรือบรรเทาอาการได้ ดังนั้น หากพบว่าตนเองมีอาการเข้าค่ายหรือใกล้เคียงก็ควรรีบพบแพทย์

แต่หากใครที่กำลังสับสนระหว่างอาการปวดหัวแบบคลัสเตอร์และปวดหัวไมเกรน สามารถ  @ayaclinic หรือโทร 090–970-0447 เพื่อปรึกษา ตรวจไมเกรน กับทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญของ BTX Migraine Center หรือศูนย์รักษาไมเกรนเฉพาะทาง ซึ่งหากพบว่ามีอาการปวดไมเกรนก็สามารถเลือกรักษาไมเกรนด้วยการฉีดโบท็อกไมเกรน ที่มีความปลอดภัยและเห็นผลระยะยาวได้ทันที

แอดไลน์


เอกสารอ้างอิง

Jennifer Robinson. 2022. Cluster Headaches. Retrieve from https://www.webmd.com/migraines-headaches/cluster-headaches