Cerebrolysin กับโรคอัลไซเมอร์ ทางเลือกใหม่ในการรักษาความเสื่อมของสมอง

โรคอัลไซเมอร์แม้ว่าความขี้ลืมเล็กๆ น้อยๆ ในชีวิตประจำวันของเราจะเป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าอาการหนักขึ้นจนส่งผลต่อการใช้ชีวิต นั่นอาจเป็นสัญญาณของ “โรคอัลไซเมอร์” ภาวะที่ส่งผลกระทบต่อสมอง ทำให้ความจำเสื่อมลงและส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของทั้งตัวผู้ป่วยและคนรอบข้าง

ในปัจจุบัน มีการพูดถึง Cerebrolysin กันมากขึ้นในวงการแพทย์และผู้ที่มองหาทางเลือกใหม่ๆ ในการดูแลสมอง เพราะเป็นหนึ่งในแนวทางการรักษาที่ได้รับความสนใจ ด้วยคุณสมบัติที่ช่วยฟื้นฟูสมองและอาจช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ประสาท วันนี้เรามาทำความเข้าใจกันว่า Cerebrolysin คืออะไร ใช้แล้วดียังไง สมองเสื่อมรักษาได้ไหม พร้อมข้อควรรู้อื่นๆ ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลย

สารบัญบทความ

โรคอัลไซเมอร์คืออะไร ?

ถ้าพูดถึงโรคอัลไซเมอร์ หลายคนอาจนึกถึงคุณปู่คุณย่าที่เริ่มจำอะไรไม่ค่อยได้ ซึ่งนั่นก็ถือเป็นอัลไซเมอร์ในผู้สูงอายุ แต่จริงๆ แล้ว โรคนี้ไม่ใช่แค่อาการหลงลืมทั่วไป แต่มันคือโรคที่ทำให้สมองเสื่อมลงเรื่อยๆ จนกระทบกับชีวิตประจำวันได้เลย

สาเหตุของโรคอัลไซเมอร์

โรคอัลไซเมอร์เกิดจากการเสื่อมของเซลล์สมอง ซึ่งอาจมีหลายปัจจัยที่ทำให้เกิดขึ้น เช่น  

  • อายุ : ส่วนใหญ่เจอในผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป
  • พันธุกรรม : ถ้ามีคนในครอบครัวเคยเป็น โอกาสเสี่ยงก็เพิ่มขึ้น
  • ไลฟ์สไตล์ : การกินอาหารที่ไม่ดี ขาดการออกกำลังกาย หรือมีโรคประจำตัวบางอย่าง เช่น เบาหวาน ความดัน ก็อาจเพิ่มความเสี่ยงได้
  • สารพิษและมลภาวะ : สิ่งแวดล้อมก็มีผลต่อสุขภาพสมองเช่นกัน

อาการของอัลไซเมอร์ (แบ่งตามระยะ)

  • ระยะเริ่มต้น : ขี้ลืมแบบที่เริ่มน่ากังวล เช่น ลืมว่าเมื่อกี้กินข้าวหรือยัง พูดซ้ำๆ หรือหลงลืมนัดสำคัญบ่อยขึ้น
  • ระยะกลาง : อาการหนักขึ้น เช่น หลงทางในที่ที่เคยคุ้น เคยของที่ใช้ทุกวันแต่จำไม่ได้ว่าใช้ยังไง หรือเริ่มสับสนกับคนรอบข้าง
  • ระยะปลาย : สมองทำงานได้ลดลงมาก จนไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้เลย อาจจำคนใกล้ชิดไม่ได้ และมีปัญหาการสื่อสาร

ใครเสี่ยงเป็นอัลไซเมอร์ได้บ้าง?

  • คนที่อายุ 60 ปีขึ้นไป
  • คนที่มีพ่อแม่หรือญาติสายตรงเคยเป็นโรคนี้
  • คนที่ไม่ค่อยดูแลตัวเอง เช่น นอนไม่พอ กินแต่อาหารแปรรูป ไม่ออกกำลังกาย
  • คนที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดัน หรือไขมันสูง

โรคอัลไซเมอร์

Cerebrolysin คืออะไร ?

ถ้าพูดถึงยารักษาสมองเสื่อมที่กำลังมาแรง “Cerebrolysin” เป็นอีกหนึ่งชื่อที่ถูกพูดถึงเยอะมาก โดยเฉพาะในกลุ่มคนที่กำลังมองหาวิธีดูแลสมอง หรือช่วยชะลอความเสื่อมที่อาจนำไปสู่โรคอัลไซเมอร์

โดย Cerebrolysin ก็คือโปรตีนที่ถูกสกัดจากสมองหมู ฟังดูน่าตกใจนิดนึง แต่จริงๆ แล้วมีความปลอดภัยสูงมาก โดยผ่านกระบวนการพัฒนาให้เข้ากับร่างกายมนุษย์ เพื่อช่วยฟื้นฟูและปกป้องเซลล์สมอง ถือเป็นยาชะลออัลไซเมอร์ที่ได้รับความนิยมสูงมากเลยทีเดียว

Cerebrolysin ทำงานยังไง?

  • ช่วยกระตุ้นการสร้างเซลล์ประสาทใหม่ เปรียบง่ายๆ ก็เหมือนให้สมองมีพลังซ่อมแซมตัวเองได้ดีขึ้น
  • ป้องกันการตายของเซลล์สมอง ลดความเสียหายของสมองจากภาวะต่างๆ เช่น สมองขาดเลือด หรือการเสื่อมตามวัย
  • เพิ่มการสื่อสารของเซลล์ประสาท ให้สมองทำงานได้ดีขึ้น คิดเร็วขึ้น จำแม่นขึ้น
  • ลดการอักเสบในสมอง ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุของโรคอัลไซเมอร์และภาวะสมองเสื่อม

รูปแบบการใช้ Cerebrolysin

สำหรับการใช้ Cerebrolysin นั้น ปัจจุบันยังไม่มีแบบเม็ดหรือแคปซูลที่สามารถกินได้โดยตรง ส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปแบบฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือฉีดเข้าเส้นเลือด ซึ่งต้องทำโดยแพทย์เท่านั้น ไม่สามารถซื้อมาใช้เองได้ โดยทั่วไป แพทย์จะพิจารณาให้ฉีดติดต่อกันเป็นคอร์ส เช่น 5-10 วันต่อเนื่อง ขึ้นอยู่กับอาการของแต่ละคน 

ประโยชน์ของ Cerebrolysin ต่อผู้ป่วยอัลไซเมอร์

Cerebrolysin ไม่ใช่ยารักษาโรคอัลไซเมอร์แบบหายขาด แต่เป็นตัวช่วยที่สามารถชะลออาการอัลไซเมอร์ได้ และทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไมมันถึงเป็นที่นิยมในวงการแพทย์และคนที่มองหาทางเลือกใหม่ในการรักษาภาวะนี้

ช่วยชะลอการเสื่อมของเซลล์สมอง

โรคอัลไซเมอร์เกิดจากการเสื่อมของเซลล์สมองแบบค่อยเป็นค่อยไป และ Cerebrolysin มีคุณสมบัติที่ช่วยปกป้องเซลล์เหล่านี้จากการถูกทำลาย โดยลดการตายของเซลล์สมอง ช่วยซ่อมแซมเซลล์ประสาทที่เสียหาย และลดการอักเสบที่อาจเร่งให้สมองเสื่อมเร็วขึ้น

ส่งเสริมการเรียนรู้และความจำ

แม้ว่าผู้ป่วยอัลไซเมอร์จะมีปัญหาด้านความจำและการเรียนรู้ แต่ Cerebrolysin อาจช่วยให้สมองทำงานดีขึ้นในส่วนนี้ เพราะมีส่วนช่วยในการกระตุ้นการสื่อสารระหว่างเซลล์ประสาท ทำให้คิดและจำสิ่งต่างๆ ได้ดีขึ้น ช่วยให้สมองจดจำข้อมูลใหม่ๆ ได้ดีขึ้น และลดอาการสับสนในผู้ป่วยระยะเริ่มต้นได้

เพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย

โรคอัลไซเมอร์ไม่ได้กระทบแค่เรื่องความจำเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่ออารมณ์ การใช้ชีวิต และความสัมพันธ์กับคนรอบข้างด้วย การใช้ยา Cerebrolysin จึงอาจช่วยให้ชีวิตของผู้ป่วยและคนดูแลง่ายขึ้น

  • ลดอาการหงุดหงิดและอารมณ์แปรปรวนของผู้ป่วย
  • ช่วยให้ผู้ป่วยตอบสนองต่อสิ่งรอบตัวได้ดีขึ้น
  • ทำให้สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ดีขึ้น แม้ในระยะกลางของโรค

Cerebrolysin

งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ Cerebrolysin และโรคอัลไซเมอร์

Cerebrolysin ได้รับความสนใจอย่างมากในวงการแพทย์ เนื่องจากมีงานวิจัยหลายฉบับที่สนับสนุนการใช้ยานี้ในการรักษาผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ มาดูกันว่ามีอะไรบ้าง

  • การศึกษาในยุโรป

มีการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมในผู้ป่วยอัลไซเมอร์ระดับปานกลางถึงรุนแรง พบว่าการให้ยาชะลออัลไซเมอร์ Cerebrolysin ช่วยปรับปรุงความสามารถในการเรียนรู้และความจำของผู้ป่วยได้อย่างมีนัยสำคัญ และผลลัพธ์ที่ได้ยังคงอยู่เป็นระยะเวลาหลายเดือนหลังหยุดการรักษา

  • ClinicalTrials.gov

ระบุว่าการใช้ยาชะลออัลไซเมอร์ Cerebrolysin ในระยะเวลา 4–12 สัปดาห์ ช่วยลดอาการอัลไซเมอร์ได้ดีกว่ากลุ่มควบคุม

  • งานวิจัยในเอเชีย

การศึกษาที่ประเทศเกาหลีใต้และจีน พบว่าผู้ป่วยที่ได้รับยา Cerebrolysin มีพัฒนาการด้านความจำและการตอบสนองที่ดีขึ้น โดยเฉพาะอัลไซเมอร์ในผู้สูงอายุ ซึ่งสอดคล้องกับผลการศึกษาในยุโรป

อย่างไรก็ตาม แม้ผลการวิจัยจะดูมีแนวโน้มที่ดี แต่ยังจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมในระยะยาวเพื่อยืนยันประสิทธิภาพและความปลอดภัยของยา Cerebrolysin ในการรักษาโรคอัลไซเมอร์ต่อไป

ข้อควรระวังและผลข้างเคียงของการใช้ Cerebrolysin

Cerebrolysin ก็เหมือนกับยาทั่วไปที่มีทั้งข้อดีและข้อควรระวัง ไม่ใช่ว่าทุกคนจะใช้ได้แบบไม่มีผลกระทบเลย มาดูกันว่ามีอะไรที่ต้องรู้ก่อนตัดสินใจใช้

ข้อควรระวังในการใช้ Cerebrolysin

  • Cerebrolysin ไม่ใช่ยาที่หาซื้อแล้วฉีดเองได้ ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์เสมอ
  • ต้องใช้เป็นคอร์ส ไม่ใช่ฉีดครั้งเดียวแล้วเห็นผลทันที ส่วนใหญ่แพทย์จะกำหนดให้ฉีดติดต่อกันเป็นระยะเวลา เช่น 5–10 วัน หรือมากกว่านั้นขึ้นอยู่กับอาการ
  • อาจเกิดอาการแพ้ได้ ถึงแม้จะไม่บ่อย แต่ถ้ามีอาการผิดปกติหลังฉีด เช่น ผื่นขึ้น หายใจลำบาก หรือบวม ให้รีบแจ้งแพทย์ทันที

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น

ส่วนใหญ่ Cerebrolysin เป็นยาชะลออัลไซเมอร์ที่ค่อนข้างปลอดภัย แต่บางคนอาจมีอาการเหล่านี้หลังฉีด

  • ปวดหัวเล็กน้อย หรือมึนงงชั่วคราว
  • รู้สึกร้อนวูบวาบ หรือมีอาการคลื่นไส้
  • มีอาการใจสั่น หรือความดันเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย

อาการเหล่านี้มักจะเป็นแค่ชั่วคราวและหายไปเอง แต่ถ้ารู้สึกไม่สบายตัวมากผิดปกติ ควรแจ้งแพทย์ให้ตรวจสอบทันที

ใครบ้างที่ควรหลีกเลี่ยง Cerebrolysin ?

แม้ว่ายานี้จะช่วยรักษาอาการอัลไซเมอร์ได้จริง แต่ไม่ใช่ว่าทุกคนจะเหมาะกับมัน โดยคนที่ควรหลีกเลี่ยง ได้แก่

  • ผู้ที่มีอาการแพ้โปรตีนจากสัตว์ (เพราะตัวยาสกัดจากสมองหมู)
  • คนที่มีภาวะชัก หรือโรคลมชัก เพราะอาจกระตุ้นให้เกิดอาการชักได้
  • ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับไตรุนแรง เพราะร่างกายอาจขับยาออกได้ไม่ดี
  • หญิงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เนื่องจากยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนพอว่าปลอดภัย 

ข้อระวังการใช้ Cerebrolysin

Cerebrolysin เหมาะกับใคร?

  • ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์หรือผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อม โดยตัวยาจะช่วยชะลอการเสื่อมของเซลล์สมอง กระตุ้นความจำและการเรียนรู้ให้ดีขึ้น
  • ผู้ที่เคยมีภาวะสมองขาดเลือด หรือโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)
  • ผู้ที่มีปัญหาด้านความจำ หรือสมาธิสั้นในผู้สูงอายุ
  • ผู้ที่มีภาวะบาดเจ็บที่สมอง (Traumatic Brain Injury – TBI)
  • ผู้ที่ต้องการบำรุงสมองจากภาวะเครียดหรือการใช้สมองหนัก

ข้อสรุป 

Cerebrolysin เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่น่าสนใจในการฟื้นฟูสมอง โดยเฉพาะในผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ที่ต้องการชะลออาการเสื่อมของสมอง และฟื้นฟูความสามารถในการจดจำและใช้ชีวิตประจำวัน ถึงแม้จะไม่ใช่ยาที่รักษาอาการอัลไซเมอร์ให้หายขาด แต่มีงานวิจัยรองรับว่าช่วยให้สมองทำงานดีขึ้นได้ในบางระดับ อย่างไรก็ตาม ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพและปลอดภัยที่สุด

หากคุณหรือคนใกล้ชิดกำลังเผชิญกับภาวะความจำเสื่อม หรือมีอาการปวดศีรษะเรื้อรังที่อาจเกี่ยวข้องกับระบบประสาท BTX Migraine Center เป็นศูนย์เฉพาะทางที่ให้บริการด้านการดูแลสมองด้วยเทคโนโลยีการแพทย์ที่ทันสมัย ทีมแพทย์สามารถช่วยวินิจฉัยและออกแบบแผนการรักษาที่ตรงจุด ไม่ว่าจะเป็นการให้คำปรึกษา หรือหาวิธีบรรเทาอาการที่เหมาะกับคุณ สามารถแอดไลน์ @ayaclinic หรือโทร 090–970-0447 เพื่อจองคิวและพูดคุยกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้เลย

แอดไลน์