ปวดหัวไมเกรน แตกต่างกับอาการปวดหัวทั่วไปอย่างไร
หลายคนมีอาการปวดหัวก็คิดว่าเป็นการปวดหัวปกติทั่วไป ถ้าไม่ได้สังเกตให้ดีก็ไม่พบว่าแตกต่าง ยิ่งถ้าเป็นอาการไมเกรนอ่อน ๆ เพิ่งเริ่มต้น อาการปวดหัวนั้นจะคล้ายกับการปวดหัวทั่วไป ถ้าไม่รู้ว่าอาการปวดหัวไมเกรนต่างกับปกติอย่างไร จะทำให้ได้รับการรักษาไมเกรนได้ไม่ถูกต้อง ปวดหัวไมเกรนอาจจะมีอาการปวดแบบตุ๊บ ๆ จะปวดหัวข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้ อาจมีอาการนำก่อนปวดศีรษะ เช่น เห็นแสงวูบวาบ ไฟระยิบระยับ เห็นภาพเบลอ เป็นต้น โดยมักมีอาการนำมาก่อนปวดศีรษะประมาณ 10 – 30 นาที
สารบัญบทความ
- สาเหตุของการปวดหัว
- การวินิจฉัยการปวดหัว
- ปวดหัวจากสาเหตุหลัก
- การปวดหัวจากไมเกรนมีอาการอย่างไร
- ภาวะแทรกซ้อนการปวดหัว
- วิธีป้องกันอาการปวดหัว
- ทำอย่างไรเมื่อมีอาการปวดหัว
- ความต่างปวดหัวทั่วไปกับปวดหัวไมเกรน
- ข้อสรุป
สาเหตุของการปวดหัว
สมาคมปวดศีรษะนานาชาติ (The International Headache Society: IHS) แบ่งสาเหตุของอาการปวดหัวออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ เพื่อช่วยให้แพทย์วินิจฉัยอาการได้ง่ายขึ้น รักษาได้อย่างตรงจุดและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
อาการปวดศีรษะแบบทุติยภูมิ (Secondary Headache)
เป็นอาการปวดหัวมาจากโรคหรือความผิดปกติของโครงสร้างบริเวณศีรษะและคอ ซึ่งรุนแรงแตกต่างกันและอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่ อาการไข้ อาการปวดเนื่องมาจากเป็นโรคบริเวณข้อต่อขากรรไกร การใช้ยา/ถอนยาหรือสารเสพติดบางอย่าง กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อพังผืดที่ศีรษะและคอ โรคทางจิตใจ โรคตาเช่นต้อหิน โรคหูคอจมูกเช่นไซนัสอักเสบ โรคทันตกรรมเช่นฟันผุ
- โรคไซนัสอักเสบ : การอักเสบและการติดเชื้อของเยื่อบุจมูกและไซนัส อาการหลักมี 3 อาการ ได้แก่ อาการคัดหรือแน่นจมูก มีน้ำมูกไหลออกมาทางรูจมูกด้านหน้า หรือไหลลงคอ รวมถึงมีอาการปวด หรือแน่นบริเวณใบหน้า อาจมีการรับกลิ่นเสียไป เมื่อตรวจดูภายในโพรงจมูก มีการอุดตัน เนื้อเยื่อบวมหรืออาจพบมีริดสีดวงจมูก หรือหนองไหล
- การฉีกขาดของหลอดเลือดแดงมีลักษณะของเลือดออกในชั้นผนังหลอดเลือดแดงใหญ่และทำให้แยกออกจากกัน ผนังสามชั้นคือ ชั้นใน กลาง นอกสุด อาการที่พบ ได้แก่ เจ็บหน้าอกแปร๊บจากการฉีกขาด ใต้กระดูกหน้าอก (sternum) และร้าวไปที่ไหล่ คอ แขน และ ระหว่างสะบักหรือด้านหลัง อาการปวดกะทันหันและรุนแรง อาการอื่น ๆ ได้แก่ หายใจลำบาก เหงื่อออก สับสน เป็นลม หน้ามืด และวิตกกังวล
- โรคหลอดเลือดสมองโป่งพอง : เกิดจากการเสื่อมสภาพของผนังเส้นเลือดเฉพาะจุด ทำให้ผนังเส้นเลือดบริเวณนั้นบางลงกว่าบริเวณอื่นๆ เมื่อมีความดัน หรือมีกระแสเลือดไหลผ่านไประยะหนึ่งจะทำให้บริเวณผนังหลอดเลือดที่บางนั้นโป่งพองขึ้น และอาจแตกออกได้ในเวลาต่อมา ซึ่งจะก่อให้เกิดการเลือดออกในชั้นใต้เยื่อหุ้มสมอง ก่อให้เกิดอาการปวดหัวท้ายทอย คลื่นไส้ อาเจียนอย่างรุนแรงและเฉียบพลัน อาจทำให้ผู้ป่วยบางรายอาจหมดสติไปได้
- ภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ : ภาวะที่มีลิ่มเลือดก่อตัวขึ้น โดยมากจะเป็นที่หลอดเลือดดำลึกที่ขา และลิ่มเลือดนั้นเคลื่อนที่ไปพร้อมกับการไหลเวียนของเลือดจนมาอุดกั้นที่ปอด โดยอาการเบื้องต้นคือ ขาจะเริ่มบวม และมักจะเป็นข้างเดียว ปวดขา เจ็บตึงตามแนวหลอดเลือด มีอาการแดงร้อนที่ขา หรือสีผิวเปลี่ยนไป เส้นเลือดที่ขาโป่งพองขึ้น ถ้ามีการหลุดของลิ่มเลือดไปอุดตันที่ปอด อาจมีอาการเหนื่อย เจ็บหน้าอก หัวใจเต้นเร็ว หน้ามืดเป็นลม
- เนื้องอกในสมอง : เนื้อเยื่อที่เจริญเติบโตผิดปกติในเซลล์สมอง หรือบริเวณใกล้เคียงสมอง จนไปกระทบต่อระบบการทำงานของสมอง และระบบประสาท ทำให้เกิดอาการต่างๆกับร่างกาย เช่น อาจมีอาการปวดหัวเหมือนโดนบีบขมับ อาเจียน ตาพร่า เห็นภาพซ้อน และอาการที่เกิดจากเนื้องอกไปกดเบียดบริเวณเส้นประสาทในบางจุด จะส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการแขนขาอ่อนแรง ชา ใบหน้าเบี้ยว มีความผิดปกติเกี่ยวกับการมองเห็นเนื่องมาจากการถูกกดทับบริเวณเส้นประสาทตา
- ภาวะขาดน้ำ : ภาวะที่ร่างกายสูญเสียน้ำมากเกินไป จึงมีปริมาณน้ำในร่างกายไม่เพียงพอจนส่งผลต่อระบบไหลเวียนของเหลวและการทำงานของอวัยวะต่างๆ เช่น หัวใจ ไต สมอง ทางเดินอาหาร กล้ามเนื้อ และหากปล่อยให้ร่างกายขาดน้ำมากเกินไปเป็นเวลานาน อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ซึ่งสังเกตอาการเบื้องต้นได้อย่างเช่น กระหายน้ำ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน และอาจรุนแรงไปถึงขั้นช็อกและหมดสติได้
- ปัญหาผิดปกติของฟัน ฟันผิดปกติ นอกจากจะส่งผลต่อบุคลิกภาพแล้ว ยังสร้างความยากลำบากในการดูแลช่องปาก ที่มักก่อให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมา อาทิ ฟันผุและด้อยประสิทธิภาพในการบดเคี้ยว เป็นต้น ฟันผิดปกติ สามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลัก ๆ ประกอบด้วย
– รูปฟันผิดปกติ เช่น ขนาดฟันเล็กเกินไป ฟันที่มีรูปร่างเป็นหมุด เป็นต้น ยากต่อการดูแลรักษาความสะอาด ซึ่งเป็นต้นเหตุของฟันผุ และโรคเหงือกตามมา
– สีฟันและผิวฟันผิดปกติ เช่น สีฟันตกกระ หรือด่างขาว เกิดจากการได้รับฟลูออไรด์มากเกินไป และสีดำคล้ำ อันเป็นผลข้างเคียงมาจากยาเตตร้าไซคลีน (Tetracycline) เป็นต้น - การติดเชื้อที่หูชั้นกลางโรคหูชั้นกลางอักเสบเฉียบพลัน : เป็นการติดเชื้อที่เกิดขึ้นในหูชั้นกลาง หูชั้นกลางคือพื้นที่บริเวณด้านหลังแก้วหู โรคหูชั้นกลางอักเสบมักจะเกิดกับเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ โดยจะมีอาการปวดหูข้างที่เป็นร่วมกับมีไข้ โดยในเด็กเล็กอาจจะมีอาการกระวนกระวาย ดึงใบหูข้างที่ปวด รับประทานอาหารลดลง ส่วนในเด็กโตอาจจะรู้สึกแน่นๆภายในหูหรือมีเสียงดังในหูได้
- อาการเมาค้างเป็นอาการที่เกิดขึ้นจากการดื่มแอลกอฮอลล์มากเกินไป : โดยอาการที่เกิดขึ้น เช่น เวียนศีรษะ อาเจียน คลื่นไส้ รู้สึกมวนท้อง เหงื่อออกมาก หงุดหงิด เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย เป็นต้น ซึ่งอาจมีอาการเหล่านี้เกิดขึ้นได้มากกว่า 24 ชั่วโมง และอาการของแต่ละคนก็จะแตกต่างกันออกไป
- ภาวะความดันเลือดสูง : ภาวะที่ตรวจพบว่ามีความดันโลหิตอยู่ในระดับที่สูงผิดปกติ คือมากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งอาจไม่แสดงอาการแต่จะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดในสมอง เป็นต้น
- ภาวะสมองขาดเลือด : ภาวะที่ร่างกายไม่สามารถลำเลียงเลือดที่อุดมไปด้วยออกซิเจน ส่งไปยังสมองได้ เนื่องจากถูกขัดขวางโดยลิ่มเลือดหรือ มีการปริแตกของหลอดเลือดเกิดขึ้น เป็นผลให้เนื้อเยื่อสมองถูกทำลาย ภายในเวลาไม่กี่นาที เมื่อเกิดภาวะสมองขาดเลือด ผู้ป่วยอาจสูญเสียความ สามารถในการพูดหรือกลืน กล้ามเนื้อชาและอ่อนแรง บางกรณีผู้ป่วย อาจมีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรงร่วมด้วย
อาการปวดศีรษะจากเส้นประสาทและอื่น ๆ (Cranial Neuralgias, Facial Pain and Other Headaches)
เป็นอาการปวดเนื่องจากเกิดจากการอักเสบของเส้นประสาทสมอง 1 ใน 12 เส้น ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อและเป็นตัวส่งสัญญาณความรู้สึกระหว่างสมองกับศีรษะหรือคอ อาการปวดหัวประเภทนี้ที่พบบ่อย เช่น อาการปวดศีรษะที่เกิดจากประสาทสมองเส้นที่ 5 (Trigeminal Neuralgia) ซึ่งควบคุมความรู้สึกบนใบหน้า อาจทำให้เกิดอาการปวดบริเวณใบหน้าอย่างรุนแรงเมื่อมีการอักเสบหรือการระคายเคืองแม้อาการปวดหัวเป็นอาการที่พบได้บ่อยในทุกคน แต่อาจมีโรคอื่นซ่อนอยู่ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพในระยะยาว ผู้ป่วยควรรีบไปพบแพทย์ทันทีหากมีอาการดังต่อไปนี้
- มีอาการปวดหัวอย่างรุนแรง : บางกรณีอาการปวดศีรษะ อาจมีสาเหตุมาจากโรคร้ายแรงในสมอง เช่น เลือดออกในสมอง ติดเชื้อในสมอง หรือ เนื้องอกในสมอง ถึงแม้จะพบไม่บ่อย แต่จำเป็นต้องรีบพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยโดยละเอียด เช่น การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ CT-Scan หรือ ตรวจวินิจฉัยโรคด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า MRI เป็นต้น โดยอาการปวดศีรษะที่ต้องรีบพบแพทย์มีดังนี้
- ปวดศีรษะเฉียบพลัน และปวดรุนแรง
- ปวดศีรษะมากขึ้นเรื่อยๆ ปวดขึ้นทุกวัน รับประทานยาแก้ปวดแล้วก็ไม่ดีขึ้น
- ปวดมากจนไม่สามารถนอนหลับได้ หรือปวดมากจนตื่นกลางดึก
- มีอาการผิดปกติอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น มีไข้ ตาพร่ามัว เห็นภาพซ้อน เกิดอาการชาที่แขนและขา แขนขาอ่อนแรง คลื่นไส้อาเจียนอย่างรุนแรง
- ปวดในลักษณะที่ไม่เคยเป็นมาก่อน : ร่างกายของเรามักจะมีนิสัยปวดหัวแบบเดิมๆ เช่น ส่วนมากปวดหัวข้างเดียวแถวๆ ขมับ มักจะเป็นในวันที่นอนน้อย หรืออากาศร้อน แต่หากอาการปวดหัวผิดแปลกไปจากเดิม แบบที่เราไม่เคยเป็นมาก่อน จากปวดข้างเดียวเป็นปวดสองข้าง จากปวดแถวขมับเปลี่ยนเป็นกลางหน้าผาก หากเป็นเช่นนี้ควรมาพบแพทย์โดยเร็ว
- มีอาการปวดหัวฉับพลัน อาการปวดหัวที่เกิดขึ้นรุนแรงอย่างเฉียบพลัน ซึ่งมักใช้เวลาเป็นเสี้ยววินาที บ่งบอกถึงภาวะวิกฤตของหลอดเลือดสมองตีบและแตก อย่าชะล่าใจกับอาการปวดหัวเพียงเสี้ยววินาที เพราะนี่เป็นสัญญาณเบื้องต้นของความอันตราย
- ปวดมากขึ้นเมื่อมีการออกแรง ไอ ก้มตัว หรือขณะมีเพศสัมพันธ์ รวมไปถึงมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่นมีอาการคลื่นไส้และอาเจียนเรื้อรัง เมื่อทำกิจกรรมใดๆที่ต้องใช้แรงหรือการบีบของกล้ามเนื้อ แล้วมีอาการปวดศีรษะ ถือเป็นอาการเบื้องต้นของโรคร้ายแรงด้วย
- ไข้ขึ้นหรือมีอาการคอแข็ง ปวดหัวด้านหลัง : อาการคอแข็งนี้อาจเกี่ยวข้องกับสาเหตุอื่น เช่น โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบหรือโรคหลอดเลือดสมองโป่ง แต่ส่วนใหญ่มักจะเกิดจากการหดเกร็งของกล้ามเนื้อหรืออักเสบ
- อาการปวดหัวเกี่ยวข้องกับการบาดเจ็บที่หัวอย่างรุนแรง ลื่นล้ม เกิดอาการชัก หากเคยเกิดอุบัติเหตุการกระทบทางศีรษะมาก่อน แน่นอนว่ามันจะต้องกลับมาส่งผลเสียให้ตัวเราเรื่อยๆแน่นอน
- มีปัญหาทางด้านสายตา การพูด หรือบุคลิกภาพ เนื่องจากอาการเจ็บปวดจะทำให้เราแสดงความรู้สึกทางสีหน้าและท่าทางออกมาอย่างชัดเจน โดยเฉพาะบริเวณใบหน้าที่มีการกดทับของเส้นประสาทอย่างรุนแรง จะทำให้การมองเห็นและการพูดเปลี่ยนไปด้วย
- กระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันหรือการทำงาน การปวดหัวขั้นรุนแรงจะทำให้ส่งผลกระทบต่อการทำงาน ทำงานไม่ได้ ไม่มีแรง อ่อนเพลีย
อาการปวดศีรษะแบบทุติยภูมิถือเป็นอาการที่ค่อนข้างรุนแรงและจะแสดงอาการออกมาได้ชัด หากผู้ป่วยเกิดอาการเหล่าควรรีบพบแพทย์โดยเร็ว หากรักษาด้วยตนเองอาจช่วยได้เพียงเล็กน้อย และอาการเหล่านี้ก็จะกลับมาเป็นอีกอย่าชะล่าใจโดยเด็ดขาด เพราะฉะนั้น ทางที่ดีที่สุด คือเข้าพบแพทย์เพื่อรักษาอาการโดยเร็ว
อาการปวดศีรษะแบบทุติยภูมิถือเป็นอาการที่ค่อนข้างรุนแรงและจะแสดงอาการออกมาได้ชัด หากผู้ป่วยเกิดอาการเหล่าควรรีบพบแพทย์โดยเร็ว หากรักษาด้วยตนเองอาจช่วยได้เพียงเล็กน้อย และอาการเหล่านี้ก็จะกลับมาเป็นอีกอย่าชะล่าใจโดยเด็ดขาด เพราะฉะนั้น ทางที่ดีที่สุด คือเข้าพบแพทย์เพื่อรักษาอาการโดยเร็ว
การวินิจฉัยการปวดหัว
สำหรับการวินิจฉัยอาการปวดหัว สิ่งแรกที่ช่วยให้แพทย์วินิจฉัยอาการได้คือการสอบถามประวัติทางการแพทย์ และอาการปวดหัวที่ผู้ป่วยเจอ เช่น อาการปวดหัวมักจะเกิดช่วงเวลาใดของวัน ความรุนแรง ปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดอาการปวดหัวได้ง่าย กิจกรรมที่ทำแล้วมักเกิดอาการปวดหัวตามมา ระยะเวลาระหว่างมีอาการปวดหัว ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้แพทย์สามารถค้นหาสาเหตุและเลือกวิธีการรักษาให้เหมาะกับประเภทของอาการปวดหัวได้อย่างถูกต้อง
การตรวจเลือด
เป็นการตรวจสารต่าง ๆ ในเลือดทางห้องปฏิบัติ เพื่อช่วยให้แพทย์ทราบข้อมูลหรือสาเหตุของอาการปวดหัวได้ การติดเชื้อในสมองหรือกระดูกสันหลัง หลอดเลือดอักเสบ หรือสารพิษที่กระทบต่อระบบประสาทจนทำให้เกิดอาการปวดศีรษะขึ้น เช่น อาการปวดศีรษะจากหลอดเลือดบริเวณขมับอักเสบทำให้เกิดอาการปวดแปล๊บเป็นครั้งคราว ซึ่งตรวจพบได้จากค่า ESR (Erythrocyte Sediment Rate) ที่สูงขึ้น เนื่องจากเกิดการอักเสบของหลอดเลือดแดงข้างใดข้างหนึ่ง การตรวจดูความสมดุลของเกลือแร่และน้ำที่บ่งบอกการทำงานของอวัยวะหลายส่วน ทั้งตับ ไต หรือต่อมไทรอยด์ หรือการตรวจหาทางพิษวิทยาในผู้ป่วยที่มีประวัติการติดแอลกอฮอล์ การใช้ยา หรือสารเสพติด เพื่อทดสอบความเป็นพิษของยา สารเคมี หรือเชื้อโรคนั้น ๆ
การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์บริเวณศีรษะ (Computerized Tomography: CT Scan)
การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือเรียกว่าซีทีสแกน (CT Scan) เป็นการตรวจทางด้านรังสีวินิจฉัย โดยใช้เอกซเรย์หมุนรอบตัวผู้ป่วย และเก็บข้อมูลในรูปแบบ 3 มิติ แล้วใช้ระบบคอมพิวเตอร์นำข้อมูลที่ได้สร้างเป็นภาพในแนวตัดขวาง และภาพในแนวระนาบอื่นๆ รวมทั้งภาพ 3 มิติ ทำให้เห็นอวัยวะภายในได้อย่างชัดเจน
การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าบริเวณศีรษะ (Magnetic Resonance Imaging: MRI)
การตรวจร่างกายโดยเครื่องตรวจที่ใช้คลื่นสนามแม่เหล็กความเข้มสูงและคลื่นความถี่ในย่านความถี่วิทยุ ในการสร้างภาพเหมือนจริงของอวัยวะภายในต่างๆของร่างกาย โดยเฉพาะ สมอง หัวใจ กระดูก-กล้ามเนื้อ และส่วนที่เป็นมะเร็งด้วยคอมพิวเตอร์รายละเอียดและความคมชัดสูง เป็นภาพตามระนาบได้ทั้งแนวขวาง แนวยาวและแนวเฉียง เป็น 3 มิติ ภาพที่ได้จึงจะชัดเจนกว่า การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ แบบ CTScan ทำให้แพทย์สามารถตรวจวินิจฉัยความผิดปกติในร่างกายได้อย่างแม่นยำ
การเจาะน้ำไขสันหลังหรือการเจาะหลัง (Lumbar Puncture)
เป็นการเจาะเพื่อตรวจน้ำไขสันหลัง โดยการแทงเข็มผ่านเข้าไปในช่องว่างใต้ชั้นเยื่อหุ้มสมอง (subarachnoid space) เพื่อนำน้ำหล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลัง (cerebrospinal fluid: CSF) มาตรวจวินิจฉัยโรค หรือเพื่อฉีดยาชาเข้าไปในช่องใต้ชั้นเยื่อหุ้มสมองเพื่อใช้ในการระงับปวด หรือเพื่อการฉีดยาบางชนิดเพื่อรักษาโรคของเยื่อหุ้มสมอง
ปวดหัวจากสาเหตุหลัก
ปวดหัวไมเกรนหรือปวดไมเกรน
สำหรับอาการปวดศีรษะไมเกรนต่างจากอาการปวดศีรษะธรรมดา โดยมีสาเหตุจากหลอดเลือดในสมองขยายตัวและเกี่ยวข้องกับสารเคมีในสมองด้วย โดยมีลักษณะการปวดแบบตุบๆ เป็นจังหวะ มักจะปวดหัวข้างเดียว แต่ก็สามารถเป็นทั้งสองข้างได้ โดยอาการปวดในช่วงแรกมักมีความรุนแรงเพียงเล็กน้อย และจะค่อยๆ เพิ่มความรุนแรงขึ้น ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนแรง
ปวดหัวจากกล้ามเนื้อเกร็งตัวหรือจากความเครียด
หรือที่เรียกว่า โรคTension Headache คือ อาการปวดศีรษะจากความเครียด กล้ามเนื้อตึงตัว มีลักษณะการ ปวดหัวเหมือนโดนบีบขมับ มักเกิดจากการทำงานที่ต้องใช้สายตาเป็นหลัก หรืออาการปวดศีรษะที่เกิดจากอวัยวะข้างเคียง เช่น ไซนัสอักเสบ กระดูกคอเสื่อม เหงือกอักเสบ คออักเสบ หรือหูอักเสบ เป็นต้น
ปวดหัวคลัสเตอร์หรือปวดหัวเป็นชุด
เกิดมาจากการมีความผิดปกติของระบบประสาทอัตโนมัติไตรเจอร์มินอล (Trigeminal autonomic cephalalgias) และการทำงานของต่อมไฮโพทาลามัส (Hypothalamus) ที่ควบคุมนาฬิกาชีวิต (Biological clock) โรคนี้มักพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง อาการปวดมีความรุนแรง ลักษณะปวดซีกเดียวหรือครึ่งซีก โดยส่วนมากมักจะ ปวดหัวข้างขวาในบริเวณกระบอกตาลึกๆ หลังตา หรือบริเวณขมับ การปวดแต่ละครั้งเป็นเวลานานประมาณ 15 นาที ถึง 3 ชั่วโมง โดยจะปวดลักษณะมาเป็นชุดติดต่อกันทุกวัน หรือหลายสัปดาห์ โดยมักจะปวดในช่วงระยะเวลาเดียวกัน นอกจากนั้นยังพบร่วมกับอาการอื่นด้วย ได้แก่ น้ำตาไหล น้ำมูกไหล ลืมตาลำบาก ตาแดง คัดจมูกด้านเดียวกับที่ปวด หนังตาบวม เหงื่อออกที่หน้าและหน้าผาก
การปวดหัวจากไมเกรนมีอาการอย่างไร
ไมเกรน เป็นหนึ่งในโรคปวดหัวที่สามารถเป็นเรื้อรังได้ พบบ่อยมากในเฉพาะคนที่เป็นไมเกรนมาก่อน อาการปวดหัวที่เด่นของไมเกรนเรื้อรัง จะเป็นการปวดหัวที่มีลักษณะเป็นซีกซ้ายหรือปวดหัวข้างขวา มักจะเด่นข้างใดข้างหนึ่งและสามารถสลับข้างได้ อาการปวดมีลักษณะเต้นตุบ เป็นจังหวะคล้ายชีพจร และอาการปวดนั้นจะค่อนข้างรุนแรง มีคลื่นไส้อาเจียนได้บ่อยรวมถึงตาสู้แสงไม่ได้ เห็นแสงแล้วจะมีอาการปวดมาก ส่งผลให้คนที่เป็นไมเกรนชอบอยู่ในที่มืด บางคนมีการรับรู้ที่ผิดปกติไป ในช่วงก่อนหรือระหว่างการปวดหัว ปวดหัวไมเกรนมักมีอาการเหล่านี้
- ปวดหัวตุ๊บ ๆ บริเวณขมับ อาจปวดร้าวมาที่กระบอกตาหรือปวดหัวท้ายทอย คลื่นไส้ และปวดหัวข้างเดียว (บางรายอาจพบว่าปวดหัวทั้งสองข้าง)
- มีอาการคลื่นไส้อาเจียน
- มีอาการแพ้แสงแพ้เสียง
- ปวดหัวเป็นครั้งคราว บางครั้งก็สัมพันธ์กับรอบเดือน
- บางครั้งมีอาการมองเห็นผิดปกตินำ หรือที่เรียกว่า อาการออร่า (migraine aura) ผู้ป่วยจะเห็นเป็นแสงไฟสีขาว ๆ เป็นอาการเตือนนำมาก่อนที่จะเริ่มมีอาการปวดหัว
ภาวะแทรกซ้อนการปวดหัว
อาการปวดหัวโดยทั่วไปแทบไม่ค่อยมีภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรง แต่ส่วนใหญ่ไมเกรนเรื้อรังจะรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันซึ่งมีแนวโน้มก่อให้เกิดภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล เป็นปัญหารบกวนการนอนหลับ หรือก่อให้เกิดปัญหาด้านจิตใจ แต่สำหรับอาการปวดหัวบางประเภทจากโรคหรือภาวะความผิดปกติอื่น ๆ อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ตามสาเหตุนั้น ๆ
วิธีป้องกันอาการปวดหัว
ไมเกรนและอาการปวดหัว สามารถรักษาได้ โดยการใช้ยาและไม่ใช้ยา ซึ่งการรักษาแบบไม่ใช้ยา อาจทำด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น เช่น
- พักผ่อนให้เพียงพอ ควรนอนหลับพักผ่อนอย่างน้อย 7-8 ชั่วโมงต่อวัน รวมไปถึงเข้านอนแต่หัวค่ำและตื่นนอนในเวลาปกติ
- ไม่ควรอดอาหาร ควรเลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ หลีกเลี่ยงอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน ซึ่งมักกระตุ้นอาการปวดหัวให้เกิดขึ้นได้ง่าย รวมไปถึงรับประทานอาหารให้ตรงต่อเวลา
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ การออกกำลังกายจะช่วยสร้างสมดุลระหว่างร่างกายและจิตใจ และยังช่วยลดความเครียดอีกด้วย
- หลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้น อาการปวดหัวเป็นอาการปกติที่เกิดขึ้นได้บ่อย เมื่อมีอาการจึงควรสังเกตและจดจำรายละเอียดของสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการ รวมทั้งอาการผิดปกติอื่น ๆ เพื่อช่วยหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นเหล่านั้น เช่น เริ่มมีอาการปวดหัวเมื่อไร กำลังทำกิจกรรมใดอยู่ขณะมีอาการปวด อาการปวดเกิดขึ้นนานแค่ไหน เป็นต้น
- ลดความเครียด ความเครียดเป็นอีกปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดอาการปวดหัวได้จึงควรจัดการเมื่อเกิดความเครียด มองโลกในแง่บวก หรือหากิจกรรมที่ช่วยดึงดูดความสนใจไม่ให้จมอยู่กับปัญหาที่ก่อให้เกิดความเครียด
- ไม่ควรใช้ยาเกินขนาด การรับประทานยาที่หาซื้อได้ทั่วไปหรือยาใด ๆ อาจส่งผลกระทบต่อร่างกายได้หากมีการใช้เกินขนาดที่กำหนด หรือใช้ติดต่อเป็นเวลานานโดยไม่มีการปรึกษาแพทย์
- รักษาอาการปวดเฉียบพลันให้ถูกต้อง หากเกิดอาการปวดไมเกรนขึ้น ไม่ควรอดทนและละเลยกับอาการเหล่านั้น ให้รีบหาที่นั่งพัก ซึ่งควรเป็นที่เงียบสงบเพื่อเลี่ยงสิ่งกระตุ้น อาจใช้ผ้าชุบน้ำเย็นวางประคบบนหน้าผาก ทานยาแก้ปวด
- หลีกเลี่ยงการรับประทานยาแก้ปวดมากเกินไป หากรับประทานยาแก้ปวดติดต่อกันมากกว่า 3-4 วันต่อสัปดาห์ อาจนำไปสู่อาการปวดศีรษะเนื่องจากการใช้ยาเกินขนาดได้ ดังนั้นหากเริ่มปวดศีรษะบ่อย หรือ ใช้ยาแก้ปวดบ่อยขึ้น ควรต้องปรึกษาแพทย์
- จดบันทึกสิ่งกระตุ้นไมเกรน เพราะโรคไมเกรนมักมีอาการเป็น ๆ หาย ๆ ซึ่งส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานหรือการเรียน
- ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อวัน น้ำเป็นสิ่งสำคัญต่อสุขภาพและการขาดสมดุลน้ำในร่างกาย ทำให้สมองเกิดการปรับตัวที่ผิดปกติ
ทำอย่างไรเมื่อมีอาการปวดหัว
อาการปวดหัวเป็นโรคที่พบได้บ่อยที่สุด และสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน บางคนก็อาจจะมีอาการปวดอยู่เป็นประจำ ถ้าเป็นไมเกรนเรื้อรังซึ่งก็อาจจะทำให้ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ หรือนอนไม่หลับเลยก็มี และเมื่อมีอาการดังกล่าวหลายคนก็จะเลือกใช้วิธีทานยาเพื่อให้อาการปวดบรรเทาลง แต่การทานยาบ่อย ๆ ก็อาจไม่ดีต่อสุขภาพ ซึ่งวิธีอื่น ๆ ที่จะสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดหัวด้วยตนเองมี 5 ข้อดังนี้
- นวดกดจุด และยืดกล้ามเนื้อ ถ้าอาการปวดหัวที่เป็น มีอาการตึงของกล้ามเนื้อคอ บ่า ไหล่ร่วมด้วย ก็เป็นได้ว่าอาการปวดศีรษะนั้นเกิดจากการทำงานหนักของกล้ามเนื้อคอ และบ่า อาการปวดหัวจะผ่อนคลายลง
- เติมน้ำให้ การที่ร่างกายขาดน้ำคือสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ปวดศีรษะ ให้ดื่มน้ำเปล่าให้มากขึ้น หรือเมื่อมีอาการปวดหัว จะดื่มเป็นน้ำมะนาวใส่น้ำผึ้งนิดหน่อย หรือน้ำขิงอุ่นๆ จะช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะลงได้
- ออกกำลังกาย การขยับร่างกาย เมื่อไหร่ที่เริ่มมีอาการปวดหัวแบบเดิมๆ ลองวิ่งเหยาะๆ หรือออกกำลังกายด้วยท่าง่ายๆ อยู่กับที่สัก 15 นาที รับรองว่าอาการปวดหัวจะดีขึ้น
- ดมกลิ่นน้ำมันหอมระเหย น้ำมันหอมระเหย หรือ นั้นมีหลากหลายกลิ่นที่เกิดจากการผสม และกลั่นจากพืชสมุนไพรชนิดต่างๆ ที่แต่ละกลิ่นก็มีคุณสมบัติช่วยให้ผ่อนคลาย ลดอาการอักเสบ หรือช่วยระบบย่อยอาหารแตกต่างกันไป ลองเลือกน้ำมันเปปเปอร์มิ้นต์ หรือลาเวนเดอร์ ที่มีคุณสมบัติช่วยลดอาการปวดหัว ความเครียด หรือไมเกรนได้โดยตรง
- ประคบเย็น ให้นำน้ำแข็งก้อนเล็ก ๆ ห่อด้วยผ้าสะอาดแล้วนำมาประคบบริเวณที่รู้สึกปวด เช่น หน้าผาก ต้นคอ จะช่วยทำให้ผ่อนคลายและสดชื่นมากขึ้น
ความต่างปวดหัวทั่วไปกับปวดหัวไมเกรน
อาการปวดหัวไมเกรน (Migraine)
ไมเกรน เกิดจากความผิดปกติชั่วคราวของระดับสารเคมีในสมอง ทำให้ก้านสมองถูกกระตุ้น หลอดเลือดในเยื่อหุ้มสมองมีการบีบและคลายตัวมากกว่าปกติ เกิดอาการปวดหัว หรือมีอาการคลื่นไส้อาเจียน แพ้แสง จากก้านสมองที่ถูกกระตุ้น
- การรักษาไมเกรน
ถ้าอาการปวดหัวไม่รุนแรง แนะนำให้กินเป็นอันดับแรก คือ พาราเซตามอล เนื่องจากยาชนิดนี้สามารถบรรเทาปวดจากสาเหตุต่าง ๆ ได้หลากหลาย โดยเฉพาะอาการปวดศีรษะจากไมเกรนแบบไม่รุนแรง
- การรักษาไมเกรน
ถ้าเรามีอาการรุนแรงเป็น ไมเกรนเรื้อรัง อาจเลือกใช้ยาในกลุ่ม NSAIDs เช่น naproxen, ibuprofen ซึ่งเป็น NSAIDs ที่ออกฤทธิ์ได้เร็ว เหมาะกับโรคไมเกรน สามารถหาซื้อง่ายตามร้านขายยา แต่เนื่องจากยากลุ่มนี้อาจก่อความระคายเคืองกระเพาะอาหารได้ จึงแนะนำว่า ให้กินยาพร้อมอาหารหรือหลังอาหารทันที
อาการปวดหัวอย่างรุนแรงโดยฉับพลัน (Emergency headache)
อาการปวดหัวอย่างรุนแรงแบบเฉียบพลัน จะเกิดอาการปวดหัวจี๊ดๆ ภายในเสี้ยววินาที แต่มีความรุนแรงจนเกิดอาการสะดุ้ง อาการแบบนี้ถือว่าอันตรายมาก เพราะอาจเป็นสัญญาณเบื้องต้นการโรคร้ายแรง เช่น โรคหลอดเลือดในสมอง เป็นต้น อาการประเภทนี้จะมาแค่ช่วงวินาทีและจะกายไป อาจจะรับประทานยาพาราเซตามอลเพื่อบรรเทา และนอนพักผ่อน แต่ถ้ายังไม่ดีขึ้นควรปรึกษาแพทย์จะดีที่สุด
อาการปวดหัวในช่วงรอบเดือน (Menstrual headaches)
อาการปวดศีรษะมักจะเกิดก่อนที่จะมีประจำเดือน 2 วัน จนถึงขณะที่มีประจำเดือนวันที่ 3 อาการปวดศีรษะมักจะเกิดรุนแรงมากกว่าและเป็นนานกว่าไมเกรนปกติ
โดยพบอาการอื่นร่วมกับอาการปวดศีรษะ เช่น คลื่นไส้อาเจียนมีความไวต่อ แสง เสียง กลิ่น เพิ่มมากขึ้น ต้องให้การรักษาเหมือนกับไมเกรนทั่วไป เช่น ยาทริปแทน (triptans), ยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) เป็นต้น แต่อาจต้องใช้ยาในขนาดที่สูงกว่าปกติ หรืออาจจำเป็นต้องทานยาหลายชนิดควบคู่กัน รวมทั้งต้องให้การรักษาที่รวดเร็วและเหมาะสม
อาการปวดหัวเรื้อรัง (Chronic daily headache)
ปวดหัวเรื้อรังคือ อาการปวดหัวมากกว่า 15 วันต่อเดือน ติดต่อกันอย่างน้อย 3 เดือน อาจเป็นการปวดหัวที่เกิดจากความเครียด หรือไมเกรนก็ได้ หรืออาจเป็นเพราะกินยาแก้ปวดเกินขนาด หรือใช้ยาแก้ปวดไม่ถูกต้อง ทำให้มีอาการไมเกรนเรื้อรังมากขึ้น เมื่อเกิดความเครียดจากการทำงาน ทำให้กล้ามเนื้อตึงตัวจนปวดหัวการรักษาอาการปวดหัวเรื้อรังก็จะแบ่งตามความรุนแรงเช่นกัน
หากพบว่าปวดหัวเรื้อรังในลักษณะที่ไม่ก่ออันตราย หมอจะให้ยาแก้ปวด คลายกล้ามเนื้อหรือคลายเครียด และแนะนำวิธีการหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น ถ้าในกรณีที่ปวดหัวเรื้อรังที่ก่อให้เกิดอันตรายจะต้องหาหมอเพื่อเข้ารับการรักษาตามโรคนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นเนื้องอกสมอง ความดัน เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจตามมาหากปล่อยไว้
อาการปวดหัวจากไซนัสอักเสบ (Sinus headaches)
ไซนัสอักเสบ จะมีอาการปวดมึน หนักๆ ตรงบริเวณ ระหว่างคิ้ว หน้าผาก โหนกแก้ม หรือรอบๆ กระบอกตา บางรายอาจมีอาการปวดร้าวมาที่ฟัน อาจเป็นมากขึ้นตอนเช้าหรือเวลาก้มศีรษะ มีร่วมกับอาการคัดแน่นจมูก น้ำมูกข้นเขียว เสมหะไหลลงคอ ลมหายใจมีกลิ่นเหม็นได้ กลิ่นเหม็นผิดปกติในจมูก หรือการรับกลิ่นลดลง โดยมากมักมีอาการนานกว่า 7-10 วัน
ไซนัสอักเสบเรื้อรัง การรักษาหลักคือการใช้ยาพ่นออกฤทธิ์เฉพาะที่ในจมูกเป็นหลักร่วมกับการใช้น้ำเกลือล้างจมูก เพื่อลดการอักเสบของเยื่อบุจมูกและเยื่อบุโพรงไซนัส อาจจะมีการใช้ยาชนิดรับประทานเสริมได้ในบางกรณี แต่หากใช้ยาเต็มที่แล้ว อาการไซนัสอักเสบยังไม่ดีขึ้น แพทย์อาจจะพิจารณาผ่าตัด
อาการปวดหัวชนิดคลัสเตอร์ (Cluster Headache)
อาการปวดหัวคลัสเตอร์ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรงข้างเดียว มักจะปวดแปลบๆ เป็นชุดๆ บริเวณกระบอกตาหรือขมับข้างเดียว ระยะเวลาปวดตั้งแต่ 10 นาที ถึง 3 ชั่วโมง และอาจเกิดอาการปวดบ่อยถึงวันละ 1-2 ครั้ง บางรายมีอาการคัดจมูกน้ำมูกไหล เหงื่อออก รูม่านตาหดร่วมด้วย
สาเหตุเกิดจากปัจจัยกระตุ้น เช่น แอลกอฮอล์ การเดินทาง การขึ้นที่สูง ได้รับยากลุ่มไนเตรท ซึ่งอาการปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์มักพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง 5-6 เท่า ในรายที่ปวดเพียง 10 นาทีแล้วหาย การรับประทานยาอาจไม่จำเป็น แต่ในรายที่ปวดขั้นรุนแรงต้องใช้ยาช่วยให้การระงับความปวด
อาการปวดหัวชนิดรีบาวน์ด (Rebound headache)
จะมีอาการคือปวดศีรษะเกือบทุกวัน โดยเฉพาะหลังตื่นนอน อาจปวดที่บริเวณขมับหรือทั้งศีรษะเลยก็ได้ ส่วนความรุนแรงแล้วแต่อาการของแต่ละคน
ซึ่งสาเหตุของอาการปวดหัวชนิดรีบาวน์ดเกิดจากการรับประทานยาแก้ปวดปริมาณมากเกินไป โดยเฉพาะยาแก้ปวดจำพวกอะซีตะมิโนเฟน (Acetaminophen) หรือไทลินอล, แอสไพริน และไอบูโพรเฟนเกิน 2 ครั้งต่อสัปดาห์ รวมทั้งยารักษาโรคไมเกรน (Triptans) เกิน 10 วันต่อเดือนด้วย ซึ่งเมื่อเรากินยาแก้ปวดติดต่อกันนาน ๆ จนร่างกายเกิดความเคยชิน อาการปวดก็จะถูกฤทธิ์ยากดไว้ ทว่าพอฤทธิ์ยาในร่างกายหมดไป อาการปวดหัวฟื้นกลับมาแสดงอาการอีกครั้งในทันที
วิธีรักษา อาการปวดหัวชนิดนี้ทำได้เพียงแค่ปรึกษาแพทย์ เพื่อให้แพทย์ปรับสมดุลปริมาณยาในร่างกายของเราให้เข้าที่เข้าทาง
ข้อสรุป
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าในปัจจุบันนี้จะมียารักษาอาการแก้ปวดหัวและรักษาไมเกรนวางขายทั่วไป แต่ถึงอย่างไรการเข้าพบแพทย์เพื่อขอคำปรึกษานั้นถือเป็นหนทางที่ดีที่สุด จะเห็นได้เลยว่าจากที่กล่าวไปข้างต้น อาการปวดหัวนั้นแบ่งออกเป็นหลายประเภท ซึ่งผู้ป่วยสามารถสังเกตอาการเบื้องต้นของตนเองได้ ถ้าไม่มั่นใจว่าอาการปวดหัวที่เจอจะเป็นไมเกรนหรือไม่ สามารถนัดพบแพทย์เฉพาะทางที่ดูแลเรื่องสมองที่ศูนย์รักษาไมเกรนโดยแพทย์เฉพาะทางด้วย “BTX type A” โดยแพทย์เฉพาะทางระบบสมองช่วยลดความรุนแรง และการใช้ยารับประทานได้มากกว่า 90% ได้รับการรับรองจากสหรัฐอเมริกาและไทย ซึ่งจะสามารถรักษาอาการปวดไมเกรนให้หายขาดได้ สามารถติดต่อเพื่อนัดหมายได้ที่ BTX migraine center โทร : 090-970-0447
เอกสารอ้างอิง :
https://www.webmd.com/migraines-headaches/transcranial-magnetic-stimulation-tms-migraine