ยาแก้ปวดไมเกรนอันตรายกว่าที่คิด ถ้าใช้ไม่ถูกวิธี

ยาไมเกรนอันตราย

ในทางการแพทย์ ปวดศีรษะไมเกรน (Migraine) เป็นภาวะที่เกิดจากระดับสารเคมีในสมองผิดปกติชั่วคราว ทำให้หลอดเลือดในเยื่อหุ้มสมองมีการบีบและคลายตัวมากกว่าปกติ ก่อให้เกิดอาการ ปวดหัวข้างเดียว หรือปวดหัวสองข้างในระดับรุนแรงมากน้อยต่างกัน และหากมีอาการมากจะมีอากรคลื่นไส้ อาเจียน หรือแพ้แสงตามมา ขณะที่คนทั่วไปรับรู้ได้ว่า อาการปวดไมเกรนมีลักษณะเฉพาะเป็นอาการปวดตุ๊บๆ ทั้งปวดหัวข้างเดียวหรือปวดสองข้าง ส่วนมากมีสาเหตุอาจมาจากอาการเครียดมาก เหนื่อยมาก อดนอน หรือหิวมาก จนกระทบต่อการทำงานและการดำเนินชีวิตประจำวัน ซึ่งการปวดไมเกรนจะรุนแรงและเป็นเวลายาวนานขึ้น เมื่อถูกกระตุ้นจากปัจจัยอื่น เช่น แสงแดด หรืออากาศร้อน เป็นต้น คนส่วนใหญ่เลือกวิธีรักษาอาการปวดไมเกรนด้วยวิธีที่ง่าย สะดวกด้วยการกินยาแก้ปวดไมเกรนด้วยตัวเอง แต่การกินยารักษาไมเกรน โดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์ก่อน อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงที่อันตรายรุนแรงได้

สารบัญบทความ

ยาแก้ปวดไมเกรน อันตรายถ้าใช้ผิดวิธี

อาการปวดหัวไมเกรนเกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย และปัจจุบันจะพบว่า อาการไมเกรนของคนจำนวนมากกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน จนทำให้ต้องกินยาแก้ไมเกรน ซึ่งผู้มีอาการปวดศีรษะไมเกรนหลายรายเลือกวิธีรักษาอาการปวดไมเกรนด้วยการกินยาไมเกรน เมื่ออาการปวดไมเกรนค่อนข้างรุนแรงขึ้น แต่หากผู้มีอาการเลือกวิธีรักษาด้วยการซื้อยาแก้ไมเกรนกินเองบ่อยๆ ติดต่อกันมากเกินไป ก็อาจส่งผลข้างเคียงที่อันตรายรุนแรงหลายประการตามมา ซึ่งความรุนแรงที่เกิดขึ้นอาจทำให้รักษาได้ยากขึ้น หรือในบางครั้ง อาการปวดศีรษะ อาจไม่ใช่อาการปวดไมเกรน แต่อาจเป็นอาการปวดศีรษะประเภทอื่น เช่น มีเนื้องอกซ่อนอยู่ หรือมีเลือดออกในสมอง หากปล่อยไว้อาจส่งผลอันตรายได้ หรือเกิดกรณีที่เป็นอาการปวดศีรษะไมเกรนแต่ได้รับการรักษาที่ไม่ถูกต้อง ก็อาจทำให้เกิดอาการปวดหัวรุนแรงมากขึ้นได้
อย่างไรก็ตาม การเลือกที่จะซื้อยาไมเกรนกินเองนั้น ผู้มีอาการจำเป็นต้องค้นหาข้อมูลของยาแต่ละชนิดและผลข้างเคียงของยาก่อนที่จะรับประทาน และมีสิ่งที่ต้องคำนึงถึง ดังนี้

  • กรณีอาการปวดไมเกรนไม่รุนแรง ควรปรึกษาเภสัชกรก่อนเลือกซื้อยาไมเกรน และโดยทั่วไปยาที่แนะนำให้รับประทาน ได้แก่ ยาพาราเซตามอล ที่สามารถช่วยแก้อาการปวด และอาการไมเกรนไม่รุนแรงได้ด้วย
  • กรณีอาการปวดไมเกรนรุนแรง และปวดไมเกรนถี่บ่อยครั้ง ควรพบแพทย์เพื่อเลือกกลุ่มยารักษาไมเกรนที่เหมาะสมกับอาการปวดหัวของที่เกิดขึ้น โดยเกิดผลข้างเคียงน้อยที่สุด ซึ่งโดยทั่วไปจะเลือกใช้ยาในกลุ่ม NSAIDs เช่น Naproxen Ibuprofen หรือยาไมเกรนไทฟาโก้ แต่ยากลุ่มนี้จะก่อความระคายเคืองกระเพาะอาหาร จึงควรรับประทานพร้อมอาหารหรือหลังอาหารทันที หรือยาในกลุ่ม NSAIDs ที่ระคายเคืองกระเพาะอาหารน้อยกว่า เช่น Etoricoxib และ Celecoxib ซึ่งสามารถใช้บรรเทาอาการปวดหัวไมเกรนได้เช่นกัน

ปวดไมเกรนขนาดไหนจึงต้องใช้ยารักษา

อาการปวดไมเกรนที่ผู้มีอาการจำเป็นต้องใช้ยารักษาไมเกรนช่วยบรรเทาอาการ เนื่องจากอาการปวดไมเกรนเริ่มมีผล กระทบต่อการทำงาน หรือการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น การคลื่นไส้ อาเจียน ตาพร่ามัว อาการชาตามมือ เท้า หากกรณีอาการไม่รุนแรงและอาการปวดไมเกรนไม่ถี่มาก เช่น 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ สามารถรับประทานยาแก้ปวดไมเกรนเองได้ เช่น พาราเซตามอล ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) โดยทุกครั้งที่มีอาการปวดไมเกรนควรกินยาแก้ปวดตั้งแต่เริ่มไม่ปล่อยไว้นานให้ปวดเรื้อรัง

กรณีมีการปวดศีรษะถี่มากกว่าสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง ก็ไม่ควรซื้อยารักษาไมเกรนกินเอง เพราะเป็นยาที่มีฤทธิ์รุนแรงขึ้น ซึ่งอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงรุนแรง และอาจทำให้อาการปวดหัวถี่มากขึ้นกว่าเดิม หรือหากจำเป็นต้องซื้อยากกิน ก็ ไม่ควรใช้ยาแก้ปวดหรือปวดไมเกรนบ่อยเกินไปกว่า 3 วันต่อสัปดาห์ หรือ ไม่เกินกว่า 10 วันต่อ 1 เดือน รวมถึงกรณีมีการกินยารักษาไมเกรนหลายชนิด ควรเฝ้าระวังสังเกตอาการที่เกิดผลจากการใช้ยารักษาไมเกรน เช่น หากมีการใช้ร่วมกับยาอื่น มีปฏิกิริยาระหว่างยาด้วยกันหรือไม่ เป็นต้น และกรณีที่ผู้มีอาการปวดศีรษะ มีความกังวลต่ออาการปวดว่า อาจเป็นการปวดศีรษะที่มาจากสาเหตุอื่น ไม่ใช่ไมเกรน ควรปรึกษาจากแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างเหมาะสมต่อไป

การรักษาไมเกรนโดยใช้ยามีกี่ประเภท

โดยทั่วไปการใช้ยารักษาปวดหัวไมเกรน มี 2 กลุ่มหลัก ได้แก่

กลุ่มยาป้องกัน

 อาการไมเกรน เป็นยาที่กินเพื่อลดความถี่ของอาการปวดไมเกรน ในกรณีมีอาการปวดหัวไมเกรนบ่อยๆ เช่น

  • กลุ่มยาลดความดัน เช่น  Propranolol, Verapamil
  • กลุ่มยาต้านอาการซึมเศร้า เช่น Amitriptyline
  • กลุ่มยากันชัก เช่น Alproate, Topiramate

กลุ่มยาแก้ปวดไมเกรน 

กลุ่มยาที่สามารถรักษาอาการปวดหัวไมเกรนและอาการปวดจากโรคอื่นด้วย เช่น ยาพาราเซตามอล ยาลดการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) เช่น ไอบูพรอเฟน (Ibuprofen) เป็นต้น และกลุ่มยาแก้อาการปวดไมเกรนแบบเฉียบพลัน หรืออาการปวดไมเกรน ที่รุนแรงมากขึ้น ได้แก่  ยากลุ่มทริปเทน (Triptans) ที่มีส่วนผสมของ Ergotamine ได้แก่ Ergotamine และ Caffeine เป็นตัน รวมถึงยาบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน ได้แก่ Metoclopramide, Domperidone

ยารักษาอาการปวดศีรษะไมเกรน

ยาป้องกันไมเกรน

โทพิราเมท (Topiramate)

เป็นยาที่นำมาใช้ในการรักษาอาการชักบางประเภท และใช้ป้องกันอาการปวดศีรษะไมเกรนได้ แต่มีอาการข้างเคียงที่พบได้บ่อยจากใช้ยานี้ ได้แก่ การรับรู้ของระบบประสาทผิดปกติ เช่น อาการชาและเจ็บบริเวณผิวหนัง ท่อนแขนหรือขา เบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลดลง อ่อนเพลีย เวียนศีรษะ ง่วงหลับ กระสับกระส่าย การเคลื่อนไหวช้าลง ความจำเลอะเลือน ไม่มีสมาธิ หรือขาดความตั้งใจ และรู้สึกสับสน เป็นต้น

โพรพราโนลอล (Propranolol)

เป็นยาเบต้าบล็อกเกอร์ (Beta-blocker) ที่นำมาใช้รักษาความดันโลหิตสูง อาการเจ็บหน้าอก อาการสั่น ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ และใช้รักษาภาวะที่เกี่ยวกับหัวใจและระบบไหลเวียนโลหิตอื่น ๆ นอกจากนั้นยังนำมาใช้ในการป้องกันและรักษากล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และนำมาใช้เพื่อลดความรุนแรงและความถี่ของอาการปวดไมเกรน

ยารักษาอาการปวดไมเกรนเฉียบพลัน

ยาแก้ปวดไมเกรนเฉียบพลัน

กลุ่มยารักษาไมเกรนที่เหมาะสำหรับคนไข้ที่มีอาการปวดรุนแรง ได้แก่

ยากลุ่มเออร์กอต อัลคาลอยด์ (Ergot Alkaloids)

เป็นยาที่มีใช้มานานแล้วและปัจจุบันยังใช้อยู่ ซึ่งใช้รักษาปวดไมเกรนได้ผลดี แต่มีผลข้างเคียง คือ ทำให้เส้นเลือดตีบ หรืออาจทำให้ขาและนิ้วดำ จึงไม่ควรรับประทานติดต่อกันเป็นเวลานาน และห้ามใช้คล้ายกับยากลุ่มทริปแทน การใช้ปริมาณมากอาจทำให้ปวดศีรษะรุนแรงและปวดถี่ขึ้นได้ ซึ่งมีทั้งชนิดรับประทาน สเปรย์พ่นจมูก ยาฉีด และยาอมใต้ลิ้น เช่น เออร์โกทามีน (Ergotamine) ไดไฮโดรเออร์โกทามีน (Dihydroergotamine) และ Caferfot

ยากลุ่มทริปแทน (Triptans)

เป็นยาที่มีประสิทธิภาพมากในการรักษาอาการไมเกรนเฉียบพลัน แต่ไม่ใช้ในการป้องกัน มีฤทธิ์บรรเทาอาการปวดศีรษะและลดอาการคลื่นไส้ได้ เช่น ซูมาทริปแทน (Sumatriptan) อีลีทริปแทน (Eletriptan) ไรซาทริปแทน (Rizatriptan) และ อัลโมทริปแทน (Almotriptan)

ยาในกลุ่มเอ็นเสด หรือ ยาบรรเทาอาการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (Non-Steroidal Antiinflammatory Drugs : NSAIDs)

มักเรียกว่า ยาแก้ปวดข้อ หรือ ยาแก้ข้ออักเสบ มีข้างเคียงมาก เช่น การระคายเคืองกระเพาะอาหารหรือเกิดแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้

ยารักษาไมเกรนแบบเฉียบพลัน

อันตรายจากยารักษาไมเกรน

การใช้ยารักษาไมเกรนแต่ละชนิด ส่งผลข้างเคียงต่อระรบอวัยวะในร่างกายแตกต่างกัน ดังนี้

เออร์กอต (Ergot)

เป็นยารักษาอาการปวดศีรษะไมเกรน ทำให้หลอดเลือดที่ขยายตัวผิดปกติจากอาการปวด เกิดการหดตัวลง และทำให้อาการปวดศีรษะหายไปในที่สุด แต่ไม่ควรใช้ติดต่อกันทุกวัน และไม่ควรเกิน 5 – 6 เม็ดต่อวัน โดยปกติอาการปวดศีรษะไมเกรนทั่วไปจะปวดไม่เกิน 3 วัน ถ้ามากกว่านี้ควรปรึกษาแพทย์ โดยผลข้างเคียงจากเออร์กอต เช่น ความดันโลหิตสูงขึ้น ใจสั่น เจ็บหน้าอก คลื่นไส้ อาเจียน ปลายมือปลายเท้าเย็น ชารอบปาก เป็นต้น

ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen)

เป็นยาในกลุ่มต้านอาการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (Nonsteroidal Anti-Inflammatory Drugs: NSAIDs) นิยมใช้เพื่อรักษาอาการปวด ลดไข้ แก้อักเสบ และอาการบาดเจ็บเล็กน้อย การใช้ยาไอบูโพรเฟนในปริมาณสูงติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจวาย หรือผู้ป่วยโรคหัวใจอาจก่อให้เกิดภาวะเลือดออกในช่องท้องและลำไส้ได้ ทั้งนี้ควรระมัดระวังในการใช้ยานี้เพราะอาจส่งผลเสียต่อลำไส้และกระเพาะอาหาร ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานยาขณะท้องว่าง เป็นต้น

ยากลุ่มทริปแทน (Triptans)

เป็นกลุ่มยาแก้ปวดที่ช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะและอาการอื่น ที่มีสาเหตุมาจากไมเกรน เช่น อาการคลื่นไส้ หรืออาการไวต่อแสงและเสียงมากผิดปกติ เป็นต้น โดยอาการข้างเคียงจากการใช้ยานี้ เช่น ปวดศีรษะรุนแรง มีปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็นและการทรงตัว พูดไม่ชัด รู้สึกเย็นและชาบริเวณมือและเท้า เวียนศีรษะ กล้ามเนื้ออ่อนแรง คลื่นไส้ แน่นบริเวณลำคอ และเกิดผื่นผุพองตามผิวหนัง เป็นต้น

ยาแก้อาการคลื่นไส้ (Anti-nausea Medications)

เป็นการใช้ยาเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการคลื่นไส้และอาเจียน ซึ่งอาการไมเกรนมักจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย ยานี้จะใช้ร่วมกับยาอื่นเสมอ เช่น เมโทโคลพราไมด์ (Metoclopramide) ยาคลอร์โปรมาซีน (Chlorpromazine) หรือโปรคลอเปอราซีน (Prochlorperazine)
การรักษาด้วยยากลุ่มโอปิออยด์ (Opioid Medications)
เป็นกลุ่มยาที่มีส่วนประกอบของยาเสพติด เช่น ยาโคเดอีน (Codeine) ซึ่งมีการนำมาใช้ในการรักษาไมเกรนสำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถใช้ยากลุ่มทริปแทนหรือยาเออร์กอตได้ ซึ่งอาจใช้เดี่ยวหรือทำเป็นยาสูตรผสมร่วมกับพาราเซตามอล โดยมีข้างเคียงหลายอย่าง เช่น เสพติดได้ อาการคลื่นไส้และอาเจียนเกิดรุนแรงขึ้น หากมีการใช้ยาปริมาณมากอาจทำให้ปวดศีรษะรุนแรงและปวดถี่ขึ้นได้

ยากลุ่มสเตียรอยด์ (Steroid)

เป็นยาที่มีฤทธิ์ต้านอาการอักเสบ อาการปวด บวม แดง ร้อน ของเนื้อเยื้อภายในร่างกาย การกดภูมิคุ้มกันและลดไข้ หากใช้ยากลุ่มนี้เป็นระยะเวลานานจะก่อให้เกิดต่อร่างกาย เช่น อาการทางผิวหนัง ผิวหนังอักเสบแตกเป็นลาย เกิดสิวสเตียรอยด์ หรือผลต่อระบบอวัยวะ เช่น อาการบวมน้ำ เพิ่มความเสี่ยงการติดเชื้อแบคทีเรียจากฤทธิ์การกดภูมิคุ้มกัน เพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด เพิ่มการสะสมไขมันที่ใบหน้า หลัง และท้อง เพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะกระดูกพรุน เป็นต้น

ผลข้างเคียงของการรักษาใช้ยารักษาไมเกรน

การรับประทานยาแก้ปวด หรือยาแก้ปวดไมเกรนบ่อยๆ มีผลข้างเคียงแตกต่างกันไปในยาแต่ละกลุ่ม และจะทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ โดยผลข้างเคียงที่รุนแรงและพบได้บ่อย ได้แก่

ปัญหาเกี่ยวกับท้อง (Abdominal problems)

ภาวะมวนท้อง เป็นอาการไม่สบายท้อง เช่น แน่นท้อง อาหารไม่ย่อย ท้องอืด อยากอาเจียน อาจพบร่วมกับอาการปวดท้อง และอาจไม่มีการผายลม อุจจาระเหลวหรือท้องผูก ทั้งนี้ผลข้างเคียงจากการใช้ยาแก้ปวดไมเกรนที่พบได้บ่อย คือ อาการคลื่นไส้ อาเจียนต่อเนื่อง หากมีอาการชนิดรุนแรงต้องไปโรงพยาบาลและพบแพทย์ทันที

อาการปวดศีรษะจากการใช้ยาแก้ปวดมากเกินไป (Medication-overuse Headaches)

เกิดจากการใช้ยาแก้ปวดไมเกรนปริมาณมากต่อเนื่องเป็นเวลานาน ส่งผลกระทบต่อระบบประสาทส่วนกลางตรงก้านสมอง เกิดการสร้างสารสื่อประสาทบางชนิดเป็นอย่างมาก จนสื่อประสาท รวมทั้งสุขภาพจิตเกิดเสียความสมดุลผิดปกติขึ้น อาจมีอาการปวดศีรษะต่อเนื่องนานมากกว่า 3 เดือน มีอารมณ์แปรปรวน หงุดหงิด กังวล และไม่มีสมาธิ ซึ่งก็เป็นสาเหตุให้เกิดอาการปวดศีรษะมากยิ่งขึ้น มีอาการเย็นและชาตามผิวหนัง แขน ขา หัวใจเต้นช้า เนื้อเขียวเพราะขาดออกซิเจน ปวดกล้ามเนื้อ และหัวใจเต้นเร็ว หายใจลำบาก ปวดบริเวณส่วนหน้าของหัวใจ ชีพจรเต้นอ่อน เป็นต้น

กลุ่มอาการเซโรโทนิน (Serotonin Syndrome)

เป็นอาการข้างเคียงที่เกิดจากการใช้ยาตัวเดียวหรือหลายตัวรวมกัน โดยเกิดจากการมีสารเซโรโทนิน สะสมในร่างกายมากกว่าปกติ เนื่องจากการใช้ยาหรือผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่มีฤทธิ์เพิ่มระดับสารเซโรโทนินในร่างกายร่วมกัน 2 ชนิดขึ้นไป เช่น การใช้ยารักษาไมเกรน เช่น ยาอัลมอทริปแทน ยาซูมาทริปแทน และยานาราทริปแทน หลังจากที่มีการใช้ยารักษาโรคซึมเศร้า ทั้งนี้มีอาการที่เกิดขึ้นตั้งแต่หนาวสั่น มีเหงื่อออกมาปวดวหัว คลื่นไส้ ท้องเสีย หรืออาจมีอาการรุนแรง เช่น กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง มีไข้ และเป็นตะคริว กล้ามเนื้ออ่อนแรง เจ็บกล้ามเนื้อ อาการชัก เป็นต้น บางรายที่มีอาการรุนแรงมากก็อาจเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้

การรักษาไมเกรนโดยวิธีทางเลือก

นอกจากการรักษาอาการปวดไมเกรนด้วยการรับประทานยาแก้ไมเกรนแล้ว ยังมีวิธีอื่นที่สามารถลดไมเกรนได้ ดังนี้

การใช้ธรรมชาติบำบัด

การใช้ธรรมชาติบำบัด การรักษาไมเกรนด้วยวิธีธรรมชาติ เช่น การนวดไทยรักษาโรคเฉพาะจุด เป็นการนวดกดจุดเพื่อคลายกล้ามเนื้อบริเวณคอ บ่า ไหล่และกล้ามเนื้อรอบศีรษะ เพื่อทำให้การไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงศีรษะได้มากขึ้น และยังช่วยปรับการไหลเวียนของเลือดลมภายในร่างกายให้ดีขึ้น นอกจากนี้การประคบร้อนด้วยลูกประคบสมุนไพร จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการคลายกล้ามเนื้อหลังการนวดให้มากขึ้นด้วย หรือการรับประทานยาสมุนไพรพื้นบ้าน ได้แก่ ยาหอม หรือสมุนไพรแก้อาการคลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียนศีรษะ วิธีนี้ยังช่วยให้หลับสบาย และปรับสมดุลของเลือดลมภายในร่างกายให้เป็นปกติ ลดการปวดไมเกรนได้ดีขึ้น

การนวดกดจุดแก้ปวดไมเกรน

การฝังเข็ม 

เป็นศาสตร์แพทย์แผนจีน ที่องค์การอนามัยโลกรับรองว่า สามารถรักษาอาการไมเกรนได้ โดยใช้หลักการเลือกจุดฝังเข็มเพื่อรักษาอาการปวดศีรษะ จากการพิจารณาเรื่องเส้นลมปราณเข้ามาเกี่ยวข้อง ทั้งตำแหน่งที่ปวด และการวิเคราะห์สาเหตุของอาการปวดศีรษะจากความผิดปกติของร่างกาย เช่น อาการเกร็ง ทำให้ลมปราณไหลเวียนไม่สะดวก เลือดคั่ง ซึ่งอาการติดขัดมาจาก เช่น อารมณ์โกรธ หงุดหงิด อารมณ์แปรปรวน เป็นต้น จากนั้นใช้เทคนิคฝังเข็มเพื่อระบายลมปราณให้ไหลเวียนดีขึ้น ทำให้อาการปวดลดน้อยลง และระยะเวลาในการปวดสั้นลง

การรักษาอาการปวดไมเกรนด้วยวิธีฝังเข็มและการนวด ถือเป็นการรักษาแบบธรรมชาติ ซึ่งมีข้อดีที่ ผู้มีอาการปวดหัวไมเกรน รู้สึกผ่อนคลาย ไม่มีผลข้างเคียงที่เกิดจากการใช้ยาแก้ไมเกรน จะมีเพียงบางครั้งที่จำเป็นต้องมีการกินยาแก้ไมเกรนร่วมด้วย เนื่องจาก วิธีรักษาธรรมชาติมีข้อเสีย คือ ไม่สามารถระงับอาการปวดไมเกรนได้ทันที และใช้ระยะเวลาในการรักษาให้บรรเทาขึ้นทีละน้อยๆ และสามารถกลับมามีการปวดไมเกรนได้หากมีปัจจัยอื่นเข้ากระตุ้น

การฝังเข็มรักษาไมเกรน

การฉีดโบท็อกซ์รักษาไมเกรน

เป็นการรักษาแบบทางเลือกที่นำมาใช้รักษาไมเกรนในปัจจุบันที่ได้รับความนิยม เพราะเป็นการรักษาอาการปวดไมเกรนที่ช่วยบรรเทาอาการไมเกรนที่มีผลข้างเคียงน้อย มีความปลอดภัย และให้ผลลัพธ์ได้ดี โดยเฉพาะอาการปวดไมเกรนจากความเครียด หรือผู้มีการปวดศีรษะอย่างน้อย 14 วันต่อเดือนขึ้น หรือผู้ที่มีอาการปวดศีรษะรุนแรง ปวดศีรษะบ่อย รับประทานยาแก้ปวดไมเกรนไม่หาย เป็นต้น

การฉีดยารอบเส้นประสาท

โบท็อกซ์รักษาไมเกรนได้อย่างไร

การฉีดโบท็อกซ์เพื่อรักษาอาการปวดไมเกรน โดยเฉพาะปวดไมเกรนจากความเครียด (รวมถึงช่วยรักษาโรคอื่นทางระบบประสาทและสมอง เช่น อาการเคลื่อนไหวผิดปกติ กล้ามเนื้อแข็งเกร็งผิดปกติ และช่วยบำบัดอาการออฟฟิสซินโดรม เป็นต้น) ซึ่งการฉีดสาร Botulinum toxin ชนิด A หรือโบท็อก ที่เป็นชนิดเดียวกับการฉีดเพื่อการเสริมความสวยงามและปรับรูปหน้า มาช่วยลดอาการปวดไมเกรน การฉีดโบท็อกซ์รอบๆ ศีรษะจำนวน 31 จุด บริเวณใบหน้าระหว่างคิ้ว หน้าผาก ท้ายทอย ต้นคอ หรือบ่า ซึ่งเป็นตำแหน่งที่เป็นการรักษาด้วยโบท็อกซ์ได้อย่างปลอดภัย และจะสามารถลดอาการปวดไมเกรนและลดความถี่ของการเกิดไมเกรนลงได้ 60-70% โดยให้ผลต่อเนื่องประมาณ 3 เดือน แต่มีจำกัดคือ ผู้มีอาการไมเกรนที่ต้องการฉีดโบทอกซ์ฉีดรักษา ต้องมีอายุ15 ปีขึ้นไป

ข้อดีของการฉีดโบทอกซ์รักษาไมเกรน

นอกจากการฉีดโบท็อกไมเกรนเพื่อรักษาอาการปวดไมเกรนจะเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลก โดยได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ปี 2010 ว่าสามารถช่วยลดอาการปวดศีรษะได้จริง และในประเทศไทยการรักษาไมเกรนด้วยโบท็อกก็ได้รับการรับรองผลรักษาจากองค์การอาหารและยาของไทยแล้ว ข้อดีของการฉีดโบท็อกที่เหมาะสำหรับผู้มีอาการปวดไมเกรนเรื้อรัง ปวดบ่อยและถี่ การกินยาแก้ไมเกรนแล้วไม่หาย ทำให้การฉีดโบท็อกรักษาไมเกรนเป็นที่นิยมมากยิ่งขึ้น เพราะได้รับการยอมรับในเรื่อง ดังนี้

ลดความรุนแรงของการปวด

เพราะโบท็อกสามารถเข้าไปยับยั้งปลายประสาทที่เรียกว่า Acetyl Choline ตัวกลางที่คอยส่งสัญญาณความเจ็บปวดไปยังสมองที่ต่อกับกล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้อที่หดเกร็งจากอาการปวดคลายตัวลง จึงช่วยลดอาการปวดไมเกรนและช่วยลดความรุนแรงและความถี่ในการปวดศีรษะให้น้อยลง

ลดความถี่และความรุนแรงของการปวดไมเกรนลงได้

โดยปริมาณการใช้โบท็อกประมาณ 100 ยูนิต จะเหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการปวดศีรษะไมเกรนรุนแรง ปวดบ่อย ปวดถี่ และรับประทานยาแก้ไมเกรนแล้วอาการไม่ทุเลาลง

ลดการกินยาแก้ปวด

เนื่องจากการฉีดโบท็อกรักษาอาการปวดไมเกรนจะให้ผลลัพธ์ได้นานประมาณ 3-4 เดือน ในระหว่างนี้ผู้มีอาการไมเกรนจะไม่มีอาการปวดศีรษะ จึงไม่จำเป็นต้องพึ่งยาไมเกรน รวมถึงช่วยลดความกังวลในภาวะเสี่ยงต่อโรคกระเพาะอาหารอักเสบ แผลในกระเพาะอาหาร และความผิดปกติของค่าตับและไตจากการกินยาบ่อยและมากเกินไปด้วย แต่หลังจากนั้นโบท็อกจะค่อยๆ หายไป ผู้มีอาการปวดไมเกรนสามารถมาฉีดโบท็อกซ้ำได้ตามคำแนะนำของแพทย์

ข้อสรุป

การรักษาไมเกรนด้วยการใช้ยาแก้ไมเกรนที่เหมาะกับตนเองจากคำแนะนำของแพทย์ เป็นสิ่งที่จำเป็น เพื่อป้องกันผลข้างเคียงที่จะเกิดตามมา แต่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางประการ เช่น หลีกเลี่ยงสิ่งเร้าที่กระตุ้นการเกิดไมเกรน การพักผ่อนให้เพียงพอ การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และหาวิธีผ่อนคลายลดความเครียดที่เกิดขึ้นในการดำเนินชีวิตประจำวัน เป็นการรักษาที่ดีและมีประสิทธิภาพที่สุด เพราะสามารถป้องกันอาการปวดหัวไมเกรนไม่ให้เกิดขึ้น หรือเกิดได้น้อยที่สุด

หากพบว่าตนเองหรือคนใกล้ตัวมีอาการวิงเวียนศีรษะ บ้านหมุน คลื่นไส้ หรืออาเจียนควรปฏิบัติตามแนวทางการรักษา ยิ่งถ้ามีอาการเวียนหัวรุนแรง อาจจะต้องปรึกษาแพทย์ เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุที่แท้จริง และทำการรักษาได้อย่างตรงจุด
ซึ่งหากใครกำลังมองหาที่รักษาก็สามารถแอดไลน์ @ayaclinic หรือโทรเบอร์ 090–970-0447 เพื่อปรึกษา ขอคำแนะนำ หรือจองคิวฉีดโบท็อกไมเกรน เพื่อลดอาการไมเกรน เวียนหัวและปวดหัวรูปแบบต่าง ๆ กับทางแพทย์ผู้เชี่ยวชาญของ BTX Migraine Center ศูนย์รักษาไมเกรนเฉพาะทางที่ปลอดภัยและทันสมัยได้ทันที

แอดไลน์