10 เครื่องดื่มแก้ปวดหัว พิชิตอาการปวดศีรษะจากไมเกรน
อาการปวดหัวเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ปวดหัวไมเกรน ปวดตุบ ๆ ปวดหัวจากความเครียดสะสมหรือเครียดจากการทำงาน ตลอดจนการเป็นประจำเดือนแล้วปวดหัว ซึ่งแน่นอนว่าแต่ละรูปแบบก็มีอาการที่แตกต่างกันออกไป
ทั้งนี้ วิธีบรรเทาอาการปวดหัวก็มีหลากหลาย โดยหนึ่งในวิธีง่าย ๆ คือ ดื่มเครื่องดื่มแก้ปวดหัว แต่เครื่องดื่มที่ว่าแก้ปวดหัวไมเกรนได้หรือไม่ จะมีเมนูอะไรบ้าง อ่านต่อได้เลย
สารบัญบทความ
- เครื่องดื่มแก้ปวดหัว
- เครื่องดื่มช่วยบรรเทาอาการปวดหัวได้อย่างไร
- 10 เครื่องดื่มแก้ปวดหัว มีอะไรบ้าง
- คำแนะนำในการดื่มเครื่องดื่มแก้ปวดหัว
- เครื่องดื่มที่ควรเลี่ยงเมื่อมีอาการปวดหัว
- แนวทางอื่นในการรักษาอาการปวดหัว
- วิธีป้องกันไม่ให้เกิดอาการปวดหัว
- ข้อสรุป
เครื่องดื่มแก้ปวดหัว
หนึ่งในวิธีแก้ปวดหัวที่ดีและปลอดภัยอีกวิธีหนึ่งคือ การดื่มเครื่องดื่มแก้ปวดหัวไมเกรน เนื่องจากโดยส่วนใหญ่แล้ว เครื่องดื่มแก้ไมเกรนเหล่านี้จะเป็นเครื่องดื่มจากธรรมชาติ กล่าวคือ มีส่วนผสมของสมุนไพรหรือผลไม้เป็นหลัก
อีกทั้งยังสามารถหาซื้อได้ง่าย ๆ ตามร้านขายเครื่องดื่มทั่วไป แต่หากใครที่อยากจะซื้อวัตถุดิบมาทำเครื่องดื่มก็ง่าย สะดวก อีกทั้งยังได้วิตามิน ตลอดจนประโยชน์ต่าง ๆ อย่างเต็มที่
เครื่องดื่มช่วยบรรเทาอาการปวดหัวได้อย่างไร
อย่างที่ทราบกันดีว่าอาการของไมเกรนคือ ปวดหัวข้างเดียว ปวดตุบ ๆ คล้ายกับจังหวะเต้นของหัวใจ
ปวดกระบอกตา ตลอดจนปวดรอบศีรษะ โดยเฉพาะในผู้ป่วยบางรายก็มีอาการคลื่นไส้ เวียนหัว และไวต่อสิ่งเร้าร่วมด้วย
เครื่องดื่มแก้ปวดหัวไมเกรนเหล่านี้ เมื่อดื่มแล้ว สรรพคุณของสมุนไพรหรือผลไม้ต่าง ๆ ก็จะสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดหัว ช่วยทำให้ร่างกายชุ่มชื้น ได้รับน้ำอย่างเพียงพอ ลดอาการปวดหัว คลื่นไส้ เวียนหัว ตลอดจนอาการอาเจียนได้อย่างดี
10 เครื่องดื่มแก้ปวดหัว มีอะไรบ้าง
1. ชาขิง
อีกทั้งยังช่วยให้ระบบไหลเวียนโลหิตทำงานได้ดี ลดระดับน้ำตาล ตลอดจนลดการอักเสบตามส่วนต่าง ๆ ในร่างกาย ทั้งนี้เป็นเพราะว่าขิงเป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์ร้อน และมีสารในการช่วยลดการอักเสบและการปวดหัว
โดยวิธีการทำชาขิงก็ง่ายนิดเดียว เพียงแค่ฝานขิงบาง ๆ คั้นกับน้ำ แล้วนำมาต้ม หรือใครจะซื้อชาขิงสำเร็จรูปก็สะดวก และได้รับประโยชน์จากเครื่องดื่มแก้ปวดหัวชนิดนี้ได้ดีเช่นกัน
2. ชาเปปเปอร์มินต์
เช่นเดียวกับชาเปปเปอร์มินต์ เครื่องดื่มแก้ปวดหัวไมเกรนที่มีสารและสรรพคุณในการช่วยรักษาไมเกรน ผ่อนคลายกล้ามเนื้อและเส้นประสาท ทั้งกล้ามเนื้อบริเวณรอบศีรษะและลำไส้ นอกจากนี้ยังมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ สร้างความผ่อนคลายได้เป็นอย่างดี
3. ชาฟีเวอร์ฟิว
ทั้งนี้เป็นเพราะว่าฟีเวอร์ฟิวจะทำหน้าที่ต้านโพรสตาแกลนดินและเซโรโทนินที่เป็นสาเหตุของการทำให้ปวดหัว อย่างไรก็ดีชาฟีเวอร์ฟิวอาจจะมีรสขมนิดหน่อย อาจจะเติมความหวานด้วยน้ำผึ้ง หญ้าหวาน หรือสารให้ความหวานแทนก็เพิ่มความอร่อยและสดชื่นต่อร่างกายได้
4. ชาเขียว
สาเหตุที่ชาเขียวสามารถแก้ปวดหัวคลัสเตอร์หรือไมเกรนได้นั้น เป็นเพราะว่ามีสารคาเฟอีนและธิโอฟิลลีน ส่งผลให้ร่างกายรู้สึกกระปรี้กระเปร่า สดชื่น ระบายความร้อนภายในร่างกาย ศีรษะ และกระบอกตา ส่งผลให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย อาการปวดหัวทุเลาลง
5. นมอัลมอนด์
อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ : แมกนีเซียมแก้ไมเกรนได้จริงไหม? อาหารที่มีแมกนีเซียมสูงมีอะไรบ้าง?
6. น้ำมะนาวอุ่น
7. นมไขมันต่ำ
อ่านเนื้อหาเพิ่มเติมได้ที่ วิตามินแก้ปวดไมเกรน มีอะไรบ้าง? ปวดหัวบ่อย ขาดวิตามินอะไร?
8. น้ำองุ่น
ดังนั้น การดื่มเครื่องดื่มแก้ปวดหัวไมเกรนอย่างน้ำองุ่นในปริมาณที่เหมาะสม นอกจากจะทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารแล้ว ยังช่วยลดอาการปวดหัวที่เกิดจากอาการสับเสบได้เป็นอย่างดี
9. น้ำส้ม
10. น้ำเปล่า
คำแนะนำในการดื่มเครื่องดื่มแก้ปวดหัว
แม้ว่าเครื่องดื่มแก้ปวดหัวไมเกรนเหล่านี้จะมีประโยชน์และสรรพคุณมากมาย แต่หากดื่มมากเกินไปก็อาจจะส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น ตลอดจนเกิดผลเสียต่าง ๆ ต่อร่างกายตามมาได้แทน
นอกจากนี้หากพบว่าตนเองเคยมีประวัติภูมิแพ้ต่าง ๆ ผู้ที่ตั้งครรภ์ ผู้ที่มีโรคประจำตัว ตลอดจนผู้ที่แพ้พืช ผัก หรือผลไม้ที่เป็นวัตถุดิบในน้ำหวานแก้ปวดหัวก็ควรหลีกเลี่ยง เนื่องจากจะส่งผลให้อาการแพ้กำเริบ ตลอดจนปวดหัวท้ายทอยและรอบ ๆ ศีรษะได้
เครื่องดื่มที่ควรเลี่ยงเมื่อมีอาการปวดหัว
- เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ไม่ว่าจะเป็นเหล้า เบียร์ หรือไวน์แดงก็มีฤทธิ์ในการกระตุ้นประสาท ทำให้อาการปวดหัวกำเริบได้ เนื่องจากสารไทรามีนจะเข้าไปลดระดับสารเซโรโทนินในสมอง อีกทั้งไวน์แดงยังอุดมไปด้วยสารไทรามีนและฮีสตามีนที่เป็นสาเหตุสำคัญของอาการปวดหัว
- เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน
ไม่ว่าจะเป็นชาที่ผ่านการแปรรูปหรือกาแฟ ก็มีฤทธิ์ในการกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง ส่งผลให้เกิดอาการปวดหัวไมเกรนขึ้น ในขณะเดียวกันหากหยุดดื่มชาหรือกาแฟในทันทีก็จะส่งผลให้เกิดอาการปวดหัวได้ ดังนั้นจึงควรดื่มในปริมาณที่เหมาะสม และเน้นดื่มเครื่องดื่มแก้ปวดหัวไมเกรนแทน
แนวทางอื่นในการรักษาอาการปวดหัว
การดื่มเครื่องดื่มแก้ปวดหัวไมเกรนเป็นเพียงหนึ่งทางเลือกในการบรรเทาอาการปวดหัวรูปแบบต่าง ๆ แต่หากพบว่าตนเองมีอาการรุนแรงหรือไม่สะดวกในการดื่มเครื่องดื่มเหล่านี้ ก็สามารถใช้วิธีดังต่อไปนี้ได้
1. การใช้ยาบรรเทาอาการปวดหัว
ยาแก้ปวดหัวมีหลายประเภท เริ่มตั้งแต่ยาแก้ปวดสามัญประจำบ้าน ตลอดจนยาไมเกรนโดยเฉพาะ ซึ่งก็สามารถเลือกทานได้ตามอาการและดุลยพินิจของแพทย์และคำแนะนำของเภสัชกร ยกตัวอย่างเช่น
- ยากลุ่ม Triptan ที่ช่วยบรรเทาอาการปวดหัวคิ้วและปวดรูปแบบต่าง ๆ
- ยากลุ่ม Ergotamine ทำให้เส้นเลือดมีการหดตัวลดลงตามปกติ
- ยากลุ่ม Ibuprofen ที่ใช้ในการรักษาอาการปวดในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ปวดฟัน เส้นคอตึงปวดหัว เป็นต้น
2. การประคบเย็น
หนึ่งในวิธีแก้ปวดหัวไมเกรนเบื้องต้นที่สามารถทำได้ง่าย ๆ เพียงแค่ใช้ผ้าเย็น ผ้าชุบน้ำเย็นบิดหมาด หรือผ้าห่อน้ำแข็งนำมาประคบบริเวณที่ปวดเพียง 5-15 นาที อาการปวดก็จะทุเลาลง เนื่องจากเส้นเลือดและกล้ามเนื้อโดยรอบมีการคลายตัว ทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตทำงานได้ดีตามปกติ
3. การนวดผ่อนคลายอาการปวดศีรษะ
วิธีนวดแก้ปวดไมเกรน เพียงแค่นวดกดจุดบริเวณที่ปวดหรือบริเวณบ่า ไหล่ ท้ายทอย คอ กล้ามเนื้อที่ตึงก็จะค่อย ๆ คลาย วิธีนี้นอกจากจะลดอาการปวดหัวไมเกรนได้แล้ว ยังเป็นการบรรเทาอาการเมื่อยล้าจากออฟฟิศซินโดรม ทั้งนี้หากใช้น้ำมันหอมระเหยกลิ่นต่าง ๆ ในการนวดก็จะช่วยให้ผ่อนคลายยิ่งขึ้น
4. ฝังเข็มรักษาอาการปวดหัว
การฝังเข็มเป็นแพทย์แผนจีนที่มีมาตั้งแต่ในอดีต และยังคงได้รับความนิยในปัจจุบัน โดยเฉพาะการฝังเข็มไมเกรน ซึ่งทางแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะใช้เข็มขนาดเล็กและบางฝังลงบริเวณจุดต่าง ๆ เพื่อเปิดทวารสมองและทะลวงเส้นลมปราณ เพียงเท่านี้ระบบต่าง ๆ ก็จะทำงานได้ดี ร่างกายผ่อนคลาย บรรเทาอาการปวดหัวได้
5. ฉีดโบท็อกแก้ปวดศีรษะ
การฉีดโบท็อกแก้ปวดศีรษะกำลังได้รับความนิยมในปัจจุบันเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากมีผลข้างเคียงน้อย ใช้ระยะเวลาในการรักษาสั้น ๆ แต่ในณะเดียวกันผลลัพธ์กลับคงอยู่นานถึง 4-6 เดือนทีเดียว
ทั้งนี้ ทางแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะทำการฉีดโบท็อกไมเกรน (Botulinum Toxin) ชนิด A ตามจุดต่าง ๆ เพื่อคล้ายกล้ามเนื้อและยับยั้งความถี่ของอาการปวดหัว
วิธีป้องกันไม่ให้เกิดอาการปวดหัว
- เลี่ยงอาหารกระตุ้นไมเกรน เช่น ไวน์แดง เนยแข็ง เนื้อสัตว์แปรรูป อาหารสำเร็จรูปต่าง ๆ และแต่เน้นทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพแทน
- หลีกเลี่ยงการอยู่ในพื้นที่ที่มีแสงจ้า เสียงดัง หรือมีปัจจัยภายนอกที่กระตุ้นให้เกิดไมเกรน
- พักผ่อนให้เพียงพอและเป็นเวลา อย่างน้อยเป็นเวลา 6-8 ชั่วโมง เพื่อให้ได้ฟื้นฟูร่างกายอย่างเต็มที่
- ออกกำลังกาย เพื่อรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เช่น จ็อกกิ้ง โยคะแก้ปวดหัว กระโดดเชือก เป็นต้น
- ลดอาหารที่มีไขมันสูง เพื่อลดไขมันที่จะเข้าไปอุดตันในเส้นเลือด
- ลดความเครียด อาจจะเริ่มจากการทำกิจกรรมที่ชอบ เพียงเท่านี้ก็จะช่วยบรรเทาอาการตึงกล้ามเนื้อและปวดหัวโดยรอบได้แล้ว
ข้อสรุป
เครื่องดื่มแก้ปวดหัวไมเกรนมีหลากหลายเมนู สามารถเลือกดื่มได้ตามชอบ แต่หากมีโรคประจำตัว ตั้งครรภ์ หรือมีประวัติก็ควรระมัดระวังและไม่ควรดื่มมากจนเกินไป เนื่องจากอาจจะส่งผลเสียต่อร่างกายได้แทนได้
ทั้งนี้ หากใครที่ต้องการรักษาด้วยแนวทางอื่น ๆ เช่น การฉีดโบท็อกไมเกรนที่มีความปลอดภัยสูงก็สามารถแอดไลน์ @ayaclinic หรือโทร 090–970-0447 เพื่อเข้ารับคำปรึกษา ประเมินและตรวจไมเกรน ตลอดจนนัดวันรักษากับทีมแพทย์ผู้มีประสบการณ์จาก BTX Migraine Center หรือศูนย์รักษาไมเกรนเฉพาะทางได้
เอกสารอ้างอิง
Kristeen Cherney. (2021). Sip Your Way to Migraine Relief with These 12 Drinks. Retrieve from https://www.healthline.com/health/migraine/drinks-for-headaches-and-migraine